ข้ามไปเนื้อหา

การกรีธาทัพขึ้นเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกรีธาทัพขึ้นเหนือ
ส่วนหนึ่งของ สมัยขุนศึก

ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: เจียงกำลังตรวจตราทหารในกองทัพ; กองทัพปฏิวัติแห่งชาติเดินทัพขึ้นเหนือ; หน่วยปืนใหญ่ของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติในสมรภูมิ; พลเรือนกำลังแสดงการสนับสนุนต่อกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ; ชาวนาที่อาสาเข้าร่วมการกรีธาทัพ; ทหารกองทัพปฏิวัติแห่งชาติกำลังเตรียมพร้อมสำหรับเปิดฉากโจมตี
วันที่9 กรกฎาคม ค.ศ. 1926 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1928
(2 ปี และ 173 วัน)
สถานที่
ทางตอนใต้ถึงตอนเหนือของประเทศจีน
ผล

กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนชนะ

คู่สงคราม

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) รัฐบาลชาตินิยม

สนับสนุนโดย:
 สหภาพโซเวียต[2]
โคมินเทิร์น[3]

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) รัฐบาลเป่ย์หยาง

สนับสนุนโดย:
 ญี่ปุ่น[4]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เจียง ไคเชก
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เฟิง ยฺวี่เสียง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) หลี่ จงเหริน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ไป้ ช่งฉี่
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เหอ อิ้งชิน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) หยาน ซีชาน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) จาง ฟาขุย
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ลี จี้เชิน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ถาน หยานไข่
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เฉิง เฉียน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เติ้ง เหยี่ยนต๋า
โจว เอินไหล
เย่ ถิ่ง
สหภาพโซเวียต มีฮาอิล โบโรดิน[5]
สหภาพโซเวียต วาซีลี บลูย์เฮียร์[6]
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) จาง จั้วหลิน 
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) จาง เสฺวเหลียง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) จาง จงชาง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) หยาง ยฺหวี่ติ๋ง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) อู๋ เป้ย์ฝู
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ซุน ฉฺวันฟาง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ฉู่ ยฺวี่ปู้
กำลัง
ป. 100,000 นาย (กรกฎาคม ค.ศ. 1926)[7]
ป. 264,000 นาย (ธันวาคม ค.ศ. 1926)[8]
ป. 700,000 นาย (ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1927)[9]
ป. 1,000,000 นาย (ค.ศ. 1928)[10]
ป. 700,000–1,000,000 นาย (ค.ศ. 1926)[10][11]
ป. 190,000–250,000 นาย (ธันวาคม ค.ศ. 1928)[1]
เสียชีวิต 366,000-953,000 นาย โดยประมาณ (รวมผู้ที่มิใช่พลรบ)[12]
เส้นทางการกรีธาทัพขึ้นเหนือ

การกรีธาทัพขึ้นเหนือ เป็นการทัพทางทหารที่เปิดฉากขึ้นโดยกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนของก๊กมินตั๋งเพื่อต่อต้านรัฐบาลเป่ย์หยางและขุนศึกตามภูมิภาคอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1926 จุดประสงค์ของการทัพในครั้งนี้คือการรวมจีนเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งประเทศได้แตกแยกเป็นฝ่ายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิวัติซินไฮ่ การกรีธาทัพขึ้นเหนือนำโดยนายพล เจียง ไคเชก และได้แบ่งระยะการรบออกเป็นสองช่วงเวลา โดยระยะการรบครั้งแรกสิ้นสุดลงเพราะเกิดการแตกแยกทางการเมืองของสองขั้วก๊กมินตั๋งใน ค.ศ. 1927 ระหว่างขั้วฝ่ายขวาในหนานจิงที่นำโดยเจียง กับขั้วฝ่ายซ้ายในอู่ฮั่นที่นำโดยวาง จิงเว่ย์[13] ซึ่งการแตกแยกนี้นำไปสู่แรงจูงใจต่อเหตุการณ์กวาดล้างคอมมิวนิสต์ในเซี่ยงไฮ้ของเจียง อันถือเป็นการยุติลงของแนวร่วมที่หนึ่ง ต่อมาเจียง ไคเชก ได้ลาออกจากการเป็นผู้บัญชาการกองทัพปฏิวัติแห่งชาติและลี้ภัยตนเองไปญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1927 เพื่อพยายามแก้ไขรอยร้าวจากความแตกแยกนี้[14][15]

ระยะการรบครั้งที่สองของการกรีธาทัพเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1928 เมื่อเจียงกลับมาเป็นผู้บัญชาการทหารอีกครั้งหนึ่ง โดยประมาณเดือนเมษายน ค.ศ. 1928 กองกำลังชาตินิยมเดินทัพเข้าสู่แม่น้ำหวง ด้วยความช่วยเหลือจากขุนศึกพันธมิตร เช่น หยาน ซีชาน และเฟิง ยฺวี่เสียง กองกําลังชาตินิยมจึงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองทัพเป่ย์หยาง เมื่อกองกำลังชาตินิยมเข้าใกล้กรุงปักกิ่งมากขึ้นทุกที จาง จั้วหลิน ผู้นำก๊กเฟิ่งเทียนที่ตั้งมั่นอยู่ในแมนจูเรียจึงพยายามหลบหนีและถูกลอบสังหารหลังจากนั้นไม่นาน จาง เสฺวเหลียง ผู้เป็รบุตรชายของจาง จั้วหลิน จึงสืบตำแหน่งผู้นำก๊กเฟิ่งเทียนต่อมา และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1928 เขาได้ประกาศว่าแมนจูเรียจะยอมรับอำนาจของรัฐบาลชาตินิยมในหนานจิง ทำให้ดินแดนส่วนสุดท้ายของจีนอยู่ภายใต้การควบคุมของก๊กมินตั๋งในที่สุด การกรีธาทัพจึงถือว่าเป็นผลสำเร็จและจีนกลับมารวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยทศวรรษหนานจิง[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Jowett 2017, p. 8.
  2. Fenby 2004, pp. 117, 119–123.
  3. Kotkin 2014, pp. 626–629.
  4. Gao 2009, p. 115.
  5. Jacobs 1981, p. 211.
  6. Wilbur 1983, p. 14.
  7. Jowett 2017, pp. 2, 7.
  8. Jowett 2017, p. 7.
  9. Jowett 2014, p. 26.
  10. 10.0 10.1 Jowett 2017, p. 2.
  11. Jowett 2014, p. 35.
  12. Rummel, R. J. (2017). "Genocide and Mass Murder Since 1900". China's Bloody Century. p. 74.
  13. Taylor 2009, p. 68.
  14. Taylor 2009, p. 72.
  15. Boorman, Cheng & Krompart 1967, p. 53.
  16. Taylor 2009, p. 83.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]