การปิดประเทศอินเดียเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
การปิดประเทศอินเดียเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโรคโควิด-19 COVID-19 pandemic lockdown in India | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอินเดีย | |
วันที่ |
|
สถานที่ | ประเทศอินเดีย |
สาเหตุ | การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอินเดีย |
เป้าหมาย | ยับนั้งการระบาดของโควิด-19 ในประเทศอินเดีย |
วิธีการ |
|
สถานะ | บังคับใช้อยู่ |
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของนเรนทระ โมที ได้สั่งทำการปิดเมืองทั่วประเทศอินเดีย (nation-wide lockdown) เป็นเวลา 21 วัน โดยจำกัดการเคลื่อนที่ของประชากรรวมกว่า 1.3 พันล้านคนของประเทศอินเดีย เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอินเดีย[1] ก่อนหน้าการประกาศปิดเมืองนี้ รัฐบาลอินเดียได้มีการประกาศเคอร์ฟิวแบบสมัครใจ 14 ชั่วโมง (voluntary public curfew) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ตามด้วยการประกาศบังคับในภูมิภาคของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19[2][3] การปิดเมืองทั้งประเทศได้ถูกประกาศใช้หลังจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันในประเทศอินเดียอยู่ที่ประมาณ 500 คน[1]
หลังการสิ้นสุดการประกาศปิดเมืองทั่วประเทศครั้งแรก รัฐบาลประจำรัฐและหน่วยงานที่ปรึกษามีความเห็นพ้องให้ขยายการปิดเมืองต่อไปอีก[4] โดยรัฐบาลของรัฐโอริศาและรัฐปัญจาบได้ขยายการปิดเมืองออกไปถึงวันที่ 1 พฤษภาคม[5] ตามด้วยรัฐมหาราษฏระ, รัฐกรณาฏกะ, รัฐเบงกอลตะวันตก และรัฐเตลังคานา[6][7] ต่อมาในวันที่ 14 เมษายน นายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที ได้ขยายการปิดเมืองทั้งประเทศ (nationwide lockdown) ออกไปจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม พร้อมมีนโยบายผ่อนปรนเสริมตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนในภูมิภาคที่ได้ควบคุมการติดเชื้อสำเร็จ[8]
ในวันที่ 1 พฤษภาคม รัฐบาลกลางได้ประกาศขยายการปิดเมืองทั่วประเทศออกไปอีกสองสัปดาห์ จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม รัฐบาลได้แบ่งประเทศอินเดียออกเป็นสามเขต คือเขตสีเขียว สีแดง และสีส้ม โดยมีมาตรการผ่อนปรนแตกต่างกันไป[9]
ต่อมาในวันที่ 17 พฤษภาคม การปิดเมืองทั่วประเทศได้ขยายออกไปอีกจนถึงสิ้นเดือนในวันที่ 31 พฤษภาคม ภายใต้การดูแลของ หน่วยงานบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ[10] เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ได้มีการประกาศว่าคำสั่งปิดเมืองที่ดำเนินอยู่นั้นจะขยายออกไปถึง 30 มิถุนายนในพื้นที่กักกัน (containment zones) ส่วนพื้นที่อื่น ๆ นั้นให้บริการต่าง ๆ กลับมาเปิดเป็นปกติในวันที่ 8 มิถุนายน ภายใต้ชื่ออันล็อก-วัน ("Unlock 1") โดยให้ศาสนสถาน ร้านอาหาร ห้าง เปิดทำการ[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Gettleman, Jeffrey; Schultz, Kai (24 March 2020). "Modi Orders 3-Week Total Lockdown for All 1.3 Billion Indians". The New York Times. ISSN 0362-4331.
- ↑ "COVID-19: Lockdown across India, in line with WHO guidance". UN News. 24 March 2020.
- ↑ Helen Regan; Esha Mitra; Swati Gupta. "India places millions under lockdown to fight coronavirus". CNN.
- ↑ "Close schools, all religious activities, extend lockdown: States tell Centre". India Today. 7 April 2020.
- ↑ Anuja (10 April 2020). "Taking cues from Odisha, Punjab extends lockdown till 1 May". Livemint. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
- ↑ "Covid-19: Karnataka extends lockdown by 2 weeks, throws in some relaxations". HT Digital Streams Ltd. 11 April 2020. สืบค้นเมื่อ 12 April 2020.
- ↑ "Coronavirus India Live Updates: Telangana follows Maha and West Bengal, extends lockdown till April 30". Bennett, Coleman & Co. Ltd. 12 April 2020. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
- ↑ "PM Modi announces extension of lockdown till 3 May". Livemint. 14 April 2020.
- ↑ "2 More Weeks Of Lockdown Starting May 4". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
- ↑ "Centre extends nationwide lockdown till May 31, new guidelines issued". Tribuneindia News Service. 17 May 2020. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
- ↑ Sharma, Neeta (30 May 2020). Ghosh, Deepshikha (บ.ก.). ""Unlock1": Malls, Restaurants, Places Of Worship To Reopen June 8". NDTV. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.