สงครามฝิ่นครั้งที่สอง
สงครามฝิ่นครั้งที่สอง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามฝิ่น | |||||||||
ภาพวาดสะพานปาลิเกียว ช่วงเวลาเย็นของยุทธการที่สะพานปาลิเกียวที่ถูกวาดโดย Émile Bayard | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
สหรัฐ | ราชวงศ์ชิง | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
| |||||||||
กำลัง | |||||||||
7400 นาย[ต้องการอ้างอิง] (แปดกองธงและกองทัพค่ายเขียว) | |||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
2900 นาย[3]รวมทั้ง สหราชอาณาจักร
|
| ||||||||
1 สหรัฐได้วางตัวเป็นกลางอย่างเป็นทางการ แต่ภายหลังได้ให้ความช่วยเหลือแก่อังกฤษในยุทธการที่ป้อมแบริเออร์ (ค.ศ. 1856)และยุทธการที่ป้อมต้ากู๋ (ค.ศ. 1859).[4] |
สงครามฝิ่นครั้งที่สอง (จีน: 第二次鴉片戰爭; พินอิน: Dì'èrcì Yāpiàn Zhànzhēng, ตี้เอ้อร์ชื่ออาเพี่ยนจ้านเจิง), ยังเป็นที่รู้จักกันคือ สงครามอังกฤษ-จีนครั้งที่สอง, สงครามจีนครั้งที่สอง, สงครามแอร์โรว, หรือ การเดินทางเข้าสู่จีนของอังกฤษ-ฝรั่งเศส,[5][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ] เป็นสงครามอาณานิคมซึ่งกินเวลา ตั้งแต่ ค.ศ. 1856 ถึง ค.ศ. 1860, ซึ่งจักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิฝรั่งเศสร่วมมือกันทำสงครามกับราชวงศ์ชิงของจีน
เป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ครั้งที่สองในสงครามฝิ่น ซึ่งต่อสู้รบเพื่อสิทธิ์ในการนำเข้าฝิ่นสู่จีน และส่งผลทำให้ราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้เป็นครั้งที่สอง และการบีบบังคับให้การค้าฝิ่นถูกกฏหมาย ทำให้เหล่าข้าราชการจีนหลายคนเชื่อว่าความขัดแย้งกับมหาอำนาจตะวันตกไม่ใช่เป็นการทำสงครามแบบโบราณอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตชาติที่กำลังใกล้เข้ามา
ใน ค.ศ. 1860 กองกำลังทหารอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าประชิดใกล้กับกรุงปักกิ่งและเข้าต่อสู้รบเพื่อบุกเข้าไปในเมือง การเจรจาสันติภาพได้ยุติลงอย่างรวดเร็ว และข้าหลวงใหญ่แห่งอังกฤษประจำจีนได้สั่งให้กองทหารต่างชาติบุกเข้าปล้นสะดมและทำลายพระราชวังฤดูร้อน ซึ่งเป็นพระราชวังและสวนหลวงที่พระจักรพรรดิต้าชิงใช้เป็นสถานที่บริหารราชการแผ่นดิน
ในระหว่างและหลังสงครามฝิ่นครั้งที่สอง รัฐบาลชิงถูกบีบบังคับให้ลงนามสนธิสัญญากับรัสเซีย เช่น สนธิสัญญาไอกุน และอนุสัญญาปักกิ่ง ส่งผลทำให้จีนต้องยกดินแดนที่มีพื้นที่ประมาณมากกว่า 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรให้แก่รัสเซียในทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลชิงสามารถพุ่งความสนใจไปที่การปราบกบฎไท่ผิงและรักษาการปกครองของตนเองเอาไว้ได้ นอกเหนือสื่งอื่นใด อนุสัญญาปักกิ่งต้องยกคาบสมุทรเกาลูนให้กับอังกฤษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฮ่องกง
ชื่อ
[แก้]คำว่า "ครั้งที่สอง"และ"สงครามแอร์โรว์" ต่างก็ถูกใช้ในวรรณกรรม สงครามฝิ่นครั้งที่สองหมายถึงหนึ่งในเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของอังกฤษ เพื่อทำให้การค้าฝิ่น[6]ถูกกฏหมาย ความพ่ายแพ้ของจีนยังเป็นการเปิดประเทศจีนทั้งหมดให้กับพ่อค้าอังกฤษและยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าต่างประเทศจากทางผ่านภายในประเทศ คำว่า "สงครามแอร์โรว์" หมายถึง ชื่อของเรือซึ่งเป็นตัวจุดชนวนของความขัดแย้งนี้[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Frontier and Overseas Expeditions from India. Volume 6. Calcutta: Superintendent Government Printing. 1911. p. 446.
- ↑ Wolseley, G. J. (1862). Narrative of the War with China in 1860. London: Longman, Green, Longman, and Roberts. p. 1.
- ↑ https://www.thoughtco.com/the-first-and-second-opium-wars-195276 [URL เปล่า]
- ↑ Magoc, Chris J.; Bernstein, David (2016). Imperialism and Expansionism in American History. Volume 1. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. p. 295. ISBN 978-1-61069-430-8.
- ↑ Michel Vié, Histoire du Japon des origines a Meiji, PUF, p. 99. ISBN 2-13-052893-7.
- ↑ Bickley, Gillian (2018-04-19). "Young American's first-hand account of second opium war". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-03.
- ↑ He, Tao. "British Imperialism in China | Guided History". Boston University (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-01-03.
- บทความทั้งหมดที่ใช้ยูอาร์แอลเปล่าในการอ้างอิง
- บทวามที่ใช้ยูอาร์แอลเปล่าในการอ้างอิงตั้งแต่May 2023
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่February 2022
- เกาลูน
- สงครามฝิ่นครั้งที่สอง
- สงครามเกี่ยวข้องกับทวีปเอเชีย
- สงครามในคริสต์ทศวรรษ 1850
- สงครามในคริสต์ทศวรรษ 1860
- สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 19
- สงครามเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิจีน
- สงครามเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร