ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยทั้งสิ้น 8 แหล่ง[1] ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 5 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แหล่ง

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

[แก้]

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

[แก้]
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
ข้อมูลโดยสังเขป อ้างอิง
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
Large white seated Buddha statue.
สุโขทัยและกำแพงเพชร
17°0′26″N 99°47′23″E / 17.00722°N 99.78972°E / 17.00722; 99.78972 (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)
วัฒนธรรม:
(i), (iii)
11,852 2534/1991 กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาวสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 สิ่งก่อสร้างจำนวนมากแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมไทย อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ได้พัฒนาขึ้นในอาณาจักรสุโขทัยผ่านการซึมซับอิทธิพลและประเพณีท้องถิ่นโบราณไว้มากมาย การผสมผสานอย่างรวดเร็วขององค์ประกอบเหล่านี้ ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า 'รูปแบบสุโขทัย' 574
นครประวัติศาสตร์
พระนครศรีอยุธยา
Ruins of stupas of various sizes. พระนครศรีอยุธยา
14°20′52″N 100°33′38″E / 14.34778°N 100.56056°E / 14.34778; 100.56056 (Historic City of Ayutthaya)
วัฒนธรรม:
(iii)
289 2534/1991 สถาปนาราว ค.ศ. 1350 กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งที่สองของชาวสยามต่อจากกรุงสุโขทัย ถูกทำลายโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซากปรักหักพังสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ปรางค์ และอารามขนาดใหญ่แสดงถึงความงดงามและความเจริญรุ่งเรืองในอดีต 576
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
Vase with red and white design.
อุดรธานี
17°32′55″N 103°47′23″E / 17.54861°N 103.78972°E / 17.54861; 103.78972 (Ban Chiang Archaeological Site)
วัฒนธรรม:
(iii)
30;
พื้นที่กันชน 760
2535/1992 บ้านเชียงถือเป็นที่ตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งเท่าที่มีการค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมสังคมและเทคโนโลยีของมนุษย์ แหล่งมรดกนี้ได้แสดงหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของ การเกษตร การผลิต และการใช้โลหะ ในภูมิภาค 575
เมืองโบราณศรีเทพ
และโบราณสถาน
สมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง
Si Thep
เพชรบูรณ์
15°29′12.5″N 101°08′40.2″E / 15.486806°N 101.144500°E / 15.486806; 101.144500 (The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii)
866.471;
พื้นที่กันชน 3,824.148
2566/2023 ประกอบด้วย สามพื้นที่สำคัญของวัฒนธรรมทวารวดีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 ได้แก่ 1. เมืองใน (เมืองชั้นใน) และเมืองนอก (เมืองขั้นนอก) ที่ล้อมรอบด้วยคูน้ำ 2. โบราณสถานเขาคลังนอก อนุสรณ์สถานสมัยทวารวดีที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ และ 3. ถ้ำเขาถมอรัตน์ อารามถ้ำของศาสนาพุทธนิกายมหายานที่แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างศิลปะและปฏิมากรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ 1662
ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา
สมัยทวารวดี
Tham Khon prehistoric rock painting.
อุดรธานี
17°43′51.8″N 102°21′22.6″E / 17.731056°N 102.356278°E / 17.731056; 102.356278 (Phu Phra Bat Historical Park)
วัฒนธรรม:
(iii), (v)
585.955;
พื้นที่กันชน 598.806
2567/2024 ประกอบด้วยอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทและแหล่งวัฒนธรรมสีมา ณ วัดพระพุทธบาทบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,661 ไร่เศษ 1507

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

[แก้]
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
ข้อมูลโดยสังเขป อ้างอิง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
A river flowing through a forested mountain landscape.
กาญจนบุรี ตาก และอุทัยธานี
15°20′N 98°55′E / 15.333°N 98.917°E / 15.333; 98.917 (Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries)
ธรรมชาติ:
(vii), (ix), (x)
622,200 2534/1991 ตั้งอยู่ตามแนวชายแดนกับประเทศพม่า เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยผืนป่าเกือบทุกประเภทที่มีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบ้านของสัตว์หลากหลายชนิด ซึ่งรวมถึง 77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะช้างและเสือโคร่ง) 50% ของนกขนาดใหญ่ และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลังบกที่พบในภูมิภาคนี้ 591
กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
Medium sized waterfall in a tropical forest.
สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์
14°20′N 102°3′E / 14.333°N 102.050°E / 14.333; 102.050 (Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex)
ธรรมชาติ:
(x)
615,500 2548/2005 มีความยาว 230 กม. ระหว่างอุทยานแห่งชาติตาพระยาติดชายแดนกับประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทางทิศตะวันตก พื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์กว่า 800 ชนิด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 112 สายพันธุ์ (ในจำนวนนี้มีชะนีสองสายพันธุ์) สัตว์ชนิดนก 392 สายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า 200 สายพันธุ์ การอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และสัตว์เลื้อยคลานที่ทั่วโลกกำลังคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยในจำนวนนี้มี 19 สายพันธุ์ ที่มีความเสี่ยง 4 สายพันธุ์ที่เสี่ยงมาก และ 1 สายพันธุ์ที่เสี่ยงขั้นวิกฤต พื้นที่ดังกล่าวมีระบบนิเวศป่าดิบชื้นที่สำคัญและอุดมสมบูรณ์ซึ่งสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่รอดในระยะยาวของสัตว์สายพันธุ์เหล่านี้ 590
กลุ่มป่าแก่งกระจาน
Kaeng Krachan National Park.
ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
13°14′N 5°5′E / 13.233°N 5.083°E / 13.233; 5.083 (Kaeng Krachan Forest Complex)
ธรรมชาติ:
(x)
408,940 2564/2021 ตั้งอยู่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีด้านประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสันเขาหินแกรนิตและหินปูนในแนวเหนือ-ใต้ลงสู่คาบสมุทรมลายู ตั้งอยู่ที่ทางแยกระหว่างเทือกเขาหิมาลัย อินโดจีนและเกาะสุมาตรา เป็นดินแดนแห่งสัตว์และดอกไม้ มีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง มีรายงานพันธุ์พืชและสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นและที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลกในพื้นที่นี้ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่นกสำคัญ 2 แห่ง และขึ้นชื่อว่ามีนกหลากหลายชนิด รวมถึงสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก 8 ชนิด สถานที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของจระเข้สยาม หมาใน วัวแดง ช้างเอเชีย เต่าเหลือง และเต่าหก รวมทั้งสัตว์อีกหลายชนิด นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นที่อ่อนแอ ที่พิเศษคือที่นี่ยังเป็นที่อยู่ของแมว 8 สายพันธุ์ ได้แก่ เสือโคร่ง เสือปลา เสือดาว เสือไฟ เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน แมวป่า และแมวดาว 1461

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

[แก้]

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 6 แห่ง ดังนี้[2]

สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปี พ.ศ./ค.ศ. หมายเหตุ อ้างอิง
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
Chedi Phra Baromathat.
นครศรีธรรมราช
24°47′N 99°57′E / 24.783°N 99.950°E / 24.783; 99.950 (Phra Baromathat)
วัฒนธรรม:
(i), (ii), (vi)
137 2555/2012 [3]
อนุสรณ์สถานแหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนา
Wat Phra Singh
เชียงใหม่
18°47′43″N 98°59′55″E / 18.79528°N 98.99861°E / 18.79528; 98.99861 (Monuments, Sites and Cultural Landscape of Chiang Mai, Capital of Lanna)
วัฒนธรรม:
(i), (ii), (iii), (vi)
ไม่มีข้อมูล 2558/2015 ประกอบด้วย พื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ 18.30 ตร.ก.ม. แบ่งเป็น เขตเมืองเก่าเชียงใหม่ 5.13 ตร.ก.ม. เขตเวียงสวนดอก 0.32 ตร.ก.ม. เขตวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง 0.05 ตร.ก.ม. และเขตดอยสุเทพ-เวียงเจ็ดลิน 12.61 ตร.ก.ม. และพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นพื้นล้อมรอบพื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ อีก 182.85 ตร.ก.ม. รวมทั้งสิ้น 201.15 ตร.ก.ม. [4][5]
พระธาตุพนม และสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้อง
นครพนม
16°56′33″N 104°43′26″E / 16.94250°N 104.72389°E / 16.94250; 104.72389 (Phra That Phanom, its related historic buildings and associated landscape)
วัฒนธรรม:
(i), (ii), (iv)
ไม่มีข้อมูล 2560/2017 ประกอบด้วย วัดพระธาตุพนม องค์พระธาตุพนม และสิ่งก่อสร้างโดยรอบพื้นที่วัด [6]
กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด
บุรีรัมย์ วัฒนธรรม:
(iii) (iv) (v)
ไม่มีข้อมูล 2562/2019 [7][8]
แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน
พังงา ภูเก็ต และระนอง ธรรมชาติ
(vii) (ix) (x)
115,955 2564/2021 ประกอบด้วย 6 อุทยานแห่งชาติ (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะระนอง
แหลมสน หมู่เกาะสุรินทร์ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง และสิรินาถ) และป่าชายเลนระนอง (ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง และพื้นที่ป่าชายเลนนอกอุทยานแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง)
[9][10][11]
สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา
ป้อมหมายเลข 9
สงขลา วัฒนธรรม
(ii) (iv) (v)
ไม่มีข้อมูล 2567/2024 ประกอบด้วย เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง เมืองโบราณสทิงพระ เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า ณ เขาแดงและแหลมสน และเมืองเก่าสงขลา ณ บ่อยาง [12][13]

สถานที่ที่อาจเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

[แก้]
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท
กลุ่มสถาปัตยกรรมของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์[14][15]
Wat Benchamabophit
กรุงเทพมหานคร วัฒนธรรม
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารและเสาชิงช้า[14][15]
Wat Suthat
กรุงเทพมหานคร วัฒนธรรม
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแม่น้ำเจ้าพระยา [14]
Wat Arun
กรุงเทพมหานคร วัฒนธรรม
วัดราชนัดดารามและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง[14]
Wat Ratchanaddaram
กรุงเทพมหานคร วัฒนธรรม
พระปฐมเจดีย์[16]
Phra Pathommachedi
นครปฐม วัฒนธรรม
ทางรถไฟสายมรณะ[14]
Death Railways
กาญจนบุรี วัฒนธรรม
เมืองเก่าลพบุรี[17] ลพบุรี พื้นที่เมืองเก่าลพบุรี ขนาดเนื้อที่ 1.729 ตร.กม. ประกอบด้วย กลุ่มพระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระปรางค์สามยอด กลุ่มวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ปรางค์แขก วัดนครโกษา วัดปืน วัดบันไดหิน วัดสันเปาโล บ้านหลวงรับราชทูต(บ้านวิชาเยนทร์) สะพานเรือก แนวคูเมืองป้อมปราการและประตูค่ายเมืองลพบุรี และซากโบราณสถานอื่น ๆ วัฒนธรรม
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแหล่งวัฒนธรรมของน่าน[14]
Nan Temple
น่าน วัฒนธรรม
แหล่งโบราณคดีเมื่อเก่าเมืองเชียงแสนและสุวรรณโคมคำ[14]
เชียงราย และ แขวงบ่อแก้ว (ร่วมกับ  ลาว) วัฒนธรรม
เมืองเก่าภูเก็ต[18]
Phra Pathommachedi
ภูเก็ต วัฒนธรรม
เส้นทางวัฒนธรรมไชยาถึงไทรบุรี[14]
Chaiya
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และ รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี)

(ร่วมกับ  มาเลเซีย)[19]

วัฒนธรรม
พระราชวังจันทน์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง
พิษณุโลก[20] วัฒนธรรม
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
เพชรบุรี[21] วัฒนธรรม
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด
นครราชสีมา[22] วัฒนธรรม
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
กรุงเทพมหานคร[23] วัฒนธรรม
ผืนป่าฮาลา-บาลา[24]
ยะลา และนราธิวาส ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา อุทยานแห่งชาติบางลาง และสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ (พื้นที่ส่วนที่ 2) รวมเนื้อที่กว่า 836,000 ไร่ ธรรมชาติ
กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก[25]
สุราษฎร์ธานี และพังงา ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติเขาสก อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา รวมเนื้อที่ราว 2,300,000 ไร่ ธรรมชาติ
พื้นที่กลุ่มป่าเทือกเขาเพชรบูรณ์ [26]
เพชรบูรณ์ ธรรมชาติ

สถานที่เคยเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

[แก้]
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท ปีที่เสนอขึ้นบัญชีฯ ปีที่ถอนจากบัญชีฯ
เกาะรัตนโกสินทร์[27]
กรุงเทพมหานคร วัฒนธรรม พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2539
ตะรุเตา[28]
Si Thep
สตูล ธรรมชาติ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534
เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ[29]
Phimai historical park.
บุรีรัมย์ นครราชสีมา และสุรินทร์
15°13′N 102°29′E / 15.217°N 102.483°E / 15.217; 102.483 (Angkor Roads)
วัฒนธรรม:
(i), (ii), (iii), (iv), (vi)
พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2562

ผลการดำเนินงานของประเทศไทยในยูเนสโก

[แก้]
โครงการยูเนสโก จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียน จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียนร่วมกับรัฐอื่น
เครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก (World Network of Biosphere Reserves) 5
แหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites) 8
ความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) 6
เครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geoparks Network) 2
เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (Creative Cities Network) 7
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage Lists) 6 1

อ้างอิง

[แก้]
  1. "World Heritage Properties in Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012.
  2. "Tentative Lists: Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  3. "Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2012.
  4. ภูมิภาค - เชียงใหม่ระดมถก-สู่มรดกโลก. ข่าวสด.
  5. "Monuments, Sites and Cultural Landscape of Chiang Mai, Capital of Lanna". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2015.
  6. "Phra That Phanom, its related historic buildings and associated landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 18 March 2017.
  7. "Ensemble of Phanom Rung, Muang Tam and Plai Bat Sanctuaries". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2019.
  8. คุณค่าขององค์ประกอบทางภูมิทัศน์กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด จังหวัดบุรีรัมย์ จุลนาถ วรรณโกวิท ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  10. ผู้แทนไทยจ่อเสนอ 'พื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามัน' ขึ้นทะเบียนมรดกโลก. ข่าวสด.
  11. "The Andaman Sea Nature Reserves of Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2022.
  12. บอร์ดมรดกโลกไทย ปักธง "สงขลา" ขึ้นบัญชีมรดกโลกเบื้องต้น. ไทยพีบีเอส.
  13. "Songkhla and its Associated Lagoon Settlements". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 "กรมศิลป์ดัน "วัดสุทัศน์-รถไฟสายมรณะ" ขึ้นมรดกโลก". Manager. 19 กรกฎาคม 2013.
  15. 15.0 15.1 "เสนอ "วัดสุทัศน์-เสาชิงช้า" เข้าบัญชีมรดกโลกเบื้องต้น". Manager. 22 กุมภาพันธ์ 2015.
  16. สั่งลดปมแย้งชง “พระปฐมเจดีย์” มรดกโลก. ไทยรัฐ.
  17. "กรมศิลป์เล็งขยายพื้นที่มรดกโลกอยุธยา ทุ่มงบไทยเข้มแข็ง 256 ล้าน ปรับภูมิทัศน์". MGR Online. 2 สิงหาคม 2009.
  18. ชงเมืองเก่าภูเก็ต ขึ้นเป็นมรดกโลก. ไทยโพสต์.
  19. "World Heritage Site | รายละเอียดแหล่ง". worldheritagesite.onep.go.th.
  20. เข้าร่วมการประชุมเสวนาเสริมสร้างการรับรู้แนวทางการขับเคลื่อนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของพระราชวังจันทน์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พระพุทธชินราช)[ลิงก์เสีย]
  21. ดัน“พระนครคีรี(เขาวัง)”มรดกโลก. สยามรัฐ.
  22. "เตรียมศึกษาข้อมูล ดัน"แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด"เป็นมรดกโลก". เดลินิวส์.
  23. "ทุกภาคส่วนระดมหาแนวทาง ผลักดัน "พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม" ขี้นทะเบียนเป็นมรดกโลก". www.ch7.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "ปลัด ทส. เปิดเสวนาออนไลน์ "การขับเคลื่อนฮาลา-บาลาสู่มรดกโลก" ชื่นชมความรัก ความหวงแหน ผืนป่าของประชาชนในพื้นที่". ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021.
  25. ‘เขาสก’ครบรอบ 1 ปี ‘มรดกอาเซียน’ คาดหวังก้าวสู่ ‘มรดกโลก’. เดลินิวส์.
  26. แหล่งที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อของไทย. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
  27. Rattanakosin Island. worldheritagesite.org.
  28. Tarutao. worldheritagesite.org.
  29. "Phimai, its Cultural Route and the Associated Temples of Phanomroong and Muangtam". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2012.