ข้ามไปเนื้อหา

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศมาเลเซีย
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันแบ่งตามรัฐ (อาณาเขต) ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2021
แผนที่การแพร่กระจายของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันแบ่งตามเขต (เมือง) ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2021
แผนที่การแพร่กระจายของผู้ป่วยโควิด-19 แบ่งตามเขตเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2021
โรคโควิด-19
สายพันธุ์ไวรัสไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
สถานที่ประเทศมาเลเซีย
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยต้นปัญหาซูไงบูโละฮ์ รัฐเซอลาโงร์
วันที่18 มีนาคม ค.ศ. 2020
ผู้ป่วยยืนยันสะสม2,840,225 คน
ผู้ป่วยปัจจุบัน40,761 คน[1]
หาย2,741,355 คน[1]
เสียชีวิต31,918 คน
อัตราการเสียชีวิต1.16 เปอร์เซ็นต์
การฉีดวัคซีน
เว็บไซต์ของรัฐบาล
covid-19.moh.gov.my

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศมาเลเซีย เป็นส่วนหนึ่งของการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) การตอบสนองทางการแพทย์และการเตรียมพร้อมต่อการระบาดของโรคในประเทศมาเลเซียอยู่ภายใต้การดูแลของอธิบดีสาธารณสุข นูร์ ฮิชัม อับดุลละฮ์ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขของสองรัฐบาลที่ต่อเนื่องกัน[2] โดยผู้ป่วยรายแรกในประเทศมาเลเซียได้รับการยืนยันในกลุ่มนักเดินทางจากประเทศจีน สู่รัฐยะโฮร์ ผ่านประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 25 มกราคม[3][4] ในขณะที่การระบาดในขั้นต้นจำกัดเฉพาะผู้ป่วยขาเข้า แต่คลัสเตอร์ในประเทศหลายแห่งได้เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุดคือการชุมนุมทางศาสนา ตับลีฆญะมาอะห์ ในกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้ป่วยในประเทศ และผู้ป่วยขาเข้าในประเทศเพื่อนบ้าน[5] ภายในสิ้นเดือนมีนาคม จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 30 รายเป็น 2,000 ราย ที่มีอยู่ในทุกรัฐและดินแดนสหพันธ์ในประเทศ

เพื่อตอบสนองต่อผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลมาเลเซียซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน ได้กำหนดให้มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศที่เรียกว่ามาตรการควบคุมการสัญจร ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2020[6][7][8] เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม มาตรการควบคุมการสัญจรเหล่านี้ได้ทำให้การติดเชื้อในชีวิตประจำวันลดลงทีละน้อย ในการตอบสนอง รัฐบาลมาเลเซียมีความคืบหน้าในการผ่อนปรนข้อจำกัดการล็อกดาวน์ในเฟสที่ซวดเซ ซึ่งเริ่มต้นด้วย "มาตรการควบคุมการสัญจรแบบมีเงื่อนไข" (CMCO) ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2020[9] ตามด้วย "มาตรการควบคุมการสัญจรในระยะฟื้นฟู" (RMCO) ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2020[10] รัฐบาลมาเลเซียวางแผนที่จะยุติมาตรการควบคุมการสัญจรในระยะฟื้นฟูในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 แต่เนื่องจากมีการตรวจพบผู้ป่วยเข้าอย่างต่อเนื่องจึงมีการขยายมาตรการออกไปจนถึงสิ้นปีดังกล่าว[11][12][13]

การติดเชื้อ-19 ระลอกที่สามในประเทศเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งของรัฐซาบะฮ์เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 และการระบาดหลายครั้งที่โรงงานท็อปโกลฟในช่วงปลาย ค.ศ. 2020[14][15] เพื่อเป็นการตอบสนองต่อผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วประเทศในช่วงปลาย ค.ศ. 2020 และต้น ค.ศ. 2021 รัฐบาลมาเลเซียได้คืนสถานะข้อจำกัดการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจรแบบมีเงื่อนไข และมาตรการควบคุมการสัญจรในระยะฟื้นฟูในรัฐส่วนใหญ่[16][17] ภายในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ผลกระทบที่ทำให้โควิด-19 มีผลต่อระบบการรักษาพยาบาลของประเทศนำไปสู่การรื้อฟื้นข้อจำกัดมาตรการควบคุมการสัญจรในรัฐต่าง ๆ ของมาเลเซียและดินแดนของรัฐบาลกลาง ซึ่งขยายไปถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ และจากนั้นถึง 4 มีนาคม ค.ศ. 2021[18][19][20] นอกจากนี้ ยังมีการประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2021 โดยยังดีเปอร์ตวนอากงเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ จึงระงับรัฐสภากับสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ และมอบอำนาจฉุกเฉินของรัฐบาลมุฮ์ยิดดินจนถึงวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2021[21]

เนื่องจากการลดลงของผู้ป่วยรายใหม่ในช่วงต้นเดือนมีนาคม รัฐบาลจึงยกเลิกข้อจำกัดมาตรการควบคุมการสัญจรในรัฐและดินแดนส่วนใหญ่ของรัฐบาลกลาง[22] โครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศมาเลเซียเริ่มขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ต่อโรคโควิด-19 ในหมู่ประชาชนและผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศ[23] ครั้นตั้งแต่กลางเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 หลายรัฐที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นได้ถูกจัดให้อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของมาตรการควบคุมการสัญจรโดยรัฐบาล[24][25][26][27][28][29] ด้วยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพันธุ์ SARS-CoV-2 จากต่างประเทศที่ตรวจพบในมาเลเซีย ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 และจำนวนผู้เสียชีวิตในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงรื้อฟื้นมาตรการควบคุมการสัญจรอีกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคมถึง 7 มิถุนายน ค.ศ. 2021[30][31]

จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันแล้วกว่า 490,000 ราย โดยมีผู้ป่วยอยู่กว่า 52,000 ราย และผู้เสียชีวิตกว่า 2,100 ราย ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนี้ติดอันดับสามในจำนวนผู้ป่วยรองจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และอันดับสี่ของจำนวนผู้เสียชีวิตรองจากอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และพม่า[32]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Confirmed COVID-19 Cases [Data for Malaysia]". COVIDNOW. Ministry of Health (Malaysia). สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.
  2. "LANGKAH-LANGKAH KESIAPSIAGAAN DAN RESPON KKM NOVEL CORONAVIRUS" [NOVEL CORONAVIRUS MOH PREPAREDNESS MEASURES AND RESPONSE]. Jabatan Penerangan Malaysia (ภาษามาเลย์). 26 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 15 May 2021.
  3. Sipalan, Joseph; Holmes, Sam (25 January 2020). "Malaysia confirms first cases of coronavirus infection". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
  4. "Malaysia: First cases of 2019-nCoV confirmed January 25". GardaWorld. 25 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
  5. Ng, Kate (16 March 2020). "Coronavirus: Malaysia cases rise by 190 after mosque event as imams urge online services". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2020. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.
  6. Sukumaran, Tashny (16 March 2020). "Coronavirus: Malaysia in partial lockdown from March 18 to limit outbreak". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2020. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  7. Bunyan, John (16 March 2020). "PM: Malaysia under movement control order from Wed until March 31, all shops closed except for essential services". Malay Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2020. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  8. Wern Jun, Soo (17 March 2020). "Movement control order not a lockdown, says former health minister". The Malay Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  9. Rozanna Latif (2 May 2020). "Malaysia defends easing of coronavirus curbs as new infections jump". Reuters. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  10. Tee, Kenneth. "Muhyiddin: CMCO to be replaced with recovery movement control order with further relaxations beginning June 10". Malay Mail. สืบค้นเมื่อ 2020-07-18.
  11. "[LIVE] Special address by Prime Minister on the Recovery Movement Control Order (RMCO) - YouTube". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
  12. "Malaysia extends "Movement Control Order" measures till year-end". Xinhua. 28 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  13. Yusof, Amir (28 August 2020). "Malaysia's recovery movement control order extended to Dec 31, tourists still not allowed in: PM Muhyiddin". Channel News Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  14. "Sabah election spurred Malaysia virus surge, says prime minister". South China Morning Post. 2020-10-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
  15. "'Profits over people': Covid-19 overruns Top Glove factories as workers speak of appalling accommodations". web.archive.org. 2020-12-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. "CMCO reinstated in various states". Channel News Asia. 7 November 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-07. สืบค้นเมื่อ 7 November 2020.
  17. "COVID-19: Malaysia's recovery movement control order extended again to Mar 31". Channel News Asia. 1 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2021.
  18. Rodzi, Nadirah (11 January 2021). "Malaysia to reimpose MCO in some states: What do the Covid-19 restrictions entail". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021.
  19. "MCO extended from Feb 5 to Feb 18, says Ismail Sabri". The Star Online (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
  20. Yusof, Amir (16 February 2021). "Malaysia extends MCO for Selangor, KL, Johor and Penang until Mar 4 Jump to top Search". Channel News Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2021. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021.
  21. "Agong declares emergency until Aug 1 to curb Covid-19 spread". Free Malaysia Today. 12 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  22. Anand, Ram (2 March 2021). "Malaysia lifts MCO as cases taper down, vaccination drive kicks in". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  23. hermesauto (2021-03-02). "Malaysia lifts MCO as cases taper down, vaccination drive kicks in". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-11.
  24. "Most Kelantan districts to be placed under MCO from Friday as Covid-19 cases surge". The Straits Times. 14 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
  25. "Lahad Datu MCO, EMCO in three Sabah and Sarawak areas extended from April 25-May 8 | The Star". The Star. 23 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
  26. "Covid-19: Five districts in Kedah under MCO from May 1-14 | The Star". The Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
  27. Aiman, Ainaa (2021-05-04). "MCO in 6 districts in Selangor". Free Malaysia Today (FMT) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  28. Harun, Teh Athira Yusof and Hana Naz (2021-05-05). "KL, districts in Johor, Perak, Terengganu under MCO from Friday | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  29. Yunus, Arfa; Basyir, Mohamed (2021-05-08). "Districts, subdistricts in Pahang, Penang, Perak placed under MCO | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
  30. Arumugam, Tharanya; Yusof, Teh Athira (2021-05-08). "More foreign Covid-19 variants unearthed in Malaysia | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
  31. Palansamy, Yiswaree (2021-05-10). "PM announces MCO for whole of Malaysia from Wednesday | Malay Mail". MalayMail (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
  32. "Southeast Asia Covid-19 Tracker". Center for Strategic and International Studies. 28 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]