โคโรนาแว็ก
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ขวดวัคซีนโคโรนาแว็ก | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | โควิด-19 |
ชนิด | ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว (inactivated) |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดในกล้ามเนื้อ |
รหัส ATC |
|
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
DrugBank | |
โคโรนาแว็ก (อังกฤษ: CoronaVac) หรือวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็ก (อังกฤษ: Sinovac COVID-19 vaccine)[1] เป็นวัคซีนไวรัสโควิด-19 ชนิดเชื้อตายที่บริษัทยาจีนคือซิโนแว็กไบโอเทค (เรียกสั้น ๆ ว่า ซิโนแว็ก) เป็นผู้พัฒนาขึ้น[2] การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ได้ทำในประเทศบราซิล[3] ชิลี[4] อินโดนีเซีย[5] ฟิลิปปินส์[6] และตุรกี[7] เป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมแล้วเหมือนกับวัคซีนโควิด-19 เชื้อตายอื่น ๆ รวมทั้งวัคซีนของซิโนฟาร์มและโคแว็กซินของบริษัทภารัตไบโอเทค[8] วัคซีนไม่ต้องแช่แข็ง คือทั้งวัคซีนและวัตถุดิบของวัคซีนสามารถส่งโดยแช่เย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอุณหภูมิเดียวกับที่ใช้เก็บวัคซีนไข้หวัดใหญ่[9]
ผลการศึกษาจริงกับชาวชิลีเกินกว่า 10 ล้านรายที่ได้รับโคโรนาแว็กที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (NEJM) พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพระงับการติดเชื้อแบบแสดงอาการในอัตราร้อยละ 66, ลดการเข้าโรงพยาบาล ร้อยละ 88, และลดการเสียชีวิตได้ร้อยละ 86[10] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 ผลการศึกษาจริงกับบุคลากรทางแพทย์เกิน 128,000 คนในอินโดนีเซียพบว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการร้อยละ 94 ป้องกันการติดเชื้อที่ต้องเข้า รพ. ได้ร้อยละ 96 และป้องกันการเสียชีวิตได้ร้อยละ 98[11][12] ในต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ผลเบื้องต้นของการศึกษาจริงกับประชากรร้อยละ 75 (จากประมาณ 46,000 คน) ผู้ได้รับวัคซีนนี้ในเมืองเซอร์ฮานา (Serrana) รัฐเซาเปาลู บราซิล แสดงว่า อัตราการติดเชื้อแบบแสดงอาการลดลงร้อยละ 80 การเข้าโรงพยาบาล ลดลงร้อยละ 86 และการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 95[13][14]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ผลการทดลองระยะที่ 3 จากบราซิลแสดงประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการที่ร้อยละ 50.7 และป้องกันจากการติดเชื้อที่มีอาการเบาแต่ต้องรักษาที่ร้อยละ 83.7 การป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.3 ถ้าฉีดโดสที่สอง 21 วันหรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[15] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ผลการทดลองระยะที่ 3 สุดท้ายจากตุรกีแสดงประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 83.5[16]
วัคซีนกำลังใช้ในโปรแกรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วโลกรวมทั้งประเทศในเอเชีย[17][18][19] อเมริกาใต้[20][21][22] อเมริกาเหนือ[23][24][25] และยุโรป[26][27] จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 บริษัทมีสมรรถภาพการผลิตวัคซีนถึง 2,000 ล้านโดสต่อปี[28] และได้จัดส่งวัคซีนแล้ว 600 ล้านโดสทั่วโลก[29] วัคซีนปัจจุบันผลิตในประเทศจีน[28] แต่มีแผนจะผลิตในบราซิล (กันยายน 2021)[30] อียิปต์[31] และฮังการี[32]
ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2021 องค์การอนามัยโลกได้อนุมัติโคโรนาแว็กให้อยู่ในรายการให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[29][33][34] ซึ่งในเวลานั้น มีคนได้ฉีดวัคซีนนี้แล้วเกิน 430 ล้านโดสทั่วโลก[29]
ในต้นเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ประเทศไทยได้สั่งวัคซีน 2 ล้านโดสแรก[35] และขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์[36] แล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในเดือนเดียวกัน[18] จนถึงวันที่ 10 มิถุนายนปีเดียวกัน ประเทศไทยได้รับวัคซีนนี้แล้วทั้งหมด 7.5 ล้านโดส[37]
ความขัดแย้งทางการเมือง ความโปร่งใส และการขาดรายละเอียดข้อมูลทางการทดลองอาจก่อความไม่เชื่อใจในวัคซีนนี้[38][39][40][41]
เทคโนโลยี
[แก้]โคโรนาแว็กเป็นวัคซีนเชื้อตาย (inactivated) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผลิตวัคซีนเดิมที่มีอยู่แล้ว[42][8] เหมือนกับที่ใช้ในวัคซีนโปลิโอเชื้อตาย การผลิตวัคซีนเริ่มต้นที่การเพาะเชื้อไวรัสโควิด-19 คือ SARS-CoV-2 ด้วยวีโรเซลล์เป็นจำนวนมาก ๆ จากนั้นจึงชุบไวรัสลงในสารประกอบอินทรีย์คือเบตาโพรพิโอแล็กโทน (β-Propiolactone) ซึ่งฆ่าเชื้อโดยเข้าเชื่อมกับยีนของไวรัสแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรกับอนุภาคไวรัส ผลิตภัณฑ์ไวรัสที่ได้ก็จะเติมตัวเสริม (adjuvant) ที่เป็นสารประกอบเชิงอะลูมิเนียม[43]
วัคซีนไม่ต้องแช่แข็งเป็นพิเศษ ทั้งวัคซีนและวัตถุดิบของวัคซีนสามารถส่งโดยแช่เย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอุณหภูมิเดียวกับที่ใช้เก็บวัคซีนไข้หวัดใหญ่[9] วัคซีนสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นแช่ยาธรรมดาได้ถึง 3 ปี ซึ่งอาจเป็นข้อดีสำหรับการแจกจำหน่ายวัคซีนในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ไร้โซ่เย็น[44] คือ สมรรถภาพในการเก็บและขนส่งวัคซีนในอุณหภูมิที่ต่ำมาก
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019#โซ่เย็น และโซ่เย็น
ประสิทธิภาพและประสิทธิศักย์ของวัคซีน
[แก้]สถานการณ์จริง
[แก้]ในต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 มีการประกาศผลงานศึกษาในเมืองเซอร์ฮานา (Serrana) รัฐเซาเปาลู บราซิล ที่มีประชากรประมาณ 46,000 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่พยายามให้วัคซีนโคโรนาแว็กแก่ประชาชนผู้ใหญ่ทั้งหมด[45] คือหลังจากที่ประชากรผู้ใหญ่ร้อยละ 75 ได้รับวัคซีน ผลเบื้องต้นแสดงว่าอัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 95, การเข้า โรงพยาบาลลดลงร้อยละ 86 และการติดเชื้อแบบแสดงอาการลดลงร้อยละ 80 ผู้อำนวยการสถาบันการวิจัยผลิตผลทางชีวภาพ (Instituto Butantan) กล่าวว่า "ผลสำคัญสุดที่ได้ก็คือความเข้าใจว่าเราสามารถคุมการระบาดทั่วได้โดยไม่ต้องฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรทั้งหมด"[46][47]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 มีรายงานสถานการณ์จริงจากอินโดนีเซียซึ่งแสดงประสิทธิภาพของวัคซีนที่ดีกว่าผลการทดลองทางคลินิก ซึ่งพบว่า บุคลากรทางแพทย์ที่ได้วัคซีนร้อยละ 94 ไม่ติดโรคโควิด-19 ที่แสดงอาการ[11] ในบรรดาบุคลากรทางแพทย์ 128,290 คนในนครจาการ์ตา[48] ผู้ที่ได้วัคซีนน้อยกว่าร้อยละ 1 ติดโรคที่แสดงอาการ เทียบกับร้อยละ 8 ในกลุ่มที่ไม่ได้วัคซีน วัคซีนยังลดความเสี่ยงต้องเข้าโรงพยาบาลได้ร้อยละ 96 และลดความเสี่ยงเสียชีวิตร้อยละ 98 อีกด้วย[49][50]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 อุรุกวัยตีพิมพ์ข้อมูลสถานการณ์จริงกับประชากร 795,684 คนที่ได้รับวัคซีนนี้ทั้งสองโดสเกิน 14 วันจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน ในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนนี้ 8,298 คนตรวจเจอเชื้อ 45 คนได้รับเข้าห้องผู้ป่วยหนัก และ 35 คนเสียชีวิตเนื่องกับโควิด-19 ซึ่งชี้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพลดการติดโรคสำหรับคนอายุ 18-49 ปีร้อยละ 65 และสำหรับคนอายุ 50 ปีหรือยิ่งกว่าร้อยละ 62 มีประสิทธิภาพลดการต้องเข้าห้องผู้ป่วยหนักร้อยละ 95 และ 92 ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพป้องกันความตายร้อยละ 95 สำหรับทั้งสองกลุ่ม ในกลุ่มบุคลากรทางแพทย์ที่ได้รับวัคซีนทั้งสองโดส วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 66 ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค และเต็มร้อยในการต้องเข้าห้องผู้ป่วยหนักและเสียชีวิต[51]
ในเดือนกรฎาคม ค.ศ. 2021 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (NEJM) ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาจริงกับชาวชิลีประมาณ 10.2 ล้านรายที่ได้รับโคโรนาแว็กระหว่างต้นเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 โดยพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพระงับการติดเชื้อแบบแสดงอาการในอัตราร้อยละ 65.9, ลดการเข้าโรงพยาบาล ร้อยละ 87.5, ลดการเข้าห้องไอซียูร้อยละ 90.3 และลดการตายร้อยละ 86.3 งานศึกษาสรุปว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันโควิดโดย "สมกับผลการทดลองวัคซีนระยะที่ 2"[10] ในเดือนเมษายน องค์การอนามัยโลกยังระบุด้วยว่า งานศึกษานี้ทำอยู่ในขณะที่สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) และแกมมา (บราซิล) กำลังระบาด[52]
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
[แก้]ในวันที่ 11 เมษายน งานทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในบราซิลที่ส่งแก่วารสารการแพทย์เดอะแลนซิต (แต่ยังไม่ได้การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน) แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการร้อยละ 50.7 ป้องกันการติดเชื้อแบบอาการเบาแต่ต้องต้องรักษาร้อยละ 83.7 การป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.3 ถ้าฉีดโดสที่สอง 21 วันหรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก มีอาสาสมัคร 12,396 คนในงานที่ทำระหว่าง 21 กรกฎาคมจนถึง 16 ธันวาคม ค.ศ. 2020 อาสาสมัครทุกท่านได้รับวัคซีนหรือยาหลอกอย่างน้อยหนึ่งโดส โดย 9,823 คนได้ทั้งสองโดส[15]
รายละเอียดที่ตีพิมพ์เพิ่มแสดงประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการที่ 50.65% (95% CI, 35.66–62.15%), ป้องกันการติดเชื้อที่ต้องรักษาที่ 83.70% (57.99–93.67%) และป้องกันกรณีที่รุนแรง หรือต้องเข้า รพ. หรือเสียชีวิตที่ 100.00% (56.37–100.00%) ในกลุ่มที่ได้ยาหลอกจำนวน 4,870 คน มีคนติดโรค 168 คน ในคนที่ติดโรค 30 คนจำเป็นต้องรักษาโดย 10 คนมีอาการหนักรวมทั้งคนหนึ่งที่เสียชีวิต ส่วนในกลุ่มที่ได้วัคซีน 4,953 คน มีคนติดโรค 85 คน และ 5 คนต้องรักษาโดยไม่มีคนใดมีอาการหนักหรือเสียชีวิต[53][54]
ผลการทดลองระยะที่ 3 สุดท้ายในตุรกีแสดงประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 83.5 ซึ่งคำนวณจากอาสาสมัครที่ติดเชื้อ 41 คน ในบรรดาคนติดเชื้อ 32 คนได้ยาหลอก วัคซีนป้องกันการเข้า รพ. และการป่วยที่มีอาการรุนแรงได้เต็มร้อย โดยมีคนในกลุ่มยาหลอก 6 คนที่เข้า รพ. งานศึกษานี้มีอาสาสมัคร 13,000 คน[16]
ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2021 รายงานเบื้องต้น (preliminary)[55] จากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศชิลี[56] ระบุว่า วัคซีนปลอดภัยและก่อภูมิต้านทานทั้งในน้ำเหลืองและที่เซลล์อำนวย โดยเกิดทั้งในผู้ใหญ่ (อายุระหว่าง 18-59 ปี) และคนชรา (60 ปีหรือยิ่งกว่า) เป็นผลเหมือนกับการทดลองระยะที่ 2 ก่อนที่ทำในจีนซึ่งแบ่งกลุ่มคนเช่นเดียวกัน และฉีดยาเหมือน ๆ กันคือ 2 โดสห่างกัน 14 วัน ผลไม่พึงประสงค์มีอาการเบาและเป็นเฉพาะที่ โดยหลักเป็นการเจ็บจุดที่ฉีด ซึ่งสามัญกว่าในผู้ใหญ่
อัตราการเกิดสารภูมิต้านทาน (seroconversion) ในผู้ใหญ่หลังจากได้วัคซีนโดสที่สอง 14-28 วันอยู่ที่ร้อยละ 95.6 สำหรับอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ที่ต้าน S1-RBD (เป็น receptor binding domain ของหน่วยย่อย S1 ของโปรตีนหนามของโควิด-19) โดยเฉพาะ และที่ร้อยละ 96 สำหรับ IgG ทำลายฤทธิ์ (neutralizing) ส่วนสำหรับคนชรา อัตราการเกิด IgG ต้าน S1-RBD เต็มร้อยหลังวันที่ 14 และอยู่ที่ร้อยละ 87.5 หลังวันที่ 28 จากการได้วัคซีนโดสที่สอง และอัตราการเกิด IgG ทำลายฤทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 90 หลังวันที่ 14 และเต็มร้อยหลังวันที่ 28 จากการได้โดสที่สอง
แม้วัคซีนจะมีโปรตีนเอ็นมาก แต่สารภูมิต้านทานแบบ IgG ที่ต่อต้านโปรตีนเอ็น (nucleocapsid protein) โดยเฉพาะก็เกิดน้อย ซึ่งเหมือนกับที่พบในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ดี ก็ยังเกิดเซลล์ทีเฮลเปอร์ (CD4+) ที่หลั่ง Interferon gamma (IFNγ) จำนวนมากซึ่งตรวจพบ 14 วันหลังได้วัคซีนทั้งสองโดสโดยเป็นการตอบสนองต่อการได้เพปไทด์ของโปรตีนเอส (S protein) และอนุภาคไวรัสอื่น ๆ ในคนชรา การตอบสนองต่อเพปไทด์ของโปรตีนเอสมีน้อยกว่าเพราะมี CD4+ แบบออกฤทธิ์ที่น้อยกว่าในคนกลุ่มนี้ ซึ่งก็พบเช่นกันในการศึกษาวัคซีนอื่น ๆ
ส่วนการตอบสนองด้วย cytotoxic T cell (CD8+) ไม่ได้ดีเท่า อย่างไรก็ดี ปฏิกิริยาของ CD4+ T cell จัดเป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่สมดุลและสามารถกำจัดไวรัสได้ เหมือนกับที่พบในวัคซีนโควิด-19 อื่น ๆ เช่น วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและของแคนซิโนไบโอลอจิกส์
ความต่าง ๆ ของประสิทธิศักย์
[แก้]เจ้าหน้าที่ในบราซิลระบุว่า ค่าประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 50.4 ซึ่งต่ำกว่าที่เคยประกาศรวมเอากรณีคนติดโรคที่มีอาการ "เบามาก" อันไม่ได้รวมเข้าในการวิเคราะห์ครั้งก่อน[57][58] ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของสถาบันการวิจัยผลิตผลทางชีวภาพ (Instituto Butantan) ระบุว่า ค่าต่ำกว่าเพราะใช้มาตรฐานที่เข้มกว่าในการนับคนติดเชื้อในการทดลอง[59] โดยสถาบันได้แบ่งคนติดเชื้อออกเป็นหกกรณีคือ ไม่แสดงอาการ อาการเบามาก อาการปานกลาง 2 ระดับ และอาการรุนแรง สองพวกแรกไม่จำเป็นต้องไปหาแพทย์[57][58] คำอธิบายต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ว่าทำไมประสิทธิศักย์จึงต่ำกว่ารวมทั้ง
- อาสาสมัครเป็นบุคลากรทางแพทย์จึงเสี่ยงติดไวรัสมากกว่า[58] (การทดลองในตุรกีและอินโดนีเซีย อาสาสมัครมีลักษณะคล้าย ๆ กับกลุ่มประชากรทั่วไป[60])
- วัคซีนฉีดสองโดสโดยห่างกันสั้นกว่าทั่ว ๆ ไป (แค่สองสัปดาห์)[58][61]
- คนติดเชื้อที่มีอาการเบามากนับอยู่ในส่วนว่า กันโรคไม่ได้[58][62]
- สายพันธุ์แกมมาซึ่งติดได้ง่ายกว่าและอาจหลบภูมิคุ้มกันได้ กำลังระบาดในประเทศ[62]
สายพันธุ์อื่น ๆ
[แก้]ในวันที่ 10 มีนาคม ผู้อำนวยการของสถาบันวิจัย Instituto Butantan แห่งบราซิลกล่าวว่า วัคซีนนี้ใช้ได้ผลกับสายพันธุ์โควิด-19 3 สายพันธุ์ที่มีในประเทศ คือ อัลฟา (อังกฤษ) เดลตา (แอฟริกาใต้) และ P.1.1.28 อย่างสุดท้ายเป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) ที่พบในเมืองมาเนาส์ และสายพันธุ์ซีตา (P.2) ที่พบในกรุงรีโอเดจาเนโร[63]
เพราะวัคซีนนี้และวัคซีนโควิด-19 เชื้อตายอื่น ๆ มีส่วนทุกส่วนของไวรัสโควิด-19 จึงอาจทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ดีกว่าวัคซีนอื่น ๆ ซึ่งมีเพียงแค่ส่วนบางส่วนของโปรตีนหนามที่ไวรัสอาศัยทำเซลล์ให้ติดเชื้อ[63] ผลเบื้องต้นจากงานศึกษาขนาดใหญ่กับแพทย์พยาบาลแสดงนัยว่า วัคซีนนี้โดสหนึ่งมีผลร้อยละ 50 ต่อต้านการติดเชื้อที่แสดงอาการในเมืองมาเนาส์ ซึ่งเป็นเมืองที่กรณีติดโรคใหม่ ๆ ร้อยละ 75 เกิดจากสายพันธุ์แกมมาอันติดต่อได้ง่ายกว่า[64]
การทดลองทางคลินิก
[แก้]ระยะที่ 1-2
[แก้]ในการทดลองระยะที่ 2 ที่เสร็จในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 แล้วตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อังกฤษเดอะแลนซิต วัคซีนโคโรนาแว็กก่อสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ (seroconversion, neutralising antibodies) ร้อยละ 92 ในอาสาสมัคร 118 คนในกลุ่มที่ให้ยา 3 ไมโครกรัม และร้อยละ 98 ในกลุ่ม 119 คนที่ให้ยา 6 ไมโครกรัม โดยให้วัคซีนสองครั้งในวันที่ 0 และ 14 นี่เทียบกับการให้ยาในวันที่ 0 และ 28 ที่เกิดสารภูมิต้านทานกำจัดฤทธิ์ที่ร้อยละ 97 สำหรับกลุ่มแรก (117 คน) และเต็มร้อยสำหรับกลุ่มที่สอง (118 คน)[65]
ในเดือนพฤษภาคม บริษัทได้เริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 1-2 ในประเทศจีนกับอาสาสมัครอายุเกิน 60 ปี และในเดือนกันยายนกับเด็กอายุระหว่าง 3-17 ปี[66] ผลการทดลองระยะที่สองกับผู้สูงอายุได้พิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนซิตซึ่งแสดงว่า วัคซีนปลอดภัยและทนรับได้ดีในคนสูงอายุ โดยวัคซีนขนาด 3 ไมโครกรัมและขนาด 6 ไมโครกรัมก่อสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์พอ ๆ กัน[67]
ระยะที่ 2-3
[แก้]ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ซิโนแว็กเริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2-3 กับผู้มีอายุระหว่าง 60-80 จำนวน 352 คนในประเทศฟิลิปปินส์[68]
ระยะ 2
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 ซิโนแว็กเริ่มการทดลองทางคลินิกระยะ 2b ในประเทศจีนกับอาสาสมัครเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 3-17 ปี[69]
ระยะที่ 3
[แก้]ละตินอเมริกา
[แก้]ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 บริษัทได้เริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 เพื่อประเมินประสิทธิศักย์และความปลอดภัยกับบุคลากรทางแพทย์ 9,000 คนในประเทศบราซิล โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยบราซิล คือ Instituto Butantan[70][71] วันที่ 19 ตุลาคม ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลูระบุว่า ผลเบื้องต้นของงานศึกษาทางคลินิกในบราซิลได้พิสูจน์แล้วว่า ในบรรดาวัคซีนต่าง ๆ ที่กำลังทดลองอยู่ในบราซิล โคโรนาแว็กปลอดภัยที่สุด และมีอัตราการป้องกันโรคที่ดีสุด[72] ในวันที่ 23 ตุลาคม รัฐจึงประกาศเปิดศูนย์อีก 6 แห่งเพื่อทดลองวัคซีนในอาสาสมัครเพิ่มโดยรวมเป็นจำนวน 13,000 คน[73]
บราซิลระงับการทดลองระยะที่ 3 อย่างสั้น ๆ ในวันที่ 10 พฤศจิกายนหลังจากอาสาสมัครคนหนึ่งได้ฆ่าตัวตายโดยไม่เกี่ยวกับวัคซีนก่อนจะดำเนินการต่อในวันที่ 11[74][75]
อนึ่ง ในต้นเดือนสิงหาคม ชิลีก็ได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งจะรับอาสาสมัคร 3,000 คนผู้มีอายุระหว่าง 18-65 ปี[76]
ยุโรป
[แก้]ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2020 ตุรกีได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 13,000 คนโดยให้วัคซีน 2 โดสห่างกัน 14 วัน[77] และทำที่ศูนย์ 25 แห่งในเมือง 12 เมืองทั่วประเทศ[78]
เอเชีย
[แก้]ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 บริษัทประกาศการทดลองในบังกลาเทศโดยรับอาสาสมัคร 4,200 คน[79] แต่หลังจากนั้นก็ได้หยุดชะงักเพราะบริษัทขอให้รัฐร่วมลงทุนด้วย[80] แต่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขก็ยืนยันว่า บังกลาเทศจะได้วัคซีนนี้แม้ไม่ได้ทำการทดลอง[81]
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 บริษัทเริ่มการทดลองระยะที่ 3 ในอินโดนีเซียร่วมกับบริษัทยาของรัฐคือไบโอฟาร์มาในบันดุงโดยรับอาสาสมัคร 1,620 คน[82] ในเดือนพฤศจิกายน มหาวิทยาลัยการแพทย์ในจังหวัดชวาตะวันตกคือ Padjadjaran University Medical School ให้อัปเดตว่า การทดลองกำลังดำเนินไปด้วยดี โดยอาสามัคร "อย่างมากก็เป็นไข้เล็กน้อยซึ่งหายไปเองภายในสองวัน"[83]
ในเดือนตุลาคม ซิโนแว็กตกลงให้ซาอุดีอาระเบียแจกจำหน่ายวัคซีนแก่บุคลากรทางแพทย์ 7,000 คนหลังจากได้ดำเนินการทดลองระยะที่ 3 กับกองกำลังแห่งชาติคือ Saudi Arabian National Guard[84]
การผลิต
[แก้]ในเดือนเมษายน บริษัทระบุว่า โรงงานที่สามของบริษัทได้เริ่มผลิตองค์ประกอบของวัคซีนได้มากแล้ว ซึ่งเพิ่มสมรรถภาพการผลิตของบริษัทเป็นทวีคูณ คือเพิ่มเป็น 2,000 ล้านโดสต่อปี[28] ส่วนในอินโดนีเซีย บริษัทของรัฐคือไบโอฟาร์มาจะผลิตวัคซีนให้ได้ 250 ล้านโดสต่อปี[85]
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน บราซิลเริ่มสร้างโรงงานเพื่อผลิตวัคซีน 100 ล้านโดสต่อปี โดยวางแผนสร้างให้เสร็จสิ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021[86] ต่อมาวันที่ 10 ธันวาคม ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลูจึงระบุว่า ในขณะที่กำลังสร้างโรงงานอยู่ สถาบันวิจัยเองมุ่งบรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์ให้ได้ 1 ล้านโดสต่อวัน[30]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ในอียิปต์ รัฐบาลอนุมัติข้อตกลงเพื่อผลิตวัคซีน 80 ล้านโดสต่อปีเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังประเทศแอฟริกาต่าง ๆ[31] ในเดือนเดียวกัน บริษัทไบโอฟาร์มาของอินโดนีเซียได้บรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์แล้ว 35 ล้านโดส แต่ก็กำลังผจญกับปัญหาการไม่ได้องค์ประกอบวัคซีนพอจากประเทศจีน[87]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 บริษัท Pharmaniaga ในมาเลเซียได้รับอนุมัติให้บรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์จากประเทศ[88] ในเดือนเดียวกัน ตุรกีได้ใบอนุญาตให้ผลิตโคโรนาแว็ก[89] ในปลายเดือนนี้ ฮังการีประกาศข้อตกลงในการบรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์ โดยมีแผนจะผลิตเองทั้งหมดในโรงงานใหม่ในเมืองแดแบร็ตแซ็น[32]
การตลาดและการแจกจำหน่าย
[แก้]จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 จีนได้ผลิตส่งโคโรนาแว็กไปแล้ว 600 ล้านโดสทั่วโลก โดยได้ฉีดแล้ว 430 ล้านโดส องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2021[29][34][33]
เอเชีย
[แก้]ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 จีนได้อนุมัติให้ใช้โคโรนาแว็กเป็นการฉุกเฉินกับกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางแพทย์[92] แล้วในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ก็ได้อนุมัติให้ใช้อย่างทั่วไป[19] ในต้นเดือนมิถุนายนต่อมา จีนก็อนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินกับเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 3-17 ปี[93]
ในกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 อาเซอร์ไบจานเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนด้วยโคโรนาแว็ก โดยมีแผนซื้อวัคซีน 4 ล้านโดสแล้วฉีดให้แก่ประชากรร้อยละ 40 ของประเทศที่มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน[94]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 กัมพูชาอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[95] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนในปลายเดือนมีนาคมเมื่อได้รับวัคซีน 1.5 ล้านโดสแรก (มีประชากรประมาณ 16 ล้าน)[96] โดยมีแผนสั่งเพิ่มอีก 4 ล้านโดส[97]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ฮ่องกงได้สั่งวัคซีนโคโรนาแว็กจำนวน 7.5 ล้านโดส (ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน)[98] การฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วไปก็เริ่มในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021[99]
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 อินโดนีเซียตกลงกับบริษัทให้ส่งวัคซีน 140 ล้านโดส[100] โดยจะมีราคา 200,000 รูปียะฮ์ (ประมาณ 425 บาท หรือ 13.57 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อโดสเมื่อได้ (แต่ละคนต้องได้สองโดส)[101] และได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินในกลางเดือนมกราคม 2021[102] ประธานาธิบดีอินโดนีเซียโจโก วีโดโดได้รับวัคซีนโดสแรก[17] การทดลองทางคลินิกในประเทศพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 65 ป้องกันกรณีติดโรคที่แสดงอาการทั้งหมด[17] จนถึงเดือนพฤษภาคม ประเทศได้รับวัคซีนแล้ว 92.9 ล้านโดส[103]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 บริษัทตกลงส่งวัคซีนให้มาเลเซีย 12 ล้านโดส[104] โดยวัคซีนได้อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินต่อมาในเดือนมีนาคม[105] รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นผู้ได้รับวัคซีนโดสแรกในกลางเดือนมีนาคมโดยเป็นการเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน[106]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ปากีสถานอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[107] และได้สั่งวัคซีน 5 ล้านโดส[108]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศว่าได้สั่งซื้อโคโรนาแว็ก 25 ล้านโดส[109] วัคซีนได้รับอนุมัติในปลายเดือนกุมภาพันธ์แต่ก็ไม่ให้ใช้กับแพทย์พยาบาลเพราะไม่ได้ผลดีเท่า โดยให้ใช้กับคนสุขภาพดีทั่วไปอายุระหว่าง 18-59 ปี วัคซีน 600,000 โดสแรกมาถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์[110] และก็เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในต้นเดือนมีนาคม[111] จนถึงกลางเดือนมิถุนายน ประเทศได้รับวัคซีนทั้งหมดแล้ว 7.5 ล้านโดส[112]
สิงคโปร์ได้เซ็นสัญญาซื้อวัคซีนโคโรนาแว็กล่วงหน้า[113] แล้วได้วัคซีนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[114] ต่อมาในเดือนมิถุนายน จึงขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นวัคซีนทางเลือก[115]
ประเทศไทย
[แก้]ในต้นเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ประเทศไทยได้สั่งวัคซีน 2 ล้านโดสแรก[35] และลงทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์[36] แล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในเดือนเดียวกัน[18]
ในวันที่ 4 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 321.6 ล้านบาทเพื่อซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 500,000 โดสโดย 290.24 ล้านบาทจะเป็นค่าวัคซีน คิดเป็นประมาณโดสละ 580 บาท (ประมาณ 18.5 ดอลลาร์สหรัฐ)[116] ในวันที่ 20 พฤษภาคม องค์การเภสัชกรรมระบุว่า ไทยได้รับวัคซีนในเดือนนี้แล้ว 3.5 ล้านโดส รวมทั้งที่จีนบริจาคครึ่งล้านโดสซึ่งได้รับในวันที่ 14 พฤษภาคม รวมเป็นวัคซีนของบริษัทที่ไทยได้รับแล้วทั้งหมด 6 ล้านโดส วัคซีนที่ได้จะจัดเก็บและขนส่งโดยควบคุมอุณหภูมิซึ่งเป็นบริการของบริษัทดีเคเอสเอช (ประเทศไทย)[117]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขระบุในต้นเดือนมิถุนายนว่าระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนอีกทั้งหมด 11 ล้านโดสโดยแต่ละเดือนจะได้ 2.5-3 ล้านโดส ส่วนในเดือนมิถุนายนจะได้ 2.5 ล้านโดส คือ 5 แสนโดสในต้นเดือน 1 ล้านโดสตอนกลางเดือนและที่เหลือเมื่อสิ้นเดือน[118][119] จนถึงวันที่ 10 มิถุนายน ประเทศไทยได้รับวัคซีนนี้แล้วทั้งหมด 7.5 ล้านโดส[37]
แอฟริกา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุโรป
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ตุรกีได้เซ็นสัญญาให้ส่งวัคซีนโคโรนาแว็ก 50 ล้านโดส (ประชากรประมาณ 82 ล้านคน) ระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์[120] แล้วอนุมัติให้ใช้โคโรนาแว็กเป็นการฉุกเฉินในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2021[121] โดยประธานาธิบดี เรเจป ไตยิป แอร์โดอันเองได้รับวัคซีนโดสแรกในวันเดียวกันที่ รพ. อังการาซิตี้[122] ในเดือนกุมภาพันธ์ ตุรกีสั่งวัคซีนเพิ่มอีก 50 ล้านโดสรวมทั้งหมดเป็น 100 ล้านโดส[26] จนถึงเดือนมีนาคม ประเทศได้ให้วัคซีนแก่คนเกินกว่า 10.7 ล้านคนโดยมีคน 852 คนจาก 1.3 ล้านคนที่ได้วัคซีนทั้งสองโดสแต่ก็เป็นโรค และ 53 คนต้องเข้า รพ. แต่ไม่มีใครต้องสอดท่อช่วยหายใจหรือเสียชีวิต[123]
ในเดือนมีนาคม แอลเบเนียเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนด้วยวัคซีนนี้เป็นหลัก[124] หลังจากที่ได้วัคซีนล้านโดสจากตุรกี[125] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 บอสเนียก็ได้รับบริจาควัคซีนนี้ 30,000 โดสจากตุรกีด้วย[126] ในเดือนเดียวกัน นอร์เทิร์นไซปรัสได้รับวัคซีน 80,000 โดสจากตุรกี[127] โดยจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ก็ได้รับบริจาควัคซีนนี้จากตุรกีแล้ว 190,000 โดส[128]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ประเทศจอร์เจียได้รับบริจาควัคซีนแสนโดสจากจีน[129] แล้วเริ่มฉีดให้ประชาชนในเดือนพฤษภาคม[130]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ยูเครนอนุมัติให้ใช้วัคซีน โดยบริษัทยาในประเทศ (Lekhim) ตกลงจะผลิตและส่งวัคซีนให้ 5 ล้านโดส[131] แล้วการให้วัคซีนแก่ประชาชนก็เริ่มเมื่อวันที่ 13 เมษายน[27]
ในเดือนเมษายน มอลโดวาก็ได้สั่งซื้อวัคซีน 400,000 โดส[132]
ในต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรปได้เริ่มตรวจพิจารณาเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้อย่างต่อเนื่อง[133]
ในเดือนมิถุนายน นอร์ทมาซิโดเนียได้รับบริจาควัคซีนนี้ 30,000 โดสจากตุรกี[128]
อเมริกาใต้
[แก้]ในบราซิล ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลูได้เซ็นสัญญามีมูลค่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,819 ล้านบาท) กับบริษัทในเดือนกันยายนเพื่อให้ส่งวัคซีนในเบื้องต้น 46 ล้านโดส[134] ราคาวัคซีนประกาศว่าอยู่ที่ 10.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ประมาณ 323 บาท)[135] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 บราซิลประกาศว่าจะซื้อวัคซีนโคโรนาแว็กทั้งหมด 100 ล้านโดส[136] ต่อมาวันที่ 17 มกราคม องค์กรควบคุมสุขภาพบราซิล (Anvisa) จึงอนุมัติให้ใช้วัคซีนโคโรนาแว็กเป็นการฉุกเฉิน[137] ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ บราซิลระบุว่า จะสั่งวัคซีนเพิ่มอีก 30 ล้านโดสรวมเป็นทั้งหมด 130 ล้านโดส[20] จนถึงต้นเดือนเมษายน บราซิลได้รับวัคซีนนี้ทั้งหมด 39.7 ล้านโดสแล้ว[138]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 โบลิเวียอนุมัติให้ใช้วัคซีนโคโรนาแว็ก[139]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 ชิลีได้เซ็นสัญญาซื้อวัคซีน 20 ล้านโดส[140] แล้วอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในวันที่ 20 มกราคม[141] จนถึงต้นเดือนมีนาคม ชิลีได้รับวัคซีน 10 ล้านโดสและได้ฉีดวัคซีนให้ประชาชน 4.1 ล้านคนแล้ว[142]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 โคลัมเบียได้สั่งวัคซีน 5 ล้านโดส โดยกำลังเจรจาเพื่อซื้อเพิ่มอีก 5 ล้านโดส[143] และอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์[144]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 เอกวาดอร์ได้สั่งซื้อวัคซีน 2 ล้านโดสและได้อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[145] โดยวัคซีนล้านโดสแรกมาถึงต้นเดือนเมษายน[146][147]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ปารากวัยได้วัคซีน 20,000 โดสที่ชิลีบริจาคให้[148] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในวันที่ 10 มีนาคม[149]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 อุรุกวัยได้ซื้อวัคซีน 1.75 ล้านโดสจากบริษัท[150] โดย 192,000 โดสแรกมาถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์แล้วก็เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในวันที่ 1 มีนาคม[22]
อเมริกาเหนือ
[แก้]จนถึงวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2021 สาธารณรัฐโดมินิกันได้ฉีดวัคซีนนี้ให้ประชาชน 400,000 คน (ประชากรทั้งหมดประมาณ 11 ล้านคน) และได้สั่งเพิ่มอีก 10 ล้านโดส[24]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 เอลซัลวาดอร์ได้รับวัคซีน 1 ล้านโดสจาก 2 ล้านโดสที่ได้สั่งไว้ ครูของโรงเรียนรัฐจะได้รับโดสแรกระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 5 เมษายน[25]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 เม็กซิโกอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[151] และสั่งวัคซีน 20 ล้านโดส[152] จนถึงเดือนพฤษภาคม ประเทศได้รับวัคซีนแล้ว 7 ล้านโดส[153]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ปานามาอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[154]
ข้อขัดแย้ง
[แก้]
ความขัดแย้งทางการเมือง
[แก้]ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลู (João Doria) เป็นผู้เป็นหลักสนับสนุนโคโรนาแว็กในบราซิล เป็นผู้ที่หลายคนเชื่อว่าจะลงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแข่งกับฌาอีร์ โบลโซนารูในปี 2022[40] การเผชิญหน้าทางการเมืองได้เริ่มในเดือนตุลาคม 2020 เมื่อโบลโซนารูวีโต้ข้อตกลงระหว่างกระทรวงสุขภาพบราซิลร่วมกับรัฐบาลรัฐเซาเปาลูเพื่อซื้อวัคซีน 46 ล้านโดส[155] ต่อมาเมื่อสถาบัน Instituto Butantan ได้ประกาศประสิทธิศักย์ของวัคซีน โบลโซนารูก็ได้เยาะเย้ยประสิทธิภาพของวัคซีนในการต่อต้านโควิด-19[156]
ผู้ต่อต้านการทำวัคซีนให้เป็นเรื่องทางการเมืองได้เตือนว่า การไม่ทำตามเกณฑ์วิธีการทดสอบและเกณฑ์ความปลอดภัยทางสากลจะทำให้ประชาชนลังเลในการฉีดวัคซีน[40] ในปลายปี 2020 แพทย์ในรัฐเซาเปาลูกล่าวว่า มีปัญหาทำให้คนไข้เชื่อใจว่าว่าวัคซีนโคโรนาแว็กนั้นปลอดภัย[41]
โพลในเดือนมีนาคม 2021 พบว่า คนบราซิลเลือกวัคซีนโคโรนาแว็กและวัคซีนของแอสตราเซเนกาในอัตราร้อยละ 23.6 และ 21.2 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 11.3 ที่เลือกวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค[157] เมื่อวุฒิสภาบราซิลได้ไต่สวนปัญหาการระบาดทั่วในบราซิล สมาชิกวุฒิสภาพได้ออกความเห็นว่า คำพูดต่อต้านจีนทำให้บราซิลได้ฉีดวัคซีนอย่างล่าช้า[158]
ความโปร่งใส
[แก้]ในวันที่ 14 ธันวาคม 2020 สำนักงานควบคุมสาธารณสุขบราซิลระบุว่า การให้อนุมัติเพื่อใช้ในประเทศจีนไม่ใช่เรื่องเปิดเผย คือไม่มีข้อมูลว่าใช้กฎเกณฑ์อะไรในการอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศจีนเดือนมิถุนายน 2020[159]
การขาดรายละเอียดข้อมูลทางการทดลอง
[แก้]ในวันที่ 23 ธันวาคม 2020 นักวิจัยบราซิลแจ้งว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพเกินร้อยละ 50 แต่ก็ไม่เปิดเผยผลเต็มโดยทำตามคำขอของบริษัท ซึ่งสร้างคำถามอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับความโปร่งใสเนื่องจากเป็นการเลื่อนการเปิดเผยผลการทดลองเป็นครั้งที่สาม[39] นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การไร้ความโปร่งใสด้านข้อมูลเสี่ยงลดความน่าเชื่อถือของโคโรนาแว็ก โดยเฉพาะเมื่อคนบราซิลและคนอื่น ๆ ทั่วโลกก็ลังเลในการรับวัคซีนอยู่ก่อนแล้ว[38]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Corum, Jonathan; Zimmer, Carl. "How the Sinovac Vaccine Works". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
- ↑ Nidhi Parekh (2020-07-22). "CoronaVac: A COVID-19 Vaccine Made From Inactivated SARS-CoV-2 Virus". สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
- ↑ "New coronavirus vaccine trials start in Brazil". AP News. 2020-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
- ↑ "Chile initiates clinical study for COVID-19 vaccine". Government of Chile (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ "248 volunteers have received Sinovac vaccine injections in Bandung". Antara News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
- ↑ "DOH eyes 5 hospitals for Sinovac vaccine Phase 3 clinical trial". PTV News. 2020-09-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
- ↑ "Turkey begins phase three trials of Chinese Covid-19 vaccine". TRT World News. 2020-09-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
- ↑ 8.0 8.1 Zimmer, Carl; Corum, Jonathan; Wee, Sui-Lee. "Coronavirus Vaccine Tracker". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ 9.0 9.1 "CoronaVac: Doses will come from China on nine flights and can..." AlKhaleej Today (ภาษาอาหรับ). 2020-11-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
- ↑ 10.0 10.1 Jara, Alejandro; Undurraga, Eduardo A.; González, Cecilia; Paredes, Fabio; Fontecilla, Tomás; Jara, Gonzalo; Pizarro, Alejandra; Acevedo, Johanna; Leo, Katherine; Leon, Francisco; Sans, Carlos; Leighton, Paulina; และคณะ (2021-07-07). "Effectiveness of an Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine in Chile". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2107715. ISSN 0028-4793.
- ↑ 11.0 11.1 "China Sinovac Shot Seen Highly Effective in Real World Study". MSN (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ "Indonesia study finds China's Sinovac COVID-19 vaccine effective in medical staff". 2021-05-12.
- ↑
Savarese, Mauricio (2021-06-01). "Sinovac vaccine restores a Brazilian city to near normal". CTV News. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Pearson, Samantha (2021-05-31). "Brazil's Experiment to Vaccinate Town With Chinese CoronaVac Reduced Covid-19 Deaths by 95%". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
- ↑ 15.0 15.1 Costa, Anna (2021-04-11). "Estudo clínico que comprova maior eficácia da Coronavac é enviado para Lancet" [Clinical study proving greater efficacy of Coronavac is submitted to The Lancet]. CNN Brasil (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). São Paulo. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
- ↑ 16.0 16.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อToscano2021
- ↑ 17.0 17.1 17.2 TARIGAN, EDNA; MILKO, VICTORIA (2021-01-13). "Indonesia starts mass COVID vaccinations over vast territory". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 "Thailand Kicks Off Covid-19 Vaccine Program With Sinovac Shots". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ 19.0 19.1 "China approves Sinovac vaccines for general public use". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
- ↑ 20.0 20.1 Rochabrun, Marcelo. "Brazil health ministry says plans to order 30 million more Coronavac doses | The Chronicle Herald". www.thechronicleherald.ca (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Miranda, Natalia A. Ramos (2021-01-28). "Chile receives two million-dose first delivery of Sinovac COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ 22.0 22.1 "BNamericas - Uruguay prepares to launch COVID-19 vaccinat..." BNamericas.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
- ↑ "Venustiano Carranza next up for Covid vaccination in Mexico City". Mexico News Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ 24.0 24.1 "Anticovid vaccines run out as Dominican Republic awaits arrival of more doses". Dominican Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 25.0 25.1 "Llegan a El Salvador un millón de dosis de la vacuna china CoronaVac contra el covid-19 de la farmacéutica Sinovac". Noticias de El Salvador - La Prensa Gráfica | Informate con la verdad (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
- ↑ 26.0 26.1 "Turkey aims to vaccinate 60 percent of population: Minister - Turkey News". Hürriyet Daily News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
- ↑ 27.0 27.1 "Vaccination with CoronaVac launched in Ukraine on April 13 - Health minister". www.unian.info (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 Liu, Roxanne (2021-04-02). "China Sinovac says it reached two billion doses annual capacity for COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 Nebehay, Stephanie (2021-06-01). "WHO approves Sinovac COVID vaccine, the second Chinese-made dose listed". Reuters. Geneva. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ 30.0 30.1 Mano, A; Simões, undefined (2020-12-10). "Chinese vaccine draws demand across Latin America, say Brazilian officials". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-10. สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.
- ↑ 31.0 31.1 "Egypt to produce up to 80 million Sinovac vaccine doses annually". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
- ↑ 32.0 32.1 "UPDATE 2-Hungarian vaccine plant to be fitted for production of Chinese Sinopharm shots -minister". Reuters. 2021-05-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
- ↑ 33.0 33.1 "WHO recommendation Sinovac COVID-19 vaccine (Vero Cell [Inactivated]) - CoronaVac". World Health Organization (WHO). 2021-05-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ 34.0 34.1 "WHO validates Sinovac COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization (WHO) (Press release). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ 35.0 35.1 "Thailand to get 2 million shots of China's Sinovac". Bangkok Post. Bangkok Post Public Company. 2021-01-04.
- ↑ 36.0 36.1 "Thailand gives emergency use authorisation for Sinovac's COVID-19 vaccine - official". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
- ↑ 37.0 37.1 "'วัคซีนซิโนแวค'ถึงไทยอีก1ล้านโดส เล็งซื้อเพิ่มเป็น 5 ล้านโดส/เดือน". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-06-10.
- ↑ 38.0 38.1 Pearson, Samantha; Magalhaes, Luciana (2021-01-12). "Chinese Covid-19 Vaccine Is Far Less Effective Than Initially Touted in Brazil". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2021-01-12.
- ↑ 39.0 39.1 Fonseca, P. "Brazil institute says CoronaVac efficacy above 50%, but delays full results". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 Phillips, Tom (2020-11-10). "Jair Bolsonaro claims 'victory' after suspension of Chinese vaccine trial". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ 41.0 41.1 Pearson, Samantha; Magalhaes, Luciana (2020-11-10). "Brazil's Medical Experts Worry Politics Is Hampering Covid-19 Vaccine Progress". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ Tan, Y (2020-12-16). "Covid: What do we know about China's coronavirus vaccines?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
- ↑ Corum, Jonathan; Zimmer, Carl (2021-04-26). "How the Sinovac Vaccine Works". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ Staff (2020-09-07). "China's Sinovac coronavirus vaccine candidate appears safe, slightly weaker in elderly". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-07. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.
- ↑ Magalhaes, Samantha Pearson and Luciana (2021-02-18). "Brazil Turns Sleepy Sugarcane Town Into Global Covid-19 Experiment". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
- ↑ "Mass vaccination creates healthy oasis in Brazilian city". Reuters. 2021-05-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
- ↑ "Sinovac vaccine restores a Brazilian city to near normal". Associated Press. 2021-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bhwana, Petir Garda (2021-05-17). "Indonesian Ministry Review Says Sinovac 98% Effective to Prevent Covid Deaths". Tempo. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
- ↑ "Indonesian Medics Find China Vaccine More Effective in Field". The Australian. 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ "UPDATE VAKSINASI COVID-19: Efektivitas Vaksin SinoVac Terhadap Tenaga Kesehatan" (ภาษาอินโดนีเซีย). 2021-05-12.
- ↑ "Segundo estudio de efectividad de vacunación anti SARS-CoV-2 en Uruguay al 8 de junio de 2021" (ภาษาสเปน). 2021-06-08.
- ↑ Toscano (2021), Protection against variants of concern, p. 29.
- ↑ Palacios, Ricardo; Batista, Ana Paula; Albuquerque, Camila Santos Nascimento; Patiño, Elizabeth González; Santos, Joane do Prado; Tilli Reis Pessoa Conde, Mônica; Piorelli, Roberta de Oliveira; Pereira Júnior, Luiz Carlos; Raboni, Sonia Mara; Ramos, Fabiano; Sierra Romero, Gustavo Adolfo; Leal, Fábio Eudes; Camargo, Luis Fernando Aranha; Aoki, Francisco Hideo; Coelho, Eduardo Barbosa; Oliveira, Danise Senna; Fontes, Cor Jesus Fernandes; Pileggi, Gecilmara Cristina Salviato; Oliveira, Ana Lúcia Lyrio de; Siqueira, André Machado de; Oliveira, Danielle Bruna Leal de; Botosso, Viviane Fongaro; Zeng, Gang; Xin, Qianqian; Teixeira, Mauro Martins; Nogueira, Maurício Lacerda; Kallas, Esper Georges (2021). "Efficacy and Safety of a COVID-19 Inactivated Vaccine in Healthcare Professionals in Brazil: The PROFISCOV Study". SSRN Electronic Journal. doi:10.2139/ssrn.3822780. ISSN 1556-5068.
- ↑ "Summary of Clinical Trial Data of Sinovac's COVID-19 Vaccine (CoronaVac)" (Press release). Sinovac Biotech. 2021-04-03. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
- ↑ Bueno, Susan; Abarca, Katia; González, Pablo; Gálvez, Nicolás; Soto, Jorge; Duarte, Luisa; และคณะ (2021-04-01). "Interim report: Safety and immunogenicity of an inactivated vaccine against SARS-CoV-2 in healthy chilean adults in a phase 3 clinical trial" (Preprint). doi:10.1101/2021.03.31.21254494. ISSN 2125-4494 – โดยทาง medRxiv.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Pontificia Universidad Catolica de Chile (2021-02-25). "Multicenter, Phase 3, Randomized Clinical Study to Evaluate the Efficacy, Safety and Immunogenicity of Two Vaccination Schedules of an Inactivated Vaccine Against SARS-CoV-2 Infection in Adults". Ministry of Health, Chile, Sinovac Biotech Co., Ltd.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 57.0 57.1 "Overall Efficacy of Sinovac Vaccine in Brazil Just Above 50%". BNN Bloomberg. 2021-01-12.
- ↑ 58.0 58.1 58.2 58.3 58.4 "Brazil finds Sinovac's vaccine efficacy well below earlier findings". BusinessDay. 2021-01-12.
- ↑ "Why did the efficacy of China's top vaccine drop from 78% to 50%?". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2021-01-14.
- ↑ "Coronavac tem eficácia de 78% contra a Covid-19 em estudo no Brasil". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
- ↑ "expert reaction to reported results of the Sinovac COVID-19 vaccine from a trial by the Butantan Institute in Brazil". Science Media Centre. 2021-01-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ 62.0 62.1 "China's COVID vaccines are going global — but questions remain". Nature. 2021-05-21.
- ↑ 63.0 63.1 "Estudos mostram eficácia da CoronaVac contra três variantes do vírus". Agência Brasil (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
- ↑ Moutinho, Sofia (2021-04-09). "Chinese COVID-19 vaccine maintains protection in variant-plagued Brazil". Science | AAAS (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Zhang, Yanjun; Zeng, Gang; Pan, Hongxing; Li, Changgui; Hu, Yaling; Chu, Kai; Han, Weixiao; Chen, Zhen; Tang, Rong; Yin, Weidong; Chen, Xin (2020-11-17). "Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine in healthy adults aged 18-59 years: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial". The Lancet Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 0. doi:10.1016/S1473-3099(20)30843-4. ISSN 1473-3099. PMID 33217362. S2CID 227099817. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-18.
- ↑ การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04551547 เรื่อง "A Randomized, Double-Blinded, Placebo-Controlled, Phase Ⅰ/Ⅱ Clinical Trial, to Evaluate the Safety and Immunogenicity of the SARS-CoV-2 Inactivated Vaccine (Vero Cell) in Healthy Population Aged 3-17 Years" ที่ ClinicalTrials.gov
- ↑ Wu, Zhiwei; Hu, Yaling; Xu, Miao; Chen, Zhen; Yang, Wanqi; Jiang, Zhiwei; Li, Minjie; Jin, Hui; Cui, Guoliang; Chen, Panpan; Wang, Lei (2021-02-03). "Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine (CoronaVac) in healthy adults aged 60 years and older: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial". The Lancet Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 0 (0). doi:10.1016/S1473-3099(20)30987-7. ISSN 1473-3099.
- ↑ "A Multi-center, Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase II/III Clinical Trial to Evaluate the Safety and Immunogenicity of a SARS-CoV-2 Inactivated (Vero Cell) Vaccine in the Elderly 60-80 Years of Age, Coronovac ENCOV19 Study". registry.healthresearch.ph. Philippine Health Research Registry. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
- ↑ "Safety of an Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine (CoronaVac) in Children and Adolescents". clinicaltrials.gov. United States National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 2021-06-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Savarese, Mauricio (2020-07-21). "New coronavirus vaccine trials start in Brazil". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
- ↑ Palacios, Ricardo; Patiño, Elizabeth González; de Oliveira Piorelli, Roberta; Conde, Monica Tilli Reis Pessoa; Batista, Ana Paula; Zeng, Gang; Xin, Qianqian; Kallas, Esper G.; Flores, Jorge; Ockenhouse, Christian F.; Gast, Christopher (2020-10-15). "Double-Blind, Randomized, Placebo-Controlled Phase III Clinical Trial to Evaluate the Efficacy and Safety of treating Healthcare Professionals with the Adsorbed COVID-19 (Inactivated) Vaccine Manufactured by Sinovac - PROFISCOV: A structured summary of a study protocol for a randomised controlled trial". Trials. 21 (1): 853. doi:10.1186/s13063-020-04775-4. ISSN 1745-6215. PMC 7558252. PMID 33059771. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
- ↑ "World's vaccine testing ground deems Chinese COVID candidate 'the safest, most promising'". Fortune (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-11-09.
- ↑ "Doria says it guarantees purchase of 100 million doses of CoronaVac..." AlKhaleej Today (ภาษาอาหรับ). 2020-10-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ "Brazil Clears Sinovac Trial to Resume Two Days After Halting It". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-11-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
- ↑ "Brazil's health regulator says China's Sinovac can resume Covid-19 vaccine trial after suspension". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 2020-11-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
- ↑ "Chile initiates clinical study for COVID-19 vaccine". Government of Chile (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
- ↑ Health Institutes of Turkey (2020-10-08). "Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Phase III Clinical Trial For Evaluation of Efficacy and Safety of SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell), Inactivated". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ SABAH, DAILY (2020-11-23). "Chinese COVID-19 vaccine to be free, 1st doses to be delivered soon: Turkey's health minister". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-23. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.
- ↑ Paul, Ruma (2020-08-27). "Bangladesh approves late-stage trial of China's Sinovac COVID-19 vaccine candidate" (ภาษาอังกฤษ). Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-08-27.
- ↑ "Sinovac vaccine trial said to be stalled in Bangladesh over funding". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-09.
- ↑ ruchika (2020-10-14). "Bangladesh rejects Chinese Covid vaccine trials". medicaldialogues.in (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
- ↑ "248 volunteers have received Sinovac vaccine injections in Bandung". Antara News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
- ↑ antaranews.com. "Phase 3 Sinovac clinical trial running smoothly: research team". Antara News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
- ↑ "Virus vaccine waiting on Saudi 'green light'". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
- ↑ hermesauto (2020-10-12). "Indonesia aims to start administering coronavirus vaccines in early November". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
- ↑ "Sao Paulo starts building production plant for China's Sinovac vaccine - governor". Financial Post (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-11-09.
- ↑ "Indonesia's Bio Farma Urged to Boost Covid-19 Vaccine Production Capacity". Antara (news agency). 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ "'Fill and finish' Sinovac vaccine by Pharmaniaga approved". Free Malaysia Today. 2021-04-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ "Sinovac allows its COVID-19 vaccine to be made in Turkey". Daily Sabah. 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ "Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process". World Health Organization (WHO).
- ↑ "COVID-19 vaccines: under evaluation". European Medicines Agency.
- ↑ "Sinovac's coronavirus vaccine candidate approved for emergency use in China - source". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-31. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
- ↑ Karthikeyan, Suchitra (2021-06-05). "China Approves Emergency Use Of Sinovac's Coronavac On Children Aged 3-17 Years". Republic World.
- ↑ Aliyev, Jeyhun (2021-01-19). "Azerbaijan kicks off COVID-19 vaccination". Anadolu Agency.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Cambodian PM okays two more Covid-19 vaccines - Sinovac and AstraZeneca - for emergency use | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Health Ministry to start rolling out Sinovac vaccine tomorrow - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "1.5 million doses of China's Sinovac vaccines arrive in Cambodia, The government plans to buy another 4 million doses - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
- ↑ "Government announces latest development of COVID-19 vaccine procurement (Hong Kong Government Press Releases)". Hong Kong Government. 2020-12-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-11.
- ↑ "Hong Kong kicks off COVID-19 vaccinations with Sinovac jab". AP NEWS. 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
- ↑ "Sinovac vaccine has no critical side effects, BPOM says". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.
- ↑ Post, The Jakarta. "COVID-19 vaccine to be priced at Rp 200,000 per dosage: Bio Farma". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
- ↑ Soeriaatmadja, Wahyudi (2021-01-11). "Indonesia grants emergency use approval to Sinovac's vaccine, local trials show 65% efficacy". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ Murti, Markus Wisnu (2021-05-31). "Erick Thohir Receives Eight Million Doses of Sinovac Vaccine". Tempo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
- ↑ Choong, Jerry (2021-01-26). "Health Ministry: Malaysia secures 18.4 million doses of Russian, Chinese Covid-19 vaccines". The Malay Mail. สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.
- ↑ "Malaysia's NPRA Approves AstraZeneca, Sinovac Covid-19 Vaccines". CodeBlue. 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.
- ↑ Babulal, Veena (2021-03-18). "KJ gets first dose of Sinovac vaccine [NSTTV] | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "DRAP allows emergency authorisation to fifth Covid-19 vaccine". www.thenews.com.pk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ "Pakistan purchases over 30 million COVID doses from China: sources". ARY NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ "Duque says deal sealed for 25M doses of Sinovac COVID-19 vaccine". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-10.
- ↑ "Philippines receives COVID-19 vaccine after delays". AP NEWS. 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ "Philippines Begins Vaccinations With China-Donated Sinovac Shots". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ Cabico, Gaea Katreena. "1M more Sinovac COVID-19 jabs arrive in Philippines". Philstar.com. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
- ↑ Chen, F (2020-12-24). "Brazil joins ranks of Chinese vaccine backers". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30.
- ↑ "Singapore receives China's Sinovac vaccine ahead of approval". The Star. 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ Goh, Timothy (2021-06-02). "MOH allows special access to Sinovac Covid-19 vaccine through private healthcare sector". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Cabinet Approves a Fund to Buy More COVID-19 Vaccine". Foreign Office, The Government Public Relations Department. 2021-05-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "องค์การเภสัชกรรม รับมอบวัคซีนซิโนแวค จำนวน 1.5 ล้านโดสจากประเทศจีน ทำให้ยอดซิโนแวคถึงไทยแล้ว รวม 6 ล้านโดส และจะได้รับเพิ่มอีก 3 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายนนี้". nnt.thainews. 2021-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "Thailand to import 11 million Sinovac doses from June to August: Anutin". The nation. 2021-06-03.
- ↑ "Thailand to import 11 million Sinovac doses from June to August: Anutin". TheStar. 2021-06-03.
- ↑ Staff, Reuters (2020-11-25). "Turkey signs 50 million dose COVID-19 vaccine deal, health minister says". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
- ↑ "Turkey grants emergency authorization to Sinovac's CoronaVac: Anadolu". Reuters. 2021-01-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.
- ↑ "Turkish president gets COVID-19 vaccine". Anadolu Agency (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ SABAH, DAILY (2021-03-12). "Few virus infections reported among vaccinated people in Turkey". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
- ↑ Semini, Llazar. "Albania starts mass COVID vaccinations before tourist season". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Staff, Reuters (2021-03-25). "Albania gets 192,000 doses of Chinese Sinovac vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
- ↑ Agency, Anadolu (2021-03-28). "Turkey sends Chinese COVID-19 vaccines to Bosnia-Herzegovina". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
- ↑ Psyllides, George. "Coronavirus: 10,000 vaccines handed over to north | Cyprus Mail". cyprus-mail (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
- ↑ 128.0 128.1 "Turkey donates COVID-19 vaccines to North Macedonia". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "China Donates 100,000 Sinovac Vaccines to Georgia". Civil.ge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-02.
- ↑ "Covid-19 vaccination with Sinovac to start on 24 May in Georgia". Agenda.ge. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ Zinets, Natalia (2021-03-09). "Ukraine approves China's Sinovac COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ Tanas, Alexander (2021-04-09). "Moldova to buy 400,000 doses of Sinovac COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ "EMA starts rolling review of COVID-19 Vaccine (Vero Cell) Inactivated". EMA - European Medicines Agency. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Simoes, E (2020-09-30). "Brazil's Sao Paulo signs agreement with Sinovac for COVID vaccine doses". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
- ↑ Fonseca, I (2020-10-30). "CoronaVac May Be Four Times More Costly Than Flu Vaccine". The Rio Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ "Em meio a críticas por atrasos, Pazuello diz que Brasil está preparado para iniciar vacinação em janeiro". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
- ↑ "Brazil clears emergency use of Sinovac, AstraZeneca vaccines, shots begin". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-01-17.
- ↑ Cardin, Adele (2021-04-12). "1.5 million Coronavac doses delivered to Brazilian government by Butantan". The Rio Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.
- ↑ "Bolívia autoriza uso de vacinas Sputnik V e CoronaVac contra covid-19". noticias.uol.com.br (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
- ↑ "Government meets with Sinovac for first COVID-19 vaccine clinical trial in Chile" (ภาษาอังกฤษ). Government of Chile. 2020-10-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-08.
- ↑ Presse, AFP-Agence France. "Chile Approves Chinese Coronavirus Vaccine". www.barrons.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
- ↑ "Fifth shipment with over two million Sinovac vaccines arrives to Chile". Chile Reports (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
- ↑ "Colombia extends health state of emergency, seeks more Sinovac vaccines". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ MENAFN. "Colombia declares emergency use of Sinovac vaccines". menafn.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ "Ecuador signs agreement with Sinovac for 2 million COVID-19 vaccine: minister". nationalpost (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ "Ecuador recibe primeras 300.000 vacunas de Sinovac para ampliar inmunización". Primicias (ภาษาสเปนแบบเม็กซิกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
- ↑ "A Ecuador llegaron 700 000 vacunas Sinovac contra el covid-19". El Comercio. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
- ↑ Valencia, Alexandra (2021-03-07). "Chile donates 40,000 doses of Sinovac vaccine to Ecuador and Paraguay". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "CoronaVac, vacuna de alta eficacia". Ministerio de Salud Publica Y Bienestar Social.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Uruguay will receive first batches of Pfizer and Sinovac vaccines late February or early March: US$ 120 million investment". MercoPress (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-24.
- ↑ "Mexico approves China's CanSino and Sinovac COVID-19 vaccines". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
- ↑ Jorgic, Drazen (2021-03-10). "Mexico leans on China after Biden rules out vaccines sharing in short term". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Mexico breaks new COVID-19 vaccination record". Puerto Vallarta News. 2021-05-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Moreno, Elida (2021-04-09). "Panama approves use of China's Sinovac vaccine against COVID-19". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
- ↑ Baptista, Eduardo (2020-12-11). "China-made coronavirus vaccine at heart of political showdown in Brazil". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ Carvalho, Daniel (2021-01-14). "'Is 50% Good?', Asks Bolsonaro, Mocking Coronavac's Effectiveness". Folha de S.Paulo. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ "Covid: 70% dos brasileiros não fazem questão de escolher vacina" [Covid: 70% of Brazilians do not make a point of choosing vaccine]. R7.com (ภาษาโปรตุเกส). 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
- ↑ Boadle, Anthony (2021-05-18). "Brazil senators say anti-China views hurt access to COVID-19 vaccines". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
- ↑ "Uso emergencial de vacinas: Anvisa estabelece prazo de até 10 dias para dar decisão" [Emergency use of vaccines: Anvisa establishes a period of up to 10 days to make a decision] (ภาษาโปรตุเกส). Anvisa. 2020-12-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Interim recommendations for use of the inactivated COVID-19 vaccine, CoronaVac, developed by Sinovac (PDF) (Report). World Health Organization (WHO). May 2021.
- "Evidence Assessment: Sinovac/CoronaVac COVID-19 vaccine" (PDF). World Health Organization (WHO). April 2021.
- "COVID-19 Vaccine (Vero cell), Inactivated" (PDF). Sinovac. March 2021.
- Clinical Research Protocol for CoronaVac Phase III Trials in Brazil
- การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04551547 เรื่อง "Safety and Immunogenicity Study of Inactivated Vaccine for Prevention of COVID-19" ที่ ClinicalTrials.gov
- การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04456595 เรื่อง "Clinical Trial of Efficacy and Safety of Sinovac's Adsorbed COVID-19 (Inactivated) Vaccine in Healthcare Professionals (PROFISCOV)" ที่ ClinicalTrials.gov
- การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04651790 เรื่อง "Efficacy, Safety, and Immunogenicity of Two Vaccination Schedules of an Inactivated Vaccine Against COVID-19 in Adults (CoronaVac3CL)" ที่ ClinicalTrials.gov
- "How the Sinovac Vaccine Works". The New York Times.