ข้ามไปเนื้อหา

กองทุนฉุกเฉินโควิด-19 ของสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563 ในระหว่างการประชุมทางวีดิทัศน์ของผู้นำของรัฐและรัฐบาลของประเทศสมาชิกสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที ของอินเดีย ได้เสนอจัดตั้งกองทุนฉุกเฉิน เพื่อตอบสนองต่อการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา[1] โครงการดังกล่าวพยายามที่จะลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคในภูมิภาคเอเชียใต้ สมาชิกประเทศอื่น ๆ ของ SAARC แสดงความสนับสนุนต่อนายโมที และข้อเสนอของเขาสำหรับกองทุนดังกล่าว[2]

การบริจาค

[แก้]

อินเดียประกาศว่าประเทศได้บริจาคเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว นเรนทระ โมที ระบุว่าเงินบริจาคสำหรับกองทุนจากประเทศสมาชิกจะเป็นไปโดยสมัครใจ[3] จนถึงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563 กองทุนฉุกเฉินมีเงินทุน 21.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับเงินบริจาคจากประเทศสมาชิกแล้วเจ็ดประเทศ[4]

วันที่ 21 มีนาคม 2563 มัลดีฟส์ประกาศว่าจะมีส่วนร่วมบริจาค 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ และภูฏานประกาศว่าจะบริจาค 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ[5] ในวันที่ 22 มีนาคม บังคลาเทศประกาศว่าจะบริจาคเงิน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนปาลและอัฟกานิสถานประกาศว่าจะบริจาคเงินประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยสมัครใจ[6] วันที่ 23 มีนาคม ศรีลังกาประกาศว่าจะมีส่วนร่วม 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] และวันที่ 9 เมษายน ปากีสถานซึ่งแสดงท่าทีไม่เข้าร่วมในตอนแรกจากประเด็นความขัดแย้งในดินแดนชัมมูและกัศมีร์ ได้ประกาศว่าจะมีส่วนร่วมบริจาค 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bureau, Our. "Covid-19: Modi proposes emergency SAARC fund; India to contribute $10 m". @businessline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  2. Roche, Elizabeth (2020-03-23). "India says it's 'encouraging' that SAARC leaders contributed to Covid-19 fund". Livemint (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  3. "India to contribute $10 m for SAARC COVID-19 Emergency Fund". The Morning - Sri Lanka News (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-02. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  4. "All countries except Pakistan commit to COVID-19 emergency fund". msn.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  5. "Maldives pledges USD 200,000 to SAARC Coronavirus Emergency Fund". India Today (ภาษาอังกฤษ). Press Trust of India. 2020-03-21. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  6. India, Press Trust of (2020-03-22). "Bangladesh, Nepal, Afghanistan pledge $3.5 mn to SAARC COVID-19 Fund". Business Standard India. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  7. "Lanka pledges US$ 5 million to SAARC Coronavirus Fund". NewsIn.Asia (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  8. "Pakistan pledges $3m for Saarc Covid fund". dawn.com. 10 April 2020.