ข้ามไปเนื้อหา

อามิสทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การให้อามิสทาน คือการให้วัตถุทาน ๑๐ อย่าง มีข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป หรือให้ปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น ย่อมให้ด้วย เหตุต่าง ๆ กันเป็น ๘ ประการคือ

๑. บุคคลบางคนให้ทาน เพราะหวังผลตอบแทน มุ่งสั่งสมการให้ทาน ด้วยคิดว่าถ้าตายไปแล้วจักได้เสวยผลตอบแทนนี้ จึงให้ข้าว ให้น้ำ เป็นต้น แก่สมณะ หรือพราหมณ์ เพื่อให้เป็นเสบียงเลี้ยงตัวในภพหน้า

๒. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้หวังผลแห่งทาน แต่ให้เพราะคิดว่าการให้ทานเป็น ความดี เป็นการทำตามคำของบัณฑิตที่กล่าวไว้ดีแล้ว บุคคลที่คิดให้ทานอย่างนี้ เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อเสวยผลแห่งกรรมหมดสิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก คือได้มาเกิดเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อยังประโยชน์ให้สำเร็จ ให้เกิดความสุข

๓. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้คิดว่าการให้ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา ก็ควรทำไม่ให้เสียประเพณี เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เมื่อเสวยผลแห่งกรรมหมดสิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก คือกลับมาเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อรักษาประเพณี

๔. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้ให้เพราะคิดว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา แต่ให้ทานเพราะคิดว่าเราหุงหากินได้ ส่วนสมณะพราหมณ์ ไม่ได้หุงหากิน จึงให้ทานเพราะ ผลแห่งทานนี้ เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เมื่อเสวยผลแห่ง ทานหมดสิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่ออนุเคราะห์ ให้เพื่อบูชา

๕. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้คิดว่าเราหุงหากินได้ ส่วนสมณะพราหมณ์ไม่ได้หุงหากิน แต่ให้ด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤๅษีแต่ครั้งก่อน ๆ เพราะผลแห่งทานนี้ เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี เมื่อเสวยผลแห่งกรรมหมด สิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อต้องการเป็นผู้มีโชคดี ต้องการมีชื่อเสียง

๖. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้คิดว่าจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน แต่ให้ด้วยคิดว่า เราให้ทานอย่างนี้ จิตจักเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจโสมนัสจึงได้ให้ทาน เพราะผลแห่งทานนี้ เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตตวสวฺตี เมื่อเสวยผลของกรรมหมดสิ้นแล้ว ก็จักกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อปลูกศรัทธาให้จิตเกิดปีติยินดี

อ้างอิง

[แก้]