การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย | |
---|---|
โรค | COVID-19 |
สายพันธุ์ไวรัส | SARS-CoV-2 |
สถานที่ | แทนซาเนีย |
ผู้ป่วยต้นปัญหา | อารูชา |
วันแรกปรากฏ | 16 มีนาคม พ.ศ. 2563 (4 ปี 7 เดือน 3 สัปดาห์) |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 509 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)[1] |
หาย | 183 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) |
เสียชีวิต | 21 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) |
เว็บไซต์ของรัฐบาล | |
COVID-19 (ภาษาอังกฤษ) |
การระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการยืนยันว่าเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศแทนซาเนีย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563[2]
ทางการแทนซาเนียหยุดรายงานตัวเลขผู้ป่วยในเดือนพฤษภาคมหลังจากประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี กล่าวหาว่าห้องปฏิบัติการรายงานผลบวกปลอม[3] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแทนซาเนียกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่เปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ได้แก่ เกาหลีเหนือ และเติร์กเมนิสถาน[4][5]
ภูมิหลัง
[แก้]
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ ของกลุ่มคนในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีนซึ่งมีการรายงานต่อองค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[6][7]
อัตราส่วนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 นั้นต่ำกว่าโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 มาก[8][9] แต่การแพร่เชื้อมีมากกว่าอย่างมีนัยโดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดมากอย่างมีนัยสำคัญ[8][10]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ฟาตมา คารูม (Fatma Karume) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าเจ้าหน้าที่กำลังกีดกันไม่ให้ผู้คนไปโรงพยาบาลเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ล้นเกินความสามารถที่จะรองรับ แต่พวกเขาไม่ได้ให้คำแนะนำที่เพียงพอเกี่ยวกับไวรัส คารูมกล่าวว่า: "เมื่อคุณกำลังริดรอนอำนาจประชาชนทั้งประเทศโดยการควบคุมข้อมูลและสร้างความสงสัยว่าพวกเขาควรตอบสนองต่อวิกฤตอย่างไร ผลลัพธ์อาจเป็นหายนะ"[11]
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ถูกเซ็นเซอร์ว่าเป็นข้อมูลที่ผิดหรือบิดเบือนข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลโดยผู้ที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐถูกทำให้เป็นความผิดทางอาญาโดยรัฐบาล[12] รัฐบาลเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโควิด-19 และกำหนดให้แหล่งข้อมูลของสื่อทั้งหมดมาจากผู้ที่อยู่ในรายชื่อเท่านั้น บุคคลหลายคนถูกจับกุมและถูกปรับเนื่องจากเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ โควิด-19[13] หน่วยงานผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้รายงานถึงการขาดความโปร่งใสและการจำกัดเสรีภาพ[14]
เส้นเวลา
[แก้]มีนาคม พ.ศ. 2563
[แก้]วันที่ 16 มีนาคม ผู้ป่วยกรณีแรกในแทนซาเนียได้รับการยืนยันในอารูชา[15][16] เป็นชาวแทนซาเนียวัย 46 ปีที่เดินทางมาจากเบลเยียม[17]
วันที่ 17 มีนาคม นายกรัฐมนตรีคัสซิม มาจาลิวา (Kassim Majaliwa) ได้ประกาศมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการปิดโรงเรียน[18]
วันที่ 18 มีนาคม มีรายงานผู้ป่วยอีก 2 รายในแทนซาเนีย[19]
วันที่ 19 มีนาคมมีรายงานผู้ป่วยใหม่ 2 รายรวมเป็นหกราย ห้ารายอยู่ในเมืองหลวงดาร์เอสซาลาม กับอีกรายในแซนซิบาร์[20]
วันที่ 22 มีนาคม มีการประกาศว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 12 ราย[21]
วันที่ 23 มีนาคม รัฐบาลประกาศว่าผู้เดินทางที่เข้ามาจากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิดทั้งหมดจะถูกกักบริเวณเป็นเวลา 14 วันโดยต้องจ่ายค่าใช้จ่ายของตนเอง[22]
วันที่ 25 มีนาคม มีการประกาศว่าแซนซิบาร์พบผู้ป่วยกรณีที่สอง[23]
วันที่ 26 มีนาคม มีการประกาศผู้หายจากโควิดเป็นกรณีแรกซึ่งเป็นผู้ป่วยในอารูชา[24]
วันที่ 28 มีนาคม มีการรายงานผู้ป่วยรายที่สามในแซนซิบาร์[25]
วันที่ 30 มีนาคม มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 5 รายซึ่งรวมถึง 2 รายในแซนซิบาร์และ 3 รายในแทนซาเนียแผ่นดินใหญ่ ทำให้ยอดรวมสะสมเป็น 19 ราย[26]
วันที่ 31 มีนาคม มีการรายงานการเสียชีวิตจากโควิดเป็นครั้งแรกในดาร์เอสซาลาม[27]
เมษายน พ.ศ. 2563
[แก้]วันที่ 1 เมษายน มีการรายงานผู้ป่วยใหม่ 1 รายและผู้หายป่วย 1 รายในดาร์เอสซาลามทำให้ยอดรวมสะสมเป็น 20 ราย หายป่วย 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย[28]
วันที่ 3 เมษายน มีการรายงานผู้หายป่วยรายที่สามในคาเกรา ทำให้กรณีผู้ป่วยยืนยันมีทั้งหมด 16 ราย[29]
วันที่ 5 เมษายน มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ 2 รายในแซนซิบาร์[30]
วันที่ 6 เมษายน มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่อีก 2 รายในดาร์เอสซาลามและอึมวันซาทำให้ยอดรวมสะสมเป็น 24 ราย[31]
วันที่ 7 เมษายนมีรายงานผู้หายป่วยอีก 2 ราย ทำให้มีผู้หายป่วยรวมทั้งหมดเป็น 5 ราย[32]
วันที่ 8 เมษายน มีการบันทึกกรณีผู้ป่วยใหม่ 1 ราย[33] ประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี เรียกร้องให้ผู้ศรัทธาสวดมนต์ในโบสถ์และมัสยิดด้วยความเชื่อว่าจะปกป้องพวกเขา เขาบอกว่าไวรัสโคโรนาเป็นปีศาจดังนั้น "ไม่สามารถอยู่รอดได้ในพระวรกายของพระเยซูคริสต์ มันจะมอดไหม้ไป"[34]
วันที่ 10 เมษายน มีการประกาศว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 5 รายบนแผ่นดินใหญ่ ผู้ป่วยรายใหม่บนแซนซิบาร์ 2 ราย และผู้เสียชีวิต 2 รายบนแผ่นดินใหญ่ ทำให้จำนวนผู้ป่วยสะสมเป็น 32 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 3 ราย[35]
วันที่ 12 เมษายน เที่ยวบินผู้โดยสารระหว่างประเทศทั้งหมดถูกระงับ[36]
วันที่ 13 เมษายน มีการประกาศว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 14 รายบนแผ่นดินใหญ่ และ 3 รายใหม่ในแซนซิบาร์ นอกจากนี้ยังมีการรายงานผู้หายป่วย 2 รายในแซนซิบาร์[37][38]
วันที่ 14 เมษายน นายกรัฐมนตรีได้แถลงกรณีผู้ป่วยอีก 4 กรณีในดาร์เอสซาลามทำให้ยอดรวมเป็น 53 ราย[39]
วันที่ 15 เมษายน ฮาหมัด ราชิด โมฮัมเหม็ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของแซนซิบาร์รายงานว่ามีผู้ป่วยอีก 6 ราย มีผู้หายป่วยอีก 2 รายและเสียชีวิตรายแรกในแซนซิบาร์[40] ในวันเดียวกันมีการรายงานกรณีใหม่ 29 กรณีบนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ยอดรวมของแทนซาเนียอยู่ที่ 88 ราย โดยมีผู้หายป่วยสะสม 11 ราย และเสียชีวิตสะสม 4 ราย[41]
วันที่ 16 เมษายน มีผู้มีผลทดสอบการติดเชื้อเป็นบวกในแซนซิบาร์ 6 ราย ทำให้ยอดรวมผู้ป่วยเป็น 94 ราย[42]
วันที่ 17 เมษายน มีผู้มีผลทดสอบเป็นบวก 53 ราย โดย 38 รายในดาร์เอสซาลาม, 10 รายในแซนซิบาร์, 1 รายในอึมวันซา, 1 รายในปาวานี, 1 รายในลินดี และในคาเกรา 1 ราย ทำให้จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดเป็น 147 รายและเสียชีวิตสะสม 5 ราย[43]
วันที่ 19 เมษายน มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ 23 รายในแซนซิบาร์ และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย[44]
วันที่ 20 เมษายน มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสอีก 87 รายรวมถึงชาวแซนซิบาร์ 16 ราย นอกจากนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 3 รายบนแผ่นดินใหญ่ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมในแทนซาเนียทั้งหมด 10 ราย[45]
วันที่ 22 เมษายน นายกรัฐมนตรีแถลงว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 284 ราย โดยมีผู้หายป่วย 11 ราย และผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 10 ราย[46]
วันที่ 24 เมษายน มีผู้หายป่วยเพิ่มขึ้น 37 ราย[47] โดยที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ 15 รายในแซนซิบาร์[48]
วันที่ 28 เมษายน มีผู้มีผลการทดสอบเชื้อเป็นบวกเพิ่ม 7 รายในแซนซิบาร์[49]
วันที่ 29 เมษายน มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 196 ราย รวมเป็น 480 รายโดยที่ 167 รายหายป่วย และเสียชีวิต 16 ราย[50]
พฤษภาคม พ.ศ. 2563
[แก้]วันที่ 2 พฤษภาคม ฟรีแมน อึมโบเว (Freeman Mbowe) ผู้นำฝ่ายค้านได้เรียกร้องให้มีการระงับการประชุมรัฐสภาเป็นเวลาอย่างน้อยสามสัปดาห์หลังจากการเสียชีวิตของ ส.ส. 3 คน (Gertrude Rwakatare, Richard Ndassa และ Augustine Mahiga) โดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงเวลา 11 วันที่ผ่านมา เขากล่าวโทษว่าการเสียชีวิตเกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 และขอให้มีการทดสอบเชื้อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เจ้าหน้าที่รัฐสภา และสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด[51]
วันที่ 4 พฤษภาคม ประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี ได้สั่งพักงานหัวหน้าหน่วยการทดสอบที่ห้องปฏิบัติการด้านสุขภาพแห่งชาติของแทนซาเนีย และไล่ออกผู้อำนวยการหลังจากห้องปฏิบัติการถูกกล่าวหาว่ารายงานผลการทดสอบเป็นบวกที่ผิดพลาด มากูฟูลี กล่าวว่าเขาจงใจส่งตัวอย่างทางชีวภาพจากมะละกอ, นกกระทา และแพะ เพื่อทดสอบความแม่นยำของห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการวินิจฉัยว่าตัวอย่างเหล่านี้เป็นผลบวกสำหรับไวรัสโคโรนา[3]
วันที่ 7 พฤษภาคม มีการประกาศว่าสำหรับแซนซิบาร์ยอดรวมของผู้ป่วยที่บันทึกไว้คือ 134 รายจำนวนผู้หายป่วยสะสมเท่ากับ 16 รายและจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมที่บันทึกไว้คือ 5 ราย โดยผู้ป่วยจำนวน 41 รายรักษาตัวอยู่ในสถานบริการสาธารณสุข และ 72 ราย ดูแลและติดตามที่บ้าน[52]
สถานทูตสหรัฐฯในแทนซาเนียออกคำเตือนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมว่ามีความเสี่ยงในการป่วยโควิด-19 จำกัดในพื้นที่ของดาร์เอสซาลามมีสูงมาก เชื่อว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอัตราการเพิ่มแบบชี้กำลังในดาร์เอสซาลามและที่อื่น ๆ และคาดว่าโรงพยาบาลจะมีสมรรถภาพในการรักษาไม่เพียงพอ[53] ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ท้องถิ่นเอกชนช่องควานซาออนไลน์ ถูกสั่งงดออกอากาศเป็นเวลา 11 เดือนโดยหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากได้โพสต์คำเตือนของสถานทูตในบัญชีอินสตราแกรมของตนเอง[54]
ทางการแทนซาเนียหยุดรายงานตัวเลขผู้ป่วยในเดือนพฤษภาคม[55][56] เมื่อการรายงานหยุดลงจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันอยู่ที่ 509 ราย จำนวนผู้หายจากอาการป่วย 183 ราย และมีผู้เสียชีวิต 21 ราย[57]
คนขับรถบรรทุกหลายคนมีผลการทดสอบการติดเชื้อเป็นบวกในบริเวณชายแดนเคนยา และเคนยาได้ปิดพรมแดนสำหรับกรณีการผ่านแดนที่ไม่ใช่สินค้า[58] ทั้งสองประเทศตกลงที่จะจัดหาชุดทดสอบการติดเชื้อและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนขับรถบรรทุก[59]
วันที่ 21 พฤษภาคม ประธานาธิบดีประกาศว่าวิทยาลัยจะเปิดเรียนอีกครั้งและนักเรียนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในระบบ 6 โรงเรียนจะกลับเข้าเรียนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน กีฬาจะกลับมาเล่นอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนและเที่ยวบินระหว่างประเทศจะกลับมาดำเนินการต่อโดยไม่มีการกักกันตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม[60]
นักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านกล่าวหาว่ารัฐบาลปกปิดจำนวนที่แท้จริงของการแพร่ระบาดโดยอ้างว่าขณะที่สถิติทางการยังคงแสดงผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 509 รายและผู้เสียชีวิต 21 ราย ได้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 412 รายในดาร์เอสซาลามแห่งเดียวและมีผู้ติดเชื้อ 16,000 ถึง 20,000 คนทั่วประเทศ โดยที่ไม่มีการรายงานผลการทดสอบตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม[61]
การขาดข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการทดสอบ, จำนวนผู้ป่วย, ผู้หายป่วย และผู้เสียชีวิต ทำให้เกิดความสนใจจากนักระบาดวิทยาและผู้สร้างแบบจำลองเพื่อประเมินขอบเขตที่แท้จริงของการติดเชื้อโควิด-19 ในแทนซาเนีย โดยคาร์ล เพียร์สัน (Carl AB Pearson) และคณะ ได้ประมาณว่าแทนซาเนียมีผู้ป่วยติดเชื้อ 1,000 รายในช่วงระหว่างวันที่ 6 เมษายนถึง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 และมีผู้ติดเชื้อ 10,000 รายตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนและไม่เกินวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[62] ผลการสร้างแบบจำลองที่เผยแพร่โดย MRC Center for Global Infectious Disease Analysis ที่อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงในแทนซาเนียระหว่างวันที่ 29 เมษายนถึง 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คือ 24,869 ราย เพียร์สัน และคณะ คำนวณว่าหลังจากสามเดือนที่ไม่มีมาตรการบรรเทาใด ๆ เกิดขึ้น คาดว่าจะมีผู้ป่วยในแทนซาเนียที่มีอาการระหว่าง 5,900 ถึง 19 ล้านรายและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 16,000 รายที่เนื่องมาจากโควิด-19[63]
มิถุนายน พ.ศ. 2563
[แก้]วันที่ 8 มิถุนายน ประธานาธิบดีมากูฟูลี ได้ประกาศให้แทนซาเนียปลอดจากไวรัสโคโรนา ซึ่งเขาอ้างว่าเป็นคำอธิษฐานของพลเมืองของตน[64] มีรายงานว่าศูนย์ทดสอบโควิด-19 หลายแห่งปิดตัวลงตามประกาศและผู้ป่วยที่แสดงอาการถูกปฏิเสธการทดสอบเนื่องจากแทนซาเนียไม่มีไวรัส[65]
วันที่ 16 มิถุนายน ประธานาธิบดีประกาศว่าโรงเรียนทุกระดับจะเปิดอีกครั้งในวันที่ 29 มิถุนายน[66]
กรกฎาคม พ.ศ. 2563
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลได้ประกาศใช้และเผยแพร่กฎหมายรองฉบับใหม่ที่ให้มีการลงทะเบียนผู้เขียนบล็อก, ฟอรัมสนทนาออนไลน์, ผู้เผยแพร่รายการทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยให้การเผยแพร่ "ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคร้ายแรงหรือโรคติดต่อในประเทศหรือที่อื่นโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" เป็นความผิดตามกฎหมาย[67][68]
สิงหาคม พ.ศ. 2563
[แก้]วันที่ 6 สิงหาคม จอห์น อึนเคนกาซง (John Nkengasong) จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (Africa CDC) แสดงความกังวลเกี่ยวกับการขาดข้อมูลจากแทนซาเนียและผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อการพัฒนาและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ทั่วแอฟริกา[69]
ในเดือนสิงหาคม รัฐบาลได้ประกาศใช้และเผยแพร่กฎหมายรองฉบับใหม่ที่ห้ามสื่อท้องถิ่นทั้งหมดออกอากาศเนื้อหาจากต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลล่วงหน้า รวมถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ในแทนซาเนีย[70]
ธันวาคม พ.ศ. 2563
[แก้]ในเดือนธันวาคมมีรายงานว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่โรงพยาบาลอกาข่าน (Aga Khan), โรงพยาบาลศรีฮินดูมัณฑล (Shree Hindu Mandal) และราบินินเซียเมโมเรียล (Rabininsia Memorial) ในดาร์เอสซาลามมีอาการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และต่อมามีผลการทดสอบเชื้อเป็นบวก ยิ่งไปกว่านั้นงานศพได้ถูกจัดขึ้นเป็นความลับในเวลากลางคืน และสาเหตุการเสียชีวิตของอดีตประธานาธิบดีเบนจามิน อึมคาปา (Benjamin Mkapa) ไม่ใช่อาการหัวใจวายตามที่ระบุไว้อย่างเป็นทางการ แต่เกิดจากโควิด-19[71]
มกราคม พ.ศ. 2564
[แก้]ในสัปดาห์แรกของปี 2564 ชาวเดนมาร์กที่เดินทางกลับจากแทนซาเนียมีผลทดสอบการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.7 เป็นบวก สถาบันเซรุ่มแห่งเดนมาร์กตั้งข้อสังเกตว่าไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อไวรัสมาจากที่ไหน[72] ในวันที่ 19 มกราคมชาวเดนมาร์กอีกสองคนที่เดินทางกลับจากแทนซาเนียมีผลทดสอบเชื้อเป็นบวกสำหรับไวรัสสายพันธุ์ 501.V2 ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันรายที่สองและสามที่ติดเชื้อสายพันธุ์ 501.V2 ในเดนมาร์ก[73]
วันที่ 19 มกราคม โรงเรียนนานาชาติโมชิได้ประกาศว่า นักเรียนคนหนึ่งมีผลการทดสอบเชื้อเป็นบวกสำหรับโควิด-19 และได้ถูกแยกกักตัว ในขณะที่ชั้นเรียนของนักเรียนจะสอนทางออนไลน์จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ สองวันต่อมาโรงเรียนออกมาขอโทษสำหรับการออกข้อมูลเท็จและระบุว่าการดำเนินงานของโรงเรียนยังไม่หยุดชะงัก[74]
วันที่ 26 มกราคม อาร์ชบิชอปไนซองกา ประธานของการประชุมอิปิสโคปัลแทนซาเนีย ได้ส่งจดหมายถึงอาร์คบิชอป, บาทหลวง และบาทหลวงที่เกษียณแล้ว เตือนให้ระวัง"การติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้"[75]
วันที่ 27 มกราคม ประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี แสดงความสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ระหว่างการปราศรัยในเมืองชาโต ภูมิภาคเกยตา เขากล่าวว่า “ถ้าชายผิวขาวสามารถฉีดวัคซีนได้ ก็จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ วัณโรคจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว วัคซีนป้องกันมาลาเรียและมะเร็งจะถูกค้นพบ”[76] คำพูดของเขาถูกปฏิเสธโดย มัตชิดิโซ โมเอติ (Matshidiso Moeti) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกในภูมิภาค ที่เรียกร้องให้แทนซาเนียเพิ่มมาตรการด้านสาธารณสุขและการฉีดวัคซีน[77] มากูฟูลี ยังปฏิเสธมาตรการปิดกั้นโดยให้เหตุผลในสุนทรพจน์ออกอากาศ: "ข้าพเจ้าไม่คาดหวังว่าจะมีประกาศการปิดกั้นใด ๆ เพราะพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์ของเราจะปกป้องเรา เราจะดำเนินมาตรการป้องกันสุขภาพอื่น ๆ ต่อไปรวมถึงการบำบัดด้วยไอน้ำ"[4]
วันที่ 31 มกราคม พันธมิตรเพื่อการเปลี่ยนแปลงและความโปร่งใสประกาศว่าประธานและรองประธานคนแรกของแซนซิบาร์ เซอิฟ ชารีฟ ฮาหมัด (Seif Sharif Hamad) พร้อมกับภรรยาของเขาและผู้ช่วยอีกจำนวนหนึ่งได้ติดโควิด-19 และเข้ารักษาในโรงพยาบาล[78][79]
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
[แก้]วันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดโรธี กวาจิมา (Dorothy Gwajima) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าแทนซาเนียไม่สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการฉีดวัคซีนแม้จะได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกก็ตาม[80] แต่เธอกลับย้ำแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่รัฐบาลแนะนำซึ่งรวมถึงการดื่มน้ำปริมาณมากและรับประทานสมุนไพรในท้องถิ่น[81]
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ สหรัฐเตือนว่าสถานพยาบาลของแทนซาเนียกำลังตกอยู่ในวิกฤตจากการไม่สามารถรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม[82]
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ สมาชิกรัฐสภา ซาชาเรีย อิสซาเอ (Zacharia Issaay) แสดงความกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากอาการปอดบวมและโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ในเขตเมืองอึมบูลู (Mbulu) ซึ่งเป็นเขคเลือกตั้งของเขา[83]
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่าโรงพยาบาลใหญ่ในดาร์เอสซาลามเต็มไปด้วยผู้ป่วยที่มีอาการโควิด-19 หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลเหล่านี้มีผู้ป่วยเต็ม ออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจขาดตลาด[4]
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ สมาคมแพทย์แห่งแทนซาเนียได้ออกแถลงการณ์เชื่อมโยงการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้นกับการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ รวมถึงโควิด-19 คำแถลงดังกล่าวยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลทันทีที่พบอาการ[84] ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศโอมานกล่าวว่า ร้อยละ 18 ของผู้เดินทางที่มาจากแทนซาเนียมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก ซึ่งเป็นจำนวนที่เขาระบุว่า"สูงมาก" นอกจากนี้เขายังกล่าวด้วยว่าโอมานกำลังพิจารณาระงับเที่ยวบินจากแทนซาเนีย[85]
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ เซอิฟ ชารีฟ ฮาหมัด (Seif Sharif Hamad) รองประธานาธิบดีแซนซิบาร์วัย 77 ปี เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมเฉียบพลันที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19[86] ผู้ช่วยระดับสูงของประธานาธิบดีมากูฟูลี หัวหน้าเลขาธิการจอห์น คิจาซี และเลขานุการทูตตรีของนามิเบียประจำแทนซาเนีย เซลินา ทจฺเฮโร ก็เสียชีวิตในช่วงสัปดาห์เดียวกัน แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้กล่าวว่าพวกเขาติดโควิด-19[87]
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ สมาคมกฎหมายแทนกันยีกา ซึ่งเป็นเนติบัณฑิตยสภาแห่งแทนซาเนียแผ่นดินใหญ่ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยอมรับการมีการระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศ[88]
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ เตโวโดรส อัดฮาโนม (Tedros Adhanom) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ได้เรียกร้องให้แทนซาเนียเริ่มรายงานผู้ป่วยโควิด-19, แบ่งปันข้อมูล, ใช้มาตรการด้านสาธารณสุขที่ผ่านการทดลองและทดสอบแล้ว และเตรียมพร้อมสำหรับการฉีดวัคซีน[89]
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีมากูฟูลีเรียกร้องให้แทนซาเนียใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินการในวันต่อมาโดยแถลงการณ์ว่า ประชาชนควรใช้ความระมัดระวังรวมถึงการล้างมือ, การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์, ออกกำลังกาย, ปกป้องผู้สูงอายุ และสวมหน้ากากอนามัย[90]
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขของสาธารณรัฐเช็ก ประกาศว่านักท่องเที่ยวชาวเช็ก 3 คนที่เดินทางกลับจากแซนซิบาร์ มีผลการตรวจโควิด-19 เป็นบวก โดยตั้งข้อสงสัยว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ 501.V2 หรือไม่[91][92]
มีนาคม พ.ศ. 2564
[แก้]วันที่ 3 มีนาคม เลขาธิการทั่วไปของการประชุมอิปิสโคปัลแทนซาเนียกล่าวว่าในช่วงสองเดือนมีบาทหลวงมากกว่า 25 คนและแม่ชี 60 คนเสียชีวิตจากหลายสาเหตุรวมทั้งปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ[93]
วันที่ 10 มีนาคม หนังสือพิมพ์ในเคนยารายงานว่า ผู้นำชาวแอฟริกันกำลังเข้ารับการรักษาโควิด-19 ที่โรงพยาบาลในไนโรบีทำให้เกิดการคาดเดาอย่างกว้างขวางว่าอาจเป็นประธานาธิบดีมากูฟูลี ซึ่งไม่ได้ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์[94]
วันที่ 11 มีนาคม มัตชิดิโซ โมเอติ (Matshidiso Moeti) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกในภูมิภาค กล่าวชื่นชมแทนซาเนียสำหรับการดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ แต่เรียกร้องให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบโควิด-19 ที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก, การกลับสู่ความโปร่งใสและการแบ่งปันข้อมูล รวมทั้งเริ่มต้นการฉีดวัคซีน[95]
วันที่ 17 มีนาคม รองประธานาธิบดี ซาเมีย ซูลูฮู ฮัซซัน (Samia Suluhu Hassan) ประกาศว่า ประธานาธิบดีมากูฟูลีเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ นักการเมืองฝ่ายค้านอ้างว่าเขาติดโควิด-19[96]
เมษายน พ.ศ. 2564
[แก้]วันที่ 1 เมษายน จอห์น อึนเคนกาซง (John Nkengasong) หัวหน้าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (Africa CDC) กล่าวว่ามีการพบสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสที่มีการกลายพันธุ์มากถึง 40 ชนิดในประเทศแองโกลาในกลุ่มผู้เดินทางจากแทนซาเนีย[97]
วันที่ 6 เมษายน ประธานาธิบดี ซาเมีย ซูลูฮู ฮัซซัน ได้ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางจากอดีตประธานาธิบดี โดยเสนอให้มีการประเมินมาตรการของแทนซาเนียในการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งเป็นแนวทางที่อิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น และการกลับไปเผยแพร่ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ[98]
วันที่ 8 เมษายน องค์กร ChangeTanzania เผยแพร่รายงานระหว่างกาลจากการสำรวจออนไลน์ที่จัดทำขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2564 โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ามีผู้ป่วยและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม และสถานการณ์เลวร้ายลงในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์[99]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Total Coronavirus Cases in Tanzania". World Dometers. 2020-04-15.
- ↑ "Tanzania Confirms First Case of Coronavirus | Voice of America - English". www.voanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
- ↑ 3.0 3.1 Elliott, Josh K. (6 May 2020). "Tanzanian president blames lab after goat, papaya 'test positive' for coronavirus". Global News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Covid-19 Crisis Grows in Tanzania as President Rejects Risks". Bloomberg News. 2021-02-12.
- ↑ Rickleton, Christopher (9 April 2020). "Experts doubt isolated Turkmenistan's virus-free 'show'". CTVNews (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Elsevier. "Novel Coronavirus Information Center". Elsevier Connect. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
- ↑ Reynolds, Matt (4 March 2020). "What is coronavirus and how close is it to becoming a pandemic?". Wired UK. ISSN 1357-0978. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ 8.0 8.1 "Crunching the numbers for coronavirus". Imperial News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
- ↑ "High consequence infectious diseases (HCID); Guidance and information about high consequence infectious diseases and their management in England". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
- ↑ "World Federation Of Societies of Anaesthesiologists – Coronavirus". www.wfsahq.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
- ↑ "Tanzania says virus defeated through prayer, but fears grow". Associate Press. 22 May 2020.
- ↑ Farmer, Ben; Brown, Will; Vasilyeva, Nataliya (5 June 2010). "The 'Ostrich Alliance': Coronavirus and the world leaders embracing denial, quackery and conspiracy". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 17 March 2021.
- ↑ "Tanzania Tramples Digital Rights in Fight Against Covid-19". cipesa.org. สืบค้นเมื่อ 2020-11-07.
- ↑ "Tanzanian media unable to cover Covid-19 epidemic". Reporters without borders. 5 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ "Coronavirus Update (Live) - Worldometer". www.worldometers.info.
- ↑ "Somalia, Tanzania confirm first coronavirus cases". Anadolu Agency. 16 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
- ↑ "When coronavirus came to Tanzania". The New Humanitarian (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ "Tanzania bans all public gathering, closes schools, suspends the Premier League over Coronavirus". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
- ↑ "Coronavirus cases rise to three in Tanzania". The Citizen. 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ Vidija, Patrick (19 March 2020). "COVID-19: Tanzania traces 112 contacts as cases rise to six". The Star. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ "Covid-19 cases in Tanzania now rise to 12, says President". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ "23.03.2020 - Update on COVID-19 in Tanzania". 23 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ "Zanzibar confirms second covid-19 case". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ "Tanzania first Covid-19 patient recovers". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ "Zanzibar health minister confirms third covid-19 case". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ "VIDEO: Covid-19 cases in Tanzania rise to 19 as five more cases". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ "Tanzania records first Covid-19 death". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ "Second Tanzanian patient recovers from coronavirus". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ Ltd, Tanzania Standard Newspapers. "COVID-19 Response: US gives 2.3bn/-, patient recovers". dailynews.co.tz (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 77" (PDF). World Health Organization. 6 April 2020. p. 7. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
- ↑ "Tanzania's coronavirus cases rise to 24". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
- ↑ "Tanzania records two more Covid-19 recoveries". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 80" (PDF). World Health Organization. 9 April 2020. p. 7. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
- ↑ Nicholas Bariyo; Joe Parkinson (8 April 2020). "Tanzania's Leader Urges People to Worship in Throngs Against Coronavirus". The Wall Street Journal.
- ↑ "Tanzania records two more deaths as Covid-19 cases rise to 32". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
- ↑ TanzaniaSpokesperson (2020-04-12). "The Tanzania Civil Aviation Authority has suspended all international scheduled and chartered passenger planes to Tanzania as a new measure to combat Covid-19. Cargo planes will be allowed in but crew memvers will be quarantined for the whole duration of their stay, at own costspic.twitter.com/r6FEy9GMmg". @tzspokesperson (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
- ↑ "Tanzania's Covid-19 cases rise to 46". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
- ↑ "Zanzibar cases of Covid-19 infection reach 12". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 86" (PDF). World Health Organization. 15 April 2020. p. 8. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
- ↑ "Zanzibar records first death as cases of Covid-19 infection reach 18". The Citizen. April 15, 2020.
- ↑ "Tanzania Covid-19 cases jump to 88 as 29 more test positive in two days". The Citizen. April 15, 2020.
- ↑ "Six more test positive in Zanzibar as Covid-19 cases reach 24". The Citizen. April 16, 2020.
- ↑ "Covid-19: Tanzania's cases jump to 147 after 53 test positive". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "Covid-19: Two dead as Zanzibar records 23 more cases". The Citizen. April 19, 2020.
- ↑ "Covid-19: Tanzania records 84 new cases as death toll reaches 10". The Citizen. April 20, 2020.
- ↑ "Covid-19: Tanzania's cases rise to 284 with 30 new patients".
- ↑ "Covid-19: Tanzania records 37 new recoveries". The East African. April 24, 2020.
- ↑ "Zanzibar adds 15 more cases, taking tally to 299". IPP Media. April 25, 2020.
- ↑ "Covid-19: Zanzibar's cases rise to 105 after 7 test positive". The Citizen. April 28, 2020.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 101" (PDF). World Health Organization. 30 April 2020. p. 8. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
- ↑ "Tanzania opposition MPs to boycott Parliament after 3 MPs die". Al Jazeera. 2 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2020.
- ↑ "Covid-19: Zanzibar cases rise to 134 after 29 test positive". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
- ↑ "Health Alert: U.S. Embassy Dar es Salaam". U.S. Embassy in Tanzania. 13 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
- ↑ "Tanzania bans Kwanza Online TV for 11 months citing 'misleading' Instagram post on COVID-19". Committee to Protect Journalists. 9 July 2020. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
- ↑ "Tanzanian doctors sound alarm over hidden coronavirus cases". The New Humanitarian (ภาษาอังกฤษ). 14 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020.
- ↑ "Tanzania opposition angry over no coronavirus update in two weeks". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). 13 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 133" (PDF). World Health Organization. 1 June 2020. p. 7. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
- ↑ "Tanzania Says COVID-19 Defeated With Prayer Despite Fears". Time Magazine (ภาษาอังกฤษ). 22 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020.
- ↑ "Tanzania, Kenya resolve dispute over COVID-19 tests for cross-border truck drivers". MarketWatch. 22 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020.
- ↑ "Tanzania reopens colleges, sports activities as Covid-19 numbers". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
- ↑ Fabricius, Peter (2020-05-27). "CORONAVIRUS: Is the Tanzanian government hiding true coronavirus stats?". Daily Maverick (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
- ↑ Pearson Carl AB; Van Schalkwyk Cari; Foss Anna M; O'Reilly Kathleen M; SACEMA Modelling and Analysis Response Team; CMMID COVID-19 working group; Pulliam Juliet RC (7 May 2020). "Projected early spread of COVID-19 in Africa through 1 June 2020". Euro Surveill. European Centre for Disease Prevention and Control. 25 (18). doi:10.2807/1560-7917.ES.2020.25.18.2000543. ISSN 1560-7917. OCLC 474084452. PMC 7219031. PMID 32400361.
- ↑ Pearson Carl A.B.; Van Zandvoort Kevin; Jarvis Chris I.; Davies Nicolas G.; Thompson Sam; Checchi Francesco; Jit Mark; Eggo Rosalind M. (16 June 2020). "Modelling projections for COVID-19 epidemic in United Republic of Tanzania". สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
- ↑ "Coronavirus: John Magufuli declares Tanzania free of Covid-19". BBC. 8 June 2020.
- ↑ "Muddled messaging around COVID-19 complicates response in Tanzania". Devex. 21 July 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
- ↑ "President Magufuli orders Secondary and Primary schools to re-open". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ "Government notice No 538". Gazette of the United Republic of Tanzania. 101 (29): 18. 17 July 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-05. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
- ↑ "In Tanzania, full-throttle COVID-19 denial leaves citizens without access to public health information". Global Voices. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ "Africa CDC concerned over Tanzania's virus response". Face of Malawi. 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 November 2020.
- ↑ "Crackdown on free press intensifies in Tanzania". The Standard. 10 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
- ↑ Kilaye, Athuman (14 December 2020). "Fresh Corona fears hit "Covid-free" Tanzania". Sauti Kubwa. สืบค้นเมื่อ 30 December 2020.
- ↑ "Status for udvikling af B.1.1.7 i Danmark d. 15. januar 2021" (ภาษาเดนมาร์ก). SSI. 16 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
- ↑ "Status for udvikling af B.1.1.7 og andre mere smitsomme varianter i Danmark" (ภาษาเดนมาร์ก). SSI. 24 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
- ↑ "Kilimanjaro RC refutes claims of a student testing positive for Covid 19 at ISM". The Citizen. 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Tanzania government calls for Covid-19 calm as Catholic bishops cautions its faithful". The Citizen. 27 January 2021. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Tanzania's president expresses doubts about COVID vaccines". AP NEWS. 27 January 2021. สืบค้นเมื่อ January 27, 2021.
- ↑ "WHO tells Tanzania to follow science after Magufuli claims Covid-19 vaccines are dangerous". IOL. 28 January 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
- ↑ Kassala, Vincent (31 January 2021). "TAARIFA KWA UMMA Maalim Seif Apumzishwa Baada ya Kupata Maambukizi ya Covid 19" (ภาษาสวาฮีลี). ACT Wazalendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
- ↑ Makoye, Kizito (31 January 2021). "Zanzibar's first vice president, wife contract virus". Anadolu Agency. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
- ↑ "Covid-19: Tanzania has no vaccination plan, minister says". news.yahoo.com. BBC News. February 2, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ February 2, 2021.
- ↑ Covid cases surging in Tanzania, says US embassy as government downplays virus, cnn.com, 11.02.2021
- ↑ "Tanzania experiencing surge in COVID-19 cases, says U.S." news.yahoo.com. Reuters. February 10, 2021. สืบค้นเมื่อ February 10, 2021.
- ↑ Chidawali, Habel (11 February 2021). "CCM lawmaker speaks about "pneumonia" killing Tanzanians". The Citizen. สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Mosenda, Jacob (16 February 2021). "Tanzania medical practitioners wade into rising respiratory concerns in the country". The Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ Al Musalmy, Shaddad (2021-02-16). "Tanzania in focus as Oman mulls halting flights from certain places". Muscat Daily.
- ↑ "Zanzibar's vice president dies after suffering Covid". news.yahoo.com. AFP. February 17, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ February 17, 2021.
- ↑ "Tanzania still in denial about Covid-19 existence despite surge in cases". Africa News. February 19, 2021. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
- ↑ Mseta, Salima (18 February 2021). "Tamko la TLS Juu ya Wimbi la Pili la Mlipuko wa Ugonjwa wa Korona" (ภาษาสวาฮีลี). Tanganyika Law Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 20 February 2021.
- ↑ "WHO Director-General's statement on Tanzania and COVID-19". World Health Organization. 20 February 2021. สืบค้นเมื่อ 21 February 2021.
- ↑ Owere, Paul (22 February 2021). "Tanzania's Ministry of health now urges precaution against Covid-19". The Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
- ↑ "U tří lidí máme podezření na jihoafrickou mutaci koronaviru, oznámil Blatný. Vrátili se ze Zanzibaru". iROZHLAS (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
- ↑ "Sedm podezření na nakažlivější jihoafrickou mutaci koronaviru zaznamenali hygienici v Praze a Brně | Domov". Lidovky.cz (ภาษาเช็ก). 2021-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
- ↑ "Over 25 priests, 60 nuns have died in 60 days, says TEC". The Citizen. 3 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ Lewis, David; Miriri, Duncan (10 March 2021). "Where's Magufuli? Tanzanian leader's absence fuels health concern". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ Kalumbia, Louis (12 March 2021). "WHO praises Tanzania's new position on Covid-19". The Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021.
- ↑ "John Magufuli: Tanzania's president dies aged 61 after health rumours". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
- ↑ "Nieuwe coronavariant ontdekt in Afrika". demorgen.be (ภาษาดัตช์). 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ Jerving, Sara (2021-04-06). "In Brief: Tanzania rethinks its approach to COVID-19". Devex. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
- ↑ Mwai, Peter; Giles, Christopher (2021-03-17). "Covid: Does Tanzania have a hidden epidemic?". BBC. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- COVID-19 – กระทรวงสาธารณสุขแทนซาเนีย (ภาษาสวาฮีลี)