ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยชิงหฺวา

พิกัด: 40°00′00″N 116°19′36″E / 40.00000°N 116.32667°E / 40.00000; 116.32667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยชิงหฺวา
清华大学
ตราประทับมหาวิทยาลัยชิงหฺวา
คติพจน์自强不息、厚德载物[1]
คติพจน์อังกฤษ
Self-Discipline and Social Commitment[2]
ประเภทรัฐ
สถาปนา1911; 114 ปีที่แล้ว (1911)
ทุนทรัพย์$4.23 พันล้าน (2018)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยWang Xiqin
Party SecretaryQiu Yong
อาจารย์3,565[3]
เจ้าหน้าที่4,101[ต้องการอ้างอิง]
ผู้ศึกษา50,390[4]
ปริญญาตรี16,030[4]
บัณฑิตศึกษา18,610[4]
15,750[4]
ที่ตั้ง,
40°00′00″N 116°19′36″E / 40.00000°N 116.32667°E / 40.00000; 116.32667
วิทยาเขต395 เฮกตาร์ (980 เอเคอร์)[3]
ดอกไม้เรดบัด และ ไลลัก[5]
สี  ม่วง
  ขาว[6][7]
เครือข่ายC9, AUA, AEARU, APRU, MISA
เว็บไซต์tsinghua.edu.cn
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ清华大学
อักษรจีนตัวเต็ม清華大學
หอประชุมใหญ่ (Grand Auditorium) สร้างในปี ค.ศ.1917 เป็นสถาปัตยกรรมแบบอเมริกันแบบ Jeffersonian architectural อันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและเด่นที่สุดในบริเวณมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยชิงหฺวา (จีน: 清华大学; พินอิน: qīnghuá dàxué; อังกฤษ: Tsinghua University) เป็นมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1911 ในบริเวณสวนของราชวงศ์ชิง โดยเงินบริจาคของรัฐบาลแมนจู ด้วยการเสนอของประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและมติของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จากเงินอุดหนุนการช่วยเหลือสมัยเหตุการณ์กบฏนักมวย รู้จักกันดีในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดหนึ่งในสองแห่งของจีน ชิงหฺวามีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนสองคน ได้แก่ หู จิ่นเทา[8] และ สี จิ้นผิง[9]

คณะและสาขาวิชา

[แก้]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชิงหฺวา มีคณะและสาขาวิชา ทั้งสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก ได้แก่

  1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (School of Architecture)
  2. คณะวิศวกรรมโยธา (School of Civil Engineering)
  3. คณะวิศวกรรมเครื่องกล (School of Mechanical Engineering)
  4. คณะการบินและอวกาศ (School of Aerospace)
  5. คณะสารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยี (School of Information Science and Technology)
  6. คณะวิศวกรรมซอฟแวร์ (School of Software)
  7. คณะวิทยาศาสตร์ (School of Sciences)
  8. คณะมนุษยศาสตร์ (School of Humanities)
  9. คณะสังคมศาสตร์ (School of Social Sciences)
  10. คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการ (School of Economics and Management)
  11. คณะศิลปกรรมศาสตร์ (Academy of Arts and Design)
  12. คณะแพทยศาสตร์ (School of Medicine)
  13. ภาควิชาคณิตศาสตร์ (Department of Mathematical Sciences)
  14. คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (School of Life Sciences)
  15. คณะวารสารศาสตร์และการสื่อสารชิงหฺวา (Tsinghua School of Journalism and Communication) (TSJC)
  16. คณะนโยบายสาธารณะและการจัดการ (School of Public Policy and Management)
  17. บัณฑิตวิทยาลัยชิงหฺวา-มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ วิทยาเขตเซินเจิ้น (Tsinghua–UC Berkeley Shenzhen Institute)
  18. สถาบันแลกเปลี่ยนนวัตกรรมระดับโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา (Tsinghua-UW Global Innovation Exchange) (GIX)

โครงการนักเรียนทุนชวาร์ซแมน

[แก้]

โครงการนักเรียนทุนชวาร์ซแมน (Schwarzman Scholars)[10] เป็นโครงการทุนการศึกษาจากเงินสนับสนุนของมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน สตีเฟ่น ชวาร์ซแมน ซึ่งมีวิสัยทัศน์ว่าประเทศจีนจะกลายเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของโลกในอนาคต ผู้นำโลกจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าขาดความรู้เกี่ยวกับประเทศจีน โดยจะมอบให้นักเรียนที่มีความโดดเด่นด้านวิชาการที่สุดจากทั่วโลก 200 คนต่อปี รับทุนการศึกษามาเรียนในหลักสูตรปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์และธุรกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ณ วิทยาลัยชวาร์ซแมน (Schwarzman College) ของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา โดยเริ่มรับนักศึกษาในปี ค.ศ. 2016 เขาลงทุนสร้างอาณาจักรพิเศษขึ้นที่ใจกลางมหาวิทยาลัย[11][12] โดยสร้างอาคารเรียนที่ดีที่สุด (ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังที่สุดในสหรัฐฯ) ผู้รับทุนจะพักอาศัยในที่พักที่ถูกออกแบบให้เทียบเคียงกับห้องรับรองผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งโครงการทุนนี้ได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศ มีคณะกรรมการโครงการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้นำโลกหลายท่าน มีการระดมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มาทำการสอนที่มหาวิทยาลัยชิงหฺวา โดยใช้งบประมาณในการลงทุนสูงถึง 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แซงโครงการทุนที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดอย่าง Rhode Scholarship ทุนเก่าแก่กว่าร้อยปีที่ให้นักเรียนหัวกะทิของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนีไปเรียนหลักสูตรปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทั้งนี้มีนักวิชาการอ้างว่าโครงการนักเรียนทุนชวาร์ซแมนเป็นโครงการ ทุนการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก จากงบประมาณในการลงทุนด้านทุนการศึกษาที่สูงที่สุดอีกด้วย[13]

ชื่อเสียง

[แก้]
ชิงหฺวา-ยฺเหวียน สวนเก่าแก่สมัยราชวงศ์ชิง ภายในมหาวิทยาลัยชิงหฺวา

มหาวิทยาลัยชิงหฺวา ได้รับการจัดอันดับให้เป็น มหาวิทยาลัยที่มั่งคั่งที่สุดทางการเงิน ด้วยงบประมาณสนับสนุนทางการศึกษาและการวิจัยจากการจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยจำนวน 100 แห่งในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน ด้วยงบประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] อีกทั้งได้รับฉายาว่า "MIT แห่งเมืองจีน" จากชื่อเสียงของวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เทียบเคียงสถาบันการศึกษาชื่อดังของสหรัฐอเมริกาอย่าง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และเป็น "มหาวิทยาลัยที่มีการจ้างงานบัณฑิตสูงสุด" อันดับที่หนึ่งของทวีปเอเชีย และอันดับที่สามของโลกในปี 2017[15]

สาขาวิชาที่โดดเด่น ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี สถาปัตยกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ลัทธิมาร์กซิสต์ บริหารธุรกิจ และวิทยาศาสตร์ ในระดับเอเชียและระดับโลก ในสายตาชาวจีนมหาวิทยาลัยชิงหฺวามีความโดดเด่นด้านวิชาการเทียบเท่ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่บริเวณข้างเคียงกันที่เน้นการเรียนการสอนสาขาวิชาด้านภาษา วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และสังคมศาสตร์

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชิงหฺวา มีอันดับมหาวิทยาลัยโลก อยู่ในอันดับที่ 17 ของโลก ประจำปี 2018-2019 โดย QS World University Rankings สำนักจัดอันดับชื่อดังจากประเทศอังกฤษ และอันดับที่ 30 ของโลก โดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์สำนักจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับเรื่องระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) ด้านการเรียนการสอนและการวิจัยมากที่สุด[16] มหาวิทยาลัยชิงหฺวา ได้รับการจัดอันดับให้เป็น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก ประจำปี 2017 ในอันดับที่ 14 ของโลก อันดับที่ 2 ของเอเชีย และอันดับที่ 1 ของจีน[17] และ ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น สุดยอดสถาบันการศึกษาจากกลุ่มประเทศ, เศรษฐกิจเกิดใหม่ และกลุ่ม BRICS อันดับที่ 1[18] จากการจัดอันดับของ QS World University Rankings 6 ปีติดต่อกันในปี 2013, 2014, 2015, 2016, 2017 และ 2018 อีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 学校沿革 (ภาษาจีนตัวย่อ). Tsinghua University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2016. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  2. "General Information". Tsinghua University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014.
  3. 3.0 3.1 "Facts and Figures: Tsinghua University". www.tsinghua.edu.cn/en/. December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Facts and Figures: Tsinghua University". www.tsinghua.edu.cn. December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  5. Tsinghua University (2016-03-03). 清華大學章程 (ภาษาจีนตัวย่อ). Beijing: Tsinghua University Alumni Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-29. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29. 校花为紫荆花(Cercis chinensis)及丁香花(紫丁香Syringa oblata、白丁香Syringa oblate Var.alba)。
  6. 清华大学章程 [Tsinghua University Regulations] (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
  7. 清华大学百年校庆组织委员会办公室 (2010). 校标、校徽、校色. 清华大学百年校庆网 (ภาษาจีน). Tsinghua University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2010.
  8. Research, CNN Editorial (20 ธันวาคม 2012). "Hu Jintao Fast Facts". CNN. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2021.
  9. Viktor, Eszterhai (22 พฤศจิกายน 2017). "Xi Jinping – a Leader's Profile". PAGEO Geopolitical Institute (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2021.
  10. "Schwarzman Scholars" (ภาษาอังกฤษ).
  11. 清华苏世民书院:以培养未来世界领袖为目标 打造国际化人才. 清华新闻网. 新華教育. 10 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2017.
  12. 黑石创始人苏世民对华捐3亿美元办学. 腾讯财经9. 22 เมษายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2016.
  13. อาร์ม ตั้งนิรันดร (24 เมษายน 2014). "ทุนการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก". กรุงเทพธุรกิจ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014.
  14. "Tsinghua crowned China's richest university". WantChinaTimes.com. 19 พฤศจิกายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2015.
  15. "Graduate Employability Rankings - 2017". QS Quacquarelli Symonds.
  16. "World University Rankings 2013-14". THE - Times Higher Education.
  17. "World Reputation Rankings 2016". THE - Times Higher Education.
  18. "University rankings - BRICS rankings 2013". QS Quacquarelli Symonds.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]