การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอินเดีย
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2563 COVID-19 pandemic in India | |
---|---|
แผนที่การระบาดในประเทศอินเดีย (ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2024) | |
แผนที่การเสียชีวิตเนื่องจากไวรัสโคโรนาในประเทศอินเดีย (ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2024) | |
โรค | โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) |
สายพันธุ์ไวรัส | SARS-CoV-2 (SARS-CoV-2)[1] |
สถานที่ | ประเทศอินเดีย |
การระบาดครั้งแรก | อู่ฮั่น, มณฑลหูเป่ย์, ประเทศจีน[2] |
ผู้ป่วยต้นปัญหา | ฐฤสสูร, รัฐเกรละ[3] |
วันที่ | 30 มกราคม 2020 – ดำเนินอยู่ (4 ปี 9 เดือน 6 วัน)[4] |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | [5][note 1] |
ผู้ป่วยปัจจุบัน | Formatting error: invalid input when rounding[5] |
หาย | [5][note 2] |
เสียชีวิต | [5][note 3] |
อัตราการเสียชีวิต | Error in Template:Nts: Fractions are not supported% |
ดินแดน | 28 รัฐ 7 ดินแดนสหภาพ[5] |
เว็บไซต์ของรัฐบาล | |
www |
ผู้ป่วยแรกจากการระบาดทั่วของโควิด-19ในประเทศอินเดียนั้นมีรายงานในวันที่ 30 มกราคม 2020 โดยได้รับเชื้อมาจากประเทศจีน ข้อมูลเมื่อ 28 พฤษภาคม 2020 กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัวได้ยืนยันผู้ติดเชื้อรวม 158,333 ราย และรักษาหายแล้ว 67,692 ราย (ในจำนวนนี้เป็นผู้อพยพ 1 คน) มียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 4,531 รายในประเทศ[5] ประเทศอินเดียมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสูงเป็นอันดับที่สี่ในทวีปเอเชีย ด้วยจำนวนยอดผู้ป่วยแตะขีด 100,000 รายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2020[8] ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในประเทศอินเดียนั้นค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ 3.09% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 6.63% (ข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2020)[9] จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดของประเทศอินเดีย ครึ่งหนึ่งพบในหกเมืองสำคัญของประเทศอินเดีย ได้แก่ – มุมไบ, เดลี, อะห์มดาบาด, เจนไน, ปูเน และโกลกาตา[10] ข้อมูลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2020 มีเพียงดินแดนสหภาพลักษทวีป เป็นเขตบริหารระดับบนแห่งเดียวที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ
ปัจจุบันมีการประกาษให้เป็นการระบาด (epidemic) แล้วในมากกว่า 12 รัฐและยูที ภายใต้ Epidemic Diseases Act, 1897 และสถาบันการศึกษารวมทั้งธุรกิจจำนวนมากได้ปิด ประเทศอินเดียได้จัดการยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยวทั้งหมด ด้วยส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วมีความเกี่ยวเนื่องกับประเทศอื่นนอกอินเดีย[11]
ในวันที่ 22 มีนาคม 2020 ประเทศอินเดียสั่งประกาศเคอร์ฟีว 14 ชั่วโมงโดยอาสา (voluntary public curfew) ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที รัฐบาลได้ประกาศปิดเมือง (lockdown) ใน 75 อำเภอ (districts) ที่มีรายงานผู้ติดเชื้อยืนยันและในเมืองสำคัญทั้งหมดของประเทศ[12][13] ต่อมาในวันที่ 24 มีนาคม นายกรัฐมนตรีจึงได้ออกประกาศปิดเมืองทั้งประเทศ (nationwide lockdown) เป็นเวลา 21 วัน ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 1.3 พันล้านคนของประเทศอินเดีย[14][15] ในวันที่ 14 เมษายน นายกรัฐมนตรีได้ขยายการปิดเมืองทั้งประเทศนี้ออกไปอีกจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม[16] ในวันที่ 1 พฤษภาคม ได้มีขยายการปิดเมืองทั่วประเทศออกไปอีกสองสัปดาห์จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม[17] ในวันที่ 17 พฤษภาคม NDMA ยังคงขยายการปิดเมืองทั่วประเทศออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม[18]
ไมเคิล ไรอัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การอนามัยโลก โปรแกรมความเร่งด่วนส่วนสุขภาพ (health emergencies programme) ระบุว่าประเทศอินเดียมี "ความพร้อมรับมือที่ล้นเหลือ" ("tremendous capacity") ต่อการจัดการกับวิกฤตไวรัสโคโรนานี้ ด้วยฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเป็นอันดับสอง ย่อมจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อความสามารถของทั้งโลกในการรับมือต่อโรคระบาดนี้[19] ในขณะที่ความเห็นบางส่วนกังวลต่อผลกระทบร้ายแรงที่จะมีต่อเศรษฐกิจจากการสั่งปิดเมืองนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานไม่ประจำ (informal workers), ธุรกิจขนาดเล็กและเล็กมาก (micro and small enterprises), ชาวนาชาวไร่ (farmers) และผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ (self-employed) ผู้ถูกทิ้งไว้ขาดจากการเดินทางและการเข้าถึงตลาด[20][21]
ศูนย์ติดตามการรับมือของรัฐบาลต่อโควิด-19 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (The Oxford COVID-19 Government Response Tracker (OxCGRT)) ระบุไว้ในรายงานจากข้อมูลที่รวบรวมจาก 73 ประเทศ ว่ารัฐบาลอินเดียมีการรับมืออย่างเข้มงวดและฉุกละหุก (stringently) มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในการลดการระบาด ในรายงานยังชี้ให้เห็นถึงการลงมือของรัฐบาลที่ฉับพลันทันที, การออกนโยบายฉุกเฉิน, การลงทุนในบริการสุขภาพฉุกเฉิน, มาตรการด้านการเงิน, การลงทุนในการค้นคว้าวัคซีน และการรับมือต่อเหตุการณ์อย่างทันท่วงทีตลอดเวลา (active response) รวมแล้วทำให้ประเทศอินเดียได้คะแนนไป "100" คะแนน[เต็ม]สำหรับความเข้มงวด (strictness) นี้[22][23]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Coronavirus disease named Covid-19". BBC News. 11 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
- ↑ Sheikh, Knvul; Rabin, Roni Caryn (10 March 2020). "The Coronavirus: What Scientists Have Learned So Far". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
- ↑ "Kerala confirmed first novel coronavirus case in India". India Today. 30 January 2020.
- ↑ Reid, David (30 January 2020). "India confirms its first coronavirus case". CNBC. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Home | Ministry of Health and Family Welfare | GOI". mohfw.gov.in. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2024.
- ↑ "Number of Covid-19 cases in India climbs to 467, death toll rises to nine". livemint. 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
- ↑ "60-year-old Yemeni national dies due to coronavirus in Delhi". Hindustan Times. 27 March 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
- ↑ "India's case count crosses 100,000, Delhi eases restrictions: Covid-19 news today". Hindustan Times. 19 May 2020. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
- ↑ "Coronavirus pandemic (COVID-19) in India". Our World in Data. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
- ↑ "Infections over 1 lakh, five cities with half the cases: India's coronavirus story so far". The Week. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
- ↑ "India Suspends All Tourist Visas Till April 15 Over Coronavirus: 10 Facts". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
- ↑ Regan, Helen; Mitra, Esha; Gupta, Swati (23 March 2020). "India places millions under lockdown to fight coronavirus". CNN.
- ↑ "India locks down over 100 million people amid coronavirus fears". Al Jazeera. 23 March 2020.
- ↑ Withnall, Adam (24 March 2020). "India to go into nationwide lockdown". The Independent.
- ↑ "India's Coronavirus Lockdown: What It Looks Like When India's 1.3 Billion People Stay Home". Ndtv.com. 22 February 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
- ↑ "PM Modi announces extension of lockdown till 3 May". Livemint. 14 April 2020.
- ↑ "Lockdown extended till 17 May: What will open, remain closed". Livemint. 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 14 May 2020.
- ↑ "Coronavirus lockdown extended till 31 May, says NDMA". livemint. 17 May 2020. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "India has tremendous capacity in eradicating coronavirus pandemic: WHO". The Economic Times. 24 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2 May 2020.
- ↑ "'Unprecedented crisis; do whatever it takes': Jayati Ghosh on Covid-19". Hindustan Times. 28 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2 May 2020.
- ↑ Ray, Debraj; Subramanian, S.; Vandewalle, Lore (9 April 2020). "India's Lockdown". The India Forum.
But in societies like India, a lockdown kill: via job loss, increased vulnerability to economic shocks, and via social stigma and misinformation. Then the objective of saving lives as a whole may or may not be achieved by a draconian lockdown.
- ↑ "India Corona news: India beats other nations in Covid response: Study | India News - Times of India".
- ↑ "India scores high on Covid-19 response tracker made by Oxford University".