ข้ามไปเนื้อหา

ช้างเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่นของคำว่าช้าง ดู ช้าง (แก้ความกำกวม)
ช้างเอเชีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
สมัยไพลโอซีนสมัยโฮโลซีน,[1] 2.5–0Ma
ช้างอินเดีย (E. m. indicus) ในอุทยานแห่งชาติจิมคอร์เบตต์ในประเทศอินเดีย
ช้างบอร์เนียว (E. m. borneensis) เป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดและใกล้สูญพันธุ์ที่สุด
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Proboscidea
วงศ์: Elephantidae
สกุล: Elephas
สปีชีส์: E.  maximus
ชื่อทวินาม
Elephas maximus
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย
ช่วงกระจายพันธุ์ในอดีตของช้างเอเชีย (สีชมพู) และปัจจุบัน (สีแดง)

ช้างเอเชีย (อังกฤษ: Asian elephant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephas maximus) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริกา [3]

ลักษณะและนิเวศวิทยา

[แก้]

ลำตัวมีสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง โดยงวงของช้างเอเชียจะมีเพียงจะงอยเดียว ต่างจากช้างแอฟริกาที่มี 2 จะงอย และมีโพรงสมองบริเวณหน้าผากกว้างกว่าช้างแอฟริกา เนื่องจากมีฮอร์โมนสมองมากกว่า ดังนั้นช้างเอเชียจึงเป็นช้างที่เฉลียวฉลาด สามารถนำมาฝึกหัดใช้งานและเชื่องกว่าช้างแอฟริกามาก[4] ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้าไม่มีงาหรืองาสั้นเรียก ช้างสีดอ ในฤดูผสมพันธุ์มีอาการดุร้ายมาก มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 18-22 เดือน ออกลูกครั้งละตัว ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย[5] โผล่ออกมา ซึ่งงาของช้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. งาปลี มีลำใหญ่วัดรอบประมาณ 15 นิ้ว แต่ยาวไม่มาก

2. งาหวาย หรืองาเครือ ขนาดวัดโดยรอบประมาณ 14 นิ้ว แต่ยาวรี

ช้างเป็นสัตว์กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง ช้างเอเชียส่วนใหญ่มีขนาดความสูงประมาณ 2-4 เมตร (7-12 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัม (6,500-11,000 ปอนด์) ช้างเมื่อโตเต็มที่จะกินอาหารวันหนึ่งประมาณ 200 กิโลกรัม

ช้างโดยปกติจะอาศัยอยู่ได้ในป่าแทบทุกประเภท เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แต่โดยมากแล้วมักจะอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า หรือป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ แต่ในช่วงฤดูแล้งที่มีไฟป่า อาจหนีเข้าไปอยู่ในป่าที่มีความชื้นกว่าได้ เช่น ป่าดิบแล้ง นอกจากกินพืชเป็นอาหารหลักแล้ว ช้างจะยังกินขี้เถ้าหรือดินโป่งเพื่อเสริมแร่ธาตุอาหารด้วย วัน ๆ หนึ่งจะใช้เวลาหากินมากถึง 16-18 ชั่วโมง และใช้เวลานอนหลับพักผ่อนเพียง 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น นับว่าน้อยมาก[6]

ชนิดย่อย

[แก้]

ช้างเอเชีย แบ่งออกเป็น 6 ชนิดย่อย อีก 3 ชนิดย่อยได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ได้ดังนี้[7]

  • ช้างศรีลังกา (E. m. maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ ตัวสีดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียชนิดย่อยศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ช้างศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลายมีงาน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้างเอเชียชนิดอื่น คือ ไม่มีงา มีแต่ขนายเท่านั้น

ช้างเอเชียต่อไปนี้ก่อนหน้าถูกเสนอให้เป็นชนิดย่อยที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาว่าเป็นชนิดย่อย (ชื่อพ้อง) ของช้างอินเดีย (E. m. indicus)[9] ทั้งสามได้รับการเสนอโดยเฏรานิยกรา (Deraniyagala) (1950) นักบรรพชีวินวิทยาและนักสัตววิทยาชาวศรีลังกา[10]

  • ช้างซีเรีย (E. m. asurus) มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความสูงจากไหล่ถึง 11 ฟุตซึ่งใหญ่กว่าชนิดแรกพบในพบทางตอนใต้ของตุรกีจนถึงอิหร่านของปัจจุบันนี้แต่ในปัจจุบันช้างเหล่านี้ได้สูญพันธุ์ตั้งแต่ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช [11][10]
  • ช้างจีน (E. m. rubridens) เป็นช้างที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งซึงมีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับพาลีโอโลโซดอนซึ่งช้างดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่งช้างจีนมีลักษณะมีลำตัวสีชมพูอ่อนๆเล็กน้อยไปตามตัวพบในทางตะวันออกของจีน แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ ศตวรรษที่ 14 แล้ว[10]
  • ช้างชวา (E. m. sondaicus) ปรากฏเป็นภาพแกะสลักบนพุทธศาสนาสถานโบโรบูดูร์[10][12] และบันทึกบางฉบับสันนิษฐานว่าช้างอาจนำเข้ามาจากอินเดียในช่วงที่ศาสนาฮินดูรุ่งเรืองในชวา[13]

ความผูกพันกับมนุษย์

[แก้]

ดูบทความหลักที่ ช้างในประเทศไทย

ช้างเอเชีย จัดเป็นสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้ใช้งานประเภทต่าง ๆ มาแต่โบราณ เช่น ใช้เป็นพาหนะ ลากซุง หรือแม้แต่ในการสงคราม โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนับถือช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง โดยจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ธงรูปช้าง, ตำราคชลักษณ์ เป็นต้น

ช้างถูกใช้ในประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งเป็นราชพาหนะและสิ่งประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่มีช้างเผือกไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นกษัตริย์ที่มีบุญบารมี เฉกเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิราชในคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท[14]

คำเรียกและความเชื่อในวัฒนธรรมต่าง ๆ

[แก้]
  • ช้างเอเชียตัวเมีย ภาษาอังกฤษเรียก cow
  • ช้างแม่แปรก ภาษาอังกฤษเรียกว่า matriarch
  • ช้างเลี้ยงเท่านั้นที่มีลักษณนามว่า "เชือก" ส่วนช้างป่ามีลักษณนามว่า "ตัว" และช้างที่ขึ้นระวางเข้าใช้งานในราชการมีลักษณนามว่า "ช้าง"
  • ลูกช้างดูดนมแม่ด้วยปากโดยตรง ไม่ใช้งวง
  • มีความเชื่อว่าช้างเหยียบไข่ไก่ไม่แตกเพราะกลางฝ่าตีนช้างเว้าเข้าไป ไม่เป็นความจริง

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Haynes1993
  2. 2.0 2.1 Choudhury, A., Lahiri Choudhury, D.K., Desai, A., Duckworth, J.W., Easa, P.S., Johnsingh, A.J.T., Fernando, P., Hedges, S., Gunawardena, M., Kurt, F., Karanth, U., Lister, A., Menon, V., Riddle, H., Rübel, A., Wikramanayake, E. (2008). "Elephas maximus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. หน้า 93, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
  4. ทัวร์ช้างแม่สอด หนุนชาวช้างปูเต้อ, "สกู๊ปหน้า 1". ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21268: วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559: ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก
  5. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  6. กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. หน้า 110. ISBN 974-87081-5-2
  7. Asian elephant (อังกฤษ)
  8. Fernando, Prithiviraj; Vidya, T. N. C; Payne, John; Stuewe, Michael; Davison, Geoffrey; Alfred, Raymond J; Andau, Patrick; Bosi, Edwin; Kilbourn, Annelisa; Melnick, Don J. "DNA Analysis Indicates That Asian Elephants Are Native to Borneo and Are Therefore a High Priority for Conservation". PLoS Biology. 1 (1). doi:10.1371/journal.pbio.0000006. ISSN 1544-9173. PMID 12929206.
  9. Shoshani, J.; Eisenberg, J. F. (1982). "Elephas maximus" (PDF). Mammalian Species (182): 1–8. doi:10.2307/3504045. JSTOR 3504045. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 April 2013.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Deraniyagala, P.E.P. (1955). Some Extinct Elephants, Their Relatives and the Two Living Species. Colombo: Ceylon Natural History Museum.
  11. Girdland Flink, E.L.; Albayrak, E. & Lister, A. (2018). "Genetic insight into an extinct population of Asian elephants (Elephas maximus) in the Near East" (PDF). Open Quaternary. 4 (1): 1–9. doi:10.5334/oq.36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  12. Cranbrook, E.; Payne, J. & Leh, C.M.U. (2007). "Origin of the elephants Elephas maximus L. of Borneo" (PDF). Sarawak Museum Journal. 63: 95–125.
  13. Dammerman, K. W. (1932). "On Prehistoric Mammals from the Sampoeng Cave, Central Java". Treubia. 14 (4): 480–481.
  14. (%F1) &lang_send=thai&med_serial=1967 วีดิทัศน์สารคดีเรื่อง ตำราคชลักษณ์[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Elephas maximus ที่วิกิสปีชีส์