เรือพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการระบาดทั่วของโควิด-19
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ในระหว่างสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในสหรัฐ ในต้นปี พ.ศ. 2563 เรือพยาบาลของกองทัพเรือสหรัฐสองลำได้รับมอบหมายภารกิจ โดยเรือ ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซีย์ (USNS Mercy ) ประจำการที่ท่าเรือนครลอสแองเจลิส และเรือ ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต (USNS Comfort ) ปฏิบัติหน้าที่ที่ท่าเรือมหานครนิวยอร์ก เรือพยาบาลของอินโดนีเซีย กาแอรอี ดอกแตร์ ซูฮารโซ (KPI Dr Soeharso ) ได้รับมอบหมายภารกิจในการขนย้ายผู้โดยสารชาวอินโดนีเซียจากเรือสำราญ เวิลด์ดรีม และ ไดมอนด์พรินเซส ซึ่งมีผู้ติดเชื้อไวรัสบนเรือดังกล่าว กลับสู่ประเทศในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2563
เรือกาแอรอี ดอกแตร์ ซูฮารโซ
[แก้]เรือ ดอกแตร์ ซูฮารโซ ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย (Kapal Republik Indonesia Dokter Soeharso) ปฏิบัติภารกิจอพยพลูกเรือชาวอินโดนีเซีย 188 คนจาก เรือสำราญ เวิลด์ดรีม ในช่องแคบดูเรียน (Selat Durian ) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรือได้นำพวกเขาไปที่เกาะเซบารู เกะจิล (Sebaru Kecil ) นอกชายฝั่งเกาะชวา และทำการกักกันโรค[1]
ดอกแตร์ ซูฮารโซ อพยพลูกเรือจำนวน 89 คนของเรือสำราญ ไดมอนต์พรินเซส จากท่าเรือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอินดรามายู ในเมืองอินดรามายู (Indramayu ) จังหวัดชวาตะวันตก หลังจากลูกเรือได้รับใบรับรองสุขภาพจากญี่ปุ่นและบินมาที่ ท่าอากาศยานนานาชาติกรตายาตี จากนั้นพวกเขาเดินทางโดยรถโดยสารเพื่อไปยังท่าเรือ ทางการอินโดนีเซียให้พวกเขาทำการทดสอบเชื้อครั้งที่สองระหว่างเดินทาง ซึ่งลูกเรือคนใดมีผลตรวจเป็นบวกต่อโรค COVID-19 จะถูกนำเข้ารับการรักษาในกรุงจาการ์ตา และลูกเรือ 68 คนของ ไดมอนต์พรินเซส ได้ถูกนำส่งที่เกาะเซบารู เกะจิล โดยผู้ที่มาจากเรือ เวิลด์ดรีม และผู้ที่มาจากเรือ ไดมอนด์พรินเซส ถูกแยกพื้นที่/อาคารที่พักออกจากกัน[2][3]
เรือ ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซีย์
[แก้]ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซีย์ ของกองทัพเรือสหรัฐ (United States Naval Ship Mercy) เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ที่นครลอสแองเจลิสเพื่อเป็นโรงพยาบาลสนับสนุน ในระหว่างสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19[4] เรือเดินทางมาถึงและเทียบท่าที่ท่าเรือลอสแองเจลิสเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563[5] ภารกิจที่ได้รับมอบหมายคือรักษาผู้ป่วยที่ไม่ได้ป่วยจากโรค COVID-19 เพื่อให้โรงพยาบาลในเมืองสามารถรองรับสถานการณ์โรคระบาดจากไวรัสโคโรนา[6] เช่นเดียวกับที่เรือ ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต ปฏิบัติในนครนิวยอร์ก[7] เมื่อวันที่ 2 เมษายน โรงพยาบาลเรือ เมอร์ซีย์ ได้รับการรักษาผู้ป่วยใน 15 ราย ซึ่งต่อมาห้ารายสามารถให้ออกจากโรงพยาบาลได้[8]
ในขณะที่เรือจอดเทียบท่า รถไฟบรรทุกสินค้าสายแปซิฟิกฮาร์เบอร์ ถูกทำให้ตกรางโดยวิศวกรรถไฟโดยมุ่งเป้าโจมตีเรือใน "ความพยายามที่ผิดปกติในการเปิดเผยทฤษฎีสมคบคิด" โดยเขาได้บอกตำรวจว่า เขามีความสงสัยเรือและเชื่อว่าเรือไม่ได้ "ทำหน้าที่อย่างที่ได้ประกาศไว้" ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บและเรือก็ไม่ได้รับอันตราย โดยวิศวกรผู้นั้นถูกตั้งข้อหาทำลายรถไฟ[9]
เรือ ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต
[แก้]เรือ คอมฟอร์ต (USNS Comfort) เริ่มเดินทางจากสถานีทหารเรือนอร์ฟอล์ก ในรัฐเวอร์จิเนียไปยังท่าเรือนิวยอร์กในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563 เพื่อช่วยจัดการกับผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19[10][11] เรือ คอมฟอร์ต มาถึงนิวยอร์กในวันที่ 30 มีนาคม[12][13] และเทียบท่าที่ท่าเรือ 90[14] แม้ว่าเรือจะมีเจ้าหน้าที่ 1,100 คนและมีความจุ 1,000 เตียง แต่ ณ วันที่ 3 เมษายนมีผู้ป่วยเพียง 22 คนเท่านั้น[8] ตัวเลขที่ต่ำนั้นเป็นผลมาจาก "ระบบราชการและอุปสรรคทางทหาร"[14]
ภารกิจของเรือคือการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ได้มาจากโรคโควิด-19 เพื่อทำให้โรงพยาบาลที่อยู่บนบก สามารถให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[12] และในขั้นต้นผู้ป่วยต้องมีผลทดสอบเป็นลบต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ก่อนที่จะขึ้นเรือ แต่ในวันที่ 3 เมษายนมีการเปลี่ยนกระบวนการ เป็นไม่จำเป็นต้องมีผลการทดสอบเป็นลบและยอมรับ "ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการที่ถูกคัดกรอง ที่จะถูกแยกและถูกทดสอบเชื้อทันทีเมื่อเดินทางมาถึง"[14] ในวันที่ 3 เมษายนผู้ป่วยหลายรายที่ติดเชื้อไวรัสใช้เวลาตลอดทั้งคืนบนเรือ โดยเป็นการถ่ายโอนที่ผิดพลาดไปยังเรือจากศูนย์การประชุม เจคอบ เค จวิตส์ (Jacob K. Javits Convention Center ) ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสนาม ผู้ป่วยได้ถูกส่งกลับไปที่ศูนย์การประชุมจวิตส์ หลังจากการทดสอบเชื้อให้ผลบวกสำหรับไวรัส[14]
ในวันที่ 17 เมษายน มีการประกาศว่า "ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต เตรียมพร้อมที่จะรับผู้ป่วยภายในรัศมีหนึ่งชั่วโมงในการเดินทางจากเรือ" และมีการเตรียมการเพื่อรับผู้ป่วยไวรัสโคโรนาจากฟิลาเดลเฟีย ได้มีการขนย้ายเตียงซึ่งในเรือมีหนึ่งพันเตียงออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้สามารถแยกและรักษาผู้ป่วยไวรัสโคโรนาได้[15] เมื่อวันที่ 21 เมษายน ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก นายแอนดริว คูโอโม บอกกับประธานาธิบดีทรัมป์ ว่าไม่ต้องการเรือในนิวยอร์กอีกต่อไป โดยในขณะที่เรือจอดอยู่ในเมืองมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 179 คน[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Afifa, Laila (25 February 2020). "KRI Soeharso to Pick Up Indonesian Crew at World Dream Tomorrow". tempo.co. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
- ↑ "'Diamond Princess' evacuees to start separate quarantine on Sebaru island". The Jakarta Post. 2 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
- ↑ "Another Diamond Princess Crew Member From Indonesia Suspected of Contracting Coronavirus". Jakarta Globe. 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
- ↑ LaGrone, Sam (17 March 2020). "Pentagon Preparing Navy Hospital Ships Mercy, Comfort for Coronavirus Response". USNI News (Press release). United States Naval Institute.
- ↑ Correll, Diana Stancy (27 March 2020). "USNS Mercy arrives in Los Angeles to support Covid-19 response". Navy Times. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
- ↑ Lloyd, Jonathan; Chang, Hetty (27 March 2020). "Help Arrives for Strained Hospitals When Navy Ship Mercy Docks at the Port of LA". NBC Los Angeles. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
- ↑ "Crowds Greet USNS Comfort in NYC Monday; Ship to Help Hospitals With Non-Coronavirus Patients". NBC New York.
- ↑ 8.0 8.1 Stracqualursi, Veronica & Browne, Ryan. "Navy hospital ship deployed to NYC with 1,000 bed capacity is only treating 22 patients". publisher.
- ↑ Bill Chappell (2 April 2020). "Train Engineer Says He Crashed In Attempt To Attack Navy Hospital Ship In L.A." NPR.
- ↑ LaGrone, Sam (28 March 2020). "Trump Gives USNS Comfort a Send-Off as Hospital Ship Departs for New York" (Press release). United States Naval Institute. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
- ↑ Eckstein, Megan (26 March 2020). "USNS Comfort Will Depart for New York on Saturday with Trump, Modly in Attendance" (Press release). United States Naval Institute. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
- ↑ 12.0 12.1 "Crowds Greet USNS Comfort in NYC Monday; Ship to Help Hospitals With Non-Coronavirus Patients". สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
- ↑ Helene Cooper & Thomas Gibbons-Neff (30 March 2020). "Navy Hospital Ship Reaches New York. But It's Not Made to Contain Coronavirus". New York Times.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 Feuer, William (4 April 2020). "Coronavirus patients spend night on Navy hospital ship meant for non-infected New York patients". CNBC.
- ↑ "USNS Comfort hospital ship ready for Philly COVID-19 patients". WPVI-TV. 17 April 2020. สืบค้นเมื่อ 18 April 2020.
- ↑ "Gov. Cuomo Tells Trump USNS Comfort No Longer Needed in NYC". NBC New York. 22 April 2020. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.