การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ | |
---|---|
โรค | โควิด-19 |
สายพันธุ์ไวรัส | SARS-CoV-2 |
สถานที่ | เกาหลีเหนือ |
การระบาดครั้งแรก | อู่ฮั่น, มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน |
ผู้ป่วยต้นปัญหา | เปียงยาง |
วันแรกปรากฏ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (914 วัน)[1] |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 4,304,380 คน[2] |
เข้ารับการรักษา | 93,690 คน[2] |
หาย | 4,210,610 คน[2] |
เสียชีวิต | 80 คน[2][a] |
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 เกาหลีเหนือยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
เกาหลีเหนือเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกที่มีความลับและโดดเดี่ยวทางการทูต ระบบรักษาพยาบาลที่อ่อนแอและประชากรมีสถานะยากจนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเปราะบางของประเทศต่อการระบาด ด้วยระบบการเมืองแบบเผด็จการ ทำให้ข้อมูลของผลกระทบจากการระบาดทั่วในเกาหลีเหนือ ได้รับการเผยแพร่ให้กับผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศเพียงเล็กน้อย
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือเริ่มใช้มาตรการที่ครอบคลุมเพื่อปกป้องตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระยะเริ่มการระบาด ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งสถานกักโรค และออกข้อจำกัดการเดินทางที่เข้มงวด ในเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ. 2563 เอเชียไทมส์ สื่อมวลชนจากฮ่องกง และเว็บไซต์ 38 North จากสหรัฐ รายงานว่ามาตรการเหล่านี้เหมือนจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก[3][4]
ก่อนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 รัฐบาลของเกาหลีเหนือไม่ได้รายงานผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันของโรคโควิด-19 แม้ว่านักวิเคราะห์ต่างประเทศบางคนเชื่อว่าไวรัสมีการแพร่กระจายภายในเกาหลีเหนือแล้ว ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563[5][6] Daily NK เว็บไซต์ข่าวของผู้คัดค้านระบอบของเกาหลีเหนือซึ่งมีฐานอยู่ในเกาหลีใต้ รายงานว่าทหารประมาณ 180 นายอาจเสียชีวิตจากอาการของโควิด-19 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[7] และแพทย์ได้รับคำสั่งไม่ให้กล่าวถึงโรคโควิด-19 เนื่องจากอาจสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของ คิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุด[8] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีผู้สงสัยติดเชื้อหนึ่งรายในนครแคซ็อง กระตุ้นให้มีการประกาศล็อกดาวน์เป็นเวลาสามสัปดาห์
ในปี พ.ศ. 2564 มีรายงานเพิ่มขึ้นว่าการปิดประเทศที่กำหนดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคกำลังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ เกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเสนอส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากนานาประเทศหลายรายการ ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่เริ่มโครงการให้วัคซีน
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 สำนักข่าวกลางเกาหลี (조선중앙통신; KCNA) ของทางการเกาหลีเหนือ รายงานว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งในกรุงเปียงยางมีผลตรวจไวรัสเป็นบวก และประกาศยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นรายแรกของประเทศ เจ้าหน้าที่ประกาศว่าชาวเกาหลีเหนือกว่า 1 ล้านคนมีอาการ "ไข้" คิม จ็อง-อึน ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับชาติและมีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ
ภูมิหลัง
[แก้]ประเทศเกาหลีเหนือมีพรมแดนติดกับประเทศจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีการระบาดในระยะเริ่มต้น จีนเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเกาหลีเหนือ เป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุด และเป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยว[9][10] พรมแดนจีน-เกาหลีเหนือมีจุดรั่วไหล ตรงกันข้ามกับพรมแดนที่มีกำลังทหารจำนวนมากระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ในมณฑลเหลียวหนิงและมณฑลจี๋หลินของจีนที่มีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ ยังคงอยู่ในระดับต่ำ[6]
เกาหลีเหนือเป็นประเทศยากจนที่โดดเดี่ยวทางการทูตและทางเศรษฐกิจ[6] และถูกนานาชาติคว่ำบาตร มีระบบการรักษาพยาบาลที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้เปราะบางต่อกรณีที่เกิดการระบาด[11][9] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 มีความกังวลว่าภาวะทุพโภชนาการเป็นวงกว้างในประเทศอาจทำให้การแพร่กระจายของโรคโควิด-19 รุนแรงขึ้น[6] ในเดือนเมษายน พัก มย็อง-ซู (박명수) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเกาหลีเหนือ กล่าวว่าหากโรคนี้แพร่กระจายในเกาหลีเหนือ "ภัยพิบัติร้ายแรงก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้"[12] รัฐบาลเกาหลีเหนือมีความลึกลับ สื่อของเกาหลีเหนือก็ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ทำให้เป็นการยากสำหรับผู้สังเกตการณ์จากภายนอกที่จะตัดสินว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้[6]
ในอดีต เกาหลีเหนือจำกัดการเดินทางเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์โรคระบาดในต่างประเทศ เช่น โรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 และการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกในปี พ.ศ. 2557[9][13] โรคหัดหมดไปจากประเทศในปี พ.ศ. 2561[6][14] จากโปรแกรมการให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากซึ่งจัดการโดยศูนย์อนามัยและกักกันโรคกลาง (중앙위생방역소; CHAEI) และสถานีในส่วนภูมิภาค (AEHS) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากยูนิเซฟ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) การจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถให้วัคซีนโดสแรกแก่ประชากรทั้งหมดภายในไม่กี่สัปดาห์ด้วยโปรแกรมดังกล่าว[15]
เกาหลีเหนือมีรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จและยังคงควบคุมประเทศและสังคมอย่างเข้มงวด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะสามารถช่วยบังคับใช้มาตรการควบคุมโรค เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม[6][16] ประเทศมีแพทย์จำนวนมากเมื่อเทียบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากร แม้ว่าพวกเขาจะมีทักษะและความพร้อมน้อยกว่าในประเทศทางตะวันตกและในเกาหลีใต้ แต่เกาหลีเหนือยังมี "มาตรฐานด้านสุขอนามัยที่ค่อนข้างดีกว่า" ประเทศอื่น ๆ ที่มีระดับเศรษฐกิจเท่ากัน (เช่น ประเทศบอตสวานา หรือลาว)[16]
เส้นเวลา
[แก้]มกราคม–กุมภาพันธ์ 2563
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม เกาหลีเหนือสั่งห้ามนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้าประเทศ[17] เที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดถูกระงับ ทางการเริ่มส่งผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อโควิดรวมทั้งผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เล็กน้อย ไปกักกันโรคในเมืองชินอึยจูเป็นเวลาสองสัปดาห์[18][9]
เมื่อวันที่ 30 มกราคม สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) ของเกาหลีเหนือประกาศ "สถานการณ์ฉุกเฉิน" และรายงานการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคทั่วประเทศ[19]
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ KCNA รายงานว่าทุกคนที่เข้ามาในประเทศหลังจากวันที่ 13 มกราคมจะต้องอยู่ภายใต้มาตรการ "การดูแลทางการแพทย์"[19]
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ หนังสือพิมพ์ Daily NK ของเกาหลีใต้อ้างว่า ชาวเกาหลีเหนือห้าคนในชินอึยจู ที่ชายแดนจีนเสียชีวิต[20] ภายในวันเดียวกันหนังสือพิมพ์เดอะโคเรียนไทมส์รายงานว่า มีผู้หญิงชาวเกาหลีเหนือที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงเปียงยางติดเชื้อ[21] แม้จะไม่มีการยืนยันคำอ้างดังกล่าวจากทางการเกาหลีเหนือ แต่ก็ได้มีมาตรการเข้มงวดขึ้นเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัส[22][23]
โรงเรียนทั่วประเทศปิดทำการตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยในเปียงยางที่เดินทางมาจากส่วนอื่นของประเทศถูกกักตัวอยู่ในหอพัก[24][25]
เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ คิม จ็อง-อึนมีคำสั่งให้มีมาตรการที่เข้มแข็งขึ้นเพื่อป้องกันโควิด-19 ไม่ให้แพร่กระจายในเกาหลีเหนือ[26]
มีนาคม 2563
[แก้]เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 หนังสือพิมพ์ Daily NK จากเกาหลีใต้รายงานว่า ผู้ให้ข่าวภายในกองทัพเกาหลีเหนือระบุว่ามีทหารเสียชีวิต 180 นายในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ และมีทหาร 3,700 นายที่ถูกกักกัน[7]
วันที่ 14 มีนาคม สื่อของรัฐเกาหลีเหนือรายงานว่าไม่มีกรณีผู้ป่วยยืนยันในอาณาเขตของประเทศ[27]
วันที่ 18 มีนาคม คิม จ็อง-อึน สั่งการให้มีการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในเกาหลีเหนือ สื่อของรัฐเกาหลีเหนือรายงานว่าโรงพยาบาลแห่งใหม่ที่เพิ่งเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม คิมได้กล่าวในรายงานของหนังสือพิมพ์ของพรรคแรงงานของเกาหลีว่า การก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่นั้น เพื่อปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพทั่วไปของประเทศโดยไม่พูดถึงโควิด-19[28]
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม สื่อเกาหลีเหนือกล่าวว่ามีผู้ได้รับการปล่อยตัวจากการกักกันมากกว่า 2,590 คน ในจังหวัดพยองอันเหนือและจังหวัดพยองอันใต้ ชาวต่างชาติที่ถูกกักกันทั้งสามคนถูกปล่อยตัว[29]
วันที่ 31 มีนาคม เอเชียไทมส์ รายงานว่ามาตรการของเกาหลีเหนือในการต่อต้านโรคระบาดทั่วดูเหมือนจะประสบความสำเร็จอย่างมาก[4]
เมษายน–มิถุนายน 2563
[แก้]เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเกาหลีเหนือ พัก เมียง-ซู ย้ำคำอ้างที่ว่าเกาหลีเหนือไม่มีกรณีผู้ป่วยจากไวรัส[12] เมื่อวันที่ 23 เมษายน มีรายงานว่าได้ทำการทดสอบเชื้อไวรัสโคโรนา 740 กรณีในประเทศ และทั้งหมดให้ผลเป็นลบ[30]
เมื่อวันที่ 23 เมษายน หนังสือพิมพ์ Daily NK รายงานว่าชาวเกาหลีเหนือผู้แปรพักตร์ซึ่งถูกยิงขณะพยายามข้ามแม่น้ำตูเมน (เกาหลี: 두만강; จีน: 图们江) เข้าสู่ประเทศจีนมีผลทดสอบไวรัสเป็นบวก[31]
ในช่วงกลางถึงปลายเดือนเมษายน ข้อจำกัดของชาวต่างชาติที่เดินทางไปยังเปียงยางผ่อนคลายลง ท่าเรือนัมโพถูกเปิดขึ้นอีกครั้งสำหรับเรือสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และการประชุมสมัชชาประชาชนครั้งที่ 14 ซึ่งมีผู้แทนหลายร้อยคนถูกจัดขึ้นโดยไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย[3][32]
เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีเหนือ โคลิน ครุกส์ กล่าวว่า "สถานทูตสหราชอาณาจักรในเปียงยางปิดทำการชั่วคราวในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 และเจ้าหน้าที่การทูตทุกคนได้ออกจากเกาหลีเหนือในเวลานั้น"[33] ตามคำแถลงจากสำนักงานต่างประเทศของสหราชอาณาจักร "ข้อจำกัดในการเดินทางเข้าประเทศทำให้ไม่สามารถหมุนเวียนเจ้าหน้าที่และดำรงการดำเนินงานของสถานทูตได้"[33]
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน มีข่าวจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขของเกาหลีเหนือกล่าวว่าสถาบันการศึกษาทุกแห่งได้เปิดทำการแล้ว[34]
กรกฎาคม 2563
[แก้]ในวันที่ 1 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยังมีการห้ามไม่ให้มีการชุมนุมสาธารณะและประชาชนต้องสวมหน้ากากในที่สาธารณะ[34] สำนักข่าวกลางเกาหลีและหนังสือพิมพ์โรดองซินมุนของทางการเกาหลีเหนือ เผยแพร่ภาพเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม โดยเป็นการประชุมของคิม จ็อง-อึนและเจ้าหน้าที่หลายสิบคนซึ่งไม่มีใครสวมหน้ากาก[35][36]
จากข้อมูลของ นพ. เอ็ดวิน ซัลวาดอร์ (Edwin Salvador) ผู้แทนขององค์การอนามัยโลกในเกาหลีเหนือพบว่า มีคนในประเทศ 922 คนที่ได้รับการทดสอบการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 และทั้งหมดมีผลการทดสอบเป็นลบ[35]
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม คิม จ็อง-อึนเข้าร่วมการประชุมฉุกเฉินหลังจากมีการรายงานผู้ต้องสงสัยป่วยด้วยโรคโควิด-19 ในเมืองแคซ็อง คิมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและกำหนดให้ล็อกดาวน์เมือง[37][38] ผู้ต้องสงสัยรายนี้มีรายงานว่าเป็นบุคคลที่หลบหนีไปยังเกาหลีใต้เมื่อสามปีก่อน ก่อนที่จะกลับไปเกาหลีเหนือในเดือนกรกฎาคม ตามรายงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาวุโสของเกาหลีใต้ บุคคลดังกล่าวไม่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยโควิด-19 และไม่ได้จัดอยู่ในประเภทบุคคลที่ติดต่อกับผู้ป่วยรายอื่น การสัมผัสใกล้ชิดของผู้แปรพักตร์สองคนในเกาหลีใต้มีผลตรวจเป็นลบสำหรับโควิด-19[39] เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นายแพทย์ ซัลวาดอร์ กล่าวว่าผู้แปรพักตร์ที่กลับมาได้รับการตรวจหาเชื้อแต่ "ผลลัพธ์ยังไม่สามารถสรุปได้"[40] เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม คิม จ็อง-อึนยกเลิกการประกาศล็อกดาวน์เป็นเวลาสามสัปดาห์ในแคซ็องและพื้นที่ใกล้เคียง[41] หลังจาก "การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์และการรับประกันโดยองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการต่อต้านการระบาด"[42]
ตามรายงานข่าวกรองของเกาหลีใต้ ในเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือคนหนึ่งถูกประหารชีวิตเนื่องจากละเมิดข้อจำกัดของโควิด-19 โดยนำสินค้าจากชายแดนจีนเข้ามาที่เมืองชินอึยจู เจ้าหน้าที่ข่าวกรองเกาหลีใต้ยังกล่าวด้วยว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือได้ล็อกดาวน์เปียงยาง และปฏิเสธที่จะรับข้าว 110,000 ตันจากประเทศจีนเพราะกลัวว่าจะปล่อยให้ไวรัสเข้ามาในประเทศ[43]
ชาวต่างชาติในเกาหลีเหนือมีความกังวลเกี่ยวกับการรักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากระบบการรักษาพยาบาลของเกาหลีเหนือมีข้อจำกัด และเป็นการยากที่จะเข้ารับการรักษาในจีนเนื่องจากการจำกัดการเดินทาง[44]
ตามรายงานของ NK News เมื่อวันที่ 22 กันยายน ลูกเรือของเรือลาดตระเวนของเกาหลีเหนือได้สังหารเจ้าหน้าที่ประมงชาวเกาหลีใต้รายหนึ่งที่พวกเขาพบนอกชายฝั่ง จากนั้นจึงจุดไฟเผาอุปกรณ์ผิวน้ำของเขาตามคำสั่งฉุกเฉินเกี่ยวกับโควิด-19 คิม จ็อง-อึน ขอโทษเกาหลีใต้สำหรับเหตุการณ์นี้[45] ในเดือนตุลาคม สื่อของเกาหลีเหนือกล่าวว่าโลกกำลังมองดูเกาหลีเหนือด้วยความอิจฉาเนื่องจากสถานะปลอดไวรัส แต่ในขณะเดียวกันก็เตือนไม่ให้มีความพึงพอใจ[46] ในเดือนเดียวกันนั้น มีคนเข้ารับการทดสอบและกักกันโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเฉลิมฉลองในวันที่ 10 ตุลาคม[47]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 Daily NK รายงานว่ามีผู้ที่อยู่ในสถานกักกันที่มีอาการของโรคโควิด-19 พุ่งสูงขึ้น และผู้ที่ไม่ใช่ทหารอย่างน้อย 80,000 คนถูกกักกันโรค แม้ว่าประเทศจะยังคงมาตรการดังกล่าวแต่ก็ไม่มีการยืนยันผู้ป่วยกรณีใด ๆ แหล่งข่าวของ Daily NK รายงานว่าประชาชนบางส่วนสงสัยว่ารัฐบาลมีการปกปิด และแพทย์ได้รับคำสั่งให้ไม่กล่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เพื่อที่จะไม่ "ทำลายภาพลักษณ์" ของ คิม จ็อง-อึน[8]
ปี 2564
[แก้]ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 พรมแดนของเกาหลีเหนือถูกปิดมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี จากการวิเคราะห์ของเกาหลีใต้ การค้าระหว่างเกาหลีเหนือและจีนได้ลดลง 76%[48]
ในเดือนมีนาคม เกาหลีเหนือตัดสินใจไม่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว เนื่องจากกังวลว่าอาจติดเชื้อโควิด-19[49] ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีจึงถูกระงับสิทธิ์โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2565 ดังนั้นจึงเป็นการห้ามไม่ให้ประเทศเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง[50]
เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 นักการทูตรัสเซียในเปียงยางกล่าวว่าเกาหลีเหนือมี "การจำกัดสิทธิ์ทั้งหมดซึ่งมีความเคร่งครัดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" รวมถึงมีการขาดแคลนอย่างรุนแรง ตามรายงานของคณะผู้แทนทางการทูต นักการทูตต่างประเทศจำนวนมากได้ออกจากประเทศแล้ว โดยเหลือชาวต่างชาติน้อยกว่า 290 คนในเกาหลีเหนือ รวมทั้งเอกอัครราชทูตเพียงเก้าคนและอุปทูตสี่คน[51] ปลายเดือนนั้น คิม จอง-อึน กล่าวว่าเกาหลีเหนือกำลังเผชิญกับ "สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด" โดยอ้างอิงถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากโรคโควิด-19[52] เขาเรียกร้องให้พรรคดำเนินการเช่นเดียวกับสถานการณ์ "อาร์ดอส มาร์ช" อีกครั้งเพื่อต่อสู้กับความยากลำบากของภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้าย[53]
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนโต้แย้งว่าการแปลว่าเป็น "สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด" เป็นการพูดเกินจริง โดยคำพูดดั้งเดิม (극난한) แปลได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ยากหรือยากลำบาก คำแปลว่า "แย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา" เคยถูกใช้มาก่อนในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 8 ของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเพื่ออ้างถึงช่วงห้าปีที่ผ่านมา แต่เศรษฐกิจก็ไม่ลำบากเท่าช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ในทำนองเดียวกัน ในบริบทของเกาหลีเหนือ "อาร์ดอส มาร์ช" ไม่ได้หมายถึงความยากลำบากทางเศรษฐกิจโดยตรง แต่เป็นความตั้งใจแน่วแน่ที่จะดำเนินงานของพรรค[54]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 คิม จ็อง-อึน เรียกประชุมเพื่อไล่เจ้าหน้าที่หลายคนออกเนื่องจากการละเมิดมาตรการโควิด-19 ที่ "รุนแรง"[55] และเตือนถึงวิกฤตครั้งใหญ่ที่เกิดจากการระบาดทั่วในประเทศ[56] อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ พัก จ็อง-ชอน (박정천) ที่ถูกลดตำแหน่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคและเข้าร่วมโปลิตบูโรอีกครั้งในฐานะสมาชิกเต็มรูปแบบ[57]
ทิม เอ. ปีเตอร์ส นักเคลื่อนไหวชาวอเมริกัน กล่าวว่า มีสัญญาณของ “ความเครียดอย่างมากของประชากรเกาหลีเหนือ” อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้อง และเขาสงสัยว่าโควิด-19 กำลังแพร่กระจายภายในเกาหลีเหนือแม้จะไม่มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วก็ตาม[58]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 เกาหลีเหนือปฏิเสธที่จะรับมอบวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกาประมาณ 2 ล้านโดส โดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในเดือนเดียวกัน รัสเซียยังได้เสนอที่จะจัดหาวัคซีนสปุตนิก วี ให้กับประเทศหลายครั้ง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เกาหลีเหนือได้ปฏิเสธวัคซีนโคโรนาแว็ก ของจีนจำนวน 3 ล้านโดส ซึ่งเสนอให้ภายใต้โครงการโคแวกซ์ (COVAX) โดยขอให้จัดสรรวัคซีนดังกล่าวให้กับประเทศอื่น[59]
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม องค์การอนามัยโลกรายงานว่าผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ 37,291 คนได้รับการตรวจหาเชื้อสำหรับโควิด-19 ในประเทศแล้ว โดยทั้งหมดมีผลตรวจเป็นลบ[60]
ในเดือนตุลาคม 2564 มีรายงานโดย NK News ระบุว่าคูปองแทนเงินกำลังแพร่หลายในเกาหลีเหนือ เนื่องจากมีรายงานว่าการควบคุมโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาในการออกธนบัตรหมุนเวียน นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่ามีสัญญาณเริ่มต้นของภาวะเงินเฟ้อในเกาหลีเหนือ[61]
มกราคม 2565
[แก้]ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 รถไฟบรรทุกสินค้าขบวนแรกระหว่างเกาหลีเหนือและจีนได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังจากถูกระงับนานสองปี[62][63] ฐานทัพอากาศอึยจู (의주비행장) ถูกดัดแปลงเป็นสถานที่กำจัดการปนเปื้อนของสินค้าสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่นำเข้าโดยรถไฟบรรทุกสินค้า[64] ศูนย์วิจัยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเกาหลี (남북경제협력연구소; IKECRC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมในเกาหลีใต้ที่ได้รับการยกเว้นการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ ได้ส่งกล้องถ่ายภาพความร้อน 20 ตัวไปยังจังหวัดพย็องอันเหนือเพื่อตรวจหาผู้มีอาการไข้ โดยองค์การอนามัยโลก ขยายเวลาอีก 18 เดือนในการส่งมอบสินค้าเนื่องจากการหยุดชะงักของโครงการ[65]
พฤษภาคม 2565
[แก้]วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินระดับชาติขั้นรุนแรง" หลังจากผลการสุ่มตรวจหาเชื้อจากกลุ่มประชากรที่ไม่ระบุจำนวนมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก นับเป็นครั้งแรกที่เกาหลีเหนือได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ สำนักข่าวกลางของเกาหลีระบุว่าผู้นำสูงสุด คิม จ็อง-อึน ได้เรียกประชุมฉุกเฉินของคณะกรรมการโปลิตบูโรของพรรคแรงงานเกาหลีหลังจากทราบผลการตรวจซึ่งได้มาจากผู้อยู่อาศัยในเปียงยางและมีอาการ "สอดคล้องกับ" สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน คณะโปลิตบูโรแนะนำให้ดำเนินการกักกันฉุกเฉิน "ขั้นสูงสุด" ซึ่งรวมถึงการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ จำกัดการผ่านแดน และจำกัดขนาดของกลุ่มในสถานที่ทำงาน[66][67][68][69][70] ในระหว่างการประชุมโปลิตบูโร ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กลยุทธ์ต่อต้านการแพร่ระบาดครั้งก่อน[70][71] NK News รายงานว่า ทั้งประเทศถูกล็อกดาวน์เมื่อสองวันก่อน แม้ว่าเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนใกล้กับเกาหลีใต้จะยังคงดูแลแปลงเพาะปลูกอยู่ก็ตาม[67] สื่อของรัฐรายงานในเวลาต่อมาว่า ชาวเกาหลีเหนืออย่างน้อยหนึ่งรายเสียชีวิตหลังจากผลตรวจหาเชื้อเป็นบวก และมี 187,800 คนถูกกักบริเวณเนื่องจาก "มีไข้"[72]
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม คิม จ็อง-อึน จัดประชุมที่สำนักงานป้องกันโรคระบาดฉุกเฉินแห่งรัฐ ซึ่งเขาเรียกร้องให้มีการดำเนินการต่อต้านการแพร่ระบาด, ล็อกดาวน์ และการแยกกักตัวกรณีผู้สงสัยติดเชื้อต่อไป ความพยายามที่จะหยุดการแพร่กระจายได้รับการประกาศให้เป็นภาระสูงสุดของพรรค มีการระบุว่า "อาการไข้" เริ่มแพร่กระจายตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 โดยเปียงยางเป็นศูนย์กลางของการแพร่กระจาย[73] เพื่อให้สอดคล้องกับการตัดสินใจของคณะโปลิตบูโร องค์กรต่าง ๆ ยังคงดำเนินการตามปกติในขณะที่จัดกระบวนการกักกันฉุกเฉิน[74] โครงการสำคัญต่าง ๆ เช่น โครงการที่อยู่อาศัย 10,000 หน่วย ยังคงดำเนินการต่อไปเหมือนก่อนหน้า[75] นอกจากนี้ ในวันที่ 13 พฤษภาคม สื่อทางการของเกาหลีเหนือรายงานผู้เสียชีวิต 6 รายและมีไข้ 350,000 ราย[76]
วันที่ 14 พฤษภาคม มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มเป็น 174,440 ราย รักษาหาย 81,430 ราย เสียชีวิต 21 ราย ในระหว่างการประชุมโปลิตบูโร คิม จ็อง-อึน กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบันเทียบเท่ากับความวุ่นวายระหว่างการก่อตั้งประเทศ แต่สถานการณ์สามารถเอาชนะได้ด้วยธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งเหนือกว่า ตามรายงานระบุว่า กรณีของการกระจายเชื้อไวรัสข้ามระหว่างภูมิภาคลดลง นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้เบิกจ่ายยาฉุกเฉินตามแผนต่อต้านการแพร่ระบาด[77]
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม มีรายงานว่าในช่วง 24 ชั่วโมงของวันที่ 15-16 ผู้ป่วยในประเทศที่มีอาการไข้มีจำนวน 269,510 ราย, รักษาหายแล้ว 170,460 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 6 ราย จำนวนผู้ป่วยที่รายงานอย่างเป็นทางการรวมอยู่ที่ 1,483,060 ราย ในจำนวนนี้ รักษาหายแล้ว 819,090 ราย, กำลังรักษา 663,910 ราย และเสียชีวิต 56 ราย[78][79] ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในส่วนภูมิภาค แต่จำนวนผู้ป่วยเริ่มลดลงในเปียงยาง[80][81] ตามข้อมูลของ KCTV จากรายงานจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม ในจำนวนผู้เสียชีวิต 50 รายมี 25 รายที่เกิดจากการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม[82]
วันที่ 19 พฤษภาคม มีรายงานผู้ป่วย 262,270 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย[83] มีการจัดตั้งศูนย์การรักษาระดับภูมิภาคเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในจังหวัดพย็องอันใต้และจังหวัดฮัมกย็องใต้[80]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 มีชาวเกาหลีเหนือหกคนเสียชีวิต โดยหนึ่งในนั้นมีผลการทดสอบการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2 เป็นบวก วันต่อมามีอีก 21 คนเสียชีวิต ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตรวมเป็น 27 คน (26 รายไม่ระบุรายละเอียดสาเหตุการเสียชีวิต และมี 1 รายยืนยันสาเหตุจากโควิด-19)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "North Korea says 6 people dead, 187,800 in quarantine due to 'fever'". NK News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 조선중앙통신 | 기사 | 전국적인 전염병전파 및 치료상황 통보 [Nationwide spread of infectious diseases and notification of treatment status]. kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2022.
- ↑ 3.0 3.1 Park, Kee B.; Jong, Jessup; Jung, Youngwoo (23 April 2020). "Do They or Do They Not Have COVID-19 Inside North Korea?". 38 North. The Henry L. Stimson Center. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Bernal, Gabriela (31 March 2020). "North Korea's silent struggle against Covid-19". Asian Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
- ↑ "Coronavirus: nearly 200 North Korea soldiers 'die from outbreak government refuses to acknowledge'". South China Morning Post. 10 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Wainer, David; Lee, Jihye (17 March 2020). "Who Knows How Many Virus Cases North Korea Has. It Says Zero". Bloomberg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 20 March 2020.
- ↑ 7.0 7.1 Jeong Tae Joo (9 March 2020). "Sources: Almost 200 soldiers have died from COVID-19". Daily NK. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
- ↑ 8.0 8.1 Jang Seul Gi (5 November 2020). "Sources: N. Korea is hiding the real number of suspected COVID-19 cases". Daily NK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "North Korea Bars Foreign Tourists Amid Virus Threat, Groups Say". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 22 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ Sang-Hun, Choe (31 March 2020). "North Korea Claims No Coronavirus Cases. Can It Be Trusted?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 1 April 2020.
- ↑ "South Korea says detected North Korea missile fire 'inapproriate' [ตามต้นฉบับ] amid coronavirus". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 21 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ 12.0 12.1 "N. Korea has no infected people with new coronavirus: expert". Mainichi Daily News (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2020. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.
- ↑ Im, Esther S.; Abrahamian, Andray (20 February 2020). "Pandemics and Preparation the North Korean Way". 38 North. The Henry L. Stimson Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
- ↑ Patel, Minal K. (2019). "Progress Toward Regional Measles Elimination — Worldwide, 2000–2018". MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 68 (48): 1105–1111. doi:10.15585/mmwr.mm6848a1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ M., Nagi Shafik; Yoonhee, C. Ryder; B., Kee Park (5 August 2021). "North Korea's Vaccination Capabilities: Implications for a COVID-19 Campaign". 38 North. The Henry L. Stimson Center. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ 16.0 16.1 "Why North Korea's healthcare sector is better equipped than many believe". NK News - North Korea News. 20 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ hermesauto (21 January 2020). "North Korea to temporarily ban tourists over Wuhan virus fears, says tour company". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.
- ↑ "N. Korea quarantines suspected coronavirus cases in Sinuiju". Daily NK. 28 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ 19.0 19.1 Berlinger, Joshua; Seo, Yoonjung (7 February 2020). "All of its neighbors have it, so why hasn't North Korea reported any coronavirus cases?". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 7 February 2020.
- ↑ Jang Seul Gi (7 February 2020). "Sources: Five N. Koreans died from coronavirus infections". Daily NK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
- ↑ "Coronavirus spreads to North Korea, woman infected". The Standard. Hong Kong. 7 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
- ↑ "Nation steps up fight against novel CoV". The Pyongyang Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-21. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
- ↑ "Work to Curb the Inflow of Infectious Disease Pushed ahead with". Rodong Sinmun. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
- ↑ Joo, Jeong Tae (18 March 2020). "Sources: N. Korea extends school closures until April 15". Daily NK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ Joo, Jeong Tae (21 February 2020). "N. Korea closes schools throughout the country for one month". Daily NK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ "Kim warns of 'serious consequences' if virus spreads to N Korea". al Jazeera.
- ↑ Kim, Stella; Hagen, Isobel (March 14, 2020). "North Korea claims it has no coronavirus cases". NBC News. สืบค้นเมื่อ March 14, 2020.
- ↑ "Kim Jong Un orders workers to build new hospitals as North Korea continues to claim no coronavirus cases". Fox News. 2020-03-18.
- ↑ "COVID-19: North Korea releases quarantined people". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ Norman, Greg (23 April 2020). "North Korea claims 740 coronavirus tests came back negative, thousands released from quarantine". Fox News. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.
- ↑ Gi, Jang Seul (2020-04-23). "N. Korean tests positive for COVID-19 in China". Daily NK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-25.
- ↑ Frank, Ruediger (13 April 2020). "The 2020 Parliamentary Session in North Korea: Self-Criticism and Dubious Optimism Concerning Economic Development". 38 North. The Henry L. Stimson Center. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
- ↑ 33.0 33.1 "UK closes embassy, pulls diplomats from North Korea over coronavirus restrictions" Reuters. 28 พฤษภาคม 2020.
- ↑ 34.0 34.1 Shin, Hyonhee (1 กรกฎาคม 2020). "North Korea reopens schools, but stays on guard against COVID-19 threat: WHO" Reuters.
- ↑ 35.0 35.1 Berlinger, Joshua; Hancocks, Paula; Seo, Yoonjung (July 3, 2020). "North Korea's Covid-19 response has been a 'shining success,' Kim Jong Un claims" CNN.
- ↑ "Coronavirus update: English tourists to be cleared for international travel without the worry of return quarantine" ABC News (Australia). 3 กรกฎาคม 2020.
- ↑ Sang-Hun, Choe (25 กรกฎาคม 2020). "North Korea Declares Emergency After Suspected Covid-19 Case" เก็บถาวร 28 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The New York Times
- ↑ Cha, Sangmi; Smith, Josh (25 July 2020). "North Korea declares emergency in border town over first suspected COVID-19 case". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2020. สืบค้นเมื่อ 25 July 2020.
- ↑ "Coronavirus: Swimming defector was not infected, says S Korea". BBC. 27 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
- ↑ Farge, Emma; Smith, Josh (5 สิงหาคม 2020). "WHO says North Korea's COVID-19 test results for first suspected case 'inconclusive'" เก็บถาวร 21 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters.
- ↑ Cha, Sangmi (14 สิงหาคม 2020). "North Korea lifts lockdown in border town after suspected COVID-19 case 'inconclusive'" เก็บถาวร 20 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters.
- ↑ Political News Team. "16th Meeting of Political Bureau of 7th Central Committee of WPK Held". rodong.rep.kp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
- ↑ "North Korea Executed Coronavirus Rule-Breaker, Says South Korean Intelligence". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2020. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
- ↑ "Expats in Pyongyang worry about getting medical help amid COVID-19 restrictions | NK News". 28 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2020.
- ↑ Kim, Jeongmin; Kasulis, Kelly (25 September 2020). "Kim Jong Un apologizes for lethal shooting of South Korean official". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2021. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
- ↑ Zwirko, Colin (29 October 2020). "The 'cleanest place': North Korea revives propaganda touting zero COVID-19 cases". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
- ↑ Kim, Jeongmin (3 November 2020). "North Korea reports 5,368 "suspected" COVID-19 cases, surge amid military parade". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2020. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
- ↑ Shin, Mitch (6 January 2021). "What Is the Truth About COVID-19 in North Korea?". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 30 January 2021.
- ↑ "North Korea to skip Tokyo Olympics because of Covid-19 fears". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 6 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
- ↑ "North Korea suspended from IOC". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 31 October 2021.
- ↑ "Russian diplomats complain of acute shortages in North Korea causing foreign exodus". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 4 April 2021.
- ↑ "North Korea's Kim Jong Un admits nation facing "worst-ever situation"". CBS News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
- ↑ "Kim Jong Un compares North Korea's economic woes to 1990s famine". NBC News (ภาษาอังกฤษ). The Associated Press. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
- ↑ ""Worst-Ever Situation" or Not - 38 North: Informed Analysis of North Korea". 38 North (ภาษาอังกฤษ). 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
- ↑ Smith, Josh (30 June 2021). "North Korea's Kim says 'great crisis' caused by pandemic lapse". Reuters.
- ↑ McCurry, Justin (30 June 2021). "North Korea Covid-19 outbreak fears after Kim Jong-un warns of 'huge crisis' in 'antivirus fight'". TheGuardian.com. Guardian.
- ↑ "North Korea reveals new top military brass days after politburo meeting | NK News". NK News - North Korea News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
- ↑ Power, John (1 August 2021). "North Korea's pandemic isolation fuels humanitarian disaster fears". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
- ↑ "North Korea rejects offer of almost three million Covid-19 jabs". BBC. 1 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
- ↑ "COVID-19 Weekly Situation Report" (PDF). WHO Regional Office for South-East Asia. 27 August 2021.
Cumulatively 37 291 persons have been tested with reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) at an interval of 10 days (total samples: 74 308) and all were found negative for COVID -19. These include 665 persons who were tested during the period of 12-19 August 2021, of which 97 were people with influenza-like illness and/or severe acute respiratory infections and rest 568 were health care workers.
- ↑ O'Carroll, Chad (26 October 2021). "North Koreans using cash coupons as country struggles to print new bills". nknews.org (ภาษาอังกฤษ). NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2021. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
- ↑ "North Korea train makes first crossing into China since COVID-19 border lockdown: Reports". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-15. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ "China and North Korea reopen rail link after 2-year coronavirus closure". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 17 January 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ Davies, Christian (15 November 2021). "North Korea building project points to reopening of border with China". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ Kim, Jeongmin (3 February 2022). "South Korean group receives new exemption to deliver COVID-19 aid to North Korea". NK News.
- ↑ 로동신문. rodong.rep.kp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
- ↑ 67.0 67.1 "North Korea orders strict lockdown with first official Covid cases". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ "North Korea admits to Covid outbreak for first time and declares 'severe national emergency'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ 조선중앙통신 | 기사 | 조선로동당 중앙위원회 정치국 국가방역사업을 최대비상방역체계로 이행하기로 결정. kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ 70.0 70.1 "North Korea reports first-ever COVID-19 outbreak". NK News - North Korea News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ "조선중앙통신 | 기사 | 조선로동당 중앙위원회 제8기 제8차 정치국회의 진행". kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ Chung, Chaewon (12 May 2022). "North Korea says 6 people dead, 187,800 in quarantine due to 'fever' | NK News". NK News - North Korea News. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
- ↑ "KCNA | Article | Respected Comrade Kim Jong Un Visits State Emergency Epidemic Prevention Headquarters". kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
- ↑ "로동신문". rodong.rep.kp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
- ↑ "로동신문". rodong.rep.kp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
- ↑ Tong-hyung, Kim; Kim, Hyung-jin (12 May 2022). "North Korea reports 6 deaths after admitting COVID-19 outbreak". CTV News (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
- ↑ "조선중앙통신 | 기사 | 조선로동당 중앙위원회 정치국 협의회 진행". kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 14 May 2022.
- ↑ "전국적인 전염병전파 및 치료상황 통보". kcna.kp (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 17 May 2022.
- ↑ McCurry, Justin (17 May 2022). "North Korea on brink of Covid-19 catastrophe, say experts". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 May 2022.
- ↑ 80.0 80.1 "North Korean COVID-19/Fever Data Tracker". 38 North (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "N. Korea reports 51% of "fever" cases are concentrated in Pyongyang". english.hani.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ 박수윤 (2022-05-18). 北 코로나 사망 '소아' 비중 높아…전문가 "매우 예외적". 연합뉴스 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ Tong-hyung, Kim (2022-05-19). "North Korea's suspected COVID-19 caseload nears 2 million". CTV News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิข่าว มีข่าวที่เกี่ยวข้อง: South Korean president expresses willingness to supply COVID-19 vaccines to North Korea
- Behind North Korea's Covid-19 Victory Claim ที่วิทยุเอเชียเสรี