ข้ามไปเนื้อหา

คิวเอสวาย (รถจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
CRRC CDA5B1 / QSY
รถจักรดีเซลไฟฟ้า QSY หมายเลข 5213 ที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง
ประเภทและที่มา
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรดีเซลไฟฟ้า
ผู้สร้างซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน
หมายเลขตัวรถ5201 - 5250
โมเดลCDA5B1
จำนวนผลิต50 คัน
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AARCo-Co
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ914 mm (36.0 in)
รัศมีโค้งแคบ130 m (430 ft)
ฐานล้อ1,650 mm (65 in)
ความยาว20.800 m (68 ft 2.9 in)
ความกว้าง2.836 m (111.7 in)
ความสูง4.00 m (157 in)
น้ำหนักกดเพลา16 ตัน ต่อเพลา
น้ำหนักยึดเกาะ51.3 ตัน
น้ำหนักรถจักร96 ตัน
ความจุเชื้อเพลิง4,500 ลิตร
ความจุน้ำมันหล่อลื่น330 ลิตร
ความจุน้ำ805 ลิตร
ความจุทราย200 ลิตร
เครื่องยนต์MTU 16V4000 R43L
พิสัยรอบต่อนาที700 - 1800 รอบต่อนาที
ชนิดเครื่องยนต์4 จังหวะ V16 Diesel
Aspirationเทอร์โบชาร์จเจอร์
ขนาดลูกสูบ170mm x 210mm
ระบบส่งกำลังAC-DC-AC (Electric transmission)
ระบบเบรคทั้งหมดKnorr Bremse รุ่น CCB-2(ลมอัด ระบบไฟฟ้า)
ระบบความปลอดภัยETCS On board (Thales)
Vigilance
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด120 km/h (75 mph)
กำลังขาออก3,218 แรงม้า (2,400 กิโลวัตต์)
แรงฉุด:
 • เริ่มต้น338 kN (76,000 lbf)
 • ต่อเนื่อง284 kN (64,000 lbf) ที่ 30 km/h (19 mph)
แรงเบรกแบบไดนามิกสูงสุด235 kN (53,000 lbf) ที่ 5–36 km/h (3.1–22.4 mph)
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประจำการครั้งแรกพ.ศ. 2565
การจัดการประจำการทั้งหมด 50 คัน
[1]

ซีอาร์อาร์ซี ซีดีเอ5บี1 (CRRC CDA5B1) หรือ รถจักรซีชู่เยี่ยน (อังกฤษ: Qishuyan Locomotive) มีชื่อเล่นว่า รถจักรอุลตร้าแมน เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า และนำมาทดแทนรถจักรรุ่นเก่าอย่างเช่น จีอี (GE) ที่มีอายุการใช้งานที่มาก[2] สั่งซื้อจากบริษัทซีอาร์อาร์ซีซีชู่เยี่ยน มณฑลเจียงซู ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2565 รถจักรซีชู่เยี่ยนเป็นรถจักรที่ถูกสั่งซื้อมาใช้เพื่อทำขบวนรถโดยสารในรอบ 27 ปี โดยหลังจากการสั่งซื้อรถจักรจีอีเอ (GEA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ก็ไม่มีการสั่งซื้อรถจักรเพื่อมาทำขบวนรถโดยสารอีกเลยจนถึงปี พ.ศ. 2565[3]

QSY เมื่อทำขบวนรถถึงสถานีกรุงเทพ

รถจักร QSY (ล็อตที่ 1: 5201-5220 ล็อตที่ 2: 5221-5235 ล็อตที่ 3: 5236-5250) จำนวนทั้งหมด 50 คัน ปัจจุบันมีบทบาทเป็นอย่างมากกับการทำขบวนรถโดยสารทางไกล ไปเชียงใหม่ หนองคาย อุบลราชธานี และชุมทางหาดใหญ่ โดยหลักๆจะทำขบวนรถด่วนพิเศษ CNR ขบวนรถเร็ว ขบวนรถด่วน และขบวนด่วนพิเศษอื่นๆ อีกทั้งยังมีบทบาทกับรถสินค้าด้วย เช่น ทำขบวนรถสินค้า ICD รถสินค้าขนส่งระหว่างประเทศไปหนองคาย และรถสินค้าระหว่างเมือง

เนื่องด้วยรถจักร QSY รถสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 120 กม./ชม. แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน จึงถูกลดความเร็วลงเหลือเพียง 100 กม./ชม. กับขบวนรถด่วนพิเศษ CNR และ +-90 กม./ชม. กับขบวนรถด่วนและขบวนรถเร็ว[3]

รถจักร QSY หมายเลข 5242 จอดอยู่ชุมทางศรีราชา

รถจักร QSY มาพร้อมกับระบบความปลอดภัย European Train Control System ในรูปแบบ On board จาก Thales ซึ่งระบบนี้ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในโซนยุโรป และเอเชียบางประเทศ เพื่อจัดการเดินขบวนรถได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งระบบนี้ยังช่วยในส่วนของการควบคุมระบบเบรค หรือเครื่องยนต์ เพื่อความปลอดภัยได้[4]

รถจักร QSY หมายเลข 5210 จอดอยู่อุบลราชธานี
รถด่วนพิเศษ CNR ทำขบวนโดย QSY 5209 บนทางยกระดับชานเมืองสายสีแดง

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=317006&highlight= สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  2. ครบ 50 คันแล้ว! หัวรถจักร "อุลตร้าแมน" จีนส่งมอบล็อตสุดท้าย 15 คันตามสัญญา สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  3. 3.0 3.1 https://readthecloud.co/qsy-srt/ สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  4. http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=317006&highlight= สืบค้นเมื่อ 2024-12-20