ข้ามไปเนื้อหา

เอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว ครั้งที่ 8
เมืองเจ้าภาพญี่ปุ่น ซัปโปโระ, ประเทศญี่ปุ่น
คำขวัญBeyond Your Ambitions
(ญี่ปุ่น: 世界につながる、冬にする)
ประเทศเข้าร่วม31
กีฬา11 ชนิดกีฬา ใน 64 รายการ
พิธีเปิด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
พิธีปิด26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ประธานพิธีเจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมาร
สนามกีฬาหลักซัปโปโระโดม

กีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 (ญี่ปุ่น: 2017年アジア冬季競技大会) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาวครั้งที่ 8 (ญี่ปุ่น: 第8回札幌アジア冬季競技大会) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ซัปโปโระ 2017 เป็นมหกรรมกีฬาฤดูหนาวที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองซัปโปโระ และเมืองโอบิฮิโระ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ถึง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[1]

เดิมกำหนดการแข่งขันครั้งนี้อยู่ในปี 2015 (พ.ศ. 2558) อย่างไรก็ตามในการประชุมของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ประจำปี 2009 (พ.ศ. 2552) ได้ตัดสินใจในการย้ายช่วงการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูหนาวให้จัดก่อนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1 ปี

เมืองซัปโปโระ และเมืองโอบิฮิโระ เป็นเมืองที่ถูกเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 โดยคณะกรรมการโอลิมปิกญี่ปุ่น[2] ซึ่งได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 การแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่เมืองซัปโปโระเป็นเจ้าภาพในปี 1986, 1990 และครั้งที่ 4 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ โดยเมืองซัปโปโระเคยเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1972

การเสนอตัวป็นเจ้าภาพ

[แก้]

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 ในการประชุมของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ระหว่างการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2011 ณ กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ได้ประกาศว่าเมืองซัปโปโระ เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 โดนปราศจากคู่แข่ง[2]

ซึ่งนายฟูมิโอะ อูเอดะ นายกเทศมนตรีเมืองซัปโปโระ ได้ประกาศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554[3] โดยตั้งงบการแข่งขันประมาณ 3.5 ร้อยล้านเยน[4]


การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017
เมือง ประเทศ รอบที่ 1
ซัปโปโระ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น w/o

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ

[แก้]

หมู่บ้านนักกีฬา

[แก้]

ซึ่งครั้งนี้ทางเจ้าภาพไม่ได้สร้างหมู่บ้านนักกีฬา แต่นักกีฬา และเจ้าหน้าที่จะได้พักที่โรงแรมในเมืองซัปโปโระ และโอบิฮิโระ [5]

ศูนย์สื่อมวลชน

[แก้]

ศูนย์สื่อมวลชนเป็นศูนย์การถ่ายทอดสดนานาชาติ และศูนย์ข่าวของการแข่งขันครั้งนี้ โดยตั้งอยู่ที่ศูนย์ประชุมซัปโปโระ[5]

สนามกีฬา

[แก้]
สนามกีฬาซัปโปโระโดม สถานที่พิธีเปิดการแข่งขัน
สนามกีฬามิยาโนโมริ สถานที่แข่งขันกีฬาสกีกระโดดไกล

สนามกีฬาที่จัดการแข่งขันมีทั้งหมด 13 สนาม โดยบางส่วนเคยจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1972 ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองซัปโปโระ ยกเว้นสนามกีฬาวิ่งเสกต ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอบิฮิโระ[6]

สนามกีฬา กีฬา
สนามกีฬาซัปโปโระโดม Pictogram. พิธีเปิด
สนามกีฬาสกีกระโดดไกลโอกูรายามะ Pictogram. กีฬาสกีกระโดดไกล
สนามกีฬาสกีกระโดดไกลมิยาโนโมริ
สนามกีฬาชิราฮาตายามะโอเพน Pictogram. กีฬาสกีวิบาก
สกีรีสอร์ทเทเนะ Pictogram. กีฬาสกีลงเขา
Pictogram. กีฬาสโนว์บอร์ด
ลานสกีซัปโปโระบังเก Pictogram. กีฬาสกีลีลา
Pictogram. กีฬาสโนว์บอร์ด
สนามทวิกีฬาฤดูหนาวนิชิโอกะ Pictogram. กีฬาททวิกีฬาฤดูหนาว
สนามกีฬาในร่มสึกิซามุ Pictogram. กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง
สนามกีฬาในร่มมิกาโฮะ
ลานสเกตโฮชิโอกิ
สนามกีฬาเคอร์ลิงซัปโปโระ Pictogram. กีฬาเคอร์ลิง
สนามกีฬาสเกตน้ำแข็งโอบิฮิโระฟอเรสต์ Pictogram. กีฬาวิ่งสเกต
สนามกีฬาสเกตน้ำแข็งมาโกมาไน Pictogram. กีฬาสเกตลีลา
Pictogram. กีฬาวิ่งสเกตลู่สั้น
Pictogram. พิธีเปิด

เหรียญรางวัล

[แก้]

เหรียญรางวัลประจำการแข่งขันครั้งนี้ได้เปิดตัวเมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยเหรียญรางวัลนั้นจะสลักรูปดาว 3 ดวง ด้วยเพชร ซึ่งเรียงกันคล้ายกับเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งดาว 3 ดวงนี้เป็นตัวแทนความหวังของนักกีฬา รวมถึงพื้นผิวของเหรียญที่คล้ายกับเพชรที่ถูกเจียระไน แสดงถึงอากาศที่สดชื่นในฤดูหนาวที่จังหวัดฮกไกโด[7][8]

ซึ่งเหรียญรางวัลนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 55 มิลลิเมตร (2.2 นิ้ว) และมีความหนา 4.5 มิลลิเมตร (0.8 นิ้ว) โดยเหรียญทองจะมีน้ำหนัก 109.1 กรัม (3.85 ออนซ์), เหรียญเงินมีน้ำหนัก 107.1 กรัม (3.78 ออนซ์) และเหรียญทองแดงมีน้ำหนัก 87.9 กรัม (3.10 ออนซ์) [9]

ตั๋วการแข่งขัน

[แก้]

การจำหน่ายตั๋วการแข่งขันของรายการต่างๆ และพิธีเปิด จะเริ่มในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ซึ่งได้ทดลองจำหน่ายแล้วเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559[10] โดยจะเปิดให้เข้าขมฟรีในรายการสกีลงเขา, สกีลีลา, สโนว์บอร์ด ประเภทพาราเรล, วิ่งเสกต และฮอกกี้น้ำแข็งชาย ดิวิชั่น 3 [11]

ตั๋วการแข่งขันมีราคาเริ่มต้นประมาณ 500 เยน และตั๋วที่แพงที่สุดคือ ตั๋วพิธีปิดการแข่งขัน ซึ่งมีราคา 9,000 เยน ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ได้พบว่ามีการจำหน่ายตั๋วการแข่งขันได้เพียงร้อยละ 30 ของจำนวนตั๋วทั้งหมด โดยรายการสโนว์บอร์ด ฮาล์ฟไพพ์ชาย เป็นรายการเดียวที่จำหน่ายตั๋วได้หมด[12]

วิ่งคบเพลิง

[แก้]

การแข่งขัน

[แก้]

พิธีเปิด

[แก้]

พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นที่สนามกีฬาซัปโปโระโดม ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พิธีเปิดครั้งนี้จะมีการแสดงโดยวงดรีมส์ คัม ทรู[13]

พิธีปิด

[แก้]

พิธีปิดการแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นที่สนามกีฬาสเกตน้ำแข็ง มาโกมาไน ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งจะเริ่มพิธีหลังจากแข่งขันกีฬาสเกตลีลา ประเภทชายเดี่ยว พิธีปิดครั้งนี้จะมีการแสดงของนักกีฬาสเกตลีลาในครั้งนี้อีกด้วย

กีฬา

[แก้]

ในกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 จะจัดแข่งขันทั้งหมด 11 กีฬา โดยแบ่งเป็น 64 รายการ ดังนี้ 1.กลุ่มกีฬาสเกต คือ กีฬาสเกตลีลา, กีฬาวิ่งสเกตลู่ยาว และกีฬาวิ่งสเกตลู่สั้น 2.กลุ่มกีฬาสกี คือ กีฬาสกีลงเขา, กีฬาสกีวิบาก, กีฬาสกีผสม, กีฬาสกีกระโดดไกล และกีฬาสโนว์บอร์ด 3. กลุ่มอื่นๆ คือกีฬาทวิกีฬาฤดูหนาว, กีฬาเคอร์ลิง และกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง ส่วนกีฬาที่ไม่ได้จัดการแข่งขัน คือ กีฬาบอบเสลจ, กีฬาสเกเลตัน, กีฬาลุจ และกีฬาสกีผสม ซึ่งล้วนเป็นกีฬาที่จัดในโอลิมปิกฤดูหนาว[5]

ในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการที่แข่งขัน

ประเทศที่เข้าร่วม

[แก้]
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 ซึ่งมีทั้งหมด 29 ประเทศ โดยไม่รวมประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์

ในการแข่งขันครั้งนี้ มีประเทศเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 31 ประเทศ[14][15] โดยมีประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศศรีลังกา, ประเทศติมอร์-เลสเต, ประเทศเติร์กเมนิสถาน และประเทศเวียดนาม ได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ส่วน 3 ประเทศที่พลาดการเข้าแข่งขัน คื่อ ประเทศอัฟกานิสถาน (ไม่ส่งรายชื่อนักกีฬาในเวลาที่กำหนด), ประเทศกัมพูชา และ ประเทศอิรัก (ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหพันธ์สเกตนานาชาติ และได้ถูกปฏิเสธในการเข้าร่วม)

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีการประกาศที่จะรับนักกีฬาจากทวีปโอเชียเนียให้เข้าร่วมการแข่งขัน อย่างไรก็ตามนักกีฬาจากทวีปโอเชียเนียจะไม่นับเป็นนักกีฬาอย่างเป็นทางการ แต่จะเป็นนักกีฬารับเชิญแทน โดยที่จะไม่ได้เหรียญรางวัล

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017
ประเทศจากทวีปเอเชีย ประเทศจากทวีปโอเชียเนีย
ประเทศที่ไม่เข้าร่วมการแข่งขัน ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก
ประเทศจากทวีปเอเชีย

ประเทศจากทวีปโอเชียเนีย

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน

[แก้]
OC พิธีเปิด การแข่งขันรอบทั่วไป 1 การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ CC พิธีปิด
กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2560
18
ส.
19
อา.
20
จ.
21
อ.
22
พ.
23
พฤ.
24
ศ.
25
ส.
26
อา.
รายการ
Pictogram. พิธีการ OC CC
เคอร์ลิง 2 2
ทวิกีฬา 2 2 1 2 7
วิ่งสเกต 4 4 3 3 14
วิ่งสเกตลู่สั้น 2 2 4 8
สกีกระโดดไกล 1 1 1 3
สกีลงเขา 1 1 1 1 4
สกีลีลา 2 2 4
สกีวิบาก 2 2 2 2 2 10
สเกตลีลา 1 2 1 4
สโนว์บอร์ด 2 2 2 6
ฮอกกี้น้ำแข็ง 1 1 2
รายการทั้งหมด 2 10 9 8 8 11 8 8 64
รายการสะสมทั้งหมด 2 12 21 29 37 48 56 64
กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2560
18
ส.
19
อา.
20
จ.
21
อ.
22
พ.
23
พฤ.
24
ศ.
25
ส.
26
อา.
รายการ

ตารางสรุปเหรียญรางวัล

[แก้]

      ประเทศเจ้าภาพ[23]

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 ญี่ปุ่น (JPN)*27212674
2 เกาหลีใต้ (KOR)16181650
3 จีน (CHN)1214935
4 คาซัคสถาน (KAZ)9111232
5 เกาหลีเหนือ (PRK)0011
รวม (5 ประเทศ)646464192

การตลาด

[แก้]

สัญลักษณ์

[แก้]

ตุ๊กตาสัญลักษณ์

[แก้]
เอโซมง

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันครั้งนี้มีชื่อว่า "เอโซมง" เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับกระรอกบิน โดยพบที่จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ได้ที่เดียวเท่านั้น ซึ่งได้ใส่ผ้าพันคอสีแดง และใส่ผ้าคลุมสีฟ้าที่มีสัญลักษณ์กีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017[24]

ผู้ให้การสนับสนุน

[แก้]
ผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017
ผู้ให้การสนับสนุนหลัก ประจำกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017
ผู้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ประจำกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017
ผู้ส่งเสริมอย่างเป็นทางการ ประจำกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017

ความกังวลและข้อถกเถียง

[แก้]

โรงแรมเอพีเอ

[แก้]

โรงแรมเอพีเอในเมืองซัปโปโระเป็นหนึ่งในโรงแรมที่เป็นที่พักนักกีฬา ซึ่งได้มีปัญหาในกรณีที่นักท่องเที่ยวจีนได้อ่านหนังสือ และพบข้อความของ นายโทชิโอะ โมโตยะ (Toshio Motoya) ประธานบริษัท APA กรุ๊ป เขียนปฏิเสธประวัติศาสตร์สงครามที่นานกิงและกรณีหญิงจีนที่ถูกจับไปเป็นนางบำเรอแก่ทหารญี่ปุ่นอย่างโหดเหี้ยม โดยระบุว่าเป็นเรื่องที่ “เป็นไปไม่ได้” เรื่องราวดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ ซึ่งทางประเทศจีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก[25][26] [27]หลังจากกรณีดังกล่าวทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ถอดโรงแรมเอพีเอออกจากโรงแรมที่พักนักกีฬา [28]

ช่วงเวลาการแข่งขัน

[แก้]

ในช่วงการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 ได้ตรงกับช่วงการแข่งขันกีฬาฤดูหนาวชิงแชมป์โลก อาทิเช่น กีฬาสกีลงเขาชิงแชมป์โลก 2017 ซึ่งจัดที่เซนต์ มอริส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ส่งผลให้ให้ทางประเทศเลบานอนไม่ได้ส่งนักกีฬาที่ดีที่สุดเข้าแข่งขันครั้งนี้[29] รวมถึงกีฬาสกีกระโดดไกลชิงแชมป์โลก 2017 ซึ่งจัดที่ลาห์ตี ประเทศฟินแลนด์ ส่งผลให้ให้ทางประเทศอิหร่านไม่ได้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันครั้งนี้[30] จากผลกระทบนี้ทำให้ตั๋วการแข่งขันขายได้น้อยลง เนื่องจากนักกีฬาชั้นนำต่างสนใจที่จะเข้าแข่งขันกีฬาฤดูหนาวชิงแชมป์โลก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Goddard, Emily (5 สิงหาคม 2557). "Sapporo Asian Winter Games dates confirmed for February 2017". Insidethegames.biz. Dunsar Media. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. 2.0 2.1 "Sapporo, Obihiro named 2017 Winter Asiad co-hosts". Japan Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
  3. "Asian Games: Sapporo making bid for Asian Winter Games". Deccan Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-17. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
  4. "Asian Games: Sapporo to host 2017 Asian Winter Games". The Mainichi Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-16. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Sports Technical Handbook" (PDF). www.koreacurling.co.kr/. Sapporo Organizing Committee for the 8th Asian Winter Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "Venues". www.sapporo2017.org/. Sapporo 2017 Organizing Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-30. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. "Victory medal design for 2017 Sapporo Asian Winter Gamesช". www.sapporo2017.org/. Sapporo 2017 Organizing Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-30. สืบค้นเมื่อ 2017-01-27.
  8. "Sapporo 2017 reveals medal design for Asian Winter Games". www.ocasia.org/. Olympic Council of Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2017-01-27.
  9. Winters, Max. "Sapporo 2017 unveil official medals of the Games". Insidethegames.biz. Dunsar Media.
  10. "2017 Sapporo Asian Winter Games begin ticket pre-sales September 12". www.sapporo2017.org/. Sapporo 2017 Organizing Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-09. สืบค้นเมื่อ 2017-01-27.
  11. Pavitt, Michael. "Tickets for Sapporo 2017 Asian Winter Games go on sale". Insidethegames.biz. Dunsar Media.
  12. "Tickets for upcoming Asian Winter Games in Hokkaido selling slowly". Mainichi Shimbun. Chiyoda, Tokyo, Japan.
  13. "Asian Winter Games offers free entry to skiing events". www.theticketingbusiness.com/. Glen Wheeler Ltd.
  14. "2017 Sapporo AWG sport entries by NOC". www.sapporo2017.org. 8th Sapporo Asian Winter Games Organizing Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  15. Palmer, Dan. "Thirty-one countries confirmed for Asian Winter Games in Sapporo". Insidethegames.biz. Dunsar Media.
  16. "SAWGOC assumes the costs of participation of Tajik athletes in the Asian Winter Games". Asia-Plus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-06. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  17. "ไทยส่ง55นักกีฬาลุยอชก.ฤดูหนาวก.พ.หน้าที่ซัปโปโร - สยามกีฬา". www.siamsport.co.th/. Sport Syndicate Public Co. Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-07. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  18. "29 Filipino athletes to compete in 2017 Asian Winter Games". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  19. "No Specific Medal Target For 2017 Asian Winter Games, Youth Commonwealth Games".
  20. "Qualification Procedure for the International Ski Championships". www.sports-961.com/. Sports961. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-06. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  21. Kaluarachchi, Anjana. "SL steps into Winter Sports". Ceylon Today. Colombo, Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  22. Chen, May. "Asian Winter Games: Largest Singapore team to take to the ice". The Straits Times. Singapore.
  23. "Medal Standings" (ภาษาอังกฤษ). 8th Sapporo Asian Winter Games Organising Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-22.
  24. "Sapporo 2017 entry deadline approaches for NOCs". www.ocasia.org/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  25. Liping, Gu. "2017 Asian Winter Games organizer ask Japan's APA hotel to remove right-wing books". China News Service. Beijing, China.
  26. "Asian Games organizer asks Apa Group to take steps on Nanking Massacre denial book". The Japan Times. Tokyo and Osaka, Japan.
  27. "เลือดรักชาติพุ่ง! จีนบอยคอตโรงแรมญี่ปุ่น หลังออกหนังสือบิดเบือนประวัติศาสตร์โศกนาฎกรรมนานกิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-27. สืบค้นเมื่อ 2017-01-28.
  28. "Asian Winter Games organizer tries to calm row over APA book". Asahi Shimbun. Tokyo, Japan.
  29. "Qualification Procedure for the International Ski Championships". www.sports-961.com/. Sports961. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-06. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  30. "اعزام ملی‌پوشان اسکی صحرانوردی به مسابقات جهانی/تکلیف ایران در بازی‌های زمستانی مشخص شد" [Sending international, cross-country skiing World became clear what Iran will send]. Fars News Agency (ภาษาเปอร์เซีย). Tehran, Iran.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 ถัดไป
คาซัคสถาน อัสตานา – อัลมาตี
ญี่ปุ่น ซัปโปโระโอบิฮิโระ