ข้ามไปเนื้อหา

เจเอ็นอาร์ คลาสซีเอ็กซ์ 50

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก หมายเลข 850 ซึ่งจอดรอในโรงรถจักรธนบุรี
ประเภทและที่มา
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก การรถไฟแห่งประเทศไทย
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรไอน้ำ
ผู้สร้างสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น
(คาวาซากิเฮฟวีอินดรัสทรีส์, นิปปอน ชาร์เรียว, ฮิตาชิ)
หมายเลขตัวรถ283–292, 821–850 (ประเทศไทย)
81–85 (ประเทศจอร์แดน)
จำนวนผลิต45 คัน
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AAR4-6-2 (แปซิฟิก)
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in) (ประเทศไทย)
1,050 mm (3 ft 5 1132 in) (ประเทศจอร์แดน)
ความยาว19,335 mm (761.2 in)
ความกว้าง3,850 mm (152 in)
ความสูง2,750 mm (108 in)
น้ำหนักกดเพลา10.5 ตัน
Adhesive weight31.5 ตัน
Loco weight51.3 ตัน
ความจุเชื้อเพลิง10 m3 (350 cu ft)
ลูกสูบ2
Loco brakeลมดูด (เดิม), ลมอัด (ปัจจุบัน)
Train brakesลมดูด
ลมอัด (เฉพาะหมายเลข 824 และ 850 ของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2555 และ รถจักรของประเทศจอร์แดน)
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด75 km/h (47 mph)
กำลังขาออก1,280 แรงม้า (950 กิโลวัตต์)
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประเทศจอร์แดน
ประจำการครั้งแรกพ.ศ. 2485-2486 (หมายเลข 283–292, ประเทศไทย)
พ.ศ. 2493 (หมายเลข 821–850, ประเทศไทย)
พ.ศ. 2501–2502 (หมายเลข 81–85, ประเทศจอร์แดน)
ปลดประจำการ40 คัน
การจัดการประจำการในปัจจุบัน 5 คัน

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก[1] (อังกฤษ: SRT Class Japanese Pacific) หรือ รถจักรไอน้ำแปซิฟิก หรือรู้จักในชื่อรุ่นสายการผลิต รถจักรไอน้ำ ซีเอ็กซ์ 50 (ญี่ปุ่น: CX50形蒸気機関車)[2] เป็นรถจักรไอน้ำประเภท 4-6-2 สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นระหว่าง พ.ศ. 2485 ถึง 2496 ถูกใช้ในประเทศไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยจำนวน 45 คัน และทางรถไฟสายเฮดญาซจอร์แดน ประเทศจอร์แดน จำนวน 5 คัน

ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 รถจักรไอน้ำแปซิฟิกจำนวน 2 คัน เป็นหนึ่งในรถจักรไอน้ำของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ได้รับการบูรณะและใช้เป็นขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำในช่วงวันสำคัญของประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

สงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]
รถจักรไอน้ำเจเอ็นอาร์ คลาสซี 57 ที่คล้ายกับรถจักรไอน้ำแปซิฟิกของกรมรถไฟ (ต่อมาคือการรถไฟแห่งประเทศไทย)

กรมรถไฟดำเนินการจัดซื้อรถจักรไอน้ำรุ่นใหม่ชนิดแปซิฟิกโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ในการลากจูงขบวนรถโดยสารรวมถึงเพื่อทดแทนรถจักรไอน้ำรุ่นเก่าเนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนอะไหล่ เช่น รถจักรไอน้ำฮาโนแมก, รถจักรไอน้ำเท็นวีลเลอร์ อี-คลาส ฯลฯ รถจักรไอน้ำแปซิฟิกถูกสร้างขึ้นโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นระหว่าง พ.ศ. 2485 ถึง 2486 โดยมีบริษัทในสมาคมที่ดำเนินการสร้างรถจักรไอน้ำประกอบด้วย

  • ฮิตาชิ ดำเนินการผลิตรถจักรจำนวน 5 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 283-287
  • นิปปอน ชาร์เรียว ดำเนินการผลิตรถจักรจำนวน 5 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 288-292

รถจักรไอน้ำแปซิฟิกมีชื่อรุ่นการผลิตอย่างไม่เป็นทางการว่า "ซีเอ็กซ์ 50" (CX50) มีความคล้ายกับรถจักรไอน้ำเจเอ็นอาร์ คลาสซี 57 ชนิดแปซิฟิกที่ใช้โดยการรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่น

รถจักรไอน้ำแปซิฟิคกหมายเลข 287 จอดหน้าสถานีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ช่วงก่อน พ.ศ. 2500

เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้กรมรถไฟต้องใช้วิธีการนำเข้าตัวรถจักร รถลำเลียง หม้อน้ำ ล้อและอะไหล่อื่นมาประกอบที่โรงงานมักกะสันเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการนำเข้ารถจักรสำเร็จรูปในระหว่างสงครามอาจถูกกองเรือดำน้ำของฝ่ายสัมพันธมิตรยิงเรือตกทะเลระหว่างการขนส่งได้

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]
แบบรถจักรไอน้ำแปซิฟิกที่ประเทศญี่ปุ่นเสนอให้ประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2492

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อสงครามยุติลง กรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป กรมรถไฟจึงได้ตั้งโครงการบูรณะกิจการรถไฟใน พ.ศ. 2492 และได้จัดซื้อรถจักรไอน้ำจากผู้สร้างต่าง ๆ รวมถึงทดแทนรถจักรไอน้ำรุ่นเก่าที่หยุดสายการผลิตไปตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น รถจักรไอน้ำเท็นวีลเลอร์ อี-คลาส, รถจักรไอน้ำบอลด์วินมิกาโด, รถจักรไอน้ำบอลด์วินแปซิฟิก ฯลฯ โดยกรมรถไฟได้พิจารณานำเข้ารถจักรสำเร็จรูปแบบมิกาโดและแปซิฟิกจากประเทศญี่ปุ่นเหมือนกับรถจักรไอน้ำรุ่นเดียวกันที่เคยซื้อเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สองแต่ได้มีการปรับปรุงบางสิ่งให้เหมาะสมขึ้น เช่น ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแทนฟืน เป็นต้น รถจักรไอน้ำแปซิฟิกที่ถูกนำเข้าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองถูกสร้างและนำเข้าใน พ.ศ. 2493 โดยบริษัทที่สร้างรถจักรประกอบด้วย

  • นิปปอน ชาร์เรียว ดำเนินการผลิตรถจักรจำนวน 20 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 821–834, 837–841, 850

กรมรถไฟได้จัดประเภทรถจักรไอน้ำแปซิฟิกที่ถูกนำเข้ามาใหม่ทั้ง 30 คันว่าเป็น "ญี่ปุ่นแปซิฟิครุ่นใหม่" แยกจากรถจักรไอน้ำแปซิฟิก 10 คันก่อนที่ถูกนำเข้าระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็น "ญี่ปุ่นแปซิฟิครุ่นเก่า" ทั้งนี้ รถจักรไอน้ำรุ่นนี้ยังถือเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายก่อนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีนโยบายที่จะนำเอารถจักรดีเซลมาใช้งานแทนรถจักรไอน้ำ

รถจักรไอน้ำแปซิฟิก หมายเลข 82 ขณะทำขบวนรถโดยสารทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟมาฟราค เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543

นิปปอน ชาร์เรียวยังได้ทำการสร้างรถจักรไอน้ำแปซิฟิกใน พ.ศ. 2496 เพื่อเป็นรถจักรสำรองอีก 5 คัน และได้เสนอขายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยโดยใช้หมายเลข 851−855 แต่การรถไฟฯ ไม่รับซื้อรถจักรไอน้ำเพิ่ม จึงขายรถจักรทั้ง 5 คันให้ประเทศจอร์แดนเพื่อใช้ในทางรถไฟสายเฮดญาซจอร์แดน ใน พ.ศ. 2502 โดยใช้หมายเลข 81–85 และรองรับรางขนาด 1.050 เมตร

ปลดระวางและรื้อฟื้น

[แก้]
ชิ้นส่วนของรถจักรไอน้ำแปซิฟิก รุ่นหมายเลข 283–292 ใช้ร่วมกับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหมายเลข 351–378

การรถไฟแห่งประเทศไทยมีความประสงค์จะระงับการใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นการสงวนป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้มีการทยอยยกเลิกการใช้รถจักรไอน้ำและมีการจัดซื้อรถจักรดีเซลและรถดีเซลรางมาทดแทนตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ถึง 2518 จนเหลือเพียงทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่สถานีชุมพรลงไปที่ยังใช้รถจักรไอน้ำจนถึง พ.ศ. 2525 การรถไฟฯ ได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำรวมถึงรถจักรไอน้ำแปซิฟิกในการทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าทั้งหมด ต่อมาใน พ.ศ. 2528 การรถไฟฯ มีแนวคิดที่จะฟื้นฟูบูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นมาอีกครั้ง โดยเลือกรถจักรไอน้ำแปซิฟิกหมายเลข 824 และ 850 ที่เคยประจำการอยู่ที่แขวงหาดใหญ่และทุ่งสง[3] และถูกย้ายมาจอดที่โรงรถจักรธนบุรีตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับรถจักรไอน้ำมิกาโดและรถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 อีกรุ่นละ 2 คัน โดยโรงรถจักรธนบุรีได้ระดมช่างฝีมือและอะไหล่ที่เก็บไว้ที่โรงรถจักรทุ่งสงและโรงรถจักรอุตรดิตถ์เพื่อซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำทั้ง 6 เป็นระยะเวลา 4 เดือน รถจักร 953 และ 824 ได้ถูกใช้ทำขบวนพิเศษในเส้นทางกรุงเทพกาญจนบุรีท่ากิเลน นำทางขบวนเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530 โดยรถจักรทั้งสองลากจูงขบวนเสด็จจากสถานีรถไฟหลวงจิตรลดาไปถึงสถานีกาญจนบุรี ก่อนจะเปลี่ยนรถจักรเป็นรถจักรไอน้ำ ซี 56 หมายเลข 713 พหุกับ 715 ทำขบวนเสด็จต่อจากสถานีกาญจนบุรีไปยังสถานีท่ากิเลนต่อไป

การบูรณะ[3]

[แก้]

รถจักรไอน้ำทั้ง 6 คันมีการบำรุงรักษากันมาตลอดจนถึงต้น พ.ศ. 2554 บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งได้รับการอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตรวจสอบ พบว่ารถจักรไอน้ำแปซิฟิกหมายเลข 824 และ 850 มีสภาพหม้อน้ำโดยเฉพาะเปลือกที่จุดเหนือเตาที่เชื้อเพลิงเผาผลานความร้อนสูงเนื้อเหล็กปกติหนา 14 มม. เหลือเพียง 5 มม. และเหล็กยึดรั้งหม้อน้ำขาด ผุกร่อนจำนวนมาก อุปกรณ์ส่วนเคลื่อนไหวรั่ว แหวนแป้นสูบกำลังหัก เป็นต้น จากการตรวจสอบสรุปได้ว่าไม่สามารถเดินรถจักรไอน้ำโดยเฉพาะรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 และรวมถึงรถจักรไอน้ำมิกาโด หมายเลข 953 ได้ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้อนุมัติการบูรณะรถจักรไอน้ำแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 ในราคาประมาณ 25 ล้านบาท โดยมีบริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ดูแลงานดำเนินรับจ้างซ่อมร่วมกับโรงรถจักรธนบุรี นอกจากหม้อนน้ำแล้วสิ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนไปคือ ทางช่างได้ดัดแปลงระบบห้ามล้อใหม่จากระบบลมดูดเป็นระบบลมอัด เพื่อความปลอดภัยและจัดสรรรถพ่วงในการทำขบวนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรถพ่วงส่วนมากของการรถไฟฯ ใช้เป็นระบบลมอัด นอกจากนั้นยังติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในการเร่งปฏิกิริยาการทำความร้อนในเตาเผาด้วย

รถจักรไอน้ำทั้ง 2 บูรณะเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 แล้วเริ่มการทดสอบรถจักรไอน้ำเส้นทาง ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 นั้นเริ่มการทดสอบขบวนพิเศษทดลองรถจักรไอน้ำที่ 901/902 กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ โดยใช้ตู้โดยสาร 8 ตู้แล้วเสร็จ จึงออกให้บริการประชาชนในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ขบวนพิเศษ

[แก้]

กรุงเทพ - อยุธยา / ฉะเชิงเทรา - นครปฐม

[แก้]

อนึ่ง ก่อนที่จะมีขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำขบวนที่ 903/904 (กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ) และขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำขบวนที่ 907/908 (กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ) ในปี พ.ศ. 2553 การรถไฟฯ ได้โครงการพาพ่อนั่งรถจักรไอน้ำ 3 จังหวัด 4-5-6 ธันวาคม ลากจูงโดยรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 โดยใช้เลขขบวน "901" โดยวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ และวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ หลังจากนั้นมาก็เริ่มเดินรถเส้นทาง กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และเริ่มเดินรถในเส้นทาง กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่นั้น

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 เคยได้เดินขบวนรถนอกวันสำคัญทางราชการมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนั้นเป็นขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำ กรุงเทพ - กาญจนบุรี - สะพานข้ามแม่น้ำแคว - วังโพ เมื่อราวๆปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 โดยรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2542 และ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2543 และขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำที่ 907/908 กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ เนื่องในวันลอยกระทง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จนกระทั่งการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2563 - 2564 ขบวนพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำได้หยุดเดินรถชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้วก็กลับมาเดินรถอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เรื่อยๆมา จนกระทั่งหยุดเดินรถอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 12 สิงหาคม 2564 และ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 แล้วก็กลับมาเดินรถอีกครั้งเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แต่ครั้งนี้กลับมาในเส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ หลังที่ไม่ได้เดินรถในเส้นทางนี้ไปเมื่อปี พ.ศ. 2556 (ส่วนขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้งดเดินรถไป 2 ปี นับตั้งแต่เดินรถครั้งแรกในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และกลับมาเดินรถอีกครั้งในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน

รายชื่อหมายเลขรถจักร[4][5]

[แก้]

ประเทศไทย

[แก้]
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก การรถไฟแห่งประเทศไทย
หมายเลขรถจักร ผู้ผลิต ปีที่เข้าประจำการ หมายเลขที่ผลิต ภาพ หมายเหตุ
283 ฮิตาชิ 2485–2486 1444 ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2486[5]
284 1445
285 1446
286 1447
287 1448
288 นิปปอน ชาร์เรียว 1035 ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2487[5]
289 1036
290 1037
291 1038 ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2488[5]
292 1039 ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2489[5]
821 2493 1522
เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
822 1523 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
823 1524 ใช้น้ำมันเตา

ปัจจุบันเหลือโคมไฟอยู่บนชิ้นส่วนของห้องขับที่สวนวชิรเบญจทัศ ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร

824 1525 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง

ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี[6][7][3][5]

825 1526 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
826 1527
827 1528 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
828 1529 ใช้น้ำมันเตา
829 1530 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
830 1531 ใช้น้ำมันเตา
831 1538 ใช้ฟืน
832 1539
833 1540
834 1541
835 คาวาซากิ 3194 ใช้ฟืน

ภายหลังนำเนมเพลตที่อยู่ด้านขวาของกระบังควันรถจักรไปติดตั้งบนด้านขวาของกระบังควันรถจักรของรถจักรไอน้ำแปซิฟิก หมายเลข 850[5]

836 3195 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
837 นิปปอน ชาร์เรียว 1542
838 1543 ใช้ฟืน
839 1544 ใช้น้ำมันเตา
840 1545 ใช้น้ำมันเตา
841 1546 ใช้น้ำมันเตา

ปัจจุบันเหลือโคมไฟอยู่บนชิ้นส่วนของห้องขับที่สวนวชิรเบญจทัศ ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร

842 คาวาซากิ 3196 ใช้น้ำมันเตา
843 3197 ใช้ฟืน
844 3200
845 3198 ใช้น้ำมันเตา
846 3199
847 3201
848 3202 ใช้น้ำมันเตา
849 3203 ใช้น้ำมันเตา
850 นิปปอน ชาร์เรียว 1547 ใช้น้ำมันเตาตั้งแต่เริ่มแรกประจำการ

ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี ที่ขวามือของกระบังควันมีเนมเพลตของคาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ที่ติดอยู่กระบังควันมาจากหมายเลข 835[6][7][3][5]

ประเทศจอร์แดน

[แก้]
รถจักรไอน้ำนิปปอน ชาร์เรียว ประเทศจอร์แดน
หมายเลขรถจักร ผู้ผลิต ปีที่สร้าง ปีที่เข้าประจำการ หมายเลขที่ผลิต ภาพ หมายเหตุ
81 นิปปอน ชาร์เรียว 2496 2501–2502 1609
82 1610
83 1611 ตัดบัญชีประมาณก่อน พ.ศ. 2526[4]
84 1612
85 1613

แกลลอรี่

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. บางแหล่งข้อมูลสะกดว่า "แปซิฟิค"
  2. "Rotfaithai.Com Forums-viewtopic-วันนี้ขอนำเสนอเรื่อง...แฝด...ของรถจักรไทย". portal.rotfaithai.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "ย้อนดูการรถไฟไทยในอดีต หัวรถจักรไอน้ำไทยคันแรก และ รถจักรไอน้ำคันสุดท้าย". Pantip.
  4. 4.0 4.1 "Steam Locomotives in Jordan, 2015". www.internationalsteam.co.uk.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Ramaer, R. (2009). The railways of Thailand (2. expanded ed ed.). Bangkok: White Lotus Pr. ISBN 978-974-480-151-7. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  6. 6.0 6.1 "ประวัติความเป็นมา "รถจักรไอน้ำแปซิฟิก 824 และ 850"". ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย. 21 มีนาคม พ.ศ. 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. 7.0 7.1 "Rotfaithai.Com Forums-viewtopic-เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท". portal.rotfaithai.com.