การศึกษาในประเทศไทย
กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | เพิ่มพูน ชิดชอบ ศุภมาส อิศรภักดี |
งบประมาณทางการศึกษา (พ.ศ. 2557) | |
งบประมาณ | 482,788,585,900 บาท[1] |
ข้อมูลทั่วไป | |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ |
ก่อตั้งกระทรวงธรรมการ | 1 เมษายน พ.ศ. 2435 |
การรู้หนังสือ (พ.ศ. 2548) | |
ทั้งหมด | 93.5[2] |
ผู้ชาย | 95.6[2] |
ผู้หญิง | 91.5[2] |
การลงทะเบียนเรียน (พ.ศ. 2551) | |
ทั้งหมด | 12,567,760[3] |
ประถมศึกษา | 5,370,546 [3] |
มัธยมศึกษา | 4,769,198 [3] |
อุดมศึกษา | 2,428,016 [3] |
การศึกษาในประเทศไทย เป็นการศึกษาที่จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย โดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[4] และต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปี[5] ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึงการศึกษาปฐมวัยอีกด้วย[6] ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[7] ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นถูกมองว่าล้าหลังและล้มเหลวเสมอมา[8] กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ว่า เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญา 98.59 ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเชาวน์ปัญญาทั้งโลกที่ระดับ 100 โดยเด็กไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสติปัญญาน้อยที่สุด สูงขึ้นมาจึงเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางตามลำดับ[9]
ระบบโรงเรียน
[แก้]สำหรับระบบการศึกษาในโรงเรียนของประเทศไทยนั้นจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ช่วงชั้นที่ 2 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ช่วงชั้นที่ 3 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3) และช่วงชั้นที่ 4 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)[10] โดยในช่วงชั้นที่ 4 นั้นนอกจากจะมีการจัดการศึกษาในสายสามัญแล้ว ยังมีการจัดการศึกษาในสายอาชีพด้วย ซึ่งในระดับชั้น ปวช. 1 - 3 นั้นจะเทียบเท่ากับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยนักเรียนที่เลือกสายสามัญมักมีความตั้งใจที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนนักศึกษาที่เลือกสายอาชีพมักวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การจ้างงานและศึกษาเพิ่มเติม[11]
ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมไปถึงอาชีวศึกษาจำเป็นต้องมีการสอบข้อเขียนซึ่งจัดสอบโดยโรงเรียน ส่งผลให้ในบางครั้งอาจมีปัญหานักเรียนไม่มีที่เรียนได้[12] นอกจากนักเรียนจะต้องสอบข้อเขียนของโรงเรียนแล้ว นักเรียนจำเป็นต้องมีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (ONET) ซึ่งมีการจัดสอบในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3[13] ยื่นประกอบในการพิจารณา ส่วนการทดสอบระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะนำไปใช้ในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย[14]
สำหรับประเทศไทยนั้นมีการแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน[15] โดยโรงเรียนรัฐนั้นจะบริหารจัดการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่นๆที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ส่วนโรงเรียนเอกชนจะบริหารจัดการโดยกลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิต่างๆที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง[16] ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม เป็นหลัก ในเขตชนบทของประเทศไทยนั้นหลายๆโรงเรียนมีลักษณะเป็นโรงเรียนขยายโอกาส คือ มีการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น หรืออาจมีการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาปฐมวัยด้วยก็ได้[17]
เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณทางการศึกษาแก่โรงเรียนชนบท ส่งผลให้นักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนมากกว่าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี[18] หรือเข้าศึกษาต่อในเขตเมืองของจังหวัดนั้น ๆ
ระดับชั้น
[แก้]การจัดการศึกษาในประเทศไทยในระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาและในระดับอาชีวศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาโดยภาคการศึกษาแรกจะจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคมถึงวันที่ 11 ตุลาคมของทุกปี ในขณะที่ภาคการศึกษาปลายจะเริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายนถึงวันที่ 1 เมษายน[19] อย่างไรก็ตามมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนเวลาการเปิดภาคการศึกษาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน แต่กระทรวงศึกษาธิการยังคงยืนยันที่จะกำหนดวันเปิดปิดภาคเรียนตามเดิม[19] สำหรับในระดับอุดมศึกษานั้นมีการจัดการเรียนการสอนออกเป็นทวิภาค ยกเว้นหลักสูตรนานาชาติที่จัดการเรียนการสอนแบบไตรภาค โดยมีภาคฤดูร้อนให้นิสิต/นักศึกษาสามารถเข้ามาศึกษาได้ สำหรับประเทศไทยได้แบ่งระดับชั้นการศึกษาไว้ดังตารางด้านล่างนี้[20]
ระดับชั้น | อายุ | |
---|---|---|
สายสามัญ | สายอาชีพ | |
การศึกษาปฐมวัย | ||
เตรียมอนุบาล | 2-3 | |
อนุบาล | 3-5 | |
ประถมศึกษา | ||
ประถมศึกษาปีที่ 1 | 6 - 7 | |
ประถมศึกษาปีที่ 2 | 7 - 8 | |
ประถมศึกษาปีที่ 3 | 8 - 9 | |
ประถมศึกษาปีที่ 4 | 9 - 10 | |
ประถมศึกษาปีที่ 5 | 10 - 11 | |
ประถมศึกษาปีที่ 6 | 11 - 12 | |
มัธยมศึกษาตอนต้น | ||
มัธยมศึกษาปีที่ 1 | 12 - 13 | |
มัธยมศึกษาปีที่ 2 | 13 - 14 | |
มัธยมศึกษาปีที่ 3 | 14 - 15 | |
มัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา | ||
มัธยมศึกษาปีที่ 4 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 1 | 15 - 16 |
มัธยมศึกษาปีที่ 5 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 2 | 16 - 17 |
มัธยมศึกษาปีที่ 6 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 3 | 17 - 18 |
อุดมศึกษาและเทียบเท่า | ||
สายตรงทั่วไป | สายอนุปริญญา | สายอาชีวศึกษา |
บัณฑิตปี 1 | อนุปริญญาปี 1 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 1 |
บัณฑิตปี 2 | อนุปริญญาปี 2 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 2 |
บัณฑิตปี 3 | ต่อเนื่องปี 1 | |
บัณฑิตปี 4 - 6 | ต่อเนื่องปี 2 - 4 | |
บัณฑิต (ปริญญาตรี) | ||
มหาบัณฑิต (ปริญญาโท) | ||
ดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) |
*หมายเหตุ : การเรียนในระดับอุดมศึกษาระดับบัณฑิต (ป.ตรี) แบ่งสายทางการศึกษาได้ 3 ประเภทดังตารางข้างต้น และเมื่อหลักสูตรใดกำหนดให้ต้องศึกษาระยะเวลาเท่าใดอยู่ที่กำหนดการของหลักสูตรนั้น และสถาบันอุดมศึกษานั้นที่เปิดสอน ผู้เรียนต้องศึกษารายละเอียดของหลักสูตรนั้นให้เข้าใจ สมมุติผู้เรียนต้องการศึกษาหลักสูตรบัณฑิต 4 ปี
1.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่อบัณฑิต 4 ปีในสถานศึกษานั้นจนครบหลักสูตร ก็จะเป็นไปตามตารางสายตรงทั่วไป
2.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออนุปริญญา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาแล้ว ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตในสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอนุปริญญา หลักสูตรอนุปริญญานี้เปิดสอนที่ สถาบันวิทยาลัยชุมชนและสถานศึกษาอื่น ๆ ที่ให้อนุปริญญาได้
3.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออาชีวศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตในสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงนี้เปิดสอนที่ สถาบันด้านอาชีวศึกษาหรือเรียกกันว่า "สายอาชีพ" ทั้งรัฐและเอกชน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 12 ถึง 14 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจัดการเรียนการสอน 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 15 ถึง 17 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา แล้วโดยจัดการเรียนการสอน 3 ปี โดยการเรียนการสอนมี 2 ประเภท แบ่งออกดังนี้
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
[แก้]- มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคือ 3 ปีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มสาระต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน[22]
- กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิทย์-คณิต)
- กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)
- กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)
- กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-สังคม (ศิลป์-สังคม)
การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา
[แก้]การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา เป็นการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาวิชาชีพ (ระดับเทคนิค) ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระได้โดยเน้นการแก้ปัญหาสร้างองค์ความรู้ในอาชีพ มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและเจตคติที่ดี หลังจากศึกษาจบแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อีก 2 ปี หรืออาจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 4 ปีก็ได้เช่นกัน โดยเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเลือกเรียนทางด้านสายอาชีพอาชีวศึกษาได้[23]
การศึกษาต่อสายทวิศึกษา
[แก้]การจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษา เป็นแนวคิดใหม่และเป็นการสร้างนวัตกรรมในการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ในการศึกษาทางด้านวิชาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ความสามารถต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบอาชีพ การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) คือการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้แก่ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความประสงค์จะเรียนในสายวิชาชีพ เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาครบตามหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองวุฒิการศึกษา ทั้งในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพร้อมกัน [24]
หลักสูตรในสายอาชีวศึกษา
[แก้]- 1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเครื่องกล แบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
- สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง แบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
- สาขาวิชาโลหะการแบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
- สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
- สาขาวิชาการพิมพ์ แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
- สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
- สาขาวิชาการต่อเรือ แบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
- สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยาง
- 2. ประเภทวิชาพณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
- สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด
- 3.ประเภทวิชาศิลปกรรม
- สาขาวิชาศิลปกรรมแบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม
- 4. ประเภทวิชาคหกรรม
- สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายแบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการแบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
- สาขาวิชาเสริมสวยแบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย
- 5. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง
- 6. ประเภทวิชาประมง
- สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
- สาขาวิชาประมงทะเล แบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล
- 7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว
- 8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
- สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น สาขางาน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- 9. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง
- 10. หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) 2551
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาเอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาเครื่องกล วิชาเอก เทคนิคช่างยนต์
- สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิชาเอก เชื่อมและประสาน
- สาขาวิชาโยธา วิชาเอก เทคนิคโยธา
- สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้ากำลัง
- สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้าสื่อสาร
เครื่องแบบและทรงผมนักเรียนนักศึกษา
[แก้]ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบนักเรียนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551[25] โดยสถานศึกษาจะต้องกำหนดเครื่องแบบให้ตรงตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการหรืออาจใช้เครื่องแบบอื่นตามที่สถานศึกษากำหนดก็ได้[25] โดยเครื่องแบบต่างๆของทุกระดับชั้นจะถูกกำหนดโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551[26]
สำหรับในระดับอุดมศึกษา ประเทศไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศของโลกที่บังคับใช้เครื่องแบบในระดับอุดมศึกษา อีกสามประเทศคือ ประเทศลาว ประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม[27] สำหรับเครื่องแบบในระดับอุดมศึกษานั้นยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในด้านต่าง ๆ[28] อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1,293 คน ระหว่างวันที่ 14-17 กันยายน 2556 พบว่า ร้อยละ 94.44 มีความคิดเห็นว่าเครื่องแบบยังมีความจำเป็นอยู่[29]
ระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 กระทรวงศึกษาธิการประกาศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเรื่องเครื่องแบบและทรงผมของนักเรียนนักศึกษา แต่ยังไม่ประกาศกรอบระยะเวลา[30] ต่อมาในปี 2565 มีการยกเลิกกฎกระทรวงเรื่องทรงผม ให้โรงเรียนต่าง ๆ มีอำนาจออกกฎควบคุมทรงผมได้เอง[31]
ประวัติศาสตร์การศึกษา
[แก้]สมัยสุโขทัย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมัยอยุธยา
[แก้]ในช่วงรัชสมัยกรุงศรีอยุธยา การศึกษาสำหรับราษฏร ยังจำกัดอยู่แค่ในวัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคำสอนของพุทธศาสนา ในเตรียมตัวสำหรับการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ราษฏรนิยมนำบุตรชายมาถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อเล่าเรียนหนังสือ และ ศึกษาเกี่ยวกับ พุทธศาสนาและ ภาษาบาลี ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้มีการแต่งหนังสือ จินดามณี โดย พระโหราธิบดี ถวายแด่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นแบบเรียนภาษาไทยฉบับแรก มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับ การใช้ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์[32]
สมัยรัตนโกสินทร์
[แก้]ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีชาวตะวันตกเข้ามามีบทบาทต่อราชสำนักสยาม รวมไปถึง คณะมิชชั่นนารีจากอเมริกา(คณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน)เข้ามาเผยคำสอนศาสนา ผ่านการศึกษา และมีบทบาทก่อตั้งสถานศึกษาแห่งแรกของสยาม ได้แก่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน [33]ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเมื่อมีการปฏิรูปในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนขึ้นในราชอาณาจักรตามแบบตะวันตกที่แยกวัดและสถานศึกษาไว้คนล่ะส่วน
การอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538
[แก้]การอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538 [34]ส่งผลให้ประเทศไทย ได้รับรางวัลยูเนสโกด้านการบริหารการศึกษาเป็นเลิศ[35]ในปี2540
การศึกษาร่วมสมัย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดการและการบริหาร
[แก้]โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบริหารจัดการ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งบประมาณ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การวิจัย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
[แก้]การศึกษาขั้นพื้นฐาน
[แก้]ในปี 2565 มีการเสนอให้แยกวิชาประวัติศาสตร์ออกจากกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามนโยบายของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจและรักชาติไทย แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าประวัติศาสตร์ที่สอนกันอยู่ปัจจุบันเน้นการปลูกฝังให้รักชาติและมีอคติเกลียดชังประเทศเพื่อนบ้าน[36] ทั้งนี้ ก่อนการแยกวิชาดังกล่าว พบว่าการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ของไทยคิดเป็น 1,200 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก[37]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาชีวศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อุดมศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษานอกระบบ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเรียนกวดวิชา
[แก้]โรงเรียนนานาชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ครูผู้สอน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2556 มีครูไทยปฏิบัติการสอนทั้งสิ้นประมาณ 660,000 คน โดยเป็นครูในภาครัฐจำนวน 538,563 คน และครูภาคเอกชน จำนวน 139,392 คน[38] โดยมีการกำหนดอัตราส่วนมากที่สุดของครูหนึ่งคนต่อนักเรียนหนึ่งห้องไว้ที่ 1:50[39]
การฝึกหัดครู
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การพัฒนาครู
[แก้]ข้อวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาไทยในปัจจุบัน
[แก้]การศึกษาไทยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาและความล้มเหลวที่เกิดขึ้น จากการจัดอันดับตามรายงานของ World Economic Forum ในปี พ.ศ. 2555 - 2556 ระบุว่าประเทศไทยมีอันดับคุณภาพทางการศึกษาลำดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ[40] โดยคนไทยกว่าร้อยละ 87 เชื่อว่าการศึกษาไทยอยู่อันดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนจริง[41] ซึ่งมูลเหตุที่สำคัญมาจากปัญหาที่สะสมมานานหลายประการอันเกิดมาจากระบบการเรียนการสอน หลักสูตร ครูผู้สอน โอกาสการเข้าถึงการศึกษา รวมไปถึงคุณภาพของนักเรียนไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางการศึกษาสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[42] พบว่างบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มเทไปที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน มากกว่าอาชีวศึกษาค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของอาชีวศึกษา[42] นอกจากนี้แม้จะจัดสรรงบประมาณให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นจำนวนมาก แต่ยังพบปัญหาโอกาสการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มีฐานะและผู้ไม่มีฐานะ[43] โดยหลักสูตรของไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพที่ตรงตามความสามารถของผู้เรียน เมื่อรวมเข้ากับค่านิยมของสังคมทำให้การจัดหลักสูตรของไทยไม่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน
ในระบบการศึกษาไทย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายอย่าง เช่นการลงโทษด้วยการตีในระดับชั้นอนุบาล ประถม มัธยม ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งห้ามไม่ให้ครูตีนักเรียน แต่โดยพฤตินัยยังมีการลงโทษด้วยวิธีนี้อยู่ทั่วไป[44] และในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษาบางส่วน มีการรับน้องโดยใช้ระบบโซตัส ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทุกปี
ในปี 2566 มีการเปิดเผยว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนจ่ายเงินเพื่อให้ตนเองมีชื่ออยู่ในงานวิจัยที่ตนเองไม่ได้ทำ[45]
การศึกษาหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
[แก้]ในเดือนกันยายน 2557 มีข่าวว่า ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ถูกลบออกจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ วินัย รอดจ่าย เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง แบบเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ไม่กล่าวถึงรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ระบุว่ามีรัฐบาลหนึ่งที่ "ได้ความนิยมจากประชาชนผ่านงบประมาณมหาศาล" แต่กล่าวถึงการคัดค้านการปกครองของทักษิณ โดยอธิบายการประท้วงซึ่งเกิดก่อนการโค่นอำนาจเขาว่าเป็น "ขบวนการประชาชนต่ออำนาจเผด็จการ การทุจริตและการยักยอก"[46]
ภายใต้หลักสูตรใหม่ นักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับความหมายและสัญลักษณ์นิยมของธงไตรรงค์ และจะเปิดเพลงอย่างสรรเสริญพระบารมีในโรงเรียน เด็กนักเรียนจะถูกฝึกให้เป็นทูตจิตวิญญาณรักชาติ โดยยกตัวอย่างนักเรียนตักเตือนผู้ใหญ่ที่ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ จะมีการติดป้ายขนาดใหญ่ซึ่งมีค่านิยม 12 ข้อของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั่วประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังริเริ่ม "พาสปอร์ตความดี" ซึ่งนักเรียนต้องบันทึกพฤติกรรมและเจตคติ[46] และ การสอบยูเน็ตในระดับอุดมศึกษาด้วย
ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 บริษัท เอสไอบีไอ จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นบริษัทแรก ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา โดยเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนในระบบ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน ประเภท โรงเรียนนานาชาติ[47]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" (PDF). กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "The World Factbook". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "จำนวนและร้อยละของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามชั้นและระดับการศึกษา ในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ปีการศึกษา 2551". ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ "พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕". สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-30. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ "นิยามทางการศึกษา". สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นโยบายเรียนฟรี 15 ปี". กระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน (17 มิถุนายน 2555). "เปลี่ยน..รัฐมนตรีศึกษาฯทุก 6 เดือน "สุชาติ"สอบผ่าน แต่..." มติชน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 1 October 2012.
- ↑ The Nation (8 July 2011). "Thai students found below global average". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-25. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ "หลักสูตรและการปฏิรูปการศึกษา". กรมวิชาการ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีวะและเทคนิคศึกษา". มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "เรียนต่อ ม.1 เด็ก 15% สอบเข้าไม่ได้". ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "ตารางสอบ O-NET ป.6 ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2556". สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "แผ่นพับองค์ประกอบและค่าร้อยละ Admissions 2557" (PDF). การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-29. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "Types of School". angloinfo. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔" (PDF). media.wix.com. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. "ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา: เมืองและชนบท". Institute for Population and Social Research (IPSR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "เผยพฤติกรรมเลือก ร.ร.พ่อแม่ยึดคุณภาพ-ฐานะครอบครัวเป็นหลัก". Unigang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ 19.0 19.1 "ข้อสรุปใหม่กระทรวงศึกษาธิการ "ไม่เลื่อนเปิดเทอม" สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา". Eduzone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "ระบบการศึกษา-ไทย". สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ นิยามทางการศึกษา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "การศึกษาต่อสายสามัญ (ม.4-ม.6)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-08-18.
- ↑ "การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา (ปวช.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2015-08-18.
- ↑ อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/politics/news_537283
- ↑ 25.0 25.1 "พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551" (PDF). ราชกิจจานุบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
- ↑ "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551". Longdo Law. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-11. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
- ↑ "ชุดนักเรียนไทยอยู่ตรงไหน?". ประเทศไทยอยู่ตรงไหน?. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ กานดา นาคน้อย. "ปลดเปลื้องเครื่องแบบนักศึกษา". สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
- ↑ "สวนดุสิต การันตี 94% ชี้เครื่องแบบ "ชุดนักศึกษา"จำเป็น!". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
- ↑ "Changes proposed to dress codes, haircuts and gender identity for Thai students". The Thaiger. 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 8 November 2020.
- ↑ "'ตรีนุช' ยกเลิกระเบียบทรงผม ให้อำนาจ ร.ร.กำหนดทรงผมไว้สั้น-ยาวได้". มติชนออนไลน์. 24 January 2023. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
- ↑ บุญเตือน ศรีวรพจน์, "จินดามณี ฉบับหลวงวงษาธิราชสนิท", นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ 11 กันยายน พ.ศ. 2552 หน้า 62-66 แม่มณีคุณหลวง
- ↑ "โรงเรียนเก่าแก่ที่สุดของไทย ชาย-หญิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2016-01-18.
- ↑ https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000113535
- ↑ https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000114483
- ↑ "แยกวิชาประวัติศาสตร์ ให้เด็กรักชาติ ความผิดปกติ แฝงประเด็นซ่อนเร้น หรือไม่?". ไทยรัฐ. 29 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
- ↑ "วิวาทะดราม่า แยกวิชาประวัติศาสตร์ สอนหรือยัดเยียดเด็กรักชาติ?". มติชนสุดสัปดาห์. 2 December 2022. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
- ↑ "การพัฒนาครูจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน". ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สพฐ.เสียงแข็ง! ไม่เพิ่มจำนวน นร.ต่อห้อง ยัน 50 คน ครูดูแลทั่วถึง". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อึ้ง!การศึกษาไทยรั้งท้ายอาเซียน". คมชัดลึกออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
- ↑ "โพลชี้คนมองการศึกษาไทยรั้งท้ายอาเซียน". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
- ↑ 42.0 42.1 "ส่องงบการศึกษาไทยบนเวทีอาเซียน". posttoday. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อึ้ง!!เด็กหลุดจากระบบการศึกษามีมากกว่า 7 แสนคนต่อปี เพราะไม่รู้เรียนไปเพื่ออะไร". matichon. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "การศึกษาไทยลง "เหว" เพราะหลักสูตร "เลว" รังแกเด็ก ตอนที่ 1 : กว่าจะรู้จัก (ตัวตน) ก็สายเสียแล้ว!". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สรุปดราม่า ช้อปปิ้งงานวิจัย จ่ายเงินแล้วใส่ชื่อ เอาไปเคลม-เบิกเงินได้ ไม่ต้องทำเอง". ข่าวสด. 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
- ↑ 46.0 46.1 Loved and Hated, Former Premier of Thailand Is Erased From Textbook
- ↑ 8 เรื่องน่ารู้หุ้น เอสไอเอสบี (SISB)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- History of Thai Education เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ministry of Education
- Commission of Higher Education เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- SAE Institute Bangkok Thailand
- Office of the National Education Commission
- Engineering & technology education in Thailand เก็บถาวร 2006-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (TransWorldEducation.com)
- Thailand education websites ที่เว็บไซต์ Curlie
- Colleges and Universities in Thailand ที่เว็บไซต์ Curlie
- International academic programs in Thailand ที่เว็บไซต์ Curlie
- Education of Thailand Website