ข้ามไปเนื้อหา

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเยอรมนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเยอรมนี
กรณีที่ได้รับการยืนยันต่อ 100000 คนในอำเภอ
แผนที่ของรัฐที่ได้รับการยืนยันเคสโคโรนาไวรัส (ณ วันที่ 28 มีนาคม):
  ได้รับการยืนยัน 100–499 คน
  ได้รับการยืนยัน 500–999 คน
  ได้รับการยืนยัน 1,000–9,999 คน
  ได้รับการยืนยัน ≥10,000 คน
โรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สถานที่ประเทศเยอรมนี
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน[1][2]
วันแรกมาถึง27 มกราคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 9 เดือน 17 วัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม9,477,603 คน
หายประมาณ 4,328,400 คน[3][a]
เสียชีวิต117,488 คน
https://interaktiv.tagesspiegel.de/lab/karte-sars-cov-2-in-deutschland-landkreise/

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเยอรมนี ได้รับการยืนยันว่าไปยังประเทศเยอรมนีในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 เมื่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เคสแรกได้รับการยืนยัน และอยู่ใกล้มิวนิก รัฐไบเอิร์น ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่ในเดือนมกราคมและต้นเดือนกุมภาพันธ์มาจากสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่นั่น หลังจากนั้น กลุ่มใหม่ได้เพิ่มโดยนักเดินทางจากประเทศอิตาลี, จีน และอิหร่าน ก่อนหยุดเที่ยวบินผู้โดยสารในวันที่ 18 มีนาคม ในวันที่ 25 และ 26 กุมภาพันธ์ หลังการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในประเทศอิตาลี ได้มีการพบหลายเคสที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของอิตาลีในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค สำหรับเคสอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาวอิตาลี ได้เกิดขึ้นในหลายภูมิภาครวมถึงรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค, รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน และรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ส่วนกลุ่มก้อนที่เฉพาะเจาะจงเกิดขึ้นในไฮน์สแบร์กนั้นเชื่อมโยงกับเทศกาลในกันเกลท์[4] ทั้งนี้ การเสียชีวิตรายแรกเป็นหญิงอายุ 89 ปีในเอ็สเซิน และชายอายุ 78 ปีในไฮน์สแบร์ก ซึ่งมีการรายงานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563[5][6]

การควบคุมโรคและการแพร่ระบาดของเยอรมันได้รับการแนะนำโดยสถาบันโรแบร์ท ค็อค (RKI) ตามแผนโรคระบาดแห่งชาติ การระบาดครั้งแรกได้รับการจัดการในขั้นตอนการยับยั้ง (พร้อมด้วยมาตรการแรกของขั้นตอนการป้องกัน)[7] ซึ่งพยายามลดการขยายตัวของกลุ่มก้อนให้เหลือน้อยที่สุด รัฐบาลเยอรมันและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายคนกล่าวว่าประเทศนี้ได้รับการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี และในตอนแรกเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการพิเศษให้ตุนหรือจำกัดเสรีภาพของประชาชน ครั้นตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม การระบาดทั่วได้รับการจัดการในขั้นตอนการป้องกันโดยมีรัฐเยอรมันเป็นผู้สั่งปิดโรงเรียนและโรงเรียนอนุบาล, เลื่อนภาคการศึกษา รวมถึงห้ามมิให้ไปเยี่ยมสถานพยาบาลเพื่อคุ้มครองผู้สูงอายุ สองวันต่อมา พรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านถูกปิด ในวันที่ 22 มีนาคม รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวเพื่อชาติ เกือบจะเหมือนกับในประเทศออสเตรียและรัฐไบเอิร์น ซึ่งได้ดำเนินการเมื่อเจ็ดวันก่อนและสามวันก่อนตามลำดับ ตัวบุคคลได้รับอนุญาตให้ออกจากที่พักอาศัยของพวกเขาสำหรับกิจกรรมบางอย่างเท่านั้น เช่น การเดินทางไปทำงาน, เล่นกีฬา หรือซื้อของชำ และไม่อยู่ในกลุ่มที่มีมากกว่าสองคนหากพวกเขาไม่ได้ร่วมส่วนครัวเรือนเดียวกัน

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วย 71,730 ราย เสียชีวิต 775 ราย และหายป่วยประมาณ 16,100 ราย[8][9] อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปอื่น ๆ เช่นอิตาลีหรือสเปน นำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนเคสที่ได้รับการบันทึกและไม่ได้บันทึกไว้ รวมถึงการแจกแจงอายุ และความแตกต่างระหว่างประเทศในจำนวนเตียงผู้ป่วยหนักที่มีระบบช่วยหายใจ หัวหน้าสถาบันโรแบร์ท ค็อค เตือนว่าอัตราการเสียชีวิตของเยอรมันจะเพิ่มขึ้นและคล้ายคลึงกับประเทศอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. There are no official numbers for how many have recovered, because recoveries are not always reported in Germany. The number here is an estimate by the Robert Koch Institute.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Q&A on coronaviruses (COVID-19)". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 March 2020. the outbreak began in Wuhan, China, in December 2019.
  2. Sheikh, Knvul; Rabin, Roni Caryn (10 March 2020). "The Coronavirus: What Scientists Have Learned So Far". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  3. "Aktueller Lage-/Situationsbericht des RKI zu COVID-19" [Current Situation Report of the Robert Koch Institute on COVID-19] (ภาษาเยอรมัน). Robert Koch Institute. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  4. "Kreis Heinsberg". Kreis Heinsberg. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Hamburg, Hamburger Abendblatt- (9 March 2020). "Coronavirus: Zwei Tote in Deutschland - Italien sperrt das ganze Land". www.abendblatt.de. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
  6. SPIEGEL, DER. "Coronakrise: Kanzlerin Merkel in häuslicher Quarantäne - DER SPIEGEL - Politik". www.spiegel.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  7. "Ergänzung zum Nationalen Pandemieplan – COVID-19 – neuartige Coronaviruserkrankung" (PDF). www.rki.de. Robert Koch Institute. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  8. "Alle bestätigten Coronavirus-Infektionen nach Landkreisen und Bundesländern". Tagesspiegel. สืบค้นเมื่อ 31 March 2020.
  9. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Daily Situation Report of the Robert Koch Institute" (PDF). Robert Koch Institute. 2 April 2020.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]