ข้ามไปเนื้อหา

อุทยานแห่งชาติตาพระยา

พิกัด: 14°07′N 102°40′E / 14.12°N 102.66°E / 14.12; 102.66
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติตาพระยา
แผนที่
ที่ตั้งอำเภอโนนดินแดง อำเภอบ้านกรวด อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
พิกัด14°07′N 102°40′E / 14.12°N 102.66°E / 14.12; 102.66
พื้นที่594 ตารางกิโลเมตร (371,000 ไร่)
จัดตั้ง23 พฤศจิกายน 2539
ผู้เยี่ยมชม3,398 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
อุทยานแห่งชาติตาพระยา *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ผีเสื้อภายในเขตอุทยานแห่งชาติตาพระยา
ประเทศ ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(x)
อ้างอิง590-004
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2548 (คณะกรรมการสมัยที่ 29)
พื้นที่59,400 เฮกตาร์
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

อุทยานแห่งชาติตาพระยา ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโนนดินแดง อำเภอบ้านกรวด อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 82 ของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้]

อุทยานแห่งชาติตาพระยาตั้งอยู่บนเขตภูเขาสูงจากทิวเขาบรรทัดตลอดแนวจนไปถึงทิวเขาพนมดงรัก เป็นแนวเขตติดต่อระหว่างไทยกับกัมพูชาตั้งแต่หลักเขตประเทศที่ 24 ถึงหลักเขตที่ 28 วางตั้งในแนวทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 206–579 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาพรานนุช ความสูง 579 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันเฉลี่ยทั้งพื้นที่ประมาณร้อยละ 35 บริเวณที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 100–200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยเขาเขาวง เขาสะแกกรอง เขาบรรทัด เขาเนินหิน เขาพนมแม่ไก่ เป็นต้นน้ำลำธารของลำสะโดน ห้วยซับกระโดน ลำนางรอง ลำจันหัน ห้วยตรุมะเมียง ห้วยแห้ง ห้วยละหอกพลวง ห้วยดินทราย ห้วยนาเหนือ ห้วยพลู และห้วยเมฆา

ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้]

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของภูมิภาคนี้ อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดพามาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนวัดได้ระหว่าง 100 มิลลิเมตร ถึง 140 มิลลิเมตร ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทิวเขาพนมดงรักจะปะทะกับลมมรสุม และทำให้ฝนตกในบริเวณด้านที่รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูกาลมี 3 ฤดู ได้แก่

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีสูงสุดประมาณ 39.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 14.3 องศาเซลเซียส

แหล่งท่องเที่ยว

[แก้]

ด้านธรรมชาติ

[แก้]
  • ลานกระเจียว
  • อ่างเก็บน้ำเมฆา เป็นการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดนชายไทย–กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้ำในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2528
  • อ่างเก็บน้ำลำจังหัน
  • อ่างเก็บน้ำลำนางรอง
  • อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย
  • อ่างเก็บน้ำห้วยยาง
  • ผาแดง บ้านหนองเสม็ด ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเขตติดต่อระหว่างอำเภอโนนดินแดงกับอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติสามารถมาสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมดวงอาทิตย์ตก ทัศนียภาพของผืนป่าธรรมชาติอันกว้างใหญ่สวยงามของทิวเขาบรรทัดและป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับทะเลหมอกปกคลุมป่าดงใหญ่–ทิวเขาบรรทัดอันซับซ้อนสวยงามด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นจุดพักรถของคนเดินทางผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกด้วย ซึ่งช่วงนี้ในแต่ละวันได้มีนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางแวะมาเที่ยวชมพักผ่อน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเป็นจำนวนมาก ไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่น ๆ แหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในพื้นที่อำเภอโนนดินแดงอีกด้วย
  • น้ำตกผาแดง

ด้านประวัติศาสตร์

[แก้]
  • ช่องโอบก

ด้านเศรษฐกิจ

[แก้]

จุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 6 ใต้[1] ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งค้าขายกับประเทศกัมพูชา มีแผนจะเปิดเป็นจุดผ่อนปรนเร็ว ๆ นี้

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]