เจเอ็นอาร์ คลาสซี 58
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
คลาสซี 58 | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
C58 363 ให้บริการโดยการรถไฟชิชิบุ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58[1] หรือ รถจักรไอน้ำ C58 (อังกฤษ: JNR Class C58; ญี่ปุ่น: C58形) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า รถจักรไอน้ำ C58 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขื้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การครั้งแรกของ ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2489[2] จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำในระยะแรกจะใช้โดยกองทัพญี่ปุ่นในมลายู[3] (หรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมา รถจักรไอน้ำแพรรี่ทั้ง 4 คัน ประกอบด้วย C58 52, C58 54, C58 130 และ C58 136 จึงขายให้ประเทศไทย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยตั้งชื่อหมายเลขรถจักรชุดนี้คือ 761 ถึง 764 ตามลำดับ
รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 ถูกสร้างขึ้นโดย สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Association of Railway Industry) ซึ่งในสมาคมจะประกอบไปด้วยบริษัทผู้สร้างหลายบริษัทด้วยกัน ทั้งนี้เมื่อมีคำสั่งให้ผลิตรรถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 ทาง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น จะกระจายคำสั่งการผลิตนี้ให้กับ 2 บริษัทที่รับผิดชอบในการสร้างรถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 ดังนี้
1. บริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่นครโอซากะ, จังหวัดโอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบันถูกควบรวมกิจการโดย บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด ไปเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2515)
2. บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ระหว่างนครโคเบะ และ เขตมินาโตะ (โตเกียว), ในกรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
ประวัติ
[แก้]ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟหลวงได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ
นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น "P")
รถจักรไอน้ำ รุ่น C58 เป็นรถจักรที่มีการจัดวางล้อแบบ 2-6-2 สร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2490 โดยบริษัท Kawasaki และ บริษัท Kisha Seizo มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 427 คัน , น้ำหนักของรถจักรพร้อมใช้งาน 58.7 ตัน , แรงดันไอน้ำ 16 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร , น้ำหนักกดเพลา 13.5 ตัน , เส้นผ่านศูนย์กลางล้อกำลังและล้อโยง 1,520 มิลลิเมตร , มีความยาวของรถจักรและรถลำเลียงรวมกัน 18.27 เมตร ใช้กับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร
เนื่องจากรถจักรรุ่นนี้ส่วนหนึ่งถูกสร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้นมา ทำให้เมื่อเกิดสงครามขึ้นมาแล้ว กองทัพญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถจักรไอน้ำจำนวนหนึ่งเพื่อการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถจักรไอน้ำ C56 ดังที่เคยได้อธิบายไปแล้ว และปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนมากมาย รวมทั้งเราเองก็ยังมีรถจักรรุ่นนี้ใช้งานอยู่ส่วนหนึ่ง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ารถจักรไอน้ำ C58 รุ่นนี้ ก็เป็นหนึ่งในรถจักรที่ถูกส่งมาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการขนส่งลำเลียงกองทัพญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน มีการปรับปรุงแก้ไขรถจักรเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรถพ่วงที่ใช้อยู่ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียงเช่นเดียวกับรถจักรไอน้ำ C56 อาทิเช่น เปลี่ยนขอพ่วงจากเดิมที่เป็นขอพ่วงอัตโนมัติมาเป็นขอพ่วงเอบีซี , ติดตั้งเครื่องไล่ลม หรือ เครื่องสร้างสูญญากาศเพื่อใช้สั่งการกับระบบห้ามล้อรถพ่วง , เปลี่ยนขนาดล้อของรถจักรและรถลำเลียงเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรางกว้าง 1 เมตร โดยใช้วิธีเดียวกันกับแบบรถจักรไอน้ำ C56 คือ การใช้แว่นล้อเดิมที่ใช้งานกับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร แต่เปลี่ยนปลอกล้อใหม่ให้มีความกว้างของพื้นล้อมากขึ้นเพื่อให้เกาะกับรางกว้าง 1 เมตร ซึ่งวิธีการนี้เองทำให้พื้นล้อกำลังของรถจักรไอน้ำทั้งสองรุ่นนี้กว้างกว่างรถจักรไอน้ำแบบอื่นที่ประเทศไทยเคยใช้การมา
รถจักรไอน้ำ C58 ที่ดัดแปลงเหล่านี้มีจำนวนทั้งหมด 51 คัน โดยทำการดัดแปลงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2487 สถานที่ที่ใช้ในการดัดแปลงรถนั้นประกอบไปด้วย โอมิยะ (Omiya) , ฮามะมะทสึ (Hamamatsu) , ทาคาโทริ (Takatori) และ โคคุระ (Kokura) จากนั้นจึงนำมาลงเรือที่ท่าเรือโกเบและท่าเรือโมจิเพื่อขนส่งมายังประเทศไทย โดยชุดแรกทำการขนลงเรือมา 25 คัน ซึ่งใช้เรือขนส่งหลายลำกระจายกันไป แต่การขนส่งนั้นไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นเพราะอยู่ในช่วงของปลายสงคราม มีกองทัพของพันธมิตรคอยขัดขวางกองเรือลำเลียงเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองเรือดำน้ำของสหรัฐอเมริกา จนในที่สุดเรือที่ทำการลำเลียงรถจักรไอน้ำ C58 จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อมาส่งยังประเทศไทยนั้นก็ถูกยิงจมลงไปเกือบทั้งหมด เหลือรอดมาได้เพียง 4 คันเท่านั้นจากทั้งหมด 25 คัน ที่ส่งมาในระยะแรก การสูญเสียนี้จึงทำให้มีการระงับการขนส่งรถจักรที่เหลืออีก 28 คัน ซึ่งในที่สุดรถจักรชุดหลังนี้ก็ไม่ได้ถูกขนส่งมายังประเทศไทยและเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆกลับคืนเพื่อใช้ในประเทศญี่ปุ่นตามเดิม
รถจักรไอน้ำ C58 ทั้ง 4 คัน ที่รอดจากการถูกยิงจมทะเลมาได้นั้น ประกอบไปด้วย
- C58-52 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 761 )
- C58-54 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 762 )
- C58-130 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 763 )
- C58-136 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 764 )
หมายเลข 761 และ 762 นั้น สร้างโดย Kawasaki ในปี พ.ศ. 2481 / ส่วนหมายเลข 763 และ 764 สร้างโดย Kisha Seizo ในปี พ.ศ. 2482
อย่างไรก็ตาม รถจักรไอน้ำ C58 ทั้ง 4 คันนี้ก็ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากมีน้ำหนักกดเพลาถึง 13.5 ตัน ในขณะที่รางรถไฟของไทยในสมัยนั้นรับน้ำหนักกดเพลาได้เพียง 10.5 ตันเท่านั้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง รถจักรเหล่านี้ยังคงอยู่ใช้งานในประเทศไทย แต่น้ำหนักรถจักรที่มากนั้นทำให้ต้องกำหนดขอบเขตการใช้งาน จนในที่สุดก็ปลดระวางใช้งานไปก่อนกำหนดและไม่เหลือซากให้เห็นแม้แต่ชิ้นเดียว สำหรับภาพถ่ายของรถจักรรุ่นนี้ในช่วงที่ใช้งานอยู่ที่ประเทศไทยนั้นก็หายากมากที่สุด
รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 ในปัจจุบัน และบัญชีรถจักรไอน้ำแพรี่ C58 ในประเทศไทย
[แก้]ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 ในประเทศไทย ถูกตัดบัญชีทั้งหมด 4 คันแล้ว แต่ส่วนในประเทศญี่ปุ่นซึ่งจอดเป็นอนุสรณ์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันมีเพียงแค่ 2 คันเท่านั้นที่ยังคงอยู่ในสภาพใช้การได้ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ได้แก่
ประเทศไทย (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.000 เมตร) (Metre gauge)
[แก้]หมายเลข รฟท. | หมายเลข JNR | ผู้ผลิต | ปีที่ผลิต | หมายเลขที่ผลิต | ขนาดความกว้างของรางรถไฟ |
---|---|---|---|---|---|
761 | C58 52 | Kawasaki[4] | พ.ศ. 2481[5] | 2038 | 1.000 เมตร (Metre gauge) |
762 | C58 54 | 2040 | |||
763 | C58 130 | Kisha Seizo[6] | พ.ศ. 2482[7] | 745 | |
764 | C58 136 | 751 |
ประเทศญี่ปุ่น (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.067 เมตร) (Cape gauge)
[แก้]- C58 1 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟ Umekoji ในส่วนของพิพิธภัณฑ์รถไฟเกียวโต ในนครเกียวโต
- C58 5 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Tochinoki Family Land ในเมืองอุตสึโนมิยะ ในจังหวัดโทจิงิ
- C58 12 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองทากามัตสึ, จังหวัดคานางาวะ
- C58 16 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในตำบลมินามิซันริกุ, อำเภอโมโตโยชิ จังหวัดมิยางิ
- C58 19 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโอซากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58 33 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคิโยซาโตะ, จังหวัดฮกไกโด
- C58 36 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ห้องสมุดเทศบาล ในเมืองมาย, จังหวัดยามางูจิ
- C58 48 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ห้องโถงศตวรรษที่ 19 ในสถานีรถไฟโทโระคะโคะ, จังหวัดเกียวโต
- C58 49 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะใน เมืองคะเกะงะวะ, จังหวัดชิซูโอกะ
- C58 51 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองมัตสึซากะ, จังหวัดมิเอะ
- C58 56 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Poppo Land No. 2 ในเมืองฟูกูจิยามะ, จังหวัดเกียวโต
- C58 66 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Park Goryo ในเมืองโอซากะ, จังหวัดโอซากะ
- C58 82 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์กีฬาในเมืองมิโฮโระ, จังหวัดฮกไกโด
- C58 98 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองฟูคากาว่า, จังหวัดฮกไกโด
- C58 103 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมในเมืองอิชิโนะเซะกิ, จังหวัดอิวาเตะ
- C58 106 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคูชิโระ, จังหวัดฮกไกโด
- C58 112 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองชิบูชิ, จังหวัดคาโงชิมะ
- C58 113 จอดอยู่ที่เมืองไมซูรุ, จังหวัดเกียวโต
- C58 114 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโอซากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58 119 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะ SL ในเมืองคิตามิ, จังหวัดฮกไกโด
- C58 139 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองยูเบะซุ, จังหวัดฮกไกโด
- C58 170 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียน Hidaka Elementary ในเมืองโทะโยกะ, จังหวัดเฮียวโงะ
- C58 171 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโอบามะ, จังหวัดฟูกูอิ
- C58 212 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองสึรุงะ, จังหวัดฟูกูอิ
- C58 215 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียน Bange Elementary ในเมือง Aizubange, จังหวัดฟูกูชิมะ
- C58 217 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองอาซาฮิ, จังหวัดชิบะ
- C58 228 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองอิชิโนมากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58 231 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคะมิโนะยะมะ, จังหวัดยามางาตะ
- C58 239 รถจักรไอน้ำคันนี้สร้างขื้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2483 ปลดประจำการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ตั้งเป็นอนุสรณ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ที่บริเวณสวนสาธารณะในเมืองโมริโอกะ, จังหวัดอิวาเตะ ปัจจุบันใช้งานโดยเจอาร์-อีสต์ ในขบวนรถนำเที่ยว SL Ginga
- C58 244 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์พัฒนาในเมืองทะดะมิ, จังหวัดฟูกูชิมะ
- C58 275 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคาซามะ, จังหวัดอิบารากิ
- C58 277 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโคบายาชิ, จังหวัดมิยาซากิ
- C58 280 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาในเมืองมิโนกาโมะ, จังหวัดกิฟุ
- C58 295 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองซาคาอิเดะ, จังหวัดคากาวะ
- C58 304 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองชินโจะ, จังหวัดยามางาตะ
- C58 322 จอดอยู่ที่เมืองมิชิมะ, จังหวัดชิซูโอกะ
- C58 333 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ JR Shikoku Tadotsu Works ในเมืองทาโดะซุ, จังหวัดคากาวะ
- C58 335 จอดอยู่ที่เมืองโคจิ
- C58 342 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคิตากามิ, จังหวัดอิวาเตะ
- C58 353 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมือง Nachikatsuura, จังหวัดวากายามะ
- C58 354 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองริฟะ, จังหวัดมิยางิ
- C58 356 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟ Nakayama daira onsen ในเมืองโอซากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58 359 จอดเป็นนอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะคาเมยามะในเมืองคาเมยามะ, จังหวัดมิเอะ
- C58 363 ปัจจุบันใช้งานโดยชิชิบู ในขบวนรถด่วน Paleo
- C58 365 จอดเป็นนอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าโรงซ่อมของชิงกันเซ็งในเมืองริฟะ, จังหวัดมิยางิ
- C58 389 จอดเป็นนอนุสรณ์อยู่ที่สถานีรถไฟ Tenryū-Futamata Station ในนครฮามามัตสึ, จังหวัดชิซูโอกะ
- C58 390 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะคะยะในเมืองโยซะโนะ, จังหวัดเกียวโต
- C58 395 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสัตว์ฮามูรในเมืองฮามูระ, กรุงโตเกียว
- C58 407 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะโอซุกะไดในแขวงโทชิมะ, กรุงโตเกียว
- C58 414 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองทะมะกิ, จังหวัดมิเอะ
รูปภาพ
[แก้]-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-1
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-12
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-33 ขณะทำขบวนระหว่างสถานีรถไฟ Kitahama - สถานีรถไฟ Mokoto, จังหวัดฮกไกโด
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-36 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ห้องสมุดเทศบาล ในเมืองมาย, จังหวัดยามางูจิ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-49
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-51
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-56
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-98
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-103
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-106
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-112
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-113
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-114 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโอซากิ, จังหวัดมิยางิ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-139
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-170
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-171
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-179
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-212
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-239
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-275
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-322
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-333
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-335
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-356
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-359
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-363
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-365
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-389
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-390
-
รถจักรไอน้ำแพรี่ C58-414
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://locosiam.blogspot.com/2014/01/blog-post.html
- ↑ http://trainthai.blogspot.com/2013/01/blog-post_17.html
- ↑ https://locosiam.blogspot.com/2014/01/blog-post.html
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20