จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
General Electric CM22-7i / GEA |
---|
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA 4551 จอดในย่านสถานีอุบลราชธานี |
|
คุณลักษณะ |
---|
การกำหนดค่า:
| |
---|
• AAR | Co-Co |
---|
ช่วงกว้างราง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) |
---|
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ | 914 mm (36.0 in) |
---|
รัศมีโค้งแคบ | 122 m (400 ft) |
---|
ความยาว | 19.355 m (762.0 in) |
---|
ความกว้าง | 2.820 m (111.0 in) |
---|
ความสูง | 3.635 m (143.1 in) |
---|
น้ำหนักกดเพลา | 15 ตัน ต่อเพลา (U15) |
---|
น้ำหนักทำงาน | 90 ตัน |
---|
ความจุเชื้อเพลิง | 4,540 ลิตร |
---|
ความจุน้ำมันหล่อลื่น | 212 ลิตร ต่อเครื่อง |
---|
ความจุน้ำ | 397 ลิตร |
---|
ความจุทราย | 500 ลิตร |
---|
เครื่องยนต์ | Cummins KTA50-L x 2 |
---|
พิสัยรอบต่อนาที | 700 - 1800 รอบต่อนาที |
---|
ชนิดเครื่องยนต์ | 4 จังหวะ V16 Diesel |
---|
Aspiration | เทอร์โบชาร์จเจอร์ |
---|
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสลับ | 5 GMG 200 x 2 |
---|
มอเตอร์ลากจูง | 5GE792 A1 x 6 |
---|
ระบบส่งกำลัง | DC-DC-DC (Electric transmission) |
---|
ระบบเบรคทั้งหมด | Wabco-26L (ลมอัด) |
---|
เครื่องปั้มลมอัด | Knorr VV450/150-3 x 2 ที่ 1800 รอบต่อนาที (3200 ลิตร) |
---|
|
ค่าประสิทธิภาพ |
---|
ความเร็วสูงสุด | 100 km/h (62 mph) |
---|
กำลังขาออก | 2,500 แรงม้า (1,900 กิโลวัตต์) ที่ 1,800 รอบต่อนาที |
---|
แรงฉุด:
| |
---|
• เริ่มต้น | 265 kN (60,000 lbf) |
---|
• ต่อเนื่อง | 174 kN (39,000 lbf) ที่ 32.1 km/h (20 mph) **แรงดึงเทียบเท่าหรือมากกว่า HID |
---|
|
การบริการ |
---|
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
---|
ประจำการครั้งแรก | พ.ศ. 2538 |
---|
ปลดประจำการ | 2 คัน |
---|
การจัดการ | ประจำการในปัจจุบัน 36 คัน |
---|
|
เจเนอรัล อิเล็กทริก ซีเอ็ม22-7ไอ (General Electric CM22-7i) หรือ จีอีเอ (GEA) เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า สั่งซื้อจากบริษัท General Electric Transportation รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2538 จำนวนทั้งสิ้น 38 คัน[1]
หลังจากได้นำเข้ารถจักร เอชไอดี จำนวน 22 คันเข้ามา[1] ภายหลังก็ได้มีการนำเข้ารถจักร GEA เข้ามาเพื่อใช้งานในการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งรถจักรนี้มีบทบาทอย่างมากในการทำขบวนรถไฟโดยสาร และยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามขบวนรถด่วนพิเศษ ขบวนรถด่วน ขบวนรถเร็ว ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถท้องถิ่น และขบวนรถสินค้า โดยประเภทขบวนรถทั้งหมดที่ว่ามาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำเป็นในการพร้อมใช้งานเพื่อทำขบวนนั้นๆ ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด[2]
รถจักร GEA คือรถจักรที่มีเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ใช้เป็น Cummins KTA50-L 4 จังหวะ V16 เครื่องยนต์ดีเซล ให้กำลังรวมอยู่ที่ 2,500 แรงม้า สามารถรับน้ำมันได้ 4,540 ลิตร ความเร็วสูงสุดที่สามารถวิ่งได้คือ 100 กม./ชม. ซึ่งมีความคล้ายกับรถจักร เอชไอดี ในปัจจุบันต่างกันแค่รหัสของเครื่องยนต์ แคร่ของรถจักรนี้มีมอเตอร์ลากจูงหรือที่เรียกว่า Traction motor แบบ DC ติดตั้งอยู่ 1 ตัวต่อเพลา ดังนั้นมีทั้งหมด 6 ตัว ในการช่วยขับเคลื่อนรถจักรเพื่อลากจูงรถโดยสาร และรถสินค้าหนักๆได้สบาย ด้วยแรงดึงเริ่มต้นที่ 265 kN และแรงดึงต่อเนื่องที่ 174 kN ที่ความเร็ว 32.1 กม./ชม. และเนื่องด้วยรถจักรมีระบบระบายความร้อนแบบเก่า เมื่อเวลาทำขบวนรถหนักขึ้นทางภูเขาเครื่องยนต์อาจร้อนได้ง่าย เมื่อเทียบกับรถจักรใหม่ CSR และ QSY ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้งานอยู่ [3]
รายชื่อหมายเลขรถจักร
[แก้]