การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไต้หวัน
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไต้หวัน | |
---|---|
ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันต่อผู้อยู่อาศัย 100,000 คนตามการแบ่งส่วน | |
โรค | โควิด-19 |
สายพันธุ์ไวรัส | ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) |
สถานที่ | ประเทศไต้หวัน |
การระบาดครั้งแรก | อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน |
ผู้ป่วยต้นปัญหา | ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 16,588 คน (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021)[1][2][3] |
เสียชีวิต | 848 คน (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021)[1][2][3] |
อัตราการเสียชีวิต | 5.11% |
เว็บไซต์ของรัฐบาล | |
Taiwan Centers for Disease Control |
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไต้หวัน เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) การระบาดทั่วของโรคนี้ส่งผลกระทบในประเทศไต้หวันน้อยกว่าประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยมีผู้เสียชีวิตทั้งหมดเจ็ดราย ณ วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2020[4][5][6] จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงสุดคือในวันที่ 6 เมษายน ที่ 307 ราย ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาในประเทศอย่างท่วมท้น[7]
ไวรัสดังกล่าวได้รับการยืนยันว่าแพร่กระจายไปยังไต้หวันในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2020 โดยผู้ป่วยรายแรกเป็นหญิงอายุ 50 ปีที่สอนหนังสืออยู่ที่อู่ฮั่น ประเทศจีน[8] รัฐบาลไต้หวันได้บูรณาการข้อมูลจากระบบการดูแลสุขภาพแห่งชาติ, หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากร เพื่อช่วยในการระบุและตอบสนองต่อไวรัส ความพยายามของรัฐบาลได้ประสานงานผ่านศูนย์บัญชาการสุขภาพแห่งชาติ (NHCC) ของศูนย์ควบคุมโรคไต้หวัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการจัดการภัยพิบัติสำหรับโรคระบาดหลังจากการระบาดของโรคซาร์ส ค.ศ. 2002–2004[9][10]
วารสารสมาคมการแพทย์แห่งอเมริการะบุว่าไต้หวันได้ดำเนินการตามลิสต์ที่แยกเป็นส่วนสัดใน 124 รายการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค รวมถึงการตรวจคัดกรองเที่ยวบินจากจีนแผ่นดินใหญ่ก่อนกำหนดและการติดตามผู้ป่วยแต่ละราย[5][11]
การรับมือกับการระบาดของไต้หวันควบคู่ไปกับเพื่อนบ้านในภูมิภาค เช่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการยกย่องจากนานาชาติในเรื่องประสิทธิภาพในการกักตัวผู้คนและการตรวจอย่างกว้างขวาง[4][12][13][14] ณ วันที่ 2 มกราคม มีการตรวจ 290,540 คนในไต้หวัน โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19[1]
ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมเป็นต้นไป ชาวต่างชาติถูกห้ามไม่ให้เข้าไต้หวัน โดยมีข้อยกเว้นบางประการ เช่น ผู้ที่ทำสัญญาทางธุรกิจที่เหลือ และผู้ที่ถือใบรับรองถิ่นที่อยู่ของคนต่างด้าวที่ถูกต้อง หนังสือรับรองทางการทูต หรือเอกสารทางการอื่น ๆ และใบอนุญาตพิเศษ[15] ข้อจำกัดได้รับการผ่อนคลายสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างชาติและผู้ที่ต้องการการรักษาในไต้หวัน โดยต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน[16][17] ทุกคนที่ได้แอดมิตเข้าประเทศจะต้องรับการกักกันสิบสี่วันเมื่อเดินทางมาถึง ยกเว้นผู้เดินทางเพื่อธุรกิจจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำหรือปานกลางและปลอดภัย ซึ่งต้องถูกกักกันห้าหรือเจ็ดวัน และต้องส่งต่อการตรวจโควิด-19[18]
อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลกในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 ไต้หวันประกาศว่าตั้งแต่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2020 ถึง 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 นักท่องเที่ยวทุกคนที่เข้าและผ่านไต้หวันไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ, แหล่งกำเนิด หรือจุดประสงค์ใดจะต้องส่งผลการตรวจโควิด-19 ที่เป็นลบภายในสามวันทำการหลังจากเดินทางมาถึง[19][20][21] มีข้อยกเว้นสำหรับนักเดินทางที่ตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินของครอบครัวหรือเดินทางมาจากประเทศที่ไม่มีการตรวจตามคำขอหรือแบบชำระเงินด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องนั่งแยกจากผู้โดยสารคนอื่น ๆ และทำการตรวจแบบชำระเงินด้วยตนเองทันทีเมื่อเดินทางมาถึงไต้หวัน[22]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ความพยามยามในการป้องกันไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไต้หวัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Taiwan Centers for Disease Control". Taiwan Centers for Disease Control. สืบค้นเมื่อ 27 June 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Taiwan COVID-19 Corona Tracker". Corona Tracker. สืบค้นเมื่อ 26 June 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "Corona Dash Board". สืบค้นเมื่อ 27 June 2021.
- ↑ 4.0 4.1 Jennings, Ralph (4 March 2020). "Why Taiwan Has Just 42 Coronavirus Cases while Neighbors Report Hundreds or Thousands". Voice of America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ 5.0 5.1 Duff-Brown, Beth (3 March 2020). "How Taiwan Used Big Data, Transparency and a Central Command to Protect Its People from Coronavirus". Freeman Spogli Institute for International Studies and the Stanford School of Medicine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ Hale, Erin (7 March 2020). "How to control the spread of the coronavirus: Lessons from Taiwan". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
- ↑ 2020/4/28 14:00 中央流行疫情指揮中心嚴重特殊傳染性肺炎記者會 [28 April 2020 Press Conference on the Severe Pneumonia held by the Central Epidemic Command Center] (ภาษาจีน). Taiwan Centers for Disease Control. 28 April 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ Chen, Wei-ting; Kao, Evelyn (21 February 2020). "WUHAN VIRUS/Taiwan confirms 1st Wuhan coronavirus case (update)". Central News Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
- ↑ Wang, C. Jason; Ng, Chun Y.; Brook, Robert H. (3 March 2020). "Response to COVID-19 in Taiwan: Big Data Analytics, New Technology, and Proactive Testing". JAMA. doi:10.1001/jama.2020.3151. PMID 32125371. S2CID 211831388.
- ↑ Dewan, Angela; Pettersson, Henrik; Croker, Natalie (16 April 2020). "As governments fumbled their coronavirus response, these four got it right. Here's how". CNN. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อvox21171722
- ↑ "Taiwan's 'electronic fence' monitor for those quarantined raises privacy concerns". New York Post. 20 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2020. สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
- ↑ "Coronavirus Lessons from Singapore, Taiwan and Hong Kong". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
- ↑ "Why is Singapore's COVID-19 death rate the world's lowest". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ Chang, Ming-hsuan; Huang, Frances; Chen, Christie. "Taiwan to bar entry of foreign nationals to combat COVID-19 (Update)". Central News Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
- ↑ Chang, Ming-hsun; Chen, Wei-ting; Cheng, Chih-chung; Kao, Evelyn (22 July 2020). "Taiwan to allow return of all final year international students". Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 2 August 2020.
- ↑ Yen, William (23 July 2020). "Taiwan to allow entry of foreign nationals seeking medical care". Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 2 August 2020.
- ↑ Yen, William (2 August 2020). "Hong Kong and Australia removed from low risk category: CECC". Central News Agency of the Republic of China. Focus Taiwan. สืบค้นเมื่อ 2 August 2020.
- ↑ "12月1日秋冬防疫專案啟動,請民眾及醫療院所主動配合相關措施" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Taiwan Centers for Disease Control.
- ↑ Liao, George (16 November 2020). "Taiwan announces basics of new virus prevention measures". Luis Ko. Taiwan News. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ Chen, Wei-ting; Yeh, Joseph (18 November 2020). "Negative COVID-19 tests compulsory for all arrivals next month". Central News Agency of the Republic of China. Focus Taiwan. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ Hsu, Chih-wei; Chang, Ming-hsuan; Yeh, Joseph (25 November 2020). "CECC lists exemptions from compulsory COVID-19 tests for all arrivals". Central News Agency of the Republic of China. Focus Taiwan. สืบค้นเมื่อ 26 November 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Twitter追蹤破百萬 小英總統有話要說!A Message from Taiwan President Tsai Ing-wen to the International Community (ในภาษาอังกฤษ)
- 防疫大作戰團結一心 守護臺灣 Message from Vice President Chen Chien-jen (ในภาษาหมิ่นใต้)