ข้ามไปเนื้อหา

ตลาดค้าส่งอาหารทะเลหฺวาหนาน

พิกัด: 30°37′11″N 114°15′27″E / 30.6196°N 114.2576°E / 30.6196; 114.2576
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลาดค้าส่งอาหารทะเลหฺวาหนาน
武汉华南海鲜批发市场
ภายนอกของตลาด (มีนาคม 2563) หลังการปิด
ตลาดค้าส่งอาหารทะเลหฺวาหนานตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ย์
ตลาดค้าส่งอาหารทะเลหฺวาหนาน
ที่ตั้งของตลาดในมณฑลหูเป่ย์
ข้อมูลทั่วไป
สถานะปิด เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (โรคโควิด-19)
ที่ตั้งเขตเจียงฮั่น
เมืองอู่ฮั่น, มณฑลหูเป่ย์
ประเทศจีน
พิกัด30°37′11″N 114°15′27″E / 30.6196°N 114.2576°E / 30.6196; 114.2576
ผู้เช่าในปัจจุบัน1,000+
เปิดใช้งาน19 มิถุนายน พ.ศ. 2545
ปิดใช้งาน1 มกราคม พ.ศ. 2563
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่แต่ละชั้น50,000 ตารางเมตร (540,000 ฟุต2)
ตลาดค้าส่งอาหารทะเลหฺวาหนาน
อักษรจีนตัวย่อ武汉华南海鲜批发市场
อักษรจีนตัวเต็ม武漢華南海鮮批發市場
แผนที่
แผนที่เชิงโต้ตอบของที่ตั้งตลาด

ตลาดค้าส่งอาหารทะเลอู่ฮั่นหฺวาหนาน (จีน: 武汉华南海鲜批发市场)[1][2] หรือรู้จักในชื่อตลาดอาหารทะเลหฺวาหนาน[3] (หฺวาหนาน หมายถึง 'จีนใต้') เป็นตลาดค้าสัตว์และอาหารทะเลที่มีชีวิตในเขตเจียงฮั่น (江汉区) นครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ในภาคกลางของประเทศจีน

ตลาดเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกหลังจากถูกระบุว่าเป็นจุดเริ่มต้น (Ground Zero) ของโรคโควิด-19 และการระบาดทั่วที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 องค์การอนามัยโลกได้รับแจ้งเกี่ยวกับการระบาดของโรคปอดบวมในนครอู่ฮั่น[4] โดยมีผู้ป่วย 41 รายแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคปอดบวม ซึ่งต่อมาได้รับการระบุอย่างเป็นทางการว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่งผู้ป่วยจำนวนสองในสามเกี่ยวข้องกับตลาด ตลาดเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และปิดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เพื่อดำเนินการด้านสุขอนามัยและการฆ่าเชื้อ[1][5][6][7][8] รายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศจีน ระบุว่าตัวอย่างสิ่งแวดล้อม 33 ตัวอย่างจาก 585 ตัวอย่างที่ได้รับจากตลาดตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งก่อโรคโควิด-19[9][10]

สิ่งอำนวยความสะดวกและการดำเนินงาน

[แก้]

ตลาดมีพื้นที่มากกว่า 50,000 ตารางเมตร (12 เอเคอร์)[11] และมีผู้เช่ามากกว่า 1,000 ราย[12] มีการรายงานว่าตลาดแห่งนี้เป็นตลาดค้าส่งอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางของจีน[11] โดยมีพื้นที่สำหรับค้าสัตว์ป่าในด้านตะวันตก[13] ตลาดตั้งอยู่ในส่วนใหม่ของเมือง ใกล้ย่านร้านค้าและอพาร์ตเมนต์[14] ห่างประมาณ 800 เมตร (2,600 ฟุต) จากสถานีรถไฟฮั่นโข่ว[15] และใกล้กับศูนย์ควบคุมโรคอู่ฮั่น[16]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 The Wall Street Journal รายงานว่าตลาดได้ผ่านการตรวจสอบของเมืองอย่างเป็นทางการ[9] อย่างไรก็ตามนิตยสารไทม์ รายงานว่ามีตลาดมีสุขภาวะที่ "ไม่สะอาด"[17] มีทางเดินแคบและแผงขายของวางชิดกัน ซึ่งมีสัตว์ถูกเลี้ยงไว้ข้าง ๆ กับซากสัตว์ที่ตายแล้ว ตามข้อมูลของBusiness Insider เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นสัตว์ถูกฆ่าอย่างเปิดเผยและซากที่วางจำหน่ายในตลาด[18] หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า "การสุขาภิบาลเป็นเรื่องน่ากังวลจากการระบายอากาศที่ไม่ดีและมีขยะกองอยู่บนพื้นเปียก"[14]

สินค้าที่จำหน่าย

[แก้]

ด้วยความต้องการบริโภคสัตว์แปลกในท้องถิ่นในปัจจุบัน ตลาดจึงมีสัตว์ป่าต่าง ๆ สำหรับขาย[19][20] ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ปรกติสำหรับตลาดสดส่วนใหญ่ในประเทศจีน[21][22][23][24] รายการราคาที่โพสต์โดยผู้ขายรายหนึ่งบนเว็บไซต์วิจารณ์ยอดนิยมของจีน ต้าจ้งเตี่ยนผิง (大众点评网) แสดงรายการ 112 รายการรวมถึงสัตว์ป่าจำนวนหนึ่ง[3][11][25] หนังสือพิมพ์South China Morning Post รายงานเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563 ว่าส่วนหนึ่งของตลาดพบการขาย "สัตว์ป่า 120 ตัวจาก 75 สายพันธุ์"[26]

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในรายงานทางวิทยาศาสตร์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 มีสัตว์ป่า 38 สายพันธุ์ ซึ่งรวมทั้ง 31 สายพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครอง ถูกจำหน่ายระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ถึงพฤศจิกายน 2562 ในตลาดสดสำหรับอาหารและตลาดสัตว์เลี้ยงในอู่ฮั่น (ตลาดอาหารทะเลหฺวาหนาน, ตลาดไป๋ชาโจว (武汉白沙洲蔬菜市场), ตลาดสัตว์เลี้ยงกลางแจ้งตีเจี่ยว (武汉堤角花鸟市场) และตลาดสัตว์มีชีวิตฉี่อี้เหมิน (武汉起义门水产批发市场)) อาทิเช่น เม่นอามูร์, เพียงพอนไซบีเรีย, แบดเจอร์เอเชีย, เม่นมลายู, มาร์มอต, สุนัขจิ้งจอกแดง, มิงค์ สัตว์ป่าที่ถูกจำหน่ายไม่ได้รับการดูแลและมีสุขอนามัยที่ย่ำแย่ สามารถเป็นที่อยู่ของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนหรือปรสิตที่เป็นพาหะของโรคได้หลากหลาย ในกลุ่มสัตว์เพื่อจำหน่ายเหล่านี้ไม่พบว่ามีตัวลิ่นหรือค้างคาวพันธุ์ใด ๆ[27]

การเชื่อมโยงกับโควิด-19

[แก้]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 เกิดการระบาดของโรคปอดบวมในนครอู่ฮั่น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งภายหลังระบุว่าเป็น SARS-CoV-2 ได้รับการยืนยันในวันที่ 2 มกราคม 2563 ว่าเป็นสาเหตุในคนไข้ 41 รายแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคปอดบวม โดย 2 ใน 3 ของผู้ป่วยติดเชื้อโดยตรงจากตลาด[1][6][28][29] เนื่องจากไวรัสโคโรนา (เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV) ส่วนใหญ่แพร่ระบาดในสัตว์ต่าง ๆ และมีการตั้งสมมุติฐานความเชื่อมโยงระหว่างการระบาดของโรคปอดบวมกับตลาด จึงสันนิษฐานว่าไวรัสอาจถ่ายทอดจากสัตว์สู่คน (โรครับจากสัตว์)[30][31]

ในขั้นต้น ค้างคาวได้รับการระบุว่าเป็นแหล่งที่มาของไวรัส แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าค้างคาวถูกนำมาจำหน่ายที่นั่นหรือไม่[32][33][34][35] การศึกษาในภายหลังได้ตั้งสมมติฐานว่าตัวลิ่นอาจเป็นตัวกลางของไวรัสที่มีต้นกำเนิดจากค้างคาว ซึ่งคล้ายกับความสัมพันธ์ระหว่าง SARS-CoV และชะมด[36][37] การวิเคราะห์สายวิวัฒนาการบ่งชี้ว่าตัวลิ่นมีศักยภาพเป็นแหล่งรังโรคมากกว่าจะเป็นพาหะตัวกลางของ SARS-CoV-2 แม้ว่าจะมีฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ว่าค้างคาวเป็นแหล่งที่มาของไวรัสโคโรนามากที่สุด แต่จากการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการ SARS-CoV-2 มีต้นกำเนิดมาจากลิ่น แล้วข้ามกลับไปหาค้างคาวแล้วจึงแพร่ไปยังมนุษย์ ดังนั้น กลุ่มเฉพาะของค้างคาวจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะตัวกลางสำหรับ SARS-CoV-2 มากกว่าตัวลิ่น ในขณะที่วิวัฒนาการของสายพันธุ์ไวรัสบรรพบุรุษในค้างคาวเป็นแหล่งของไวรัสโคโรนาทั่วไป[38]

แม้ว่าตลาดจะมีบทบาทในการแพร่ระบาด แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เริ่มต้นในตลาดหรือไม่[39][40] เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ผู้ป่วยแรกสุดซึ่งถูกรายงานเป็นบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่เหลืออีก 40 คน[6][41][42] บทความจากนักวิจัยชาวจีนกลุ่มใหญ่จากหลายสถาบันที่ตีพิมพ์ในวารสารThe Lancet ได้เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล 41 คนแรกที่ยืนยันการติดเชื้อ SARS-CoV-2[42] โดยข้อมูลของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า 13 จากทั้งหมด 41 คนที่พบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาด ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญตามการวิเคราะห์ของ แดเนียล ลูซีย์ (Daniel R. Lucey) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ[6][41][42] ในการตีพิมพ์ในภายหลัง The Lancet รายงานว่าใน 99 คนแรกที่ยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลอู่ฮั่นจินหยินถัน (武汉市金银潭医院) ระหว่างวันที่ 1 ถึง 20 มกราคม พ.ศ. 2563 นั้น 49 คนมีประวัติสัมผัสกับตลาด อย่างไรก็ตาม สิ่งพิมพ์ดังกล่าวไม่ได้ให้ความเห็นว่าตลาดเป็นแหล่งกำเนิดหรือเป็นเพียงตัวเชื่อมสำคัญในการระบาด[43]

ในความพยายามที่จะค้นพบต้นกำเนิดของไวรัส SARS-CoV-2 ได้มีการเก็บตัวอย่างจากสัตว์ในตลาดระหว่างวันที่ 1 ถึง 12 มกราคม พ.ศ. 2563[13] ในปลายเดือนมกราคม 2563 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศจีนเปิดเผยว่าพบไวรัสใน 33 ตัวอย่างจาก 585 ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมที่เก็บรวบรวม[9][44][45] โดย 31 ตัวอย่างถูกพบโดยเฉพาะว่ามาจากพื้นที่ตลาดที่มีการจำหน่ายสัตว์ป่า นี่เป็นอีกตัวบ่งชี้ถึงบทบาทของตลาด แต่การระบุแหล่งที่มาของการแพร่ระบาดยังไม่เป็นที่แน่ชัด[39][40][46] รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 ระบุว่าตลาดไม่เกี่ยวข้องกับกรณีผู้ป่วยโควิด-19 นอกประเทศจีน[47]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 เกา ฝู (高福) ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศจีน กล่าวว่า ตัวอย่างสัตว์ที่รวบรวมจากตลาดอาหารทะเลมีผลตรวจสำหรับไวรัสเป็นลบ ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดดังกล่าวเป็นพื้นที่ของเหตุการณ์ซูเปอร์สเปรดเดอร์ในช่วงแรก แต่ไม่ใช่บริเวณที่เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรก[48]

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าตลาดยังว่างเปล่าและถูกปิดกั้น[49]

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดยองค์การอนามัยโลกได้เข้าตรวจสอบตลาดสดเพื่อสืบหาต้นกำเนิดของโควิด-19[50] การสืบสวนของ WHO ระบุว่าแม้จะมีกรณีคลัสเตอร์ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดและพบพื้นผิวที่ปนเปื้อนบางส่วน แต่ก็ไม่พบสัตว์ที่ติดเชื้อ สรุปได้ว่าการแพร่ระบาดจากคนสู่คนในตลาดมีแนวโน้มสูง โดยที่ยังไม่ทราบแหล่งที่มา[51]

ผลกระทบ

[แก้]

การปิดตลาด

[แก้]

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 การตอบสนองต่อการระบาดครั้งแรกของกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดบวม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทำการปิดตลาดเพื่อดำเนินการสอบสวน ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อสถานที่[1][31]

การห้ามค้าสัตว์ป่า

[แก้]

นักสิ่งแวดล้อมชาวจีน, นักวิจัย และสื่อของรัฐเรียกร้องให้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการค้าสัตว์แปลก ๆ ในตลาดสด[52] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนหลายคนเรียกร้องให้ห้ามการค้าสัตว์ป่า[26][53][54]

วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 มีการประกาศห้ามขายผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าทั้งหมดในนครอู่ฮั่น[55] ในเดือนพฤษภาคม 2563 เมืองสั่งห้ามการรับประทานสัตว์ป่าและจำกัดการล่าสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า[56]

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 รัฐบาลจีนได้ประกาศห้ามการค้าและการบริโภคสัตว์ป่าทั่วประเทศจีน[57][58] ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์อุตสาหกรรมค้าสัตว์ป่าภายในประเทศ[59][60][61][62] อย่างไรก็ตามตามรายงานของเดอะนิวยอร์กไทมส์ การห้ามไม่ครอบคลุมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าในการแพทย์แผนจีน[63]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Hui, David S.; I Azhar, Esam; Madani, Tariq A.; Ntoumi, Francine; Kock, Richard; Dar, Osman; Ippolito, Giuseppe; Mchugh, Timothy D.; Memish, Ziad A.; Drosten, Christian; Zumla, Alimuddin; Petersen, Eskild (2020). "The continuing 2019-nCoV epidemic threat of novel coronaviruses to global health – The latest 2019 novel coronavirus outbreak in Wuhan, China". International Journal of Infectious Diseases. Elsevier BV. 91: 264–266. doi:10.1016/j.ijid.2020.01.009. ISSN 1201-9712. PMC 7128332. PMID 31953166.
  2. "Wuhan pneumonia: how the search for the source of the mystery illness unfolded". South China Morning Post. 22 มกราคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2020.
  3. 3.0 3.1 "On the menu at Wuhan virus market: Rats and live wolf pups". CNA. 22 มกราคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2020.
  4. Zhu, Na; Zhang, Dingyu; Wang, Wenling; Li, Xingwang; Yang, Bo; Song, Jingdong; Zhao, Xiang; Huang, Baoying; Shi, Weifeng; Lu, Roujian; Niu, Peihua (24 มกราคม 2020). "A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China, 2019". New England Journal of Medicine. 382 (8): 727–733. doi:10.1056/NEJMoa2001017. ISSN 0028-4793. PMC 7092803. PMID 31978945.
  5. "A large seafood supermarket appeared in Wuhan with more than a thousand products for you to choose". Changjiang Daily. 20 มิถุนายน 2002.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Huang, Chaolin; Wang, Yeming; Li, Xingwang; Ren, Lili; Zhao, Jianping; Hu, Yi; Zhang, Li; Fan, Guohui; Xu, Jiuyang; Gu, Xiaoying; Cheng, Zhenshun (24 มกราคม 2020). "Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China". The Lancet. 395 (10223): 497–506. doi:10.1016/S0140-6736(20)30183-5. ISSN 0140-6736. PMC 7159299. PMID 31986264. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2020.
  7. "Overview of 2019 novel coronavirus (2019-nCoV) – Summary of relevant conditions". BMJ Best Practice. มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2020.
  8. "华南海鲜市场幕后老板:地产起家,"二代"接班" [The owner behind the South China Seafood Market: real estate start-ups, "second generation" to take over] (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
  9. 9.0 9.1 9.2 Page, Jeremy (27 มกราคม 2020). "Virus Sparks Soul-Searching Over China's Wild Animal Trade". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2020.
  10. 中国疾控中心在武汉华南海鲜市场检出大量新型冠状病毒 [China CDC detects a large number of new coronaviruses at the South China Seafood Market in Wuhan]. 新华网 [Xinhua]. 27 มกราคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  11. 11.0 11.1 11.2 Xie, Echo; Cai, Jane; Rui, Guo (22 มกราคม 2020). "Why wild animals are a key ingredient in China's coronavirus outbreak". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.
  12. 华南海鲜批发市场西区有十几家贩卖野味的商户. cb.com.cn (ภาษาจีน). 22 มกราคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2020.
  13. 13.0 13.1 Schnirring, Lisa (27 มกราคม 2020). "Experts: nCoV spread in China's cities could trigger global epidemic". CIDRAP. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2020.
  14. 14.0 14.1 Buckley, Chris; Myers, Steven Lee (1 กุมภาพันธ์ 2020). "As New Coronavirus Spread, China's Old Habits Delayed Fight". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2020.
  15. Xu Lin (12 กุมภาพันธ์ 2020). "Scientists busy with research into source of the outbreak". China Daily Global. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2020.
  16. The Mysterious Case of the COVID-19 Lab-Leak Theory
  17. "Here's What It's Like in Wuhan, the City at the Center of Coronavirus". Time. 22 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2020.
  18. Woodward, Aylin (24 มกราคม 2020). "The outbreaks of both the Wuhan coronavirus and SARS started in Chinese wet markets. Photos show what the markets looked like". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2020.
  19. Xie, Echo; Cai, Jane; Rui, Guo (22 มกราคม 2020). "Why wild animals are a key ingredient in China's coronavirus outbreak". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.
  20. Campbell, Charlie (24 มกราคม 2020). "The West Blames the Wuhan Coronavirus on China's Love of Eating Wild Animals. The Truth Is More Complex". Time. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.
  21. Fickling, David (3 เมษายน 2020). "China Is Reopening Its Wet Markets. That's Good". Bloomberg.
  22. Bossons, Matthew (25 กุมภาพันธ์ 2020). "No, You Won't Find "Wild Animals" in Most of China's Wet Markets". RADII (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2020.
  23. "Commentary: No, China's fresh food markets did not cause coronavirus". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2020.
  24. Lynteris, Christos; Fearnley, Lyle. "Why shutting down Chinese 'wet markets' could be a terrible mistake". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2020.
  25. Zheng, Zhangxin; Thiagarajan, Sumita (24 มกราคม 2020). "Outrageous menu from Wuhan's market shows live deer, peacocks, wolf pups & over 100 wild animals on sale". Mothership. Singapore. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2020.
  26. 26.0 26.1 Li, Peter J. (29 มกราคม 2020). "First Sars, now the Wuhan coronavirus. Here's why China should ban its wildlife trade forever". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.
  27. Xiao, Xiao; Newman, Chris; Buesching, Christina D.; Macdonald, David W.; Zhou, Zhao-Min (7 มิถุนายน 2021). "Animal sales from Wuhan wet markets immediately prior to the COVID-19 pandemic". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 11898. Bibcode:2021NatSR..1111898X. doi:10.1038/s41598-021-91470-2. ISSN 2045-2322. PMC 8184983. PMID 34099828.
  28. Keevil, William; Lang, Trudie; Hunter, Paul; Solomon, Tom (24 มกราคม 2020). "Expert reaction to first clinical data from initial cases of new coronavirus in China". Science Media Centre. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2020.
  29. "New-type coronavirus causes pneumonia in Wuhan: expert". xinhuanet.com 2020. 9 มกราคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2020.
  30. "Transmission of Novel Coronavirus (2019-nCoV)". CDC. 23 มกราคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2020.
  31. 31.0 31.1 "Promed Post – ProMED-mail". ProMED-mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2020.
  32. Rachael Rettner, บ.ก. (29 มกราคม 2020). "New coronavirus may have started in bats. But how did it hop to humans?". Live Science (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2020.
  33. Schnirring, Lisa (8 มกราคม 2020). "Virologists weigh in on novel coronavirus in China's outbreak". CIDRAP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2020.
  34. Camero, Katie (6 กุมภาพันธ์ 2020). "Scientists Link China Coronavirus to Intersection of Humans and Wildlife". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2020. Some researchers said bats weren't being sold at the Huanan market in Wuhan...The U.S. Centers for Disease Control and Prevention and the World Health Organization said they couldn't confirm if bats were present at the market.
  35. "Bats and the novel coronavirus". The Hindu. 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  36. Xiao, Kangpeng; Zhai, Junqiong; Feng, Yaoyu (February 2020). "Isolation and Characterization of 2019-nCoV-like Coronavirus from Malayan Pangolins". bioRxiv. doi:10.1101/2020.02.17.951335. S2CID 213920763.
  37. Wong, MC; Cregeen, SJJ; Ajami, NJ; Petrosino, JF (กุมภาพันธ์ 2020). "Evidence of recombination in coronaviruses implicating pangolin origins of nCoV-2019". bioRxiv. doi:10.1101/2020.02.07.939207. PMC 7217297. PMID 32511310.
  38. "Probable Pangolin Origin of SARS-CoV-2 Associated with the COVID-19 Outbreak".
  39. 39.0 39.1 Lu, Donna. "The hunt for patient zero: Where did the coronavirus outbreak start?". New Scientist (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.
  40. 40.0 40.1 "Experts know the new coronavirus is not a bioweapon. They disagree on whether it could have leaked from a research lab". Bulletin of the Atomic Scientists (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.
  41. 41.0 41.1 Barton, Antigone (25 มกราคม 2020). "UPDATE Wuhan coronavirus – 2019-nCoV Q&A #6: An evidence-based hypothesis". Science Speaks: Global ID News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2020.
  42. 42.0 42.1 42.2 Cohen, Jon (26 มกราคม 2020). "Wuhan seafood market may not be source of novel virus spreading globally". Science | AAAS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2020.
  43. Chen, Nanshan; Zhou, Min; Dong, Xuan; Qu, Jieming; Gong, Fengyun; Han, Yang; Qiu, Yang; Wang, Jingli; Liu, Ying; Wei, Yuan; Xia, Jia'an (30 มกราคม 2020). "Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study". The Lancet. 395 (10223): 507–513. doi:10.1016/S0140-6736(20)30211-7. ISSN 0140-6736. PMC 7135076. PMID 32007143.
  44. Guo, Haitao; Luo, Guangxiang "George"; Gao, Shou-Jiang (13 กุมภาพันธ์ 2020). "Snakes could be the original source of the new coronavirus outbreak in China". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2020.
  45. Liu, Shan-Lu; Saif, Linda (22 มกราคม 2020). "Emerging Viruses without Borders: The Wuhan Coronavirus". Viruses. 12 (2): 130. doi:10.3390/v12020130. PMC 7077218. PMID 31979013.
  46. Readfearn, Graham (9 เมษายน 2020). "How did coronavirus start and where did it come from? Was it really Wuhan's animal market?". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.
  47. Gralinski, Lisa E.; Menachery, Vineet D. (2020). "Return of the Coronavirus: 2019-nCoV". Viruses. 12 (2): 135. doi:10.3390/v12020135. PMC 7077245. PMID 31991541.
  48. Areddy, James T. (26 พฤษภาคม 2020). "China Rules Out Animal Market and Lab as Coronavirus Origin". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2020.
  49. Cadell, Cate (11 ธันวาคม 2020). "One year on, Wuhan market at epicentre of virus outbreak remains barricaded and empty". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2021.
  50. Peter, Martin Quin Pollard, Thomas (31 มกราคม 2021). "WHO team visits Wuhan market where first COVID infections detected". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2021.
  51. Fujiyama, Emily Wang; Moritsugu, Ken (11 กุมภาพันธ์ 2021). "EXPLAINER: What the WHO coronavirus experts learned in Wuhan". AP News. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2021.
  52. "Wuhan Is Returning to Life. So Are Its Disputed Wet Markets". Bloomberg Australia-NZ. 8 เมษายน 2020.
  53. "China has been transparent about Wuhan outbreak, virus expert says". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 22 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2020.
  54. Cheng, Vincent C. C.; Lau, Susanna K. P.; Woo, Patrick C. Y.; Yuen, Kwok Yung (ตุลาคม 2007). "Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus as an Agent of Emerging and Reemerging Infection". Clinical Microbiology Reviews. 20 (4): 660–694. doi:10.1128/CMR.00023-07. ISSN 0893-8512. PMC 2176051. PMID 17934078.
  55. "Coronavirus: China advises against travel to Wuhan as deaths surge". BBC. 22 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2020.
  56. "Wuhan bans eating wild animals as coronavirus drives a crackdown in China". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2020.
  57. "China bans trade, consumption of wild animals due to coronavirus". Reuters. 25 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2020.
  58. Xie, Echo (24 กุมภาพันธ์ 2020). "China bans trade, eating of wild animals in battle against coronavirus". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2020.
  59. "A sea change in China's attitude towards wildlife exploitation may just save the planet". Daily Maverick. 2 มีนาคม 2020. In January an online poll by the Peking University Center for Nature Society (北京大学自然保护与社会发展研究中心) found that 97% of some 100,000 participants were against eating wild animals. Nearly 80% rejected using wildlife products.
  60. Ellyatt, Holly (12 กุมภาพันธ์ 2020). "China's wild animal trade changed for good by coronavirus?". CNBC. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2020.
  61. "China Focus: Stay away from wild animals, China takes sustained action against illegal wildlife trade". Xinhua News Agency. n.d. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2020.
  62. "EIA supports calls in China to extend temporary wildlife trade ban and make it permanent - EIA". eia-international.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2020.
  63. Gorman, James (27 กุมภาพันธ์ 2020). "China's Ban on Wildlife Trade a Big Step, but Has Loopholes, Conservationists Say". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]