ข้ามไปเนื้อหา

อังการา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อังการา
เมืองหลวง
เทศบาลมหานครอังการา
ซ้ายบน: จัตุรัส Kızılay, ขวาบน: กำแพง ปราสาท Ankara, ซ้ายกลาง: อาคาร BDDK ในอังการา, กลาง: Anıtkabir, ขวากลาง: หอคอย Atakule, ซ้ายล่าง: พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาแห่งอังการา, ขวาล่าง: YHT รถไฟความเร็วสูง ที่ สถานีรถไฟกลาง Ankara
ซ้ายบน: จัตุรัส Kızılay, ขวาบน: กำแพง ปราสาท Ankara, ซ้ายกลาง: อาคาร BDDK ในอังการา, กลาง: Anıtkabir, ขวากลาง: หอคอย Atakule, ซ้ายล่าง: พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาแห่งอังการา, ขวาล่าง: YHT รถไฟความเร็วสูง ที่ สถานีรถไฟกลาง Ankara
อังการาตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
อังการา
อังการา
ที่ตั้งของอังการาในประเทศตุรกี
พิกัด: 39°52′N 32°52′E / 39.867°N 32.867°E / 39.867; 32.867
ประเทศตุรกี
เขตอานาโตเลียกลาง
จังหวัดอังการา
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเมลิห์ โกคเคก (AKP)
 • ผู้ว่าราชการอาลาดิน ยุคเซล
พื้นที่
 • เมืองหลวง2,516 ตร.กม. (971 ตร.ไมล์)
ความสูง938 เมตร (3,077 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[1][2]
 • เมืองหลวง4,338,620 คน
 • ความหนาแน่น1,551 คน/ตร.กม. (4,020 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล4,965,542 คน
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
Postal code06xxx
รหัสพื้นที่312
ป้ายทะเบียน ยานพาหนะ06
เว็บไซต์http://www.ankara.bel.tr/
http://www.ankara.gov.tr/
http://www.ankaraka.org.tr/

อังการา (ตุรกี: Ankara) เป็นเมืองหลวงของประเทศตุรกีและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอังการา อังการาเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากอิสตันบูล ตั้งอยู่ในจังหวัดอังการาอยู่ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 938 เมตร [3] มีประชากรประมาณ 3.9 ล้านคน

อังการาตั้งอยู่บริเวณกลางคาบสมุทรอานาโตเลีย จึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลตุรกี และเป็นที่ตั้งของสถานทูตประเทศต่าง ๆ อังการายังเป็นศูนย์กลางของทางหลวงและเส้นทางรถไฟทำให้เป็นศูนย์กลางของการค้าขาย สินค้าที่มีชื่อเสียงของเมืองคือผลิตภัณฑ์จากขนโมแฮร์ที่ได้จากแพะอังโกรา ขนอังโกราที่ได้จากกระต่ายอังโกรา แมวอังโกรา ลูกแพร์ น้ำผึ้ง และองุ่นท้องถิ่น

ตัวเมืองประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า อูลุส ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนยุคจักรวรรดิออตโตมัน และ เยนีเชฮีร์ ซึ่งเป็นเมืองใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามแผนการสร้างเมืองของรัฐบาลสาธารณรัฐตุรกี แต่การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาปักหลักบริเวณพื้นที่รอบนอกเมืองและเกิดบ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างไม่มีระเบียบเป็นจำนวนมาก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การตั้งรกรากบริเวณเมืองอังการาครั้งแรกเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสำริดโดยชาวฮิตไทต์ โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณเมืองแสดงให้เห็นว่าชาวฮิตไทต์เรียกเมืองนี้ว่า อังกูวัช ตั้งแต่ก่อนปี 1200 ก่อนคริสตกาล[4] เมืองอังการาเริ่มขยายตัวและมีความสำคัญมากขึ้นในสมัยของฟรีเจียตั้งแต่ปี 1000 ก่อนคริสตกาล เพราะมีการอพยพจากเมืองกอร์เดียนซึ่งเป็นเมืองหลวงของฟรีเจีย หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง พวกฟรีเจียยกย่องกษัตริย์มิดาสของตนว่าเป็นผู้ก่อตั้งเมืองขึ้น แต่เพาซาเนียส นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่าเมืองนี้มีอายุเก่าแก่กว่านั้นมากนัก[5]

การขยายเมืองครั้งสำคัญอีกครั้งเกิดขึ้นโดยชาวกรีกจากเมืองพอนตอสซึ่งพัฒนาเมืองนี้ให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าระหว่างท่าเรือทะเลดำและครีเมียทางเหนือ กับอัซซีเรีย ไซปรัส และเลบานอนทางใต้ และกับจอร์เจีย อาร์มีเนีย และเปอร์เซียทางตะวันออก ในสมัยนั้น เมืองอังการาได้ชื่อว่า อังกีรา (Áγκυρα) ซึ่งแปลว่าสมอเรือในภาษากรีก

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของอังการา (1970-2011)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 16.6
(61.9)
19.9
(67.8)
26.4
(79.5)
30.6
(87.1)
33.0
(91.4)
37.0
(98.6)
40.8
(105.4)
40.4
(104.7)
36.0
(96.8)
32.2
(90)
24.4
(75.9)
19.8
(67.6)
40.8
(105.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 4.3
(39.7)
6.7
(44.1)
11.9
(53.4)
17.1
(62.8)
22.2
(72)
26.6
(79.9)
30.3
(86.5)
30.2
(86.4)
26.0
(78.8)
19.7
(67.5)
12.4
(54.3)
6.2
(43.2)
17.8
(64)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.0
(26.6)
-2.0
(28.4)
1.1
(34)
5.7
(42.3)
9.7
(49.5)
13.1
(55.6)
16.1
(61)
16.1
(61)
12.0
(53.6)
7.4
(45.3)
2.2
(36)
-1.0
(30.2)
6.5
(43.7)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -21.2
(-6.2)
-21.5
(-6.7)
-19.2
(-2.6)
-6.7
(19.9)
-1.6
(29.1)
5.0
(41)
6.8
(44.2)
7.2
(45)
2.5
(36.5)
-3.4
(25.9)
-8.8
(16.2)
-17.2
(1)
−21.5
(−6.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 39.2
(1.543)
33.4
(1.315)
36.7
(1.445)
50.0
(1.969)
50.3
(1.98)
35.3
(1.39)
15.5
(0.61)
12.0
(0.472)
17.5
(0.689)
33.2
(1.307)
35.4
(1.394)
42.5
(1.673)
401
(15.787)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 11.1 10.4 10.6 12.3 12.5 8.9 3.9 3.0 3.8 7.5 8.8 11.0 103.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 74.4 98.9 164.3 189.0 260.4 309.0 350.3 325.5 276.0 198.4 126.0 68.2 2,440.4
แหล่งที่มา: [6]

การคมนาคม

[แก้]
สถานีรถไฟอังการา

สนามบินหลักของอังการาคือสนามบินนานาชาติเอเซนโบกาซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง สถานีรถไฟอังการา การี ของการรถไฟตุรกี (ตุรกี: Türkiye Cumhuriyeti Devlet Demiryolları, TCDD) เป็นสถานีสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคตะวันตกและตะวันออกของประเทศเข้าด้วยกัน รถไฟด่วนที่จะเชื่อมระหว่างอังการาและอิสตันบูลเริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2003 และมีกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2008 [7]

รถประจำทางระหว่างเมืองของอังการา (ตุรกี: Ankara Şehirlerarası Terminal İşletmesi, AŞTİ)เป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายรถประจำทางซึ่งครอบคลุมเมืองใกล้เคียงทั้งหมด

เมืองพี่น้อง

[แก้]
ทวีปยูเรเชีย
ทวีปอเมริกา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Citypopulation.de - Turkey 2011
  2. "Türkiye İstatistik Kurumu (TÜİK) - Büyükşehir belediyeleri ve bağlı belediyelerin nüfusları - 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.
  3. Ankara, Turkey: Latitude, Longitude and Altitude
  4. Judy Turman: Early Christianity in Turkey
  5. Pausanias, Description of Greece, 1.4.1., "Ancyra was actually older even than that."
  6. "Resmi İstatistikler (İl ve İlçelerimize Ait İstatistiki Veriler)" (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28. สืบค้นเมื่อ 2012-06-02.
  7. Ankara-Istanbul High-Speed Train Project, Turkey