ช้างอินเดีย
ช้างอินเดีย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีน – ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ช้างอินเดียตัวผู้ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
อันดับ: | อันดับช้าง |
วงศ์: | วงศ์ช้าง |
สกุล: | สกุลช้างเอเชีย |
สปีชีส์: | E. maximus |
สปีชีส์ย่อย: | E. m. indicus |
Trinomial name | |
Elephas maximus indicus Cuvier, 1798 | |
ชื่อพ้อง | |
E. m. bengalensis de Blainville, 1843 |
ช้างอินเดีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephas maximus indicus) เป็นหนึ่งในสามสปีชีส์ย่อยที่ได้รับการยอมรับของช้างเอเชีย และอาศัยอยู่ในเอเชียแผ่นดินใหญ่[3]
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1986 ช้างเอเชียถูกจัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีแดงไอยูซีเอ็น เนื่องจากประชากรในป่าลดลงอย่างน้อย 50% นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1940 ช้างเอเชียถูกคุกคามจากการทำลาย, การเสื่อมโทรม และการแตกกระจายถิ่นฐานธรรมชาติ[2]
การกระจายพันธุ์
[แก้]เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชีย (E. maximus) ชนิดหนึ่ง นับเป็นช้างเอเชียชนิดที่มีการกระจายพันธุ์และจำนวนประชากรมากที่สุด พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียใต้จนถึงภูมิภาคอินโดจีน นับจากภูฏาน, กัมพูชา, มณฑลยูนนานของจีน, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ไทย, และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ในป่าทุกภูมิภาค โดยพบมากที่สุด ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เฉพาะที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีทั้งหมดประมาณ 300 ตัว[4] โดยสถานที่ ๆ มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก คือ อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในอินเดีย[5] ขณะที่ในป่าสงวนของเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีจำนวนช้างอินเดียประมาณ 300 ตัว นับเป็นประเทศเดียวที่จำนวนประชากรช้างอินเดียในธรรมชาติมีการเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการอนุรักษ์[6]
ลักษณะ
[แก้]ช้างอินเดีย มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ เพียงแต่มีสีผิวที่สว่างกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น แต่คล้ำกว่าช้างสุมาตรา (E. m. sumatranus) [7] มีความสูงประมาณ 2-4 เมตร (จากเท้าถึงหัวไหล่) และมีน้ำหนักประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มที่จะกินอาหารวันหนึ่งประมาณ 200 กิโลกรัม และดื่มน้ำมากถึงวันละ 50 แกลลอนต่อวัน อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมีช้างตัวเมียที่มีอายุมากที่สุดเป็น จ่าฝูง เรียกว่า "แม่แปรก" ตัวเมียจะไม่มีงา ขณะที่ช้างตัวผู้หากมีงาสั้น ๆ จะเรียกว่า "ช้างสีดอ" มีอายุการตั้งท้องนานถึง 22 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว มักอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง หรือทุ่งหญ้า มากกว่าป่าดิบ นับเป็นช้างชนิดที่มนุษย์ผูกพันและนำมาใช้งานมากที่สุด [8] [9]
ปัจจุบัน ช้างเอเชียตัวที่เชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก เป็นช้างอินเดียตัวผู้ ชื่อ "บีมกาส" อาศัยอยู่ในป่าลึกของอุทยานแห่งชาติบาเดียทางตะวันตกของเนปาล มีความสูง 10 ฟุตครึ่ง หรืออาจจะถึง 11 ฟุต มีอายุมากกว่า 25 ปี มีเส้นผ่าศูนย์กลางของรอยเท้าถึง 22 นิ้ว เป็นช้างที่ไม่ค่อยจะได้มีผู้พบเห็นตัว และมีภาพถ่ายอย่างเป็นทางการยืนยันได้แค่ภาพเดียวเท่านั้น ซึ่งในยุคทศวรรษ 1980 ก็มีช้างตัวผู้ลักษณะใหญ่โตแบบนี้เช่นเดียวกัน คือมีส่วนสูง 11 ฟุต วัดจากเท้าถึงหัวไหล่ 3.5 เมตร เท่ากับว่าใหญ่กว่าช้างเอเชียทั่วไปเท่าตัว และมีส่วนหัวขนาดใหญ่กว่าช้างทั่วไป จึงมีข้อสันนิษฐานว่าช้างอินเดียในแถบนี้อาจมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสเตโกดอน ช้างในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน และมีลักษณะเช่นนี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จากหลักฐานที่ค้นพบว่าสเตโกดอนได้อพยพจากไซบีเรียลงมาสู่อนุทวีปอินเดีย[10]
จากการล่าช้างเพื่อเอางา ทำให้ช้างอินเดียตัวผู้ในธรรมชาติ ปัจจุบันกลายเป็นช้างไม่มีงา หรือช้างสีดอมากถึงร้อยละ 4 โดยครึ่งหนึ่งนั้นเป็นประชากรช้างที่อาศัยอยู่ในจีน[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "fossilworks". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-12. สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
- ↑ 2.0 2.1 Choudhury, A.; Lahiri Choudhury, D. K.; Desai, A.; Duckworth, J. W.; Easa, P. S.; Johnsingh, A. J. T.; Fernando, P.; Hedges, S.; Gunawardena, M.; Kurt, F., Karanth, U. Lister, A., Menon, V., Riddle, H., Rübel, A. & Wikramanayake, E. (IUCN SSC Asian Elephant Specialist Group) (2008). "Elephas maximus". IUCN Red List of Threatened Species. 2008: e.T7140A12828813. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Shoshani, J.; Eisenberg, J. F. (1982). "Elephas maximus" (PDF). Mammalian Species (182): 1–8. doi:10.2307/3504045. JSTOR 3504045. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
- ↑ "ช้างเขาใหญ่ซ่าอีก บุกพังร้านอาหาร จนท.ขับรถต้อน ไล่ตะเพิด-เข้าป่า". ไทยรัฐ. 13 January 2015. สืบค้นเมื่อ 13 January 2015.
- ↑ สุดหล้าฟ้าเขียว, รายการโทรทัศน์: เสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ทางช่อง 3 โดย ปองพล อดิเรกสาร
- ↑ Untamed China with Nigel Marven, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556
- ↑ Shoshani, J. (2006) Taxonomy, Classification, and Evolution of Elephants In: Fowler, M. E., Mikota, S. K. (eds.) Biology, medicine, and surgery of elephants. Wiley-Blackwell. ISBN 0813806763. Pp. 3–14
- ↑ "ช้างเอเชีย, ช้างอินเดีย, ช้างไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-23. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
- ↑ Indian Elephant จากกองทุนสัตว์ป่าโลก
- ↑ Mammoth or Elephant? World’s Largest Asian Elephant, "biggest & baddest". สารคดีช่องอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
- ↑ China's Last Elephants, "China Uncovered" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 26 มกราคม 2556
อ่านเพิ่ม
[แก้]- G. P. Sanderson (1907) Thirteen years among the wild beasts of India: their haunts and habits from personal observation : with an account of the modes of capturing and taming elephants. John Grant, Edinburgh. 8th edition in 2000 by Asian Educational Services, New Delhi. ISBN 81-206-1464-X. ISBN 978-81-206-1464-2