ประเทศโอมาน
รัฐสุลต่านโอมาน سلطنة عُمان (อาหรับ) | |
---|---|
ที่ตั้งของประเทศโอมานในคาบสมุทรอาหรับ (สีเขียวเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | มัสกัต 23°35′20″N 58°24′30″E / 23.58889°N 58.40833°E |
ภาษาราชการ | อาหรับ[1] |
ศาสนา | อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ) |
เดมะนิม | ชาวโอมาน |
การปกครอง | รัฐเดี่ยวอิสลาม สมบูรณาญาสิทธิราชย์ |
• สุลต่าน | สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัยษัม บิน ฏอริก อาล ซะอีด |
ษียะซิน บิน ฮัยษัม | |
สภานิติบัญญัติ | สภาโอมาน |
• สภาสูง | สภาแห่งรัฐ (มัจลิซุดเดาละฮ์) |
• สภาล่าง | สภาที่ปรึกษา (มัจลิซุชชูรอ) |
ก่อตั้ง | |
• การอพยพของเผ่าอัซด์ | ค.ศ. 130 |
• อัลญุลันดา | ค.ศ. 629 |
• ก่อตั้งรัฐอิหม่าม[2] | ค.ศ. 751 |
ค.ศ. 1154 | |
ค.ศ. 1624 | |
• ราชวงศ์อาล ซะอีด | ค.ศ. 1744 |
8 มกราคม ค.ศ. 1856 | |
ค.ศ. 1954–1959 | |
9 มิถุนายน ค.ศ. 1965 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1975 | |
• รัฐสุลต่านโอมาน | 9 สิงหาคม ค.ศ. 1970 |
• ยอมรับเป็นสมาชิกสหประชาชาติ | 7 ตุลาคม ค.ศ. 1971 |
11 มกราคม ค.ศ. 2021 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 309,500 ตารางกิโลเมตร (119,500 ตารางไมล์) (อันดับที่ 70) |
น้อย | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 4,424,762[3] (อันดับที่ 125) |
• สำมะโนประชากร 2010 | 2,773,479[4] |
15 ต่อตารางกิโลเมตร (38.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 177) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 203.959 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 67) |
• ต่อหัว | 47,366 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 23) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 62.305 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 75) |
• ต่อหัว | 14,423 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 49) |
จีนี (2018) | 30.75[6] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | 0.813[7] สูงมาก · อันดับที่ 60 |
สกุลเงิน | เรียลโอมาน (OMR) |
เขตเวลา | UTC+4 (เวลามาตรฐานอ่าวเปอร์เซีย) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +968 |
โดเมนบนสุด | .om, عمان. |
เว็บไซต์ www.oman.om |
โอมาน (อังกฤษ: Oman; อาหรับ: عُمان) หรือชื่อทางการว่า รัฐสุลต่านโอมาน (อังกฤษ: Sultanate of Oman; อาหรับ: سلطنة عُمان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบีย และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเยเมน มีชายฝั่งบนทะเลอาหรับทางใต้และตะวันออก และอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ก็ยังมีดินแดนส่วนแยกอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้วย มีเมืองหลวงที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมัสกัต
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โอมานเป็นอาณาจักรที่แข่งขันกับจักรวรรดิโปรตุเกสและบริติชเพื่อแย่งชิงอิทธิพลในอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย อาณาจักรเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุดในศตวรรษที่ 19 อิทธิพลของโอมานขยายไปทั่วช่องแคบฮอร์มุซไปจนถึงบริเวณที่เป็นประเทศอิหร่านและปากีสถานในปัจจุบัน[8] เมื่ออำนาจของโอมานเริ่มเสื่อมถอยลงในศตวรรษที่ 20 ดินแดนทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 300 ปี ในช่วงเวลานี้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรเกิดจากการมีผลประโยชน์ร่วมกัน สหราชอาณาจักรยอมรับความสำคัญทางภูมิศาสตร์ของโอมานในฐานะศูนย์กลางการค้าที่ยึดเส้นทางการค้าในอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย และปกป้องอาณาจักรของพวกเขาในอนุทวีปอินเดีย และกรุงมัสกัตยังเคยเป็นท่าเรือการค้าหลักของภูมิภาคในอ่าวเปอร์เซียในอดีต
สุลต่าน สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด อาล ซะอีด ถือเป็นผู้นำตกทอดของประเทศในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1970 จนกระทั่งการสวรรคตใน ค.ศ. 2020[9] ตามกฎของการสืบราชบัลลังก์สุลต่านโอมาน พระราชโอรสของสุลต่านมักจะได้รับการประกาศให้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านกอบูสไม่มีพระราชโอรส และ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัยษัม บิน ฏอริก อาล ซะอีด ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังค์ต่อ[10]
โอมานเป็นรัฐอิสระที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอาหรับ[11] และเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับ สภาความร่วมมืออ่าวอาหรับ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และองค์การความร่วมมืออิสลาม โอมานมีปริมาณน้ำมันสำรองเป็นอันดับที่ 22 ของโลก[12] ใน ค.ศ. 2010 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จัดอันดับโอมานเป็นประเทศที่มีการพัฒนามากที่สุดในโลกในแง่ของการพัฒนาในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา[13] รายได้หลักของประเทศมาจากการท่องเที่ยว การค้า ประมง อินทผลัม และผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ โอมานจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มีรายได้สูง และใน ค.ศ. 2021 โอมานอยู่ในอันดับที่ 73 ของประเทศที่สงบสุขที่สุดในโลกตามดัชนีสันติภาพโลก
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศ
[แก้]รัฐสุลต่านโอมานมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขา มีชายฝั่งทะเลยาว 2,092 กิโลเมตร ปรากฏบริเวณที่เป็นภูเขาสูงอยู่ 2 บริเวณแคบ ๆ คือ บริเวณติดต่อกับเยเมน และบริเวณชายฝั่งอ่าวโอมาน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีลุ่มบางแห่งแถบชายฝั่งบริเวณหัวแหลมและอ่าวอยู่หลายแห่งมีเกาะ กลุ่มเกาะอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ เกาะและกลุ่มเกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะมาสิราห์ กลุ่มเกาะคูเรีย มาเรีย และกลุ่มเกาะนิก้า นิโกร เป็นต้น
ภูมิอากาศ
[แก้]โอมานสามารถแบ่งเขตลักษณะภูมิอากาศได้ ดังนี้
- เขตกึ่งทะเลทราย-ร้อนแห้งแล้ง และอบอุ่นแห้งแล้ง ปรากฏอยู่เป็นแนวแคบ ๆ แถบภูเขาสูงชายฝั่งอ่าวโอมาน พืชพรรณ เป็นไม้พุ่มเตี้ย ไม้หนาม หญ้าทนแล้งประเภทต่าง ๆ
- เขตทะเลทราย-แห้งแล้งจัดตลอดปี ปรากฏกระจายครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายรับอัลคาลิ พืชพรรณ อินทผลัม กระบองเพชร ไม้พุ่มประเภทหนาม
- ไบโอทะเลทราย-แม่นำ เป็นที่เกิดของเอนเดอร์แมนมากที่สุดและมีโอกาจที่จะเจอไบโอมที่ราบอยู่ติดกับไบโอมนี้ สามารถหาได้ทั่วไปตามที่ต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์
[แก้]รัชสมัยสุลต่านซะอีด บิน ตัยมูร
[แก้]สุลต่านซะอีด บิน ตัยมูร ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีในปี พ.ศ. 2475 ต่อมารัฐสุลต่านมัสกัตและโอมานได้รับเอกสิทธิ์ในการปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ในรัชสมัยของพระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยนโยบายอนุรักษนิยมและโดดเดี่ยวจนกระทั่ง พ.ศ. 2513
รัชสมัยสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด
[แก้]สุลต่านกอบูส บิน ซะอีดขึ้นครองราชย์โดยกระทำการรัฐประหารพระบิดาแบบไม่นองเลือด ในปี พ.ศ. 2513 ต่อมาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อ 2 ธันวาคม 1971 พระองค์ได้ดำเนินนโยบายที่เน้นทางด้านการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ ทรงเป็นนักพัฒนาตลอด 30 กว่าปีที่ครองราชย์ ผลักดันการปฏิรูปทางการเมือง สนับสนุนสวัสดิการของประชาชน โอมานเคยมีความขัดแย้งกับเยเมนเหนือ จากการที่เยเมนเหนือให้การสนับสนุนฝ่ายกบฏแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดซุฟาร์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า แนวร่วมประชาชนปลดปล่อยโอมาน (The Popular Front for the Liberation of Oman : PFLO) และ ภายหลังการไกล่เกลี่ยของประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ได้มีการลงนามในความตกลงฟื้นฟูสัมพันธภาพใน พ.ศ. 2525 ต่อมา ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526 อย่างไรก็ดี ได้เกิดการปะทะตามแนวชายแดนระหว่างประเทศทั้งสองอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2531 แต่ภายหลังได้ตกลงที่จะลงนามในความตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างกัน
การเมืองการปกครอง
[แก้]บริหาร
[แก้]โอมานมีระบบการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุลต่านแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดในทุกด้าน อำนาจบริหารอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ซึ่งองค์สุลต่านจะทรงแต่งตั้ง หรือ ถอดถอนรัฐมนตรีตามพระราชอัธยาศัย
ประมุขของรัฐ สุลต่านกะบุส บิน ซาอิด อัล บู ซาอิด ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่านแห่งรัฐสุลต่านโอมาน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นิติบัญญัติ
[แก้]ในด้านนิติบัญญัติมีสภาโอมาน (Council of Oman) ทำหน้าที่เป็นเสมือนรัฐสภา ประกอบด้วยสภาสูง (สภา Majlis Addawla หรือ วุฒิสภา ตั้งขึ้นจากพระราชดำริขององค์สุลต่านกาบูสเมื่อเดือนตุลาคม 2540) สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง 48 คน และสภาล่าง (Majlis Ash'Shura หรือ สภาผู้แทนราษฎร) สมาชิกมาจากการเลือกตั้งจำนวน 83 คน (การเลือกตั้งครั้งแรกมีขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2540 องค์สุลต่านทรงมีอำนาจตัดสินผลการเลือกตั้งในขั้นสุดท้าย) ทั้งสองสภาทำหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมาย ให้ข้อเสนอแนะด้านเศรษฐกิจ (ยกเว้นด้านการปิโตรเลียม) และสังคมแก่รัฐบาล แต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ อำนาจด้านตุลาการอยู่ที่ศาลสูงสุด (Supreme Court) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) สุลต่านกอบูสได้ประกาศออกกฎหมาย Basic Law ซึ่งอาจถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโอมานได้นับแต่เริ่มครองราชย์เมื่อปี 2513 (ค.ศ. 1970) สุลต่าน กอบูส ทรงกำหนดเป้าหมายการปกครองประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล โดยมีรัฐสภาเป็นเวทีปรึกษาหารือ และทำงานร่วมกับรัฐบาล
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ประเทศโอมานแบ่งออกเป็น 5 เขต (regions - mintaqah) และ 3 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ได้แก่
- เขตอัดดะคิลิยะห์ (Ad Dakhiliyah)
- เขตอัลบาตินะห์ (Al Batinah)
- เขตอัลวุสตะ (Al Wusta)
- เขตอัชชาร์กิยะห์ (Ash Sharqiyah)
- เขตอัซซอฮิเราะห์ (Ad Dhahirah)
- เขตผู้ว่าราชการมัสกัต (Masqat)
- เขตผู้ว่าราชการมุซันดัม (Musandam)
- เขตผู้ว่าราชการซุฟาร์ (Dhofar)
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของโอมาน ก่อนเริ่มการผลิตน้ำมัน เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาสินค้าเกษตรและประมงแบบพอประทังชีพ (subsistence agriculture) อย่างไรก็ดีเมื่อมีอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันเชิงพาณิชย์ ซึ่งเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) จึงทำให้เกิดการหักเหในการพัฒนาประเทศ จากสังคมที่พึ่งผลผลิตทางการเกษตร มาเป็นการพึ่งพาน้ำมันเป็นสินค้าออก รายได้มหาศาลจากการขายน้ำมันดิบถูกนำมาใช้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง นับแต่ปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นต้นมา จนปัจจุบันโอมานได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่รวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในโลก
แม้ว่าโอมานจะมีทรัพยากรน้ำมันไม่มากเท่าประเทศเพื่อนบ้านรัฐริมอ่าวอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง แต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมาโอมานได้ขุดพบน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองในประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 2.9 พันล้านบาร์เรล เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เป็น 5.5 พันล้านบาร์เรลในปลายปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีบ่อน้ำมันทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในชายฝั่งจำนวนมากถึง 95 บ่อ
เมื่อปี 2543 โอมานมีรายได้สุทธิจากการขายน้ำมันเป็นเงิน 3,731.4 พันล้านริยัลโอมาน (ประมาณ 373,100 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ น้ำมันเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่รัฐในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 และมีสัดส่วนถึงร้อยละ 75 ของสินค้าออก หรือประมาณร้อยละ 50 ของ GDP นอกจากนี้ โอมานยังมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองจำนวน 45 พันล้านลูกบาศ์กฟุต โอมานพบก๊าซธรรมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โดยกลุ่มบริษัทรอยัลดัตช์เชลล์เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้และเสนอโครงการก่อสร้างโรงงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) จึงมีการจัดตั้งบริษัทโอมาน LNG LLC ขึ้น โดยมีรัฐบาลโอมานถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 51) ทำสัญญาซื้อขายก๊าซกับบริษัทต่างชาติต่าง ๆ รัฐบาลโอมานมีรายได้จากการขายก๊าซในปี 2543 ประมาณ 174.6 ล้านริยัลโอมาน (ประมาณ 17,400 ล้านบาท) ปัจจุบันรัฐบาลโอมานมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมภาคก๊าซธรรมชาติในการสร้างรายได้ ลดการพึ่งพาน้ำมันดิบ และสนองนโยบายสร้างงานให้ชาวโอมาน
โอมานตระหนักดีถึงผลเสียของการพึ่งพารายได้จากน้ำมันในอัตราที่สูงเช่นนี้ จึงมีนโยบายกระจายฐานเศรษฐกิจ (diversification) เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา อาทิ การเน้นกลยุทธ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยสินค้าออกเป็นตัวนำ (export-led growth) การพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาอื่นที่มิใช่น้ำมัน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ โดยส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศในอุตสาหกรรมดังกล่าว รวมทั้งนโยบายส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจการของรัฐ (privatization) นโยบายเหล่านี้ ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันโอมานกำลังเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544 - 2548) นอกจากกลยุทธ์กระจายฐานเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลโอมานยังมีนโยบายส่งเสริมการใช้แรงงานคนชาติ (Omanization) เป็นนโยบายด้านแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีอัตราการเพิ่มตัวของประชากรสูง และมีประชากรในวัยเรียนวัยทำงานเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น โอมานจึงให้ความสำคัญอย่างมากในการฝึกอบรมคนชาติของตนให้มีทักษะความชำนาญในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมภาคบริการ (การท่องเที่ยว การโรงแรม การธนาคาร ฯลฯ)
โอมานมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ โดยออกกฎหมายอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้งหมด ในโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 5 แสนริยัล (ประมาณ 5 ล้านบาท) และต้องเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโอมาน ปัจจุบัน องค์สุลต่านแห่งโอมาน กำลังจะปรับเปลี่ยนกฎหมายดังกล่าวให้ผ่อนคลายลงอีก รวมทั้งเปิดสาขาทางเศรษฐกิจสำหรับต่างชาติให้กว้างขึ้นด้วย ปัจจุบัน โอมานได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติที่เสรีมากที่สุดในอ่าวอาหรับ
ในด้านภาษีภายในนั้น โอมานไม่มีการเก็บภาษีภายในใด ๆ เลย อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีสรรพสามิต เป็นต้น จะมีแต่เพียงภาษีรายได้ที่เก็บจากกำไรจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้นการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การการค้าโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 จะช่วยให้เศรษฐกิจของโอมานเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้ประเทศคู่ค้าและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโอมานมากขึ้น อันจะช่วยเพิ่มโอกาสของการลงทุนของต่างชาติในโอมาน อย่างไรก็ดี การเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกจะส่งผลให้ธุรกิจในประเทศต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันจากต่างประเทศ ทั้งด้านการค้าและการบริการ รุนแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาครัฐและเอกชนโอมานต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปนี้ด้วย
ประชากรศาสตร์
[แก้]โอมานมี ประชากรประมาณ 3,713,462 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับร้อยละ 88 เชื้อชาติ อิหร่าน และอินเดีย มีความหนาแน่น 13 คน ต่อตารางกิโลเมตร
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Basic Statute of the State promulgated by Royal Decree 101/96". MINISTRY OF JUSTICE AND LEGAL AFFAIRS. MINISTRY OF JUSTICE AND LEGAL AFFAIRS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Oman. MSN Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
In 751 Ibadi Muslims, a moderate branch of the Kharijites, established an imamate in Oman. Despite interruptions, the Ibadi imamate survived until the mid-20th century.
{{cite encyclopedia}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "Final Results of Census 2010" (PDF). National Center for Statistics & Information. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 May 2013. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
- ↑ "Urban - Gini index - Omani - Total". The National Centre for Statistics and Information, Sultanate of Oman. สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ Kharusi, N. S. (2012). "The ethnic label Zinjibari: Politics and language choice implications among Swahili speakers in Oman". Ethnicities. 12 (3): 335–353
- ↑ "BTI 2018 : Oman Country Report". web.archive.org. 2020-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-12. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Haitham bin Tariq sworn in as Oman's new sultan | GCC News | Al Jazeera". web.archive.org. 2020-01-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Oman country profile - BBC News". web.archive.org. 2020-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-12. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Private sector gets Omanisation targets | Business – Gulf News". web.archive.org. 2019-10-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Media | Latest News | Announcements | Human Development Reports (HDR) | United Nations Development Programme (UNDP)". web.archive.org. 2013-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
- ประเทศโอมาน เก็บถาวร 2009-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ministry of Tourism เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (official government website).
- Ministry of Information (official government website).
- "Oman", Encyclopædia Britannica
- Oman. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศโอมาน แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศโอมาน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Oman from the BBC News.
- Wikimedia Atlas of Oman
- Sports live TV เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- verzuz tv live stream เก็บถาวร 2022-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sports View เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน