โอลิมปิกฤดูหนาว 2018
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สัญลักษณ์การแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 | |
เมืองเจ้าภาพ | พย็องชัง, ประเทศเกาหลีใต้ |
---|---|
คำขวัญ | Passion. Connected. (เกาหลี: 하나된 열정.) |
กีฬา | 15 ใน 7 กีฬา (102 รายการ) |
พิธีเปิด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 |
พิธีปิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 |
ประธานพิธีเปิด | มุน แจ-อิน (ประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้) |
นักกีฬาปฏิญาณ | โม แท-บ็อม |
ผู้ตัดสินปฏิญาณ | คิม อู-ซิก |
ผู้จุดคบเพลิง | คิม ยู-นา |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬาโอลิมปิกพย็องชัง |
ฤดูหนาว | |
ฤดูร้อน | |
กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว พย็องชัง | |
ฮันกึล | 평창 동계 올림픽 |
---|---|
ฮันจา | 平昌 冬季 올림픽 |
อาร์อาร์ | Pyeongchang Donggye Ollimpik |
เอ็มอาร์ | P'yŏngch'ang Tonggye Ollimp'ik |
กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 23 | |
ฮันกึล | 제23회 동계 올림픽 |
ฮันจา | 第二十三回 冬季 올림픽 |
อาร์อาร์ | Jeisipsamhoe Donggye Ollimpik |
เอ็มอาร์ | Cheisipsamhoe Tonggye Ollimp'ik |
กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 (เกาหลี: 2018년 동계 올림픽) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 23 (เกาหลี: 평창 동계 올림픽) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ พย็องชัง 2018 เป็นมหกรรมกีฬาฤดูหนาวที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองพย็องชัง, จังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 9 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ในสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 123 เมื่อเดือน 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ได้เลือกให้เมืองพย็องชังเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของเกาหลีใต้ ตั้งแต่การจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ณ กรุงโซล โดยเมืองพย็องชัง ของเกาหลีใต้ สามารถเอาชนะเมืองมิวนิกของเยอรมนี และเมืองอันซีของฝรั่งเศส หลังจากที่การคัดเลือกเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2 ครั้งที่ผ่านมา (2010, 2014) ไม่เป็นผลสำเร็จนับเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
พย็องชัง นับเป็นเมืองในเอเชียแห่งที่ 3 ที่ได้มีโอกาสจัดโอลิมปิกฤดูหนาว หลังจากที่เมืองซัปโปะโระ และนะงะโนะ ของญี่ปุ่น เคยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ค.ศ. 1972 และ ค.ศ. 1998 ตามลำดับ และเป็นครั้งแรกของกีฬาโอลิมปิกที่ได้จัดในเอเชียตะวันออก 3 ครั้งติดต่อกัน ก่อนที่จะมีการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ณ กรุงโตเกียว และโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ณ กรุงปักกิ่ง
การแข่งขันครั้งนี้ได้ชิงชัยกัน 102 รายการ จากทั้งหมด 15 ชนิดกีฬา โดยได้บรรจุรายการบิ๊กแอร์ในกีฬาสโนว์บอร์ด, แมสสตาร์ทในกีฬาสเกตความเร็ว, คู่ผสมในกีฬาเคอร์ลิง และทีมผสมในกีฬาสกีลงเขาครั้งแรก มีนักกีฬาแข่งขันทั้งหมด 2,922 คนจาก 92 ประเทศ อาทิ เอกวาดอร์, เอริเทรีย, คอซอวอ, มาเลเซีย, ไนจีเรีย และสิงคโปร์ ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรก ส่วนประเทศรัสเซียได้ถูกแบนจากการแข่งขัน หลังจากพบปัญหาการใช้สารกระตุ้นใน โอลิมปิกฤดูหนาว 2014 แต่ยังสามารถเข้าร่วมได้ในนาม "นักกีฬาโอลิมปิกจากประเทศรัสเซีย" นอกจากนี้ประเทศเกาหลีเหนือได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วย แม้ว่ายังอยู่ในภาวะตรึงเครียดระหว่างประเทศเกาหลีเหนือและใต้ โดยในพิธีเปิดประเทศเกาหลีเหนือและใต้ได้รวมทีมเกาหลี และได้ส่งแข่งขันกีฬาฮอกกี้น้ำแข่ง ประเภททีมหญิงในนามทีมรวมเกาหลีอีกด้วย
ประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่ได้เหรียญรางวัลมากที่สุดโดยได้ 39 เหรียญ รองลงมาคือประเทศเยอรมนีได้ 31 เหรียญ และประเทศแคนาได้ 29 เหรียญ ส่วนเหรียญทองนั้นประเทศนอร์เวย์และประเทศเยอรมนีได้เหรียญทองมากที่สุดโดยได้ไป 14 เหรียญทอง ส่วนประเทศเกาหลีใต้ได้เหรียญรางวัลมากที่สุดนับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขัน
การคัดเลือกเจ้าภาพ
[แก้]เมืองพย็องชัง พ่ายแพ้ต่อการขอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ทั้งๆ ที่คะแนนในรอบแรกมากกว่าเมืองอื่นๆ ทั้ง 2 ครั้ง แม้กระทั่งแวนคูเวอร์ (เจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2010) และโซชี (เจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2014)
ซึ่งในสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 123 เมื่อเดือน 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ จัดขึ้นเพื่อทำการคัดเลือกเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 โดยมีเมืองเข้าร่วมขอเป็นเจ้าภาพ 3 เมือง ได้แก่ เมืองมิวนิก ของเยอรมนี, เมืองอันซี ของฝรั่งเศส และเมืองพย็องชัง ของเกาหลีใต้
โดยทางไอโอซีได้เลือกให้เมืองพย็องชังเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่ามีความพร้อมที่จัดการแข่งขันตั้งแต่การคัดเลือกเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 นับเป็นเวลาถึง 8 ปี กับการที่เมืองพย็องชัง ของเกาหลีใต้ รอคอยการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว
ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 | |||||
---|---|---|---|---|---|
เมือง | ประเทศ | รอบที่ 1 | |||
พย็องชัง | เกาหลีใต้ | 63 | |||
มิวนิก | เยอรมนี | 25 | |||
อันซี | ฝรั่งเศส | 7 |
การเตรียมการ
[แก้]เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้ประกาศในการที่จะก่อตั้งของคณะกรรมการประสานงานของพย็องชัง 2018[1][2] หลังจากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ฝ่ายเมืองพย็องชังได้ก่อตั้งคณะกรรมการจัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 หรือชื่ออย่างเป็นทางการ "คณะกรรมการจัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2018 (POCOG)" โดยมีนายคิม จิน-ซุน เป็นประธาน ซึ่งได้ถูกแต่งตั้งในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หน้าที่แรกของคณะกรรมการจัดการแข่งขันคือ การร่วมจัดทำแผนแม่บท และการวางแผนในส่วนของสนามแข่งขัน[3] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการประสานงานของพย็องชัง 2018 ได้เยือนเมืองพย็องชังเป็นครั้งแรก เพื่อตรวจสอบการเตรียมการของเมืองพย็องชัง หลังจากนั้นก็ได้ได้เริ่มดำเนินการสร้างสนามแข่งขัน โดยเฉพาะหมู่บ้านนักกีฬา[4][5] อีกทั้งยังได้เริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 เพื่อที่จะเชื่อต่อระหว่างกรุงโซล และเมืองพย็องชัง[6]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล หรือ ไอพีซี ได้ประชุมกับคณะกรรมการจัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2018 เป็นครั้งแรก เพื่อที่จะตรวจสอบการดำเนินการของกีฬาพาราลิมปิกอีกด้วย[7] อีกทั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 นายฌัก โรคเคอ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ยังได้มาเยือนเมืองพย็องชังเป็นครั้งแรกอีกด้วย[8]
นอกจากนี้คณะกรรมการจัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2018 ยังได้จัดการประกวดตุ๊กตาสัญลักษณ์ ในวันที่ 27 มิถานายน พ.ศ. 2557[9] ซึ่งจะเริ่มประกวดเมื่อวันที่ 15 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมถึงเมืองพย็องชังได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวสำหรับผู้พิการทางสติปัญญา 2013 เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมในการจัดกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก 2018 อีกด้วย
คณะกรรมการจัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2018 ยังได้จัดตั้งโครงการ "พย็องชัง วินเนอร์ส์" ในปีพ.ศ. 2557 โดยได้เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาในประเทศเกาหลีใต้ เพื่อจะเผยแพร่ความรู้ของกีฬาโอลิมปิก โดยผ่านเครือข่ายสังคม และข่าวสารต่างๆ[10]
สนามแข่งขัน
[แก้]เขตเขาพย็องชัง
[แก้]- สวนกีฬาอัลเพนเซีย
อัลเพนเซียรีสอร์ทในเขตแด็กวัลเลย์ย็อง-มย็อน จะเป็นสถานที่จัดการแข่งขะนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018[11][12]
- สนามกีฬาโอลิมปิกพย็องชัง – พิธีเปิด และพิธีปิด[13]
- ศูนย์สกีกระโดดไกลอัลเพนเซีย – กีฬาสกีกระโดดไกล, กีฬาสกีผสม และกีฬาสโนว์บอร์ด (บิ๊กแอร์)
- ศูนย์กีฬาครอสคันทรี และไบแอธลอนอัลเพนเซีย – กีฬาสกีครอสคันทรี กีฬาทวิกีฬาฤดูหนาว และกีฬาสกีผสม
- ศูนย์กีฬาสไลดิ่งอัลเพนเซีย – กีฬาลูช, กีฬาบอบสเล และกีฬาสเกเลตัน
- หมู่บ้านนักกีฬา
- ศูนย์กีฬาสกีลงเขาย็องพย็อง – กีฬาสกีลงเขา (สลาลม, ไจแอนท์สลาลม)
- สนามแข่งขันอื่นๆ
- สวนหิมะโบกวัง – กีฬาสกีฟรีสไตล์ และกีฬาสโนว์บอร์ด
- ศูนย์กีฬาสกีลงเขาช็องซ็อน – กีฬาสกีลงเขา (ดาวน์ฮิลล์, ซูเปอร์-จี, ผสม)
เขตชายฝั่งคังนึง
[แก้]สวนกีฬาโอลิมปิกคังนึงจะเป็นสถานที่แข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018
- ศูนย์กีฬาฮอกกี้คังนึง – กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง (ประเภททีมชาย)
- ศูนย์กีฬาเคอลิ่งคังนึง – กีฬาเคอร์ลิง
- สนามกีฬาคังนึงโอว็อล[13] – กีฬาสเกตความเร็วลู่ยาว
- สนามกีฬาสเกตน้ำแข็งคังนึง – กีฬาสเกตความเร็วระยะสั้น และกีฬาเสกตลีลา
นอกจากนี้ยังมีสนามกีฬาในเขตมหาวิทยาลัยคาทอลิกควันดง
- ศูนย์กีฬาฮอกกี้ควันดง – กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง (ประเภททีมหญิง)
ตั๋วการแข่งขัน
[แก้]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ประกาศราคาตั๋วอย่างเป็นทางการ ซึ่งตั๋วของการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆจะมีราคาอยู่ในช่วง 20,000 - 900,000 วอน ส่วนตั๋วพิธีเปิด และพิธีปิดจะมีราคาอยู่ในช่วง 220,000 - 1.5 ล้านวอน ประมาณร้อยละ 50 ของตั๋วทั้งหมดจะขายประมาณ 80,000 วอนหรือน้อยกว่านั้น จากการสำรวจจะพบว่ากีฬาที่ไม่มีใครสนใจในประเทศเอเชีย อาทิ กีฬาไบทลอน และกีฬาลูช กีฬาเหล่านี้จะมีราคาของตั๋วที่ถูก เพื่อพยายามให้กีฬาเหล่านี้มีคนเข้าชมให้มากที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่าตั๋วของกีฬาฮอกกี้ชายมีราคาแพงที่สุด ซึ่งมีราคาอยู่ในช่วง 300,000 - 900,000 วอน รวมถึงกีฬาระบำสเกตที่มีราคาอยู่ในช่วง 150,000 - 800,000 วอน[14]
โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะเริ่มจำหน่ายตั๋วการแข่งขันที่ประเทศเกาหลีใต้ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559[14]
การตลาด
[แก้]สัญลักษณ์ทางการตลาด
[แก้]สัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ได้ถูกเปิดตัวเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยสัญลักษณ์นี้ได้ดัดแปลงจากอักษรฮันกึล โดย "ㅍ คือ p และ ㅊ คือ ch " ซึ่งเป็นเสียงเริ่มต้นของคำว่า " 평창 แปลว่า พย็องชัง " นอกจากนี้สัญลักษณ์ยังกล่าวถึงปรัชญาของเกาหลีที่เกี่ยวกับสวรรค์, โลก และมนุษยชาติ (เกาหลี: 천지인 Cheon-ji ) และด้านขวาของสัญลักษณ์มีลักษณะคล้ายผลึกน้ำแข็ง[15]
เมืองพย็องชัง " Pyeongchang " ได้ถูกเปลี่ยนชื่อทางการตลาดเป็น " PyeongChang " ด้วยการใช้ตัว "C" พิมพ์ใหญ่ (เรียกว่า CamelCase) เนื่องจากความกังวลที่ถูกหยิบยกขึ้นว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ประสงค์จะมาชมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 อาจเกิดความสับสนจากเมืองพย็องชาง ไปเป็นกรุงเปียงยาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ[16]
โดยนายชเว มุน-ซุน ผู้ว่าราชการจังหวัดคังว็อน ได้ยอมรับความคล้ายคลึงกันของชื่อของสองเมืองนี้ โดยนายชเวได้ยกกรณีของเรื่องนี้ว่า " นายแดเนียล โอโลเม โอเล เซพิต ชาวเผ่ามาซาย จากประเทศเคนยา ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองพย็องชัง เมื่อปี พ.ศ. 2557 ซึ่งนายเซพิตได้สับสนชื่อของทั้งสองเมืองนี้ ทำให้เขาพลาดในการเดินทาง โดยเขาได้เลือกเส้นทางไปยังกรุงเปียงยาง และได้ถูกสอบปากคำจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในเกาหลีเหนือ หลังจากนั้นเขายังถูกปรับเป็นจำนวน 500 ดอลลาร์สหรัฐ และถูกส่งตัวกลับไปยังกรุงปักกิ่ง[16]
ตุ๊กตาสัญลักษณ์
[แก้]คณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ได้เปิดตัวตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่มีชื่อว่า" ซูโฮรัง (수호랑) " ซึ่งเป็นเสือโคร่งขาว
ผู้ให้การสนับสนุน
[แก้]ผู้ให้การสนับสนุนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 |
---|
ผู้ให้การสนับสนุนหลักกีฬาโอลิมปิก |
ผู้ให้การสนับสนุนหลัก ประจำกีฬาโอลิมปิก 2018 |
ผู้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ประจำกีฬาโอลิมปิก 2018 |
ผู้ส่งเสริมอย่างเป็นทางการ ประจำกีฬาโอลิมปิก 2018
|
ผู้ช่วยสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ประจำกีฬาโอลิมปิก 2018
|
พิธีการ
[แก้]การวิ่งคบเพลิง
[แก้]การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ได้เริ่มขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ณ ประเทศกรีซ แล้วได้เคลื่อนย้ายเพลิงโอลิมปิกไปยังประเทศเกาหลีใต้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ในการวิ่งคบเพลิงทั้งหมด 101 วันได้ใช้ผู้วิ่งทั้งหมด 7,500 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเกาหลีที่มีจำนวนประชากร 75 ล้านคน
การวิ่งคบเพลิงได้ใช้พาหนะที่เป็นจุดเด่นของเมืองนั้นๆ อาทิ เรือเต่า ณ เกาะฮันซังโด, เคเบิลคาร์ ณ เมืองยอซู, เรือยอชท์ ณ นครปูซาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำหุ่นยรต์มาร่วมวิ่งคบเพลืง ณ เมืองเชจู และเมืองแทจ็อน[17]
พิธีเปิด
[แก้]พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 20.00 น. ตามเวลามาตรฐานเกาหลี ณ สนามกีฬาโอลิมปิกพย็องชัง ซึ่งสร้างเพื่อจัดพิธีการในโอลิมปิกและพาราลิมปิกโดยเฉพาะ และจะรื้อถอนเมื่อการแข่งขันพาราลิมปิกเสร็จสิ้น
นอกจากโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และมุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ประเทศเจ้าภาพแล้ว ยังมีแขกคนสำคัญเข้าร่วมในพิธีเปิด อาทิ แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งประเทศลักเซมเบิร์ก เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐและภริยา ชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น รวมถึงคิม ย็อง-นัม ประธานสภาประชาชนสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ และคิม โย-จอง หัวหน้าแผนกโฆษณาชวนเชื่อของพรรคแรงงาน น้องสาวของคิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ซึ่งนับเป็นการเยือนเกาหลีใต้ของผู้นำระดับสูงของเกาหลีเหนือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลี โดยในการเยือนดังกล่าว คิม โย-จอง ได้เป็นผู้นำสาส์นเชิญ ปธน. มุน แจ - อิน เยือนเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการจาก จากคิม จ็อง-อึน อีกด้วย
ในพิธีเปิด ขบวนพาเหรดของนักกีฬาจะนำด้วยประเทศกรีซ ตามด้วยประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขัน เรียงตามอักษรเกาหลี และปิดท้ายด้วยนักกีฬาเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ ที่เดินขบวนพาเหรดร่วมกัน โดยใช้ธงรวมเกาหลีนำ
พิธีปิด
[แก้]พิธีปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 จัดขึ้นที่สนามกีฬาโอลิมปิกพย็องชัง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 โดยมีโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เป็นผู้กล่าวปิดการแข่งขัน และได้มีการดับไฟในกระถางคบเพลิงอย่างเป็นทางการ
การแข่งขัน
[แก้]กีฬา
[แก้]ในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 จะจัดแข่งขันทั้งหมด 7 กีฬา โดยแบ่งเป็น 15 ชนิดกีฬา ดังนี้ 1.กลุ่มกีฬาสเกต คือ กีฬาสเกตลีลา, กีฬาสเกตความเร็วลู่ยาว และกีฬาสเกตความเร็วระยะสั้น 2.กลุ่มกีฬาสกี คือ กีฬาสกีลงเขา, กีฬาสกีวิบาก, กีฬาสกีผสม, กีฬาสกีกระโดดไกล และกีฬาสโนว์บอร์ด 3. กลุ่มกีฬาบอบเสล คือ กีฬาบอบเสลจ และกีฬาสเกเลตัน 4. กีฬาทวิกีฬาฤดูหนาว 5. กีฬาเคอร์ลิง 6. กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง 7. กีฬาลูช[12]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ได้บรรจุชนิดกีฬาใหม่ในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 คือ กีฬาสโนว์บอร์ด ประเภทบิกแอร์, กีฬาเคอร์ลิง ประเภทคู่ผสม, กีฬาสเกตลู่ยาว ประเภทแมสสตาร์ท และกีฬาสกีลงเขา ประเภททีม ส่วนกีฬาสโนว์บอร์ด ประเภทพาราเรล จะถูกถอดออก โดยมีประเภทบิกแอร์แทนประเภทนี้[18]
ในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ
กีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 | |||
---|---|---|---|
|
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
[แก้]จำนวนนักกีฬาแบ่งตามประเทศ
[แก้]
ก นักกีฬาจากประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้บางส่วนได้รวมเป็นประเทศเกาหลี
ข นักกีฬาจากประเทศรัสเซียเข้าร่วมในนามนักกีฬาโอลิมปิกจากประเทศรัสเซีย
ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน
[แก้]- วันที่แสดงเป็นเวลาท้องถิ่นของเมืองพย็องชัง (UTC+9)
OC | พิธีเปิด | ● | รอบคัดเลือก | 1 | รอบชิงชนะเลิศ | EG | รอบพิเศษ | CC | พิธีปิด |
กุมภาพันธ์ 2018 | 8 พฤ. |
9 ศ. |
10 ส. |
11 อา. |
12 จ. |
13 อ. |
14 พ. |
15 พฤ. |
16 ศ. |
17 ส. |
18 อา. |
19 จ. |
20 อ. |
21 พ. |
22 พฤ. |
23 ศ. |
24 ส. |
25 อา. |
จำนวน เหรียญ ทอง | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พิธีการ | OC | CC | ||||||||||||||||||
เคอร์ลิง | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 3 | |
ทวิกีฬาฤดูหนาว | 1 | 1 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 11 | ||||||||||
บอบสเลจ | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | 3 | |||||||||||||
ลุจ | ● | 1 | ● | 1 | 1 | 1 | 4 | |||||||||||||
สเกตความเร็ว | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | 2 | 14 | |||||||
สเกตความเร็วระยะสั้น | 1 | 1 | 2 | 1 | 3 | 8 | ||||||||||||||
สกีกระโดดไกล | ● | 1 | 1 | ● | 1 | 1 | 4 | |||||||||||||
สกีนอร์ดิกผสม | 1 | 1 | 1 | 3 | ||||||||||||||||
สกีลงเขา | 1 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | 11 | |||||||||||
สกีลีลา | ● | 1 | 1 | ● | 1 | 1 | 2 | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | 10 | |||||||
สกีข้ามทุ่ง | 1 | 1 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | 1 | 12 | |||||||||
สเกตลีลา | ● | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | EG | 5 | |||||||
สเกเลตัน | ● | 1 | 1 | 2 | ||||||||||||||||
สโนว์บอร์ด | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | ● | ● | 1 | 3 | 10 | ||||||||
ฮอกกี้น้ำแข็ง | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | 1 | 2 | |||
จำนวนเหรียญทองแต่ละวัน | 0 | 0 | 5 | 6 | 7 | 8 | 4 | 9 | 7 | 9 | 6 | 3 | 5 | 7 | 10 | 4 | 8 | 4 | 102 | |
จำนวนเหรียญทองสะสม | 0 | 0 | 5 | 11 | 18 | 26 | 30 | 39 | 46 | 55 | 61 | 64 | 69 | 76 | 86 | 90 | 98 | |||
กุมภาพันธ์ 2018 | 8 w. |
9 ศ. |
10 ส. |
11 อา. |
12 จ. |
13 อ. |
14 พ. |
15 พฤ. |
16 ศ. |
17 ส. |
18 อา. |
19 จ. |
20 อ. |
21 พ. |
22 พฤ. |
23 ศ. |
24 ส. |
25 อา. |
จำนวน เหรียญ ทอง |
ตารางสรุปเหรียญ
[แก้]อันดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | นอร์เวย์ (NOR) | 14 | 14 | 11 | 39 |
2 | เยอรมนี (GER) | 14 | 10 | 7 | 31 |
3 | แคนาดา (CAN) | 11 | 8 | 10 | 29 |
4 | สหรัฐ (USA) | 9 | 8 | 6 | 23 |
5 | เนเธอร์แลนด์ (NED) | 8 | 6 | 6 | 20 |
6 | สวีเดน (SWE) | 7 | 6 | 1 | 14 |
7 | เกาหลีใต้ (KOR)* | 5 | 8 | 4 | 17 |
8 | สวิตเซอร์แลนด์ (SUI) | 5 | 6 | 4 | 15 |
9 | ฝรั่งเศส (FRA) | 5 | 4 | 6 | 15 |
10 | ออสเตรีย (AUT) | 5 | 3 | 6 | 14 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Gunilla Lindberg to Chair PyeongChang 2018 Coordination Commission". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 4 October 2011.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|archivedate=
(help) - ↑ "Coordination Commissions". Olympic.org. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "PyeongChang 2018 Organizing Committee Launched". GamesBids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-20. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "PyeongChang 2018 Praised". Gamesbids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Pyeongchang 2018 have "good grasp of what is expected" says Lindberg after first IOC Coordination Commission visit". Insidethegames.biz. 22 มีนาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "Construction Begins on High-Speed Railway, Critical for PyeongChang 2018 Olympic Games". Gamesbids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "IPC Orientates PyeongChang 2018". Gamesbids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Pyeongchang 2018 on "right track" declares Rogge after first visit". Insidethegames.biz. 1 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 19 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "2018평창동계올림픽대회 및 장애인동계올림픽대회 마스코트 아이디어 공모". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-17. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.
- ↑ "Pyeongchang 2018 recruits college student reporters: WINNERS". 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-10. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ "PyeongChang 2018 Alpensia Resort and water park complete and full for summer season". Sportsfeatures.com. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 12.0 12.1 "Pyeongchang2018 Volume 2 (Sport and Venues)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 13.0 13.1 "Pyeongchang 2018 move venue for Opening and Closing Ceremonies | Winter Olympics 2018". insidethegames.biz. 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 14.0 14.1 "Pyeongchang 2018 reveal ticket prices for Winter Olympic Games".
- ↑ "PyeongChang 2018 Launches Official Emblem". olympic.org. International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 16.0 16.1 "Olympics: 2018 Winter Olympics … not in Pyongyang". Manila Bulletin. Agence France-Presse. 26 มกราคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม พ.ศ. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "Overview | Olympic Torch Relay | The Olympic Winter Games PyeongChang 2018 Torch Relay". PyeongChang Organizing Committee for the 2018 Olympic and Paralympic Winter Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2018.
- ↑ "Winter Olympics: Big air, mixed curling among new 2018 events". BBC.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official website เก็บถาวร 2017-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Pyeongchang 2018 (IOC)