ข้ามไปเนื้อหา

เผิง เต๋อหวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เผิง เต๋อหวย
เผิง เต๋อหวยในชุดเครื่องแบบจอมพล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1954–1959
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปหลิน เปียว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ตุลาคม ค.ศ. 1898(1898-10-24)
Shixiang, มนฑเซียงถาน, หูหนาน, ราชวงศ์ชิง
เสียชีวิต29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974(1974-11-29) (76 ปี)
ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีน
อาชีพGeneral, politician, writer
รางวัล Order of Victory of Resistance against Aggression
Order of Bayi (First Class Medal)
เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (First Class Medal)
เครื่องอิสริยาภรณ์การปลดปล่อย (First Class Medal)
"National Flag" Order of Merit (awarded twice) (North Korea)
ชื่อเล่นPéng lǎozǒng, "หัวหน้าเฒ่า เผิง"
"นายพลใหญ่ เผิง", ได้ถูกกล่าวโดยเหมา เจ๋อตงในบทกวีที่มีชื่อเสียงของเขา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐจีน
 สาธารณรัฐประชาชนจีน
สังกัด กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน
กองทัพทหารอาสาสมัครประชาชน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กองทัพเส้นทางที่แปด
กองทัพแดงของแรงงานและชาวนาของจีน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กองทัพที่ 8 แห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
จีน ก๊กหูหนาน
ประจำการ1916–1959
ยศ จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
พลโทแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน, สาธารณรัฐจีน
บังคับบัญชาCommander, Third Corps, Chinese Red Army
Deputy Commander in Chief, Eighth Route Army
Deputy Commander in Chief, People's Liberation Army
Commander-in-Chief and Political Commissar, People's Volunteer Army
ผ่านศึกการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ
การเดินทัพทางไกล
การรุกร้อยกรมทหาร
สงครามกลางเมืองจีน
สงครามเกาหลี
เผิง เต๋อหวย
"Peng Dehuai" in Simplified (top) and Traditional (bottom) Chinese characters
อักษรจีนตัวย่อ彭德怀
อักษรจีนตัวเต็ม彭德懷

เผิง เต๋อหวย (จีน: 彭德怀; พินอิน: Péng Déhuái; 24 ตุลาคม ค.ศ. 1898 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974) เป็นผู้นำทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนคนสำคัญ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ถึง ค.ศ. 1959 เผิงเกิดในครอบครัวชาวนาที่ยากจนและได้รับการศึกษาระดับประถมเป็นเวลาหลายปีก่อนที่ความยากจนของครอบครัวของเขาจะบังคับให้เขาต้องพักการศึกษาตั้งแต่อายุสิบขวบและต้องทำงานเป็นกรรมกรแรงงานเป็นเวลาหลายปี เมื่อเขาอายุสิบหก เผิงก็กลายเป็นทหารมืออาชีพ ในช่วงสิบปีข้างหน้า เผิงได้เข้าร่วมในกองทัพขุนศึกหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในมณฑลหูหนาน ได้ยกระดับตัวเองจากยศตำแหน่งพลทหารระดับชั้นสองไปเป็นพันตรี ในปี ค.ศ. 1926 กองทัพของเผิงได้เข้าร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋งและเผิงได้รับการแนะนำให้รู้จักกับลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรก เผิงได้เข้าร่วมในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือและสนับสนุนความพยายามของวาง จิงเว่ยในการจัดตั้งรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่เอนเอียงไปฝ่ายซ้ายซึ่งตั้งที่มั่นในอู่ฮั่น ภายหลังจากที่วางพ่ายแพ้ เผิงได้กลับเข้าร่วมกับกองทัพของเจียง ไคเชกในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยที่ตัวเขาเองเป็นพันธมิตรกับเหมา เจ๋อตงกับจูเต๋อ

เผิงเป็นหนึ่งในนายพลระดับชั้นอาวุโสที่สุดที่คอยปกป้องเจียงซี โซเวียตจากความพยายามของเจียงที่จะยึดครองที่แห่งนั้น และความสำเร็จของเขาได้ถูกตีเสมอกันโดยหลิน เปียวเท่านั้น เผิงได้เข้าร่วมในการเดินทัพทางไกลและให้การสนับสนุนต่อเหมา เจ๋อตงในการประชุมที่จุนอี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเถลิงอำนาจของเหมา ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1937-1945 เผิงเป็นหนึ่งในการสนับสนุนที่แข็งแกร่งที่สุดในความต้องการที่จะยุติการสู้รบกับพรรคก๊กมินตั๋งในคำสั่งเพื่อรวบรวมทรัพยากรร่วมของจีนในการต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น เผิงเป็นผู้บัญชาการระดับชั้นอาวุโสในความพยายามร่วมมือกันของก๊กมินตั๋ง-คอมมิวนิวสต์เพื่อต่อต้านการยึดครองชานซีของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1937 และในปี ค.ศ. 1938 อยู่ในการบังคับบัญชาของ 2/3 ของกองทัพเส้นทางที่แปด ในปี ค.ศ. 1940 เผิงได้ดำเนินการรุกร้อยกรมทหาร ซึ่งเป็นความพยายามครั้งใหญ่ของคอมมิวนิสต์ในการทำลายเครือข่ายลอจิสติกส์ของญี่ปุ่นทั่วภูมิภาคเหนือของจีน การรุกร้อยกรมทหารได้ประสบผลสำเร็จพอสมควร แต่เกิดความขัดแย้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์ทำให้เผิงถูกเรียกตัวกลับยานาน และเขาใช้เวลาที่เหลือของสงครามโดยไม่ได้รับคำสั่งอีกเลย ภายหลังจากญี่ปุ่นยอมจำนน ในปี ค.ศ. 1945 เผิงก็ได้รับคำสั่งให้บัญชาการกองทัพคอมมิวนิสต์ในทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เขาเป็นผู้บัญชาการระดับชั้นอาวุโสที่สุดคนหนึ่งที่รับผิดชอบในการปกป้องผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในมณฑลส่านซีจากกองทัพก๊กมินตั๋ง ปกป้องเหมาจากการถูกจับกุมอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในที่สุดเผิงก็ได้เอาชนะก๊กมินตั๋งในทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้เข้ายึดเสบียงทางทหารจำนวนมหาศาลและรวมพื้นที่ขนาดใหญ่ รวมทั้งซินเจียง เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

เผิงเป็นหนึ่งในผู้นำทางทหารระดับชั้นอาวุโสเพียงไม่กี่คนที่สนับสนุนข้อเสนอแนะของเหมาในการมีส่วนร่วมโดยตรงของจีนในสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1950-1953 และเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการโดยตรงของกองทัพทหารอาสาสมัครประชาชนชาวจีนในช่วงครึ่งแรกของสงคราม(แม้ว่าเหมาและโจว เอินไหลจะเป็นผู้นำทางด้านกลยุทธ์มากกว่า) ด้วยประสบการณ์ของเผิงในสงครามเกาหลีทำให้เขามีความเชื่อว่ากองทัพจีนต้องมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีระเบียบวินัย และมีอุปกรณ์ติดตั้งที่ดีในการเตรียมความพร้อมสำหรับเงื่อนไขของการสงครามเทคนิคสมัยใหม่ เนื่องจากสหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์เพียงประเทศเดียวที่มีกองทัพที่ทันสมัยและมีความเป็นมืออาชีพ เผิงจึงพยายามทำการปฏิรูปกองทัพจีนตามแบบของโซเวียตในอีกหลายปีข้างหน้า ทำให้กองทัพมีความคิดเห็นทางการเมืองที่น้อยลงและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น(ซึ่งขัดกับเป้าหมายทางการเมืองของเหมา) เผิงต่อต้านความพยายามของเหมาที่จะพัฒนาลัทธิบูชาบุคคลตลอดในช่วงปี ค.ศ. 1950 และเมื่อนโยบายเศรษฐกิจของเหมาที่เกี่ยวข้องอย่างการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าเป็นสาเหตุทำให้เกิดทุกขพิกภัยทั่วประเทศ เผิงก็ได้วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นผู้นำของเหมา การแข่งขันระหว่างเผิงและเหมาสิ้นสุดลงด้วยการเผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผยระหว่างทั้งสองคนใการประชุมที่หลูฮัน เหมาได้เอาชนะในการเผชิญหน้าครั้งนี้ โดยระบุว่า เผิงเป็นผู้นำของ"กลุ่มต่อต้านพรรค" และการกำจัดเผิงจากตำแหน่งที่มีอิทธิพลทั้่งหมดสำหรับชีวิตที่เหลือของเขา

เผิงได้อาศัยอยู่อย่างคนไร้ชื่อเสียงตามความเป็นจริงจนถึงปี ค.ศ. 1965 เมื่อนักปฏิรูปอย่างหลิว เช่าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิงได้สนับสนุนการกลับเข้าสู่รัฐบาลแบบจำกัดของนายเผิง ซึ่งกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารในทางด้านตะวันเฉียงใต้ของจีน ในปี ค.ศ. 1966 ตามมาด้วยเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เผิงถูกจับกุมโดยยุวชนแดง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966-1970 กลุ่มหัวรุนแรงภายในพรรคคอมมิวนิสต์นำโดยหลิน เปียวและเจียง ชิง ภรรยาของเหมา ได้เลือกตัวเผิงแบบเจาะจงเพื่อทำการประหัตรประหารระดับชาติและเผิงก็ถูกประจานต่อหน้าสาธารณชนทำให้ได้รับความอับอายในการต่อสู้ครั้งใหญ่หลายครั้งและถูกทรมานทั้งทางร่ายกายและจิตใจในความพยายามที่จะบังคับให้เผิงยอมรับสารภาพว่า "ทำการก่ออาชญากรรม"ต่อเหมา เจ๋อตงและพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1970 เผิงได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นทางการและถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต และเขาเสียชีวิตภายในคุกในปี ค.ศ. 1974 ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเหมาในปี ค.ศ. 1976 เติ้ง เสี่ยวผิงซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของเผิงได้กลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน เติงได้นำความพยายามอย่างเป็นทางการในการฟื้นฟูผู้คนที่ถูกข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และเผิงเป็นหนึ่งในผู้นำคนแรกที่ได้รับการกอบกู้ชื่อเสียงภายหลังการตายในปี ค.ศ. 1978 ในประเทศจีนยุคใหม่ เผิงได้รับการนับถือว่าเป็นนายพลคนหนึ่งที่ประสบความเร็จและได้รับการยอมรับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน