เอดีอาร์ (รถดีเซลราง)
Daewoo Railcar / ADR | |
---|---|
รถดีเซลรางแดวู 2529 กำลังวิ่งผ่านสถานีการเคหะ | |
ประจำการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ผู้ผลิต | แดวู เฮฟวี อินดัสทรีส์. |
เข้าประจำการ | พ.ศ. 2538 - 2539 |
จำนวนที่ผลิต | รถดีเซลราง 40 คัน (แบบมีห้องขับ 32 คัน, แบบไม่มีห้องขับ 8 คัน) รถพ่วงดีเซลราง 40 คัน |
จำนวนในประจำการ | 39 (รถดีเซลราง) |
จำนวนที่ปลดระวาง | 1 (รถดีเซลราง) |
หมายเลขตัวรถ | กซข.ป.2513 - 2524 (APD.20), กซข.ป.2524 - 2544 (APD.60), กซม.ป.2121 - 2128 (APN.20), พซน.ป.1101 - 1140 (ปัจจุบัน บนท.ป.1101 - 1140) |
ความจุผู้โดยสาร | 72 ที่นั่ง/คัน (APD.20) 76 ที่นั่ง/คัน (APN.20) 64 ที่นั่ง/คัน (APD.60) |
โรงซ่อมบำรุง | โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ, โรงรถดีเซลรางบางซื่อ (LD Depot) |
สายที่ให้บริการ | สายตะวันออก, สายตะวันเฉียงเหนือ, สายใต้, สายเหนือ |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | สแตนเลสสตีล |
ความยาว | 24.300 เมตร |
ความกว้าง | 2.705 เมตร (APD.20,APN.20) 2.900 เมตร (APD.60) |
ความสูง | 3.886 เมตร |
จำนวนประตู | 2 ประตู |
รูปแบบการจัดวางล้อ | 2-A1 |
ความเร็วสูงสุด | 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 44.60 ตัน (APD.20) 43.50 ตัน (APN.20) 42.30 ตัน (APD.60) ใช้การ 47.20 ตัน (APD.20) 46.10 ตัน (APN.20) 46.10 ตัน (APD.60) |
น้ำหนักกดเพลา | 11.80 ตัน (APD.20) 11.53 ตัน (APN.20) 11.53 ตัน (APD.60) |
เครื่องยนต์ | Cummins NTA855-R1 |
กำลังขับเคลื่อน | 350 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที |
แรงฉุดลาก | ไฮดรอลิก |
ชุดส่งกำลัง | Voith T211rZ |
ความเร่ง | 0-70 กม./ชม. ที่ 0.97 m/s 70-120 กม./ชม. ที่ 0.41 m/s |
แหล่งจ่ายไฟ | Perkins 1006-6TG ที 1,500 รอบ/นาที |
ระบบปรับอากาศ | Sigma RPR 40 LX 1 ขนาด 136,500 BTU |
แคร่ล้อ | DTG-08 (APD.20) DTD-08 (APN.20) DTG-09 (APD.60) DTD-09 (บนท.ป.11xx) |
ระบบเบรก | ลมอัด 2 สูบ |
ระบบความปลอดภัย | ETCS สำหรับ กซข.ป.2531,2534,2541,2542 |
มาตรฐานทางกว้าง | 1.000 เมตร |
เอดีอาร์ (ADR) (อังกฤษ: Air conditioner Daewoo Railcar) หรือ รถดีเซลรางแดวู (อังกฤษ: Daewoo Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง สั่งซื้อจากบริษัท แดวู เฮฟวี อินดัสทรีส์. ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - 2539 เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของผู้โดยสาร ที่นิยมโดยสารด้วยรถไฟปรับอากาศ รถดีเซลรางแดวูยังถูกนำมาใช้รองรับการโดยสารของนักท่องเที่ยวในมหกรรมกีฬาซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ช่วงปี พ.ศ.2538 - 2541 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยในขณะนั้นอีกด้วย
รุ่น
[แก้]รถดีเซลรางแดวู มีชื่อเรียกรุ่นว่า เอดีอาร์ (ADR) (อังกฤษ: Air conditioner Daewoo Railcar) แต่ก็ยังมีรุ่นย่อยและประเภทที่แตกต่างกัน เพราะมีการสั่งซื้อหลายครั้ง หลายจุดประสงค์การใช้งาน
เอดีอาร์ (ADR) รุ่น 20
[แก้]เป็นรถดีเซลรางแดวูล็อตแรก โดยเป็นรถนั่งดีเซลรางทั้งหมด มีมิติรถที่เล็กตามขนาดของรถไฟรุ่นเก่า ๆ เพื่อไม่ให้กระทบกับความกังวลด้านข้อจำกัดของเขตโครงสร้างต่าง ๆ แต่มีที่นั่งที่มากกว่าล็อตอื่น ๆ มักถูกเรียกว่า แดวูผอม
- แดวู ดีอาร์เอช-11 (Daewoo DRH-11) /
เอดีอาร์ (ADR)แบบเอพีดี.20 (APD.20)
รุ่นเลขที่ กซข.ป. 2513 – 2524 (มีห้องขับ) จำนวน 12 คัน
- แดวู ดีอาร์เอช-12 (Daewoo DRH-12) /
เอดีอาร์ (ADR)แบบเอพีเอ็น.20 (APN.20)
รุ่นเลขที่ กซม.ป. 2121 – 2128 (ไม่มีห้องขับ) จำนวน 8 คัน
เอดีอาร์ (ADR) รุ่น 60
[แก้]เป็นรถดีเซลรางแดวูล็อตที่สอง โดยมีทั้งรถนั่งดีเซลราง และ รถพ่วงดีเซลรางแบบนั่งและนอน โดยมีมิติรถที่มีความกว้างมากกว่าล็อตแรก 19.5 เซนติเมตร โดยสร้างให้มีขนาดกว้างพอดีกับเขตโครงสร้าง และเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ มักถูกเรียกว่า แดวูอ้วน รถดีเซลรางแดวูล็อตนี้ได้เป็นมาตรฐานของขนาดรถไฟไทยในยุคใหม่ ที่ได้ใช้รถไฟที่มีมิติรถที่ใหญ่ขึ้นตามมาในอีกหลายรุ่น
- แดวู ดีอาร์เอช-13 (Daewoo DRH-13) /
เอดีอาร์ (ADR)แบบเอพีดี.60 (APD.60)
รุ่นเลขที่ กซข.ป. 2525–2544 (มีห้องขับ) จำนวน 20 คัน
- แดวู ดีพีจี-09 (Daewoo DPG-09) /
เอดีอาร์ (ADR)แบบเอเอ็นที. (ANT.)
รุ่นเลขที่ พซน.ป. 1101–1140 (รถพ่วงดีเซลรางแบบนั่งและนอนไม่มีห้องขับ) จำนวน 40 คัน
โดยในปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็น บนท.ป.1101 - 1140 (รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2) เพื่อนำไปใช้พ่วงร่วมกับขบวนรถต่าง ๆ ซึ่งใช้งานได้คล่องตัวกว่า ปัจจุบันมีพ่วงอยู่ในขบวนรถด่วนที่ 83/84 (กรุงเทพฯ-ตรัง-กรุงเทพฯ) และรถด่วนขบวนที่ 85/86 (กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ)
ด้านการใช้งาน
[แก้]แม้ว่ารถดีเซลรางแดวูจะมีหลายรุ่น แต่ในการใช้งานจริง ก็ได้มีการจัดให้ใช้งานได้ร่วมกัน เพราะระบบต่าง ๆ เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด เลยมักจะได้เห็นรถดีเซลรางแดวูที่มีริ้วขบวนแบบมีรถต่างขนาดกันในขบวนเดียวกัน
ปัญหาและข้อวิจารณ์
[แก้]เรือด
[แก้]ในช่วงปลาย พ.ศ. 2550 – ต้น พ.ศ. 2551 ได้พบเรือดบนเบาะในตู้โดยสารของรถดีเซลรางแดวู[1][2][3] ทำให้ขบวนรถที่ใช้รถดีเซลรางแดวูหลายขบวนต้องงดให้บริการหรือใช้รถดีเซลรางสปรินเตอร์ทำการแทน เพื่อกำจัดเรือดและเปลี่ยนเบาะหนังเทียมเป็นแบบใหม่
เปลี่ยนสีและเสียงหวีด
[แก้]รถดีเซลรางแดวูเป็นรถดีเซลรางที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนเป็นสาเหตุทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ มักจะเป็นอุบัติเหตุรุนแรงหลายครั้ง เนื่องจากมีจุดตัดที่ไม่มีเครื่องกั้นหรือทางลักผ่านหลายจุด และผู้ขับขี่พาหนะทางถนนไม่เคารพกฎจราจร[4] ทำให้รถดีเซลรางแดวูเคยต้องทำสีด้านหน้ารถใหม่หลายแบบโดยเพิ่มสีโทนเหลืองเพื่อเพิ่มจุดสังเกต แต่อุบัติเหตุก็ไม่ได้ลดลง เลยมีการเปลี่ยนเสียงหวีดใหม่ เป็นเสียงหวีดยี่ห้อ Nathan AirChime รุ่น K3LA คล้ายกับที่ใช้ในรถจักรของแอ็มแทร็กในสหรัฐ เพื่อที่จะใช้จะเตือนผู้ขับขี่พาหนะทางถนนให้ดียิ่งขึ้น เพราะเสียงหวีดดั้งเดิมมีเสียงที่ค่อนข้างเบา ได้ยินในระยะที่ไม่ไกลมาก
ขบวนรถที่ให้บริการ
[แก้]- ปัจจุบัน
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพอภิวัฒน์–สวรรคโลก–ศิลาอาสน์–กรุงเทพอภิวัฒน์ (วิ่งแทนสปรินเตอร์เป็นบางครั้ง) (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 7/8 กรุงเทพอภิวัฒน์–เชียงใหม่–กรุงเทพอภิวัฒน์
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 21/22 กรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 39/40 กรุงเทพอภิวัฒน์–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 41/42 กรุงเทพอภิวัฒน์–ยะลา–กรุงเทพอภิวัฒน์ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราวและในอนาคตอาจจะกลับมาให้บริการอีกครั้ง)
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43/44 กรุงเทพอภิวัฒน์–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
- ขบวนรถเร็วที่ 997/998 กรุงเทพ–จุกเสม็ด–กรุงเทพ (วิ่งแทนสปรินเตอร์เป็นบางครั้ง)
- อดีต
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 11/10 กรุงเทพฯ–เชียงใหม่–กรุงเทพฯ (ปัจจุบันยกเลิกการเดินรถแล้ว)
- ขบวนรถด่วนที่ 71/74 กรุงเทพฯ–ศรีสะเกษ–กรุงเทพฯ (เคยวิ่งแทนทีเอชเอ็นในช่วง พ.ศ. 2548–2549 และ พ.ศ. 2552–2553)[5]
- ขบวนรถด่วนที่ 73/72 กรุงเทพฯ–ศีขรภูมิ–กรุงเทพฯ (เคยวิ่งแทนทีเอชเอ็นในช่วง พ.ศ. 2548–2549)
- ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 947/948 และ 949/950 ชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์–ชุมทางหาดใหญ่ (ปัจจุบันใช้รถจักรดีเซลพ่วงรถนั่งชั้น 3 ทำขบวนแทน)
ระเบียงภาพ
[แก้]-
รถดีเซลรางแดวู หมายเลข 2544 (ลายสีเก่า ไม่ทราบขบวน) ขณะจอดที่สถานีรถไฟดอนเมือง
-
รถดีเซลรางแดวู หมายเลข 2515 (ลายสีเก่า ไม่ทราบขบวน) ขณะจอดที่สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 21 กรุงเทพฯ–อุบลราชธานี ที่ชานชาลาที่ 1 สถานีรถไฟบุรีรัมย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ตัวเรือด บุกดีเซลราง Daewoo". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กองทัพ'ตัวเรือด'ระบาดในเบาะรถไฟ - รุมกัดผู้โดยสาร". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ขนลุกไต่ยุ่บยั่บ ตัวเรือด ในเบาะนั่งรถไฟ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เรื่องน่ารู้ก่อนโดยสารรถไฟไทย". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เล่าเรื่องรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)