การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบราซิล
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบราซิล | |
---|---|
ผู้ป่วยต่อผู้อยู่อาศัย 100,000 คนแบ่งตามรัฐ | |
แผนที่ของรัฐที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ยืนยันแล้ว | |
โรค | โควิด-19 |
สายพันธุ์ไวรัส | ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) |
สถานที่ | ประเทศบราซิล |
การระบาดครั้งแรก | อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน |
ผู้ป่วยต้นปัญหา | เซาเปาลู |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 22,105,872 คน |
ผู้ป่วยปัจจุบัน | 155,437 คน[1] |
หาย | 21,386,271 คน[1] |
เสียชีวิต | 626,870 คน |
อัตราการเสียชีวิต | 2.48 เปอร์เซ็นต์ |
เว็บไซต์ของรัฐบาล | |
coronavirus |
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบราซิล เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดทั่วอย่างต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) ไวรัสดังกล่าวได้รับการยืนยันว่าแพร่กระจายไปยังบราซิลในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[2] เมื่อชายคนหนึ่งจากเซาเปาลูรับการตรวจไวรัสได้ผลบวก โรคนี้แพร่กระจายไปทุกรัฐในบราซิลภายในวันที่ 21 มีนาคม ส่วนวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2020 ประเทศนี้มีรายงานผู้ป่วย 1 ล้านราย ซึ่งในเวลานี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเกือบ 49,000 คน[3][4] ณ เดือนกันยายน 2020 ประเทศบราซิลมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันมากเป็นอันดับสามของโลกรองจากประเทศอินเดียและสหรัฐ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ประเทศมีรายงานผู้ป่วย 2 ล้านคน ส่วนวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ประเทศรายงานว่ามีผู้ป่วย 3 ล้านคน โดยมีผู้เสียชีวิตมากถึง 100,000 คน ซึ่งบราซิลเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดในโลก
การระบาดของโรคได้ก่อให้เกิดการตอบสนองที่หลากหลายจากรัฐบาลกลางของรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการเมือง, การศึกษา, สิ่งแวดล้อม[5] และเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ทางบราซิลได้ประกาศห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางทางอากาศชั่วคราว[6] และผู้ว่าการรัฐส่วนใหญ่ได้กำหนดให้มีการกักกันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส[7]
เส้นเวลา
[แก้]เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2020 กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าได้มีการสอบสวนกรณีผู้ต้องสงสัยของโควิด-19 ในเบโลโอรีซอนชีซึ่งเกี่ยวข้องกับนักเรียนที่เพิ่งเดินทางกลับจากอู่ฮั่น ประเทศจีน[8][9] ส่วนวันรุ่งขึ้น ทางกระทรวงได้ประกาศว่ากำลังสอบสวนอีกสองเคสที่ต้องสงสัยในโปร์ตูอาเลกรีและกูรีชีบา[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Painel Coronavírus" (ภาษาโปรตุเกส). Ministry of Health (Brazil). สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
- ↑ "Brasil confirma primeiro caso da doença". Ministerio da Saude. 26 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
- ↑ Charner, Flora (19 June 2020). "Brazil tops 1 million Covid-19 cases. It may pass the US next, becoming the worst-hit country on the planet". CNN. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Painel Coronavírus". สืบค้นเมื่อ 12 June 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Deforestation of Amazon rainforest accelerates amid COVID-19 pandemic". ABC News. 6 May 2020.
- ↑ Pedro Fonseca; Jamie McGeever (28 March 2020). "Coronavirus: Brazil bans foreign air travelers". The Mercury News. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
- ↑ "Brazil reports more than 1,000 coronavirus deaths". BBC News. 11 April 2020. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
- ↑ "Ministério da Saúde confirma 3 casos suspeitos de coronavírus no Brasil". Exame Abril. 28 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
- ↑ Cruz, Carolina (28 January 2020). "Ministério da Saúde investiga caso suspeito de coronavírus em MG". G1 (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
- ↑ Brandão, Marcelo (29 January 2020). "Brazil has three suspected cases of coronavirus, minister says". Agência Brasil. สืบค้นเมื่อ 18 March 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- COVID-19 in Brazil เก็บถาวร 2020-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Ministry of Health
- "Coronavirus Brazil updates and news" [Latest news and statistics of coronavirus in Brazil.] (ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน, โปรตุเกส, เยอรมัน, อิตาลี, สวีเดน, นอร์เวย์, ฟินแลนด์, เอสโตเนีย และ รัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-08. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.