รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 ตั้งอยูที่พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน (สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)) | |||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
|
รถจักรไอน้ำของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชั้น ญี่ปุ่นมิกาโด (SRT Class Japanese Mikado) หรือ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด (อังกฤษ: Japanese Mikado steam locomotive) มักถูกเรียกสั้น ๆ ว่า รถจักรไอน้ำมิกาโด เป็นชุดรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่การรถไฟแห่งประเทศไทยสั่งซื้อ และนำเข้าใช้งานในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2494
โดยชื่อรุ่นมีที่มาจากการนำชื่อสมาคมประเทศผู้ผลิต คือ สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น มารวมกับรูปแบบการจัดวางล้อรถไฟแบบ 2-8-2 หรือ แบบมิกาโด (ญี่ปุ่น: ミカド)
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโดสร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยบริษัทผู้ผลิตรถไฟหลายบริษัท โดยมีชื่อรุ่นสายการผลิตอย่างไม่เป็นทางจากบริษัท มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัดว่า รถจักรแบบ DX50 (ญี่ปุ่น: DX50形)[1] รถจักรไอน้ำรุ่นนี้มีทั้งหมด 98 คัน จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการลากจูงขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าและขบวนรถที่วิ่งบนเส้นทางภูเขา รวมถึงขบวนรถที่มีน้ำหนักมากบนเส้นทางตอนราบในประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งมีสมรถนะที่แตกต่างจาก รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ที่ใช้ลากจูงขบวนรถโดยสารบนเส้นทางตอนราบ
ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด คงเหลือเศษชิ้นส่วน เป็นชิ้นส่วนห้องขับจำนวน 7 ห้อง ได้แก่ของหมายเลข 354, 359, 366, 370, 938, 940 และ 954 คงเหลือรถจักรไอน้ำทั้งคันที่ใช้การไม่ได้แล้วทั้งหมด 7 คัน จอดเป็นอนุสรณ์ตามสถานที่ต่าง ๆ คือหมายเลข 351, 353, 943, 950, 955, 962 และ 965 และ มีเก็บประจำการไว้ 1 คัน คือหมายเลข 953 ซึ่งเดิมทีจะนำมาใช้วิ่งในวันสำคัญต่างๆ แต่ปัจจุบันหมายเลข 953 มีสภาพชำรุด อยู่ในระหว่างเก็บรักษารอการซ่อมบำรุง
การนำเข้ามาใช้งาน
[แก้]จักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโดมีจำนวนรถทั้งสิ้น 98 คัน คือหมายเลขรถ 351 - 378 และ 901 - 970 โดยการนำเข้ามาใช้งาน แบ่งเป็นสองช่วง (ล็อต) ต่อไปนี้
- ช่วงแรก (พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2488) รถจักรหมายเลข 351 - 378 เป็นช่วงที่การรถไฟฯ สั่งนำเข้ามาใช้โดยคำแนะนำจากเอช ฟูรูซาวา (3 มกราคม พ.ศ. 2432 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2517) ข้าราชการกรมรถไฟหลวง ตำแหน่งนายช่างฝ่ายกองช่างกล โรงไฟฟ้าที่โรงงานมักกะสัน ชาวญี่ปุ่นในขณะนั้น เพราะสมัยนั้นซึ่งเป็นหัวรถจักรไอน้ำที่ประเทศญี่ปุ่นผลิตขึ้นใหม่ในช่วงเวลานั้น มีคุณภาพประหยัด กำลังฉุดลากดี ความเร็วดี มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้ของเมืองไทยและราคาถูกมาก เมื่อกรมรถไฟพิจารณารายละเอียดต่างๆ แล้วอนุมัติให้สั่งเข้านำมาทดลองใช้รุ่นแรกจำนวน 10 คันก่อน ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ต่อมาได้สั่งเข้ามาใช้งานอีกหลาย 10 คัน[2]
- ช่วงที่สอง (พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494) รถจักรหมายเลข 901 - 970 เป็นช่วงที่การรถไฟฯ สั่งนำเข้ามาใช้โดยโครงการบูรณะกิจการรถไฟและทดแทนรถจักรไอน้ำเท็นวีลเลอร์ อี-คลาส ที่การรถไฟได้สั่งซื้อจากประเทศอังกฤษตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 ที่เริ่มทยอยปลดระวางในปี พ.ศ. 2497 จนถึงปี พ.ศ. 2516, รถจักรไอน้ำบอลด์วินมิกาโด 3 สูบ และ รถจักรไอน้ำบอลด์วินแปซิฟิค 3 สูบ ที่บริษัทบอลด์วินโลโคโมทีฟเวิรค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่หยุดสายการผลิตไปตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 (ส่วนหมายเลข 232, 244, 247, 249 และ 251 ไปประจำการเส้นทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่ล็อตนี้ประจำการ) โดยมีการปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนของรุ่นก่อนหน้านี้ โดยมีการปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนของรุ่นก่อนหน้านี้[3]
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ถูกสร้างขึ้นโดย สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Association of Railway Industry) ซึ่งในสมาคมจะประกอบไปด้วยบริษัทผู้ผลิตรถไฟหลายบริษัทด้วยกัน ทั้งนี้เมื่อมีคำสั่งให้ผลิตรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ทาง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น จะกระจายคำสั่งการผลิตนี้ให้กับ 5 บริษัทที่รับผิดชอบในการสร้างรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดังนี้
1. บริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่นครนาโงยะ, จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายเลข 351, 352, 363 และ 364)
2. บริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่นครโอซากะ, จังหวัดโอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และ ล็อตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาถูกควบรวมกิจการโดย บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด ไปเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2515)
3. บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ระหว่างนครโคเบะ และ เขตมินาโตะ (โตเกียว), ในกรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และ ล็อตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาได้เข้าซื้อกิจการ บริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด ไปเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2515)
4. บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (มหาชน) โรงงานตั้งอยู่ที่ในกรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และ ล็อตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2)
5. บริษัท มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่เมืองมิฮาระ, จังหวัดฮิโรชิมะ, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายเลข 908, 909, 915, 916, 928, 929, 930, 935, 936, 940, 943, 944, 946, 949, 950, 951, 960, 963, 967 และ 970) โดย บริษัทมิตซูบิชิ เป็นเพียงบริษัทเดียวที่มีชื่อรุ่นสายการผลิตรถจักรรุ่นนี้อย่างไม่เป็นทางว่า รถจักรแบบ DX50(ญี่ปุ่น: DX50形)[4]
ประวัติ
[แก้]ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะใช้งานตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็น USATC รุ่น S118 เเบบล้อมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่า “รถจักรไอน้ำแมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ตามโครงการบูรณะกิจการรถไฟ ทางการได้จัดซื้อรถจักรไอน้ำจากผู้สร้างต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น 50 คัน และในปีถัดไปอีก 50 คัน เป็นรถจักรแบบมิกาโดและแปซิฟิค เหมือนกันกับรถจักรที่เคยซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น แต่ได้มีการปรับปรุงบางสิ่งให้เหมาะสมขึ้นอีก
รถจักรจำนวน 100 คันนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่จะมีใช้การในการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรถไฟฯ มีนโยบายที่จะนำเอารถจักรดีเซลมาใช้การแทนรถจักรไอน้ำ
ในระยะเวลาประมาณ 3 ใน 4 ของศตวรรษ รถจักรไอน้ำได้รับการปรับปรุงโดยเฉพาะอุปกรณ์ต่างๆ เป็นไปตามการปรับปรุงหลายรายการ จากการประดิษฐ์คิดค้นของนักประดิษฐ์ ในด้านสมรรถนะการใช้การนั้น แม้ว่าตัวรถจักรจะได้รับการปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่และประสิทธิภาพดีขึ้นก็ตาม แต่ก็กระทำได้ภายในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากทางรถไฟของการรถไฟฯ มีขีดจำกัดความสามารถในการรับน้ำหนักรถได้เพียง 10.5 เมตริกตันต่อเพลาในขณะนั้น ถ้าหากว่ามีสูงกว่านั้นแล้ว สมรรถนะของรถจักรย่อมจะสูงขึ้น เช่น ลากจูงรถได้มาก มีความเร็วสูงขึ้น และมีรัศมีทำการไกล[3]
นายเอช ฟูรูซาวา ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2432 ที่เมืองมิโต้ ประเทศญี่ปุ่น ในตระกูล "ซามูไร" แห่งแขวงอิบารากิ ครอบครัวประกอบอาชีพอุตสาหกรรมเลี้ยงไหม และผลิตเส้นใยไหม เมื่อจบการศึกษาขั้นต้นจากเมืองมิโต้แล้ว จึงเดินทางไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยการไฟฟ้าคันดะ กรุงโตเกียว สาขาวิชาการไฟฟ้า แล้วศึกษาต่อในวิชาเครื่องยนต์ดีเซลจนจบหลักสูตร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน (ปัจจุบันคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) เป็นผู้อำนวยการก่อตั้งกิจการ "กรมรถไฟแผ่นดินสยาม" ขึ้น พอดีกับทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสยามในสมัยนั้น รู้จักชอบพอกับบิดามารดาของนายเอชฯ จึงชักชวนให้มาทำงานในประเทศสยาม โดยเดินทางมากับเรือเดินทะเลของบริษัทบอร์เนียว เข้ามาทำงานในสยามประเทศครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2454 เป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้างโรงเลื่อยและติดตั้งเครื่องจักรทั้งหมด จนเสร็จเรียบร้อยตั้งอยู่ที่ชายทะเล อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ชื่อ "โรงเลื่อยศรีมหาราชา" อันเป็นโรงเลื่อยที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น
เวลาต่อมา ความทราบถึงนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง จึงทรงขอตัวนายเอชฯ มารับราชการ ในฝ่ายกองช่างกล ของกรมรถไฟแผ่นดินสยาม ประจำโรงไฟฟ้าที่โรงงานมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ซึ่งในขณะนั้นมีได้มีนายช่างชาวต่างประเทศประจำอยู่แล้วหลายคน นายเอชฯ ได้ทำงานในกรมรถไฟแผ่นดินสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2464 ในฐานะทดสอบงานและได้รับการบรรจุเป็นหัวหน้าช่าง ในปี พ.ศ. 2465 โดยได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพตลอดมา
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) (อังกฤษ: The Most Noble Order of the Crown of Thailand) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2412 และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้อีก แต่ให้ไปทำการโอนสัญชาติเป็นสยามเสียก่อน ด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงรีบไปดำเนินการโอนสัญชาติที่สถานทูตญี่ปุ่น แต่ถูกเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสยาม ที่เป็นผู้นำพามาอยู่ประเทศสยามปฎิเสธ ด้วยความเกรงใจจึงต้องปฏิบัติตาม
เมื่อมีการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา นายเอชฯ เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ไปร่วมการก่อสร้างในฐานะนายช่างกล ฝ่ายโรงงานมักกะสัน เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วทางการตั้งชื่อว่า "สะพานพระราม 6"
ต่อมานายเอชฯ ได้เสนอให้กรมรถไฟจัดซื้อรถจักรไอน้ำ "มิกาโด" แบบล้อ 2-8-2 ซึ่งเป็นหัวรถจักรไอน้ำที่ประเทศญี่ปุ่นผลิตขึ้นใหม่ในช่วงเวลานั้น มีคุณภาพประหยัด กำลังฉุดลากดี ความเร็วดี มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้ของเมืองไทยและราคาถูกมาก เมื่อกรมรถไฟพิจารณารายละเอียดต่างๆ แล้วอนุมัติให้สั่งเข้านำมาทดลองใช้รุ่นแรกจำนวน 10 คัน ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ต่อมาได้สั่งเข้ามาใช้งานอีกหลายสิบคัน จนครบ 28 คัน
จวบจนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เหลือนายช่างชาวต่างประเทศเพียง นายเอชฯ ผู้เดียวเท่านั้นที่ยังรับราชการอยู่ ตำแหน่งครั้งสุดท้าย เป็นสารวัตรโรงงาน โรงงานมักกะสัน และได้ขอลาออกจากราชการกรมรถไฟหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสมัครใจขอรับเป็นบำเหน็จแทนบำนาญ
นายเอช. ฟูรูซาวา มีภรรยาเป็นคนไทยคนแรกชื่อแม่เชื้อ มีบุตรธิดา 11 คน ภรรยาคนที่สองชื่อแม่อู๊ด มีบุตรธิดา 2 คน รวมทั้งหมด 13 คน โดยบุตรชายใช้นามสกุลไทยว่า "ประสพสันต์" บางคนยังคงใช้นามสกุลตามบิดา
นายเอชฯ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2517 เวลา 16.30 น. สิริรวมอายุได้ 87 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2518
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 351, 353, 354, 363, 366, 370, 938 , 940, 943, 950, 951, 952, 953, 954, 955, 956, 957, 962, 965, 968, 969 และ 970
[แก้]เดิมใช้การใช้การบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ ประจำการแขวงอุตรดิตถ์ รถจักรไอน้ำเริ่มทำขบวนตั้งแต่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ไปสถานีรถไฟเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะทำขบวนรถสินค้าและรถด่วนพิเศษไปถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ บางครั้งก็ทำขบวนรถโดยสารจากสถานีรถไฟกรุงเทพ, ทางรถไฟสายเหนือ, ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และทางรถไฟสายตะวันออก และทางรถไฟสายใต้ในสมัยนั้นด้วยด้วย หลังจากนั้น ก่อนปลดระวางก็ไปใช้การบนเส้นทางเส้นทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปี พ.ศ. 2525 หลังจากที่การรถไฟฯ ได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2525 รถจักร 2 คันนี้ได้ปลดระวางเลิกใช้การเข้ามานอนจอดสงบนิ่งอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี รางข้างโรงรถจักรจอดอยู่คันในสุดของรถจักรรวม 4 คันในรางนี้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 แต่ก็ยังใช้งานทำขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ในช่วง 7 ปีสุดท้ายของรถจักรไอน้ำ จนถึงปี พ.ศ. 2525 ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2528 ทางการรถไฟฯมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู บูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นจำนวน 6 คันแบ่งเป็นรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด 2 คันคือ 953 และ 950 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค 2 คันคือ 824 และ 850 และรถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 หมายเลข 713 และ 715 โดยศูนย์กลางซ่อมอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี ในยุคที่นายสวัสดิ์ ม้าไว เป็นสารวัตรรถจักรธนบุรี โดยการขับเคลื่อนของนายช่าง สุเมธ หนูงาม ตำแหน่งวิศวกรอำนวยการลากเลื่อนในขณะนั้น ท่านได้ระดมอุปกรณ์อะไหล่ที่เก็บไว้ที่ โรงรถจักรทุ่งสง และโรงรถจักรอุตรดิตถ์ พร้อมช่างฝีมือจากทุ่งส่งจำนวน 4 นาย มาร่วมกับช่างฝีมือที่ธนบุรีเพื่อ พร้อมซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำดังกล่าวข้างต้น การซ่อมรถจักรไอน้ำในครั้งนั้นใช้เวลาซ่อมจำนวน 4 เดือนจึงสามารถทำการทดลองวิ่งตัวเปล่ารถจักร 962 และ 953 จาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 10 ตู้ในวันที่ 13 มีนาคม 2529 สำหรับรถจักร 824 และ 850 ซ่อมเสร็จทำการทดลองวิ่งตัวเปล่าจาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 19 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 8 ตู้ในวันที่ 22 มีนาคม 2529 ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม 2529 เป็นวันคล้ายวันสถาปนาการรถไฟแห่งประเทศไทยครบรอบ 90 ปีในครั้งนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงจัดรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 เดินขบวนรถพิเศษในเที่ยวขึ้น กรุงเทพ - อยุธยา ส่วนในเที่ยวล่อง อยุธยา-กรุงเทพ ได้ใช้รถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 หมายเลข 713 พหุกับ 715 ทำขบวนโดยมีรถอะแดปเตอร์คั่นระหว่าง รถจักรกับรถโดยสาร เนื่องจากรถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 ใช้ขอพ่วงชนิดขอสับ ส่วนรถโดยสารใช้ขอพ่วงอัตโนมัติ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเดินรถจักรไอน้ำในโอกาสพิเศษ และเป็นการเดินรถจักรไอน้ำครั้งแรกหลังจากที่ปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2525 เป็นระยะเวลา 4 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนสองข้างทางรถไฟอย่างมากมาย พนักงานขับรถจักรไอน้ำในครั้งนั้น คือนายชำนาญ ล้ำเลิศ (เสียชีวิตแล้ว) นายกุล กุลมณี (เสียชีวิตแล้ว) ต่อมาได้บูรณะรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 เพื่อทำการเดินขบวนรถจักรไอน้ำนำเที่ยวที่ 901 จากสถานีรถไฟกรุงเทพไปยังสถานีรถไฟอยุธยา ในวันที่ 26 มีนาคม 2529 รถจักรไอน้ำทุกคันที่มีการซ่อม ได้ดัดแปลงระบบไฟฟ้า ห้ามล้อ และเครื่องยนต์ของรถจักร Henschel เพื่อต่อพหุ จนเป็นเหตุให้รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 962 กลายเป็นรถจักรอนุสรณ์อยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตั้งแต่นั้นมา รถจักรไอน้ำมิกาโด จึงเหลือใช้การ 1 คันคือหมายเลข 953 ซึงจะใช้ทำขบวนในวันสำคัญต่างๆ โดยปัจจุบันนี้ รถจักรไอน้ำหมายเลข 953 อยู่ในระหว่างการรอซ่อมแซมในระยะยาว
ส่วนรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 943 หลังที่การรถไฟฯ ได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 และได้ปลดระวางที่แขวงอุตรดิตถ์เมื่อปี พ.ศ. 2522[5] จากนั้นรถคันนี้ถูกลากลงมาจากแขวงอุตรดิตถ์เมื่อปี พ.ศ. 2529 แล้วนำไปจอดที่อนุสรณ์ไว้ที่สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2530 จนถึง พ.ศ. 2565 ต่อมาก็เคลื่อนย้ายจากสวนวชิรเบญจทัศ ไปยัง สวนสาธารณะสะพานดำ ในอำเภอเมืองลำปาง, จังหวัดลำปาง ในเดือนกันยายน ในปี พ.ศ. 2565
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 เคยได้เดินขบวนรถนอกวันสำคัญทางราชการมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนั้นเป็นขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำ กรุงเทพ - กาญจนบุรี - สะพานข้ามแม่น้ำแคว - วังโพ เมื่อราวๆปี พ.ศ. 2542 และได้แสดงในละครเรื่อง ขุมทรัพย์แม่น้ำแคว ออกอากาศทางช่อง 7 เอชดี ในปี พ.ศ. 2544
หมายเหตุ: ปัจจุบันบริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด ถูกควบรวมกิจการโดย บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด ไปเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2515
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]หมายเลขรถจักร | ผู้ผลิต | ปีที่เข้าประจำการ | หมายเลขที่ผลิต | ขนาดความกว้างของรางรถไฟ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
351 | Nippon Sharyo | พ.ศ. 2480 | 475 | 1.000 เมตร (Metre gauge) | สร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2480[6]
ปัจจุบันอยู่ที่บริษัท เอเซียอุตสาหกรรมปุ๋ยและโรงสีข้าว จำกัด ในอำเภอธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี[10][11] |
352 | 476 | สร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2480[6] | |||
353 | Kisha Seizo | พ.ศ. 2479 | 1390 | สร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2479[6]
ปัจจุบันอยู่ที่บริษัท เอเซียอุตสาหกรรมปุ๋ยและโรงสีข้าว จำกัด ในอำเภอธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี[10][11][12] | |
354 | 1391 | สร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2479[6]
ปัจจุบันยังเหลือซากห้องขับที่โรงรถจักรปากน้ำโพ บนสถานีรถไฟปากน้ำโพ, อำเภอเมืองนครสวรรค์, จังหวัดนครสวรรค์ | |||
355 | Kawasaki | 1687 | สร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2479[6] | ||
356 | 1688 | ||||
357 | Hitachi | 746 | สร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2480[6] | ||
358 | 747 | ||||
359 | Kawasaki | พ.ศ. 2481 | 1917 | ปัจจุบันซากโครงประธานห้องขับอยู่ที่โรงรถจักรอุตรดิตถ์, อำเภอเมืองอุตรดิตถ์, จังหวัดอุตรดิตถ์ | |
360 | 1918 | ||||
361 | Hitachi | 958 | |||
362 | 959 | ||||
363 | Nippon Sharyo | 543 | |||
364 | 544 | ||||
365 | Kisha Seizo | 1576 | |||
366 | 1577 | ปัจจุบันซากโครงประธานห้องขับอยู่ที่โรงรถจักรอุตรดิตถ์, อำเภอเมืองอุตรดิตถ์, จังหวัดอุตรดิตถ์ | |||
367 | พ.ศ. 2486 | 2297 | 5 คันสร้างปี พ.ศ. 2485 1 คันสร้างปี พ.ศ. 2486[6] | ||
368 | 2298 | ||||
369 | 2299 | ||||
370 | 2300 | 5 คันสร้างปี พ.ศ. 2485 1 คันสร้างปี พ.ศ. 2486[6]
ปัจจุบันเหลือซากโครงประธานห้องขับอยู่ที่สวนหย่อมในย่านสถานีรถไฟพิษณุโลก, อำเภอเมืองพิษณุโลก, จังหวัดพิษณุโลก | |||
371 | 2301 | 5 คันสร้างปี พ.ศ. 2485 1 คันสร้างปี พ.ศ. 2486[6] | |||
372 | 2302 | ||||
373 | Kawasaki | 2902 | 5 คันสร้างปี พ.ศ. 2486 1 คันสร้างปี พ.ศ. 2487[6] | ||
374 | 2903 | ||||
375 | 2904 | ||||
376 | 2905 | ||||
377 | 2906 | ||||
378 | 2907 |
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]หมายเลขรถจักร | ผู้ผลิต | ปีที่เข้าประจำการ | หมายเลขที่ผลิต | ขนาดความกว้างของรางรถไฟ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
901 | Kisha Seizo | พ.ศ. 2492 | 2581 | 1.000 เมตร (Metre gauge) | ไม่มีกระบังควันเหมือนชุดรถจักรหมายเลข 351 - 378 |
902 | 2582 | ||||
903 | Kawasaki | 3177 | |||
904 | Hitachi | 2038 | |||
905 | Kisha Seizo | 2583 | |||
906 | Kawasaki | 3178 | |||
907 | 3179 | ||||
908 | Mitsubishi | 670 | |||
909 | 671 | ||||
910 | Hitachi | 2039 | |||
911 | 2040 | ||||
912 | Kisha Seizo | 2584 | |||
913 | Kawasaki | 3180 | |||
914 | 3181 | ||||
915 | Mitsubishi | 672 | |||
916 | 673 | ||||
917 | Hitachi | 2041 | |||
918 | Kisha Seizo | 2585 | |||
919 | 2586 | ||||
920 | 2587 | ||||
921 | Hitachi | 2042 | |||
922 | 2043 | ||||
923 | 2044 | ||||
924 | Kisha Seizo | 2588 | |||
925 | Kawasaki | 3182 | |||
926 | 3183 | ||||
927 | 3184 | ||||
928 | Mitsubishi | 674 | |||
929 | 675 | ||||
930 | 676 | ||||
931 | Hitachi | 2045 | |||
932 | 2046 | ||||
933 | Kawasaki | 3185 | |||
934 | 3186 | ||||
935 | Mitsubishi | 677 | |||
936 | 678 | ||||
937 | Hitachi | 2047 | |||
938 | Kisha Seizo | 2589 | ปัจจุบันยังเหลือซากห้องขับอยู่ที่อาคารวัฒนธรรมอุตรดิตถ์, จังหวัดอุตรดิตถ์[13]; ไม่มีกระบังควันเหมือนชุดรถจักรหมายเลข 351 - 378 | ||
939 | 2590 | ไม่มีกระบังควันเหมือนชุดรถจักรหมายเลข 351 - 378 | |||
940 | Mitsubishi | 679 | ปัจจุบันยังเหลือซากโครงประธานห้องขับอยู่ที่สวนสาธารณะในเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์, จังหวัดอุตรดิตถ์[14]; ไม่มีกระบังควันเหมือนชุดรถจักรหมายเลข 351 - 378 | ||
941 | Kisha Seizo | พ.ศ. 2493 | 2593 | ||
942 | พ.ศ. 2492 | 2594 | ไม่มีจานปล่องควัน | ||
943 | Mitsubishi | พ.ศ. 2493 | 691 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะสะพานดำ (สวนรถไฟ) ในอำเภอเมืองลำปาง, จังหวัดลำปาง | |
944 | 692 | ||||
945 | Hitachi | 2048 | |||
946 | Mitsubishi | 693 | |||
947 | Kisha Seizo | พ.ศ. 2492 | 2595 | ||
948 | 2596 | ||||
949 | Mitsubishi | พ.ศ. 2493 | 694 | ||
950 | 695 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน (สถานีรถไฟธนบุรี) ในเขตบางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร | |||
951 | 696 | ||||
952 | Hitachi | 2049 | |||
953 | 2050 | ปัจจุบันใช้เป็นรถสำรองทำขบวนนำเที่ยวถ้ารถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิคหมายเลข 824 หรือ 850 เกิดปัญหาทางเทคนิค | |||
954 | Kisha Seizo | พ.ศ. 2492 | 2597 | ปัจจุบันยังเหลือซากห้องขับอยู่ที่อาคารวัฒนธรรมอุตรดิตถ์, จังหวัดอุตรดิตถ์[15] | |
955 | 2598 | ปัจจุบันอยู่ในโรงงานมักกะสัน ในเขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร | |||
956 | 2599 | ||||
957 | 2600 | ||||
958 | Hitachi | พ.ศ. 2493 | 2051 | ||
959 | 2052 | ||||
960 | Mitsubishi | 697 | |||
961 | Hitachi | 2053 | |||
962 | 2054 | ปัจจุบันยังเหลือซากตัวรถอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในอำเภอละอุ่น, จังหวัดระนอง[16] | |||
963 | Mitsubishi | 698 | |||
964 | Kisha Seizo | พ.ศ. 2492 | 2601 | ||
965 | Hitachi | พ.ศ. 2493 | 2055 | ปัจจุบันอยู่ในโรงงานมักกะสัน ในเขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร | |
966 | 2056 | ||||
967 | Mitsubishi | 699 | |||
968 | Hitachi | 2057 | |||
969 | Kisha Seizo | พ.ศ. 2492 | 2602 | ||
970 | Mitsubishi | พ.ศ. 2493 | 700 | มีราวจับฝาเปิดหม้อน้ำหน้ารถจักรยาวกว่าเหมือนรุ่น 351 - 378 และ 901 - 940 |
แกลลอรี่
[แก้]-
แบบของรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหมายเลข 351 - 378 ที่บริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด ขายให้กรมรถไฟหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2479
-
นายประสิทธิ์ จันทรเดชา และคณะเจ้าหน้าที่กรมรถไฟเดินทางไปตรวจรับมอบรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหมายเลข 351 - 378 ที่โรงงานบริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด ณ เมืองโอซากา, ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2479
-
แบบของรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหมายเลข 901 - 940 (บน) หมายเหตุ: ในรุ่นต้นฉบับในโรงงานยังเป็นขอพ่วงแบบ ABC อยู่
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหมายเลข 901 - 940 ขณะเริ่มการทดสอบวิ่งรถจักรจากโรงงานมิฮะระ ของบริษัท มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัด ในนครฮิโรชิมะ, จังหวัดฮิโรชิมะ, ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2492
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหมายเลข 901 - 940 ขณะเสร็จสิ้นการทดสอบที่โรงงานมิฮะระ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2492
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 363 จอดอยู่ที่โรงรถจักรหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ขณะกำลังข้ามสะพานห้าหอ จังหวัดลำปาง
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 356 กำลังออกจากสถานีกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2480
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 943 จอดอยู่ที่สวนวชิรเบญจทัศ, กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2547
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 ทำการสัปเปลี่ยนที่สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง, จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2522
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 ขณะทำขบวน 901 ออกจากสถานีกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2529
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 และตึกของพิพิธภัณฑ์ศิริราชและโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2556
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 และตึกของพิพิธภัณฑ์ศิริราชและโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2559
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 หมายเลข 951 จอดอยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 ขณะทำขบวน 902 ออกจากสถานีอยุธยา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 จอดพักอยู่ที่สถานีอยุธยา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 968 ขณะทำขบวนรถสินค้าออกจากสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2512
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 962 ตั้งอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2, ในอำเภอละอุ่น, จังหวัดระนอง
-
มุมมองจากด้านห้องขับ
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 970 กำลังออกจากสถานีรถไฟบางสะพานน้อย, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นรถจักรไอน้ำคันสุดท้ายของรุ่นนี้
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 จุดเตาที่โรงรถจักรธนบุรี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 957 จอดหลีกขบวนรถทดสอบรถจักรดีเซลไฮดรอลิคเฮนเซล ที่สถานีรถไฟขุนตาน (สมัยเพิ่งเปลี่ยนจากป้ายดำและป้ายขาวและยังสะกด "ขุนตาล" ผิด) อำเภอแม่ทา, จังหวัดลำพูน วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2507
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 952 จอดอยู่ในพิธีเปิดเขื่อนลำตะคอง, อำเภอสีคิ้ว, จังหวัดนครราชสีมา โดยพันเอก แสง จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 3 วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 952 จอดอยู่ในพิธีเปิดเขื่อนลำตะคอง, อำเภอสีคิ้ว, จังหวัดนครราชสีมา โดยพันเอก แสง จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 3 วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 952 จอดอยู่ในพิธีเปิดเขื่อนลำตะคอง, อำเภอสีคิ้ว, จังหวัดนครราชสีมา โดยพันเอก แสง จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 3 วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 918 จอดข้างๆ รถบำรุงทางที่สถานีรถไฟพรหมพิราม, อำเภอพรหมพิราม, จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมบนทางรถไฟสายเหนือ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2504
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "タイ向けのミカド型蒸機DX50の姿です。".
- ↑ 2.0 2.1 "โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ - นายช่างรถไฟหลวงชาวอาทิตย์อุทัย 🇯🇵🇯🇵🇯🇵นายเอช ฟูรูซาวา🇹🇭🇹🇭🇹🇭 ( ๐๓ มกราคม ๒๔๓๒ - ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๗) (ภาพถ่ายในเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ) นายเอช ฟูรูซาวา ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๐๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๒ ที่เมืองมิโต้ ประเทศญี่ปุ่น ในตระกูล "ซามูไร" แห่งแขวงอิบารากิ ครอบครัวประกอบอาชีพอุตสาหกรรมเลี้ยงไหม และผลิตเส้นใยไหม เมื่อจบการศึกษาขั้นต้นจากเมืองมิโต้แล้ว จึงเดินทางไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยการไฟฟ้าคันดะ กรุงโตเกียว สาขาวิชาการไฟฟ้า แล้วศึกษาต่อในวิชาเครื่องยนต์ดีเซลจนจบหลักสูตร ในยุคนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้อำนวยการก่อตั้งกิจการ "กรมรถไฟแผ่นดินสยาม" ขึ้น พอดีกับทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสยามในสมัยนั้น รู้จักชอบพอกับบิดามารดาของนายเอชฯ จึงชักชวนให้มาทำงานในประเทศสยาม โดยเดินทางมากับเรือเดินทะเลของบริษัทบอร์เนียว เข้ามาทำงานในสยามประเทศครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ เป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้างโรงเลื่อยและติดตั้งเครื่องจักรทั้งหมด จนเสร็จเรียบร้อยตั้งอยู่ที่ชายทะเล อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ชื่อ "โรงเลื่อยศรีมหาราชา" อันเป็นโรงเลื่อยที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น กาลต่อมา ความทราบถึงนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง จึงทรงขอตัวนายเอชฯ มารับราชการ ในฝ่ายกองช่างกล ของกรมรถไฟแผ่นดินสยาม ประจำโรงไฟฟ้าที่โรงงานมักกะสัน ซึ่งในขณะนั้นมีได้มีนายช่างชาวต่างประเทศประจำอยู่แล้วหลายคน นายเอชฯ ได้ทำงานในกรมรถไฟแผ่นดินสยาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ในฐานะทดสอบงานและได้รับการบรรจุเป็นหัวหน้าช่าง ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ โดยได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพตลอดมา จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย กับจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้อีก แต่ให้ไปทำการโอนสัญชาติเป็นสยามเสียก่อน ด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงรีบไปดำเนินการโอนสัญชาติที่สถานทูตญี่ปุ่น แต่ได้ถูกทูตญี่ปุ่นผู้นำพามาอยู่ประเทศสยามยับยั้งเอาไว้ ด้วยความเกรงใจจึงต้องปฏิบัติตาม เมื่อมีการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา นายเอชฯ เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ไปร่วมการก่อสร้างในฐานะนายช่างกล ฝ่ายโรงงานมักกะสัน เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วทางการตั้งชื่อว่า "สะพานพระราม ๖" ต่อมานายเอชฯ ได้เสนอให้กรมรถไฟจัดซื้อรถจักรไอน้ำ "มิกาโด" ซึ่งเป็นหัวรถจักรไอน้ำที่ประเทศญี่ปุ่นผลิตขึ้นใหม่ในช่วงเวลานั้น มีคุณภาพประหยัด กำลังฉุดลากดี ความเร็วดี มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้ของเมืองไทยและราคาถูกมาก เมื่อกรมรถไฟพิจารณารายละเอียดต่างๆ แล้วอนุมัติให้สั่งเข้านำมาทดลองใช้รุ่นแรกจำนวน ๑๐ คัน ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ต่อมาได้สั่งเข้ามาใช้งานอีกหลายสิบคัน จวบจนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ เหลือนายช่างชาวต่างประเทศเพียง นายเอชฯ ผู้เดียวเท่านั้นที่ยังรับราชการอยู่ ตำแหน่งครั้งสุดท้าย เป็นสารวัตรโรงงาน โรงงานมักกะสัน และได้ขอลาออกจากราชการกรมรถไฟหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยสมัครใจขอรับเป็นบำเหน็จแทนบำนาญ นายเอช. ฟูรูซาวา มีภรรยาเป็นคนไทยคนแรกชื่อแม่เชื้อ มีบุตรธิดา ๑๑ คน ภรรยาคนที่สองชื่อแม่อู๊ด มีบุตรธิดา ๒ คน รวมทั้งหมด ๑๓ คน โดยบุตรชายใช้นามสกุลไทยว่า " ประสพสันต์" บางคนยังคงใช้นามสกุลตามบิดา นายเอชฯ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๗ เวลา ๑๖.๓๐ น.อายุได้ ๘๗ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ | Facebook". www.facebook.com.
- ↑ 3.0 3.1 "Rotfaithai.Com Forums-viewtopic-เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท". portal.rotfaithai.com.
- ↑ "タイ向けのミカド型蒸機DX50の姿です。".
- ↑ https://www.facebook.com/pantipdotcom. "ย้อนดูการรถไฟไทยในอดีต หัวรถจักรไอน้ำไทยคันแรก และ รถจักรไอน้ำคันสุดท้าย". Pantip.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 Ramaer, R. (2009). The railways of Thailand (2. expanded ed ed.). Bangkok: White Lotus Pr. ISBN 978-974-480-151-7.
{{cite book}}
:|edition=
has extra text (help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-01.
- ↑ https://gtaforums.com/topic/927743-historical-railway-by-ingramsl-episode-3-japanese-mikado-and-pacific-steam-locomotive-to-thailand/
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1660
- ↑ 10.0 10.1 "Rotfaithai.Com Gallery". gallery.rotfaithai.com.
- ↑ 11.0 11.1 http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=105
- ↑ "Rotfaithai.Com Gallery". gallery.rotfaithai.com.
- ↑ https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media/bWVkaWFJZDoxNDg4NzI1Mg==/?ref=
- ↑ https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media/cGF0aDpOb3J0aGVybiByb3V0ZS9zdGVhbS1jYWItMDAxLmpwZw==/?ref=
- ↑ https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media/bWVkaWFJZDoxNzA3NjE4NA==/?ref=
- ↑ http://www.tiewplearn.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2/[ลิงก์เสีย]