ข้ามไปเนื้อหา

ซีเอสอาร์ (รถจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
CSR SDA3 / CSR
รถจักรดีเซลไฟฟ้า CSR 5114 ที่ สถานีรถไฟชลบุรี
ประเภทและที่มา
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรดีเซลไฟฟ้า[1]
ผู้สร้างซีเอสอาร์ ชิซูเยี่ยน
หมายเลขตัวรถ5101 - 5120
โมเดลSDA3
จำนวนผลิต20 คัน
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AARCo-Co
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
โบกี้Co-Co
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ1,067 mm (42.0 in)
รัศมีโค้งแคบ130 m (430 ft)
ความยาว20.49 m (807 in)
ความกว้าง2.836 m (111.7 in)
ความสูง4.00 m (157 in)
น้ำหนักกดเพลา20 ตัน ต่อเพลา
น้ำหนักยึดเกาะ51.3 ตัน
น้ำหนักทำงาน120 ตัน
ความจุเชื้อเพลิง5,500 ลิตร
ความจุน้ำมันหล่อลื่น530 ลิตร
ความจุน้ำ705 ลิตร
ความจุทราย240 ลิตร
เครื่องยนต์Caterpillar C175-16 Acert
พิสัยรอบต่อนาที700 - 1800 รอบต่อนาที
ชนิดเครื่องยนต์4 จังหวะ V16 Diesel
Aspirationเทอร์โบชาร์จเจอร์
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสลับTGA18B
เครื่องปั่นไฟCDJF201N
มอเตอร์ลากจูงCDJD114 x 6
ขนาดลูกสูบ175mm x 220mm
ระบบส่งกำลังAC-DC-AC (Electric Transmission)
ระบบเบรคทั้งหมดWabtec 26-LA (ลมอัด)
ไดนามิกเบรค
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด100 km/h (62 mph)
กำลังขาออก3,800 แรงม้า (2,800 กิโลวัตต์)
แรงฉุด:
 • เริ่มต้น460 kN (100,000 lbf)
 • ต่อเนื่อง360 kN (81,000 lbf) ที่ 17.7 km/h (11 mph)
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประจำการครั้งแรกพ.ศ. 2558
การจัดการประจำการในปัจจุบัน 20 คัน

ซีเอสอาร์ เอสดีเอ3 (CSR SDA3) หรือ ซีเอสอาร์ (CSR) เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำบวนรถสินค้าโดยเฉพาะ[2] สั่งซื้อจาก บริษัท CSR Qishuyan co.,ltd. มณฑลเจียงซู, ประเทศจีน (ปัจจุบันคือ CRRC Qishuyan co.,ltd.) เมื่อปี พ.ศ. 2558[3] รถจักร CSR เป็นรถจักรที่มีน้ำหนักกดเพลามากถึง 20 ตัน/เพลา (U20) รุ่นแรกของ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ยังเป็นรถจักรที่สั่งซื้อใหม่ในรอบ 20 ปี โดยหลังจากการสั่งซื้อ รถจักร จีอีเอ (GEA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ก็ไม่มีการสั่งซื้อรถจักรเพื่อมาทำขบวนสินค้าอีกเลยจนถึงปี พ.ศ. 2558

รถจักร CSR SDA3 งานหลักคือ การลากจูงขบวนรถสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เช่น ข.553/554 ขนเกลือสินเธาว์ ไปยังชุมทางบัวใหญ่ (ปัจจุบัน), รถสินค้า ICD (อดีต) และรถสินค้าระหว่างประเทศไปหนองคาย ข.555/556 ข.557/558 ข.559/560 (บางครั้ง) อีกทั้งยังมีบทบาท ในการช่วยทำรถสินค้าระหว่างทางตอนภูเขาช่วง ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ หรือ ตลอดหนองคาย และมีบางโอกาสบ้าง ที่จะมาในเส้นทาง ชุมทางแก่งคอย - ปากช่อง รถจักรคันนี้สามารถลากจูงขบวนรถหนักได้มากถึง 2,500 ตัน ต่อ 1 ขบวน หรือคิดเป็น 1,250 หน่วย ทั้งนี้แล้วรถจักรที่สามารถทำรถสินค้าได้นั้นก็มีหลากหลาย เช่น Alsthom, Hitachi, GEA หรือรุ่นใหม่ล่าสุดคือรถจักร QSY

ขบวนรถประจำของ CSR SDA3 คือ ขบวนรถสินค้าที่ 553/554 วิ่งเส้นทาง มาบตาพุด - ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ โดยขาไปจะเป็นเที่ยวตู้คอนเทนเนอร์เปล่าไม่มีบรรทุก และขากลับนั้นจะเป็นเที่ยวบรรทุกเกลือสินเธาว์ จากชุมทางบัวใหญ่ มุ่งหน้าสู่สถานีมาบตาพุด เพื่อทำการขนส่งต่อไป

หมายเลข 5105 และ 5106 ที่ได้ทำการติดตั้งระบบ European Train Control System

รถจักร CSR SDA3 หมายเลข 5105 5117 5118 ณ ชุมทางศรีราชา
รถจักร CSR SDA3 หมายเลข 5118 ณ ชุมทางศรีราชา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "SDA3 AC Transmission Diesel Locomotive". May 18, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-13. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  2. "ร.ฟ.ท.รับมอบรถจักรดีเซลรุ่นใหม่จากจีน". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "SDA3 AC Transmission Diesel Locomotive". May 18, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-13. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]