การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล | |
---|---|
คนงานของเมเกนเดวิดแอดอมในชุดอุปกรณ์ป้องกันขณะเดินอยู่ข้างหน่วยดูแลผู้ป่วยหนักเคลื่อนที่ | |
โรค | โควิด-19 |
สายพันธุ์ไวรัส | SARS-CoV-2 |
สถานที่ | ประเทศอิสราเอล |
การระบาดครั้งแรก | อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน |
ผู้ป่วยอินเด็กซ์ | รามัตกัน |
วันที่มาถึง | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 (4 ปี 10 เดือน 4 สัปดาห์ 2 วัน) |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 2,387,131 คน[1] |
ผู้ป่วยปัจจุบัน | 531,430 คน[1] |
ผู้ป่วยอาการร้ายแรง | 814 คน[1] |
หาย | 1,846,939 คน[1] |
เสียชีวิต | 8,458 คน[1] |
อัตราเสียชีวิต | 0.48%[2] |
เว็บไซต์ของรัฐบาล | |
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล (ฮีบรู: מגפת הקורונה בישראל) เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ผู้ป่วยรายแรกในประเทศอิสราเอลได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 เมื่อพลเมืองหญิงคนหนึ่งได้รับผลตรวจเป็นบวกสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ศูนย์การแพทย์ชีบาหลังจากการกักด่านบนเรือไดมอนด์พรินเซสในประเทศญี่ปุ่น[3] ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดกฎการแยกกักที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วันสำหรับทุกคนที่เคยไปเยือนเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น และมีการสั่งห้ามผู้ที่ไม่มีถิ่นที่อยู่และไม่ใช่พลเมืองที่อยู่ในเกาหลีใต้เป็นเวลา 14 วันก่อนเดินทางมาถึง[4]
ประเทศอิสราเอลเริ่มบังคับใช้การเว้นระยะห่างทางสังคมตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม และกฎเกณฑ์อื่น ๆ เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของการติดเชื้อ การชุมนุมครั้งแรกถูกจำกัดไว้ที่ไม่เกิน 100 คน[5] และในวันที่ 15 มีนาคมตัวเลขนี้ลดลงเหลือ 10 คนโดยผู้เข้าร่วมควรมีระยะห่างระหว่างกัน 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว)[6] ครั้นวันที่ 19 มีนาคม นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ โดยกล่าวว่าข้อจำกัดที่มีอยู่จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ ชาวอิสราเอลไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านเว้นแต่จำเป็นจริง ๆ บริการที่จำเป็นซึ่งรวมถึงร้านขายอาหาร, ร้านขายยา และธนาคารจะยังคงเปิดให้บริการอยู่ ข้อจำกัดในการเคลื่อที่ได้เข้มงวดยิ่งขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมและ 1 เมษายนโดยทุกคนได้รับคำสั่งให้ทำการปิดจมูกและปากนอกบ้าน จากการที่โคโรนาไวรัสได้รับการวินิจฉัยว่าแพร่ระบาดในบเนบรัค ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเกือบ 1,000 คนเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา[7] คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้เมืองนี้เป็น "เขตหวงห้าม" โดยจำกัดการเข้าออกเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ประจวบกับเทศกาลปัสคาในคืนวันที่ 8 เมษายน ฝ่ายนิติบัญญัติสั่งห้ามเดินทาง 3 วันและได้รับคำสั่งให้ชาวอิสราเอลอยู่ห่างจากบ้านไม่เกิน 100 ม. (330 ฟุต) ในคืนปัสคา และเมื่อวันที่ 12 เมษายน ย่านนิกายฮาเรดีในเยรูซาเลมถูกปิด
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์วัย 88 ปีในเยรูซาเลมซึ่งต้องทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยก่อนหน้านี้ได้รับการประกาศให้เป็นผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศ[8][9]
คลื่นลูกแรกของการระบาดได้เกิดขึ้นท่ามกลางภายใต้รัฐบาลรักษาการ เนื่องจากไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมใหม่หลังการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติในอิสราเอล ค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นครั้งที่สามนับตั้งแต่การยุบรัฐบาลในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 เนทันยาฮูยังคงทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี และถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเพิ่มเติมของความพยายามในการตรวจสอบรวมถึงควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส ซึ่งรัฐบาลแห่งชาติได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ส่วนในช่วงระลอกที่สอง การเคลื่อนไหว เช่น 'ธงดำ'[10] และการชุมนุมหน้าที่พักของเนทันยาฮูได้ประท้วงการตอบสนองของรัฐบาลต่อไวรัส[11] กระทั่งช่วงระลอกที่สามในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2020 รัฐบาลแห่งชาติได้ล่มสลาย ทำให้มีการเลือกตั้งครั้งที่สี่ในรอบสองปี[12]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "נגיף הקורונה בישראל - תמונת מצב כללית" (ภาษาฮิบรู). Israel Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 12 July 2021.
- ↑ "Israel Overview". CoronaTracker. สืบค้นเมื่อ 12 July 2021.
- ↑ "Israel confirms first coronavirus case as cruise ship returnee diagnosed". The Times of Israel. 21 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
- ↑ "How is Israel Dealing With Coronavirus?". 16 March 2020.
- ↑ "Israel limits gatherings to 100 people as coronavirus cases climb to 97". The Jerusalem Post. 11 March 2020.
- ↑ "No more daycare, restaurants, gyms or prayer quorums: The new virus regulations". 15 March 2020.
- ↑ "Bnei Brak coronavirus cases near 1000 as Haredi cities hit hardest". Ynetnews. 2 April 2020. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
- ↑ Rabinovitch, Ari (20 March 2020). "Israel reports first coronavirus fatality". news.yahoo.com. Reuters.
- ↑ Estrin, Daniel (21 March 2020). "Holocaust Survivor Is First Coronavirus Death In Israel". NPR (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "A bipartisan protest movement is rocking Israel". Jewish Chronicle. 5 August 2020.
- ↑ "Thousands gather in Tel Aviv for Black Flag protest against coalition". The Jerusalem Post. 26 April 2020.
- ↑ "Israel's government collapses, not with a bang but a whimper, triggering fourth election in 2 years". CNN. 22 December 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาล
- Coronavirus. Israel's government website
- The Novel Coronavirus. Israel Ministry of Health
- Coronavirus. Israel Ministry of Health
- แม่แบบ:Telegram (ในภาษาฮีบรู)
- อื่น ๆ
- Israel COVID-19 dashboard. World Health Organization
- Graph of total confirmed cases of coronavirus infection and the number of deaths (updated daily).
- Total cases of COVID-19 graphed on a logarithmic scale.
- Time course of COVID-19 spread in the largest cities of Israel เก็บถาวร 2021-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Coronavirus in Israel statistics. Worldometer
- Coronavirus news. The Jerusalem Post
- Total vaccines administered in Israel and herd immunity calculator. เก็บถาวร 2021-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Vaccinated Israelis can now obtain a COVID green pass. เก็บถาวร 2021-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน