เอ็นไอไอ (รถดีเซลราง)
Diesel-Railcar Niigata / NII | |
---|---|
รถดีเซลรางเอ็นไอไอ ที่สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย | |
ประจำการ | พ.ศ. 2505 - 2539 |
ผู้ผลิต | นีงาตะ เอ็นจิเนียริ่ง |
เข้าประจำการ | พ.ศ. 2505 |
จำนวนที่ผลิต | 6 คัน (รถกำลัง 3 คัน / รถพ่วง 3 คัน) |
รูปแบบการจัดขบวน | [พซข.]+[กซข.] |
หมายเลขตัวรถ | พซข.1 - 3 , กซข.1001 - 1003 |
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | เหล็กกล้า |
ความยาว | 20.800 เมตร |
ความกว้าง | 2.815 เมตร |
ความสูง | 3.566 เมตร |
จำนวนประตู | 4 (ข้างละ 2) |
รูปแบบการจัดวางล้อ | 2-A1 |
ความเร็วสูงสุด | 85 กม./ชม. |
น้ำหนัก | 30 ตัน (รถพ่วง) 31 ตัน (รถกำลัง) |
น้ำหนักกดเพลา | 7.50ตัน (รถพ่วง) 7.75 ตัน (รถกำลัง) |
ระบบส่งกำลัง | ไฮดรอลิก |
เครื่องยนต์ | Cummins NHH 220 B1 |
กำลังขับเคลื่อน | 220 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที |
ระบบปรับอากาศ | พัดลม |
ระบบเบรก | ลมอัด (2 สูบ) |
มาตรฐานทางกว้าง | 1.000 เมตร |
เอ็นไอไอ (NII) หรือ รถดีเซลรางนีงาตะ (อังกฤษ: Niigata Diesel Railcar) (เรียกแบบการรถไฟแห่งประเทศไทยว่า รถดีเซลรางนิอิกาตะ) เป็นรถดีเซลรางแบบเป็นชุดขบวน (DMU) รุ่นแรกของการรถไฟแห่งประเทศไทย[1] ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร สั่งซื้อจากบริษัทนีงาตะ เอ็นจิเนียริ่ง, ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 [2][3] รถดีเซลรางนีงาตะ ยังเป็นต้นแบบให้รถดีเซลรางอีกหลายรุ่นในไทย
ประวัติ
[แก้]ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง รถดีเซลราง จากประเทศญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสูงขึ้น มีความคล่องตัวในการใช้งาน
พ.ศ.2503 การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงตัดสินใจจัดหารถดีเซลรางแบบชุดขบวน(DMU) มาเพื่อการศึกษาจำนวน 3 ชุด จากบริษัทนีงาตะ เอ็นจิเนียริ่ง, ประเทศญี่ปุ่น และได้เข้าประจำการในปี พ.ศ.2505 ซึ่งปรากฏผลเป็นที่พึ่งพอใจ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสั่งซื้อรถดีเซลราง ตามมาอีกหลายรุ่น [1]
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- ประเภท : รถดีเซลราง
- ชื่อรุ่น : NII (Diesel-Railcar Niigata)
- รุ่นเลขที่:
- พซข.1 - 3 (รถพ่วงดีเซลราง) จำนวน 3 คัน
- กซข.1001 - 1003 (รถกำลังดีเซลราง) จำนวน 3 คัน
- เครื่องยนต์ : Cummins NHH 220 B1
- กำลังขับเคลื่อน : 220 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (เดิม)
- ระบบขับเคลื่อน : ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังแบบไฮดรอลิค (Hydraulic Torque Converter)
- ความเร็วสูงสุด : 85 กม./ชม.
- น้ำหนักตัวรถ : 30 ตัน (รถพ่วง)
31 ตัน (รถกำลัง) - น้ำหนักกดเพลา : 7.50ตัน (รถพ่วง)
7.75 ตัน (รถกำลัง) - ประตูขึ้น-ลงรถ : ประตูอัตโนมัติ 4 ประตู ข้างละ 2 ประตู
(เฉพาะ กซข.1003 มีประตูห้องสัมภาระ) - จำนวนที่นั่ง :
- ผู้ผลิต : นีงาตะ เอ็นจิเนียริ่ง
- ปีที่เข้าประจำการ: พ.ศ. 2505 - 2539
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 114.
- ↑ การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 118.
- ↑ การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วง การพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2554, หน้า 76. ISBN 978-974-9848-99-9.