ข้ามไปเนื้อหา

มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์
三菱重工業株式会社
ประเภทมหาชน
ร่วมทุน
การซื้อขาย
TYO: 7011
ISINJP3900000005 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมวิศวกรรม
อวกาศยาน
อากาศยาน
ป้องกันประเทศ
อุปกรณ์ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ก่อตั้ง
  • 7 กรกฎาคม 1884; 140 ปีก่อน (1884-07-07) (เริ่มแรก)
  • 11 มกราคม 1950; 74 ปีก่อน (1950-01-11) (ควบรวม)
ผู้ก่อตั้งอิวาซากิ ยาตาโร Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่เขตมินาโตะ กรุงโตเกียว
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักฮิเดะอะกิ โอมิยะ (ประธานกรรมการ)
ชุนอิชิ มิยะนะงะ (ประธานบริหาร)
รายได้เพิ่มขึ้น 3.992 ล้านล้านเยน (FY2015)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 1.104 แสนล้านเยน (FY2015)
ส่วนของผู้ถือหุ้น2.656 ล้านล้านเยน
พนักงาน
80,583 คน (2014)
บริษัทแม่มิตซูบิชิกรุ๊ป
เว็บไซต์www.mhi-global.com

มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ (ญี่ปุ่น: 三菱重工業株式会社โรมาจิมิสึบิชิจูโกเงียว คาบูชิกิไคฉะ) เป็นบริษัทข้ามชาติทางด้านอุตสาหกรรมหนักและวิศวกรรมของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งบริษัทในเครือมิตซูบิชิ ปัจจุบันผลิตตั้งแต่ ยานอวกาศ, ขีปนาวุธ, จรวด, ตอร์ปิโด, อากาศยาน, รถหุ้มเกราะ, เครื่องยนต์, ชิ้นส่วนยานยนต์, รถยก, อุปกรณ์ไฮโดรลิก, หุ่นยนต์, เรือพลเรือน, เรือรบ, เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ในปี 2015 ได้รับการจัดอันดับเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 27 ของญี่ปุ่น [1] ทั้งนี้ในยุคจักรวรรดิญี่ปุ่น บริษัทแห่งนี้ถือเป็นบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มีบทบาทสำคัญในการสร้างชาติญี่ปุ่นและเป็นหนึ่งบริษัทหลักใน ไซบัตสึ

ประวัติ

[แก้]
เครนยักษ์ของอู่ต่อเรือมิตซูบิชินางาซากิ ในยุคเมจิ

ในปี 1884 อิวาซากิ ยาตาโร ผู้ก่อตั้งมิตซูบิชิ ได้เช่าโรงเหล็กในเมืองนางาซากิจากรัฐบาลญี่ปุ่น และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงงานเครื่องจักรกลและอู่ต่อเรือนางาซากิ

ในปี 1887 ยาตาโรสามารถซื้อที่ดินในโยโกฮามะได้สำเร็จ โรงงาน Mitsubishi Heavy Industries - Yokohama Machinery Works จึงถือกำเนิดขึ้นภายใต้ชื่อ บริษัทอู่เรือโยโกฮามะ งานหลักคือการซ่อมบำรุงเรือ ต่อมาในปี 1893 โรงงานแห่งนี้ก็เปลี่ยนชื่อเป็น อู่ต่อเรือมิตซูบิชิของมิตซูบิชิโกะชิไคฉะ

ในปี 1905 ได้มีการจัดตั้ง อู่ต่อเรือโคเบะ ของมิตซูบิชิโกะชิไคฉะ ขึ้นที่โคเบะ

ในปี 1914 ได้มีการตั้งโรงงาน Mitsubishi Heavy Industries - Shimonoseki Shipyard & Machinery Works ขึ้นที่เมืองชิโมะโนะเซะกิ ผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมและเรือขนส่งสินค้า[2]

ในปี 1917 บริษัทในนางาซากิได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อู่ต่อเรือและวิศวกรรมมิตซูบิชิ จำกัด และในปี 1934 ก็ควบรวมกับบริษัทในโคเบะ และเปลี่ยนเป็นชื่อ มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ และกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นยุคนั้น ผลิตทั้งเรือ, เครื่องบินใบพัด, รถราง, เครื่องจักรกลหนัก ต่อมาในปี 1935 ก็มีการผนวกบริษัทอู่ต่อเรือโยโกฮามะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท[3]

ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ได้แตกออกเป็นสามบริษัท คือบริษัทมิตซูบิชินางาซากิกลายเป็นบริษัท เวสต์เจแปนเฮฟวีอินดัสทรีส์, อู่ต่อเรือในนางาซากิกลายเป็น บริษัทวิศวกรรมและอู่ต่อเรือมิตซูบิชิ[4] และอู่ต่อเรือในโคเบะกลายเป็นบริษัท เซ็นทรัลเจแปนเฮฟวีอินดัสทรีส์[5]ต่อมาในปี 1964 บริษัททั้งสามแห่งได้ควบรวมเป็นบริษัทเดียว ภายใต้ชื่อ มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ ในการนี้ โรงงานในโคเบะถูกเปลี่ยนเป็นชื่อ Mitsubishi Heavy Industries - Kobe Shipyard & Machinery Works[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 2015 Global 2000: The World's Largest Banks Forbes
  2. Shimonoseki Shipyard & Machinery Works. "Outline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  3. Yokohama Machinery Works. "Outline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  4. Nagasaki Shipyard & Machinery Works. "History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  5. Kobe Shipyard & Machinery Works. "Brief History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-03-02.
  6. Kobe Shipyard & Machinery Works. "Outline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]