วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | พิษสุนัขบ้า |
ชนิด | เชื้อตาย |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | RabAvert, Rabipur, Rabivax, อื่น ๆ |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a607023 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
DrugBank | |
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG | |
7 (what is this?) (verify) | |
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เป็นวัคซีนที่ใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า[6] ขณะนี้มีหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยทั้งสำหรับคนและสัตว์[6] สามารถใช้ป้องกันได้ทั้งก่อนและหลังสัมผัสโรค (เช่น การถูกสุนัขหรือค้างคาวกัด)[6]
วัคซีนส่วนใหญ่จะให้ทางการฉีดเข้าผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ[6] การให้วัคซีนหลังการสัมผัสโรคนั้น มักให้ควบคู่กับการให้อิมมูโนโกลบูลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า[6] เป็นที่แนะนำโดยทั่วไปว่าผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะสัมผัสโรค[6] การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าในสุนัขยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อพิษสุนัขบ้ามาสู่คน[6]
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีความปลอดภัยสำหรับทุกช่วงอายุ[6] อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ อาการปวด หรือ แดง บริเวณผิวหนังที่ถูกฉีด (ประมาณร้อยละ 35-45) อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้คือ ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ 5-15)[6] ไม่มีข้อห้ามในการให้วัคซีนหลังสัมผัสโรค เพราะไวรัสที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างมาก[6]
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าชนิดแรกได้รับการเสนอใน ค.ศ. 1885 ตามมาด้วยวัคซีนที่พัฒนาใหม่ใน ค.ศ. 1908[7] ขณะนี้ทั่วโลก มีประชากรหลายล้านคนได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า[6] และได้รับการบรรจุลงในรายชื่อยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Rabies vaccine, human diploid cell (Imovax Rabies) Use During Pregnancy". Drugs.com. 22 November 2019. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
- ↑ "Rabies Vaccine BP - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 28 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-06. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
- ↑ "Rabipur pre-filled syringe - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
- ↑ "Imovax Rabies (rabies virus strain pm-1503-3m antigen- propiolactone inactivated and water kit". DailyMed. 21 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
- ↑ "Rabavert- rabies vaccine kit". DailyMed. 18 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 World Health Organization (2018). "Rabies vaccines: WHO position paper – April 2018". Weekly Epidemiological Record. 93 (16): 201–19. hdl:10665/272372.
- ↑ Nunnally, Brian (2014). Vaccine Analysis: Strategies, Principles, and Control. Springer. p. 63. ISBN 9783662450246. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.
- ↑ World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Rabies Vaccine Information Statement". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
- "Imovax". U.S. Food and Drug Administration (FDA). STN: 103931.
- "RabAvert - Rabies Vaccine". U.S. Food and Drug Administration (FDA). STN: BL 103334.
- Rabies Vaccines ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)