ราชวงศ์โจว
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
โจว 周 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว 1046 ก่อน ค.ศ.–256 ก่อน ค.ศ. | |||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีนโบราณ | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||
• ราว 1046–1043 ก่อน ค.ศ. | พระเจ้าโจวอู่หวาง | ||||||||||
• 781–771 ก่อน ค.ศ. | พระเจ้าโจวโยวหวาง | ||||||||||
• 770–720 ก่อน ค.ศ. | พระเจ้าโจวผิงหวาง | ||||||||||
• 314–256 ก่อน ค.ศ. | พระเจ้าโจวหนั่นหวาง | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
ราว 1046 ก่อน ค.ศ. | |||||||||||
• ล่มสลาย | 256 ก่อน ค.ศ. | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• 273 ก่อน ค.ศ. | 30,000,000 | ||||||||||
• 230 ก่อน ค.ศ. | 38,000,000 | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | จีน |
เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์จีน |
---|
ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว
กำเนิดราชวงศ์โจว
[แก้]พระเจ้าโจวอู่หวางได้โค่นราชวงศ์ซางลงแล้ว ได้ตั้งราชวงศ์โจวขึ้นแทน ได้เริ่มการปกครองด้วยระบบศักดินา คือแยกแผ่นดินออกเป็นแคว้นต่าง ๆ แล้วส่งเชื้อพระวงศ์แซ่ "จี" ของพระองค์ให้เป็น "เจ้าผู้ครองนครรัฐ" ไปปกครอง โดยพระองค์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ในยุคของราชวงศ์นี้สร้างความเจริญให้แก่บ้านเมืองมาก ทั้งด้านการเมือง การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ แต่มีช่วงเวลา ที่เข้มแข็งจริง ๆ คือราว ๆ 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่เรียกว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก หรือ ซีโจว (Western Zhou) ที่มีเมืองหลวง คือ เฮ่าจิง
ต่อมา สมัยของพระเจ้าโจวโยวหวาง กษัตริย์องค์ที่ 12 ซึ่งหลงใหลมเหสีมาก มเหสีมีนามว่า เปาซือ กล่าวกันว่านางเป็นคนสวยมาก แต่เป็นคนยิ้มไม่เป็น ทำให้พระเจ้าโจวโยวหวางกลุ้มใจมาก ถึงกับตั้งรางวัลไว้พันตำลึง สำหรับผู้ที่ออกอุบายให้นางยิ้มได้ วันหนึ่งคิดอุบายได้ด้วยการจุดพลุให้อ๋องต่าง ๆ เข้าใจว่า ข้าศึกบุกเมืองหลวงแล้ว เมื่อยกทัพมาถึงกลับไม่มีอะไร ทำให้นางเปาซือหัวเราะออกมาได้ แต่บรรดาเจ้าเมืองหัวเมืองต่าง ๆ โกรธมาก เมื่อมีข้าศึกยกมาตีเมืองหลวงจริง ๆ พระเจ้าโจวโยวหวางได้จุดพลุขึ้นอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่มีเจ้าเมืองหัวเมืองใดๆ เชื่อถือ จึงไม่มีใครยกทัพมาช่วย ข้าศึกจึงตีเมืองได้ พระเจ้าโจวโยวหวางถูกฆ่าตาย นางเปาซือถูกจับตัวไป ยิ้มของนางต่อมาถูกเรียกว่า "ยิ้มพันตำลึงทอง" ซึ่งเป็นยิ้มที่นำความวิบัติมาสู่ราชวงศ์โจวโดยแท้ ต่อมาเจ้าเมืองหัวเมืองต่าง ๆ ได้ยกทัพมาช่วยตีข้าศึก แล้วตั้งพระเจ้าโจวผิงหวาง โอรสของพระเจ้าโจวโยวหวาง เป็นกษัตริย์ต่อไป ราชวงศ์โจวจึงต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ลกเอี๋ยง (ลั่วหยาง ในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ทางตะวันออก เรียกว่า ราชวงศ์โจวตะวันออก หรือ ตงโจว (Eastern Zhou) หลังจากนั้น ราชวงศ์โจวก็บัญชาเจ้าเมืองราชหัวเมืองต่าง ๆ ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากเจ้าเมืองทั้งหลายต่างแข็งเมืองและรบกันเองระหว่างแว่นแคว้นเพื่อต้องการเป็นใหญ่
ยุคชุนชิว ยุคจ้านกว๋อ และราชวงศ์โจวล่มสลาย
[แก้]ยุคจ้านกว๋อ เป็นยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แคว้นต่าง ๆ ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันเกิดสงครามระหว่างแคว้นผู้คนเดือดร้อนทุกข์ยากทำให้นักปราชญ์มีโอกาส เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และการปกครอง เพราะผู้คนในเวลานั้นต่างก็ต้องการที่พึ่ง ผู้ปกครองก็ต้องการแม่ทัพผู้ปราชญ์เปรื่อง จึงทำให้มีผู้คนมากมายรับฟังนักปราชญ์ อย่างขงจื้อ เล่าจื่อ และซุนวูผู้เขียนพิชัยสงคราม
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ The exact location of Wangcheng and its relation to Chengzhou is disputed. According to Xu Zhaofeng, "Chengzhou" and "Wangcheng" were originally synonymous and used to name the same capital city from 771 to 510 BC. "The creation of a distinction between Wangcheng and Chengzhou probably occurred during the reign of King Jing", under whom a new capital "Chengzhou" was built to the east of the old city "Wangcheng". Nevertheless, the new Chengzhou was still sometimes called Wangcheng and vice versa, adding to the confusion.[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Considering Chengzhou ("Completion of Zhou") and Wangcheng ("City of the King")" (PDF). Xu Zhaofeng. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 22, 2015. สืบค้นเมื่อ 22 July 2015.
ก่อนหน้า | ราชวงศ์โจว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์ชาง | ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน (1046–256 ปีก่อนคริสตกาล) |
ราชวงศ์ฉิน |