สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นเอก กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร | |
![]() | |
ประสูติ | 16 เมษายน พ.ศ. 2427 พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพพระมหานคร |
สิ้นพระชนม์ | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (54 ปี) วังคันธวาส จังหวัดพระนคร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า |
พันเอกหญิง สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (16 เมษายน พ.ศ. 2427 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 48 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2427 เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก เป็นพระโสทรเชษฐภคินีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเป็นพระราชปิตุจฉาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาของสตรีไทย เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนราชินี การก่อสร้างโรงเรียนราชินีบน และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์) เป็นต้น
พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการเรื้อรัง เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง 2 ครั้ง จนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 มีพระอาการหนักอย่างน่าวิตก พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 23.15 นาฬิกา ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2482) สิริพระชนมายุ 54 พรรษา
พระประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพตอนต้น
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/af/Valaya_Alongkorn%2C_Princess_of_Bejraburi_in_childhood.jpg/200px-Valaya_Alongkorn%2C_Princess_of_Bejraburi_in_childhood.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/88/Valaya_Alongkorn_the_princess_of_Phetchaburi.jpg/200px-Valaya_Alongkorn_the_princess_of_Phetchaburi.jpg)
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 48 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันพุธ แรม 6 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ตรงกับวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2427 ณ พระตำหนักของพระมารดาในพระบรมมหาราชวัง พระองค์เป็นพระราชบุตรร่วมพระชนกชนนีลำดับที่ห้า จากพี่น้องทั้งหมดแปดพระองค์คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร,[1] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์,[2] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี,[3] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์,[4] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี,[5] สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[6] และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง (ไม่มีพระนาม)[7]
เมื่อพระชนม์ครบหนึ่งเดือนได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือน ณ พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2427[8] ชาววังออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิง[9] หรือ ทูลกระหม่อมวไลย[10] บ้างก็ออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงแหม่ม เนื่องจากทรงไว้พระเกศายาวประบ่าตั้งแต่ทรงพระเยาว์ กับมีพระพักตร์คล้ายกับชาวตะวันตก และโปรดฉลองพระองค์อย่างสตรีตะวันตก[11] แต่พระองค์จะลงพระอภิไธยว่า วลัย[10] จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงสูญเสียพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ใน พ.ศ. 2430 พระองค์ทรงปรารภจะมีพระราชธิดา จึงทรงขอประทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารีจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีให้เป็นพระราชธิดาในปลายปี พ.ศ. 2431 โดยมีจันทร์ ชูโต เป็นพระพี่เลี้ยง[12] พระองค์จึงเรียกสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีว่า "เสด็จแม่"[13] และเรียกสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีว่า "สมเด็จป้า"[14] พระองค์ประทับที่พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีโดยแบ่งครึ่งห้องพระบรรทม[15]
เบื้องต้นทรงได้รับการศึกษาจากโรงเรียนราชกุมารีที่ตั้งอยู่ในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 โดยมีพระอิศรพันธ์โสภณเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษร ส่วนวิชาภาษาอังกฤษมีพระอาจารย์ถวายการสอนคือ หม่อมเจ้ามัณฑารพ กมลาศน์, หม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล, หม่อมจันทร์ เทวกุล ณ อยุธยา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์[12] ทั้งนี้พระองค์ได้รับการกวดขันจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถอย่างสมัยใหม่ทั้งการศึกษา, การแต่งกาย, แนวคิด และการปฏิบัติพระองค์[13] เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี มีพระชันษา 12 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ พระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี[16]
ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้การสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร[17] ในรัชกาลนี้ พระองค์ได้รับพระราชทานพระยศทางทหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่สอง มีพระยศเป็นนายพันเอก ซึ่งเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์เองก็เคยรับสั่งกับเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิตว่า เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ให้จัดงานแบบทหารด้วย โดยรับสั่งว่า "ฉันเป็นทหาร"[12]
และท้ายที่สุดในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชร์บุรีราชสิรินธร[18]
สิ้นพระชนม์
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/87/Queen_Savang_Vadhana%2C_Mahidol_Adulyadej_and_Valaya_Alongkorn_2.jpg/210px-Queen_Savang_Vadhana%2C_Mahidol_Adulyadej_and_Valaya_Alongkorn_2.jpg)
เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่ยังทรงพระชนม์ แต่พระองค์ก็มีพระโรคประจำพระองค์คือพระวักกะพิการเรื้อรัง (ไตพิการเรื้อรัง) เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง 2 ครั้ง และมีพระดำริจะเสด็จไปสิ้นพระชนม์ที่ต่างประเทศเสีย เพื่อมิให้พระชนนีต้องวิตกกังวลหรือยุ่งยากพระทัย แต่พระองค์ได้เสด็จกลับประเทศสยามเพราะทรงทราบข่าวการประชวรของพระชนนี และพระอาการของพระองค์กลับกำเริบขึ้น[19] จนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2482) มีพระอาการหนักมากจนน่าวิตก[12]
พระองค์สิ้นพระชนม์ที่วังคันธวาส ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2482) เวลา 23.15 นาฬิกา ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชันษา 54 ปี ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารตลอดจนผู้ใกล้ชิด นับเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่สิ้นพระชนม์[19] ในการนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี เสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนหน้านี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ไม่เคยเสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชโอรสธิดาพระองค์ใด เนื่องจากคติโบราณที่ห้ามบิดามารดาเผาศพบุตร มิฉะนั้นต้องเผาอีก แต่ครั้งนี้เป็นพระราชธิดาองค์ท้ายสุด พระองค์จึงได้เสด็จมา และมีพระดำรัสที่มีนัยยะความชอกช้ำพระทัย และประชดประชันในพระชะตาชีวิตว่า "...อ๋อ ไปส่งให้หมด พอกันที ไม่เคยไปเลยจนคนเดียว คนนี้ต้องไปหมดกันที"[19] พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ ท้องสนามหลวง[20][21]
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้พระราชทานวังคันธวาสให้กับโรงเรียนราชินีบน เพื่อเก็บผลประโยชน์เป็นรายได้บำรุงโรงเรียน [22] ปัจจุบันพื้นที่ของวังคันธวาสได้กลายเป็นที่ตั้งของโรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน[23]
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a1/Princess_Valaya_Alongkorn_2.jpg/190px-Princess_Valaya_Alongkorn_2.jpg)
สิ่งที่พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ คือ การเย็บปักถักร้อย ทรงทำผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว เสื้อกันหนาว หรือไม่ก็ทรงร้อยดอกไม้ ทรงจัดดอกไม้ในแจกันและทรงพระอักษร บางคราวจะทรงเล่นเกม เช่น หมากฮอส สกาลูโด ผสมอักษรอังกฤษเป็นคำ ๆ ทรงเลือกแต่งฉลองพระองค์ซึ่งมีสีสันสวยงาม ทั้งนี้พระองค์โปรดปรานฉลองพระองค์กระโปรง[11] และตัดพระเกศาอย่างชาวตะวันตก[11] ทั้งยังทรงเป็นผู้ริเริ่มการนุ่งผ้าถุงเป็นพระองค์แรก[11] โดยการดัดแปลงผ้าซิ่นธรรมดาให้เป็นผ้าถุงสำเร็จเพื่อความสะดวกสบายในการนุ่ง[24]
พระองค์ถือเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่ทรงนำสมัยในเรื่องการแต่งกาย ฉลองพระองค์ของเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ถือเป็นฉลองพระองค์เจ้านายที่ทันสมัยและเก๋ไก๋ที่สุดในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[11] ซึ่งพระพี่เลี้ยงหวน หงสกุล ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความว่า "...ท่านโปรดทรงหนังสือฝรั่ง ทรงรับแมคคาซีนนอก แม้แต่แบบเสื้อก็สั่งนอก แม่ [พระพี่เลี้ยงหวน] ก็เป็นผู้เย็บให้ทรงคนเดียว บางครั้งก็ทรงเลือกแบบเอง แล้วให้ฝรั่งห้างยอนแซมสันตัด แต่เป็นชื่อของแม่ และวัดตัวแม่เอง ไม่ต้องลอง นำไปถวายก็ทรงพอดีเลย ถ้าเป็นเสื้อแม่ ฝรั่งเรียกราคาตัวละ ๘๐ บาท ถ้าเป็นฉลองพระองค์เขาก็เรียกราคาแพงกว่านั้น ต่อมาเมื่อเย็บได้เก่งแล้ว ภายหลังก็ไม่ต้องจ้างฝรั่งเย็บ"[25] พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ก็ทรงกล่าวถึงพระองค์ใน เกิดวังปารุสก์ ความว่า "...ทูลหม่อมอาหญิงท่านทั้งงามทั้งเก๋ ข้าพเจ้าชอบไปเฝ้าท่านบ่อย ๆ... "[24] ในช่วงงานวันสมโภชพระนคร 150 ปี มีข่าวลือเกี่ยวกับการลอบทำร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่สำคัญ[24] พระองค์ก็มิทรงหวาดหวั่นและกล่าวถึงด้วยพระอารมณ์ขันว่า "...วันนี้แต่งเต็มที่ เพราะเวลาตายจะได้สวย ๆ..."[26]
พระองค์ไม่โปรดเครื่องประดับชิ้นใหญ่ แม้จะทรงมีเครื่องประดับจำนวนมากก็ตาม แต่โปรดเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ ที่เหมาะสมกับฉลองพระองค์ในแต่ละชุด ซึ่งเด็ก ๆ ในพระอุปถัมภ์ พระองค์ก็ไม่ทรงปล่อยให้เชย หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล ทรงเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า เมื่อโรงเรียนราชินีมีงานออกร้านขายของนั้น โปรดให้หม่อมเจ้าพิไลยเลขามาช่วยขายของให้เจ้านายต่างประเทศ รับสั่งให้ถอดเครื่องเพชรที่แต่งอยู่ออกให้หมด เหลือเพียงจี้เพชรอย่างเดียว แล้วตรัสว่า "เด็กฝรั่งเขาไม่แต่งเพชรมาก ๆ "[27] รวมทั้งนางข้าหลวงของพระองค์ถูกกล่าวถึงว่า "...ไม่มีข้าหลวงตำหนักใดจะสวยเก๋ทันสมัยเท่าข้าหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์..."[24]
โปรดการอ่านหนังสือ ในทุก ๆ วันจะทรงพระอักษรในช่วงบ่าย บางคราวพระพี่เลี้ยงจันทร์จะนำหนังสือที่ทรงอยู่ไปซ่อนเพื่อที่จะให้พระองค์บรรทม แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะพระองค์จะทรงเล่มอื่นต่อไปหรือไม่ก็จะทรงหาหนังสือนั้นจนพบ เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ พระองค์เคยรับสั่งกับข้าหลวงว่า "ถ้าเกิดไฟไหม้ไม่ต้องเก็บเครื่องเพชร ให้เก็บหนังสือก่อน"[12]
พระองค์ไม่โปรดคนพูดโกหก และจะทรงทำโทษข้าหลวงที่พูดปด ดังปรากฏความว่า "...ความผิดที่สำคัญคือเรื่องการโกหก ถ้าใครพูดโกหกจะถูกเอาป้ายแขวนคอทั้งสองข้าง ในแผ่นป้ายจะเขียนว่า 'ฉันเป็นคนไม่ดี ฉันพูดปด' และจะมีผู้ใหญ่พาตัวตระเวนไปตามที่มีคนอยู่มาก ๆ เพื่อจะได้อายและเข็ดหลาบ จะได้ไม่ประพฤติตัวอย่างนี้อีก..."[28]
พระกรณียกิจ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2443 พระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบำเพ็ญพระกุศลสร้างสะพานข้ามคลองเปรมประชากรเพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ เนื่องในโอกาสเจริญพระชันษา 15 ปี และจะก้าวเข้าสู่พระชันษา 17 ปี เสมอพระเชษฐาสองพระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ โดยชื่อของสะพานได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สะพานชมัยมรุเชฐ" (ในราชกิจจานุเบกษาสะกดว่า "ชมัยมรุเชษฐ") ซึ่งหมายถึง พี่ชายผู้เป็นเทพ 2 พระองค์[29]
นอกจากนี้พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาของกุลสตรีไทยและทรงทำนุบำรุงการศึกษาของสตรีจำนวนมาก เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ให้แก่โรงเรียนราชินี, สร้างโรงเรียนสตรีขึ้นอีกแห่งพร้อมทั้งประทานที่ดินและสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประทานนามว่า โรงเรียนราชินีบน ในปี พ.ศ. 2472[22][30] ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 พระองค์ได้ประทานเงิน 6,000 บาท แก่โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้รื้อถอนอาคารเดิมเพื่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ ทั้งยังประทานเงินอีกจำนวน 2,000 บาท เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียน[31] วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2475 ได้ประทานเงินบำรุงโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ แห่งละ 100 บาท[32] และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยประทานอาคารพร้อมที่ดินประมาณ 4 ไร่ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ซึ่งต่อมาคือมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์)[33][34]
ด้านการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2454 พระองค์ได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงโรงพยาบาลสามเสน (ปัจจุบันคือวชิรพยาบาล), โรงพยาบาลสำหรับรักษาโรคติดต่อกัน (ปัจจุบันถูกยุบแล้วเปลี่ยนเป็นสถาบันบำราศนราดูร), โรงพยาบาลคนเสียจริต (ปัจจุบันคือสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา) และโรงพยาบาลบางรัก (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลเลิดสิน) แห่งละ 28 บาท รวมเป็นเงิน 112 บาท เนื่องในโอกาสเจริญพระชันษาเสมอสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี[35] และประทานที่ดินสร้างหอพักนักศึกษาแพทย์ (หอชาย 1) ของโรงพยาบาลศิริราช ตามคำกราบทูลของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[36] เป็นตึกสามชั้น มีมุขสามมุขทั้งทิศเหนือและใต้ จำนวนห้องพัก 100 ห้อง[37] ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ก่อสร้างหอพักชายขึ้นใหม่ทดแทนหอเดิมที่เคยประทานที่ดินไว้ โดยสร้างเป็นตึกสิบสองชั้น ห้องพัก 160 ห้อง คงเหลือสิ่งก่อสร้างเดิมคือรั้วสามด้านและหอพระ[37] การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานนามหอพักใหม่นี้ว่า "มหิตลาคาร สมเด็จพระราชปิตุจฉา" เพื่อเป็นเกียรติแก่ทั้งสองพระองค์ โดยมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงเปิดมหิตลาคาร สมเด็จพระราชปิตุจฉา เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2538[38]
ด้านศาสนา พระองค์มีศรัทธาในบวรพุทธศาสนา โดยจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวาระสำคัญ เช่น เมื่อครั้งมีพระชันษา 25 ปี ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เท่ากับพระชันษาคือ 25 ชั่ง ถวายแก่พระอารามที่บูรพมหากษัตริย์ทรงสถาปนาไว้ คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร, วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร และวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร พระอารามละ 5 ชั่ง[39]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
![]() ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะยะค่ะ/เพคะ |
พันเอกหญิง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม |
ประจำการ | พ.ศ. 2455–2482 |
ชั้นยศ | ![]() |
หน่วย | กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 16 เมษายน พ.ศ. 2427 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 : สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง[16]
- 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี[16]
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 : สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี[40][41]
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468 : สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร[17]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร[42]
- 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 : สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชร์บุรีราชสิรินธร[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2440 –
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)[43]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายใน)[44]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[45]
- พ.ศ. 2463 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[46]
- พ.ศ. 2451 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[47]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[48]
- พ.ศ. 2469 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[49]
- พ.ศ. 2481 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[50]
พระยศทางทหาร
[แก้]- นายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ 2[51] ต่อมาเป็นผู้บังคับการพิเศษกองพันที่ 2 กรมทหารม้าที่ 1[52][53] และกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์[54] ตามลำดับ
ตราประจำพระองค์
[แก้]สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร มีตราประจำพระองค์ ประกอบด้วยอักษรพระนาม วอ. มาจากพระนาม "วไลยอลงกรณ์" อยู่ภายในกรอบห้าเหลี่ยมลักษณะคล้ายเพชร สื่อถึงพระนามกรม "เพชรบุรีราชสิรินธร" และรูปห้าเหลี่ยมยังสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[55]
พระอนุสรณ์
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/e/e3/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3.jpg)
หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ได้มีการสร้างพระอนุสาวรีย์เป็นที่พึงระลึกถึงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร อันได้แก่[56]
- พระอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เป็นพระรูปยืนเต็มพระองค์ ความสูง 170 เซนติเมตร หล่อด้วยโลหะรมดำ มีกนก บุญโพธิ์แก้ว เป็นประติมากร
- พระอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เป็นพระรูปขนาดครึ่งพระองค์ ประดิษฐานหน้ามหาวิทยาลัย
- พระอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ณ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระรูปยืนเต็มพระองค์ สูง 170 เซนติเมตร หล่อด้วยโลหะรมดำ ประดิษฐานบนพระแท่นหินอ่อนสีขาว เช่นเดียวกับที่ประดิษฐานในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี โดยมีปติมากรคนเดียวกัน
- พระอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ณ โรงเรียนราชินีบน กรุงเทพมหานคร เป็นพระรูปประทับนั่งบนพระเก้าอี้ ขนาดเท่าพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดง โดยมีคุณไข่มุกด์ ชูโต เป็นประติมากร
- พระอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพมหานคร เป็นพระรูปประทับนั่งบนพระเก้าอี้ขนาดเท่าพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะทอง เหลืองผสมทองแดง เช่นเดียวกับอนุสาวรีย์ที่โรงเรียนราชินีบน โดยมีประติมากรคนเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีการนำพระนามของพระองค์ไปใช้ในการตั้งชื่อสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ด้วย เช่น ค่ายเพชรบุรีราชสิรินธร (ร.11 พัน 3 รอ.), มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ และพระนามของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็มาจากพระนามกรมของพระองค์ด้วย
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 86
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 87
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 88-89
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 91
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 98
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 101
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 104
- ↑ มหาวชิรุณหิศ, สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้า. "จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พุทธศักราช ๒๔๒๗ (วันพฤหัสบดี วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เก็บถาวร 2007-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2669, ปีที่ 52, ประจำวันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548
- ↑ 10.0 10.1 ปรีดี พิศภูมิวิถี. เก็จแก้วกัลยา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 14
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 สวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, หน้า 69
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 "สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ - พระประวัติ : สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-16. สืบค้นเมื่อ 2006-12-24.
- ↑ 13.0 13.1 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. "สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ผู้นำการแต่งกายทั้งงามทั้งเก๋". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 34 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2556. กรุงเทพฯ : มติชน. 2556, หน้า 24
- ↑ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกแก้ว เมียขวัญ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มติชน. 2551, หน้า 104
- ↑ ศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา, หม่อม. อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร. นนทบุรี : สารคดี, 2562, หน้า 98
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานพระสุพรรณบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (44): 533. 31 มกราคม พ.ศ. 2439.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 17.0 17.1 "ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 1727–1728. 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 18.0 18.1 "ประกาศเฉลิมพระเกียรติยศพระราชปิตุจฉา พระเชษฐภคินี และพระอนุชา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0ง): 1178. 14 กรกฎาคม 2478. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-02. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. พระราชหฤทัยในสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ กับพระราชโอรสพระราชธิดาทั้ง ๘ พระองค์. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555, หน้า 35
- ↑ "หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานเพลิงพระศพและฉลองพระอัฏฐิ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร 2484" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0ง): 1223. 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2484.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ประมวญสาร. 26 พฤษภาคม 2484. หน้า 2
- ↑ 22.0 22.1 พระราชประวัติสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
- ↑ โรงเรียนราชินีบน - สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. "สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ผู้นำการแต่งกายทั้งงามทั้งเก๋". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 34 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2556, หน้า 25
- ↑ หอมติดกระดาน, หน้า 43
- ↑ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. "สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ผู้นำการแต่งกายทั้งงามทั้งเก๋". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 34 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2556, หน้า 26
- ↑ หอมติดกระดาน, หน้า 126
- ↑ หอมติดกระดาน, หน้า 142
- ↑ "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ทรงบริจาคทรัพย์สร้างตะพาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (32): 428. 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประวัติของโรงเรียนราชินี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-18. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
- ↑ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี - ประวัติโรงเรียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แผนกกรมศึกษาธิการ เรื่องประทานเงินบำรุงโรงเรียนประจำมณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49: 53. 3 เมษายน 2475.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จังหวัดปทุมธานี เป็นสถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2546" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (88ก): 1. 20 กันยายน พ.ศ. 2546. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2015-03-26.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย". มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-07. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งความกรมศุขาภิบาล เรื่อง สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวลัยอลงกรณ์ ประทานเงินบำรุงโรงพยาบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 264. 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2454.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชประวัติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฉบับสมบูรณ์". มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-04. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 37.0 37.1 "๑๒๐ ปี โรงเรียนแพทย์ศิริราช". สรรใจ แสงวิเชียร, พ.บ., พ.ด. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ในพระนามาภิไธย มหิดล" (PDF). มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แพนกสังฆการี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (5): 11. 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2451.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (ก): 1. 30 ตุลาคม 2453.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154. 30 กรกฎาคม 2454.
- ↑ "ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 232. 13 ธันวาคม 2468.
- ↑ "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์และเครื่องยศที่พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ได้รับพระสุพรรณบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (45): 548. 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชพิธีฉัตรมงคล แลถวายบังคมพระบรมรูป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 1767. 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-01-15.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 (35): 374. 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36 (0): 3292. 25 มกราคม พ.ศ. 2462.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1153. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0ง): 2422. 11 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0ง): 2958. 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29: หน้า 2355. 9 มีนาคม 2455.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ผู้บังคับการพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45: หน้า 418. 6 พฤษภาคม 2471.
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 94
- ↑ "แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ผู้บังคับการพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 49: หน้า 2426. 9 ตุลาคม 2475.
- ↑ "กำเนิด "มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์" กับอนุสรณ์ เจ้าฟ้าวไลยฯ ผู้ทรงอุปถัมภ์การศึกษา". ศิลปวัฒนธรรม. 15 กุมภาพันธ์ 2565. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระอนุสาวรีย์:สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร". สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-13. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-09-21.
- จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, นายแพทย์. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ : ลายคำ, 2552. 600 หน้า. ISBN 978-974-9747-52-0
- ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. หอมติดกระดาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553. 394 หน้า. ISBN 978-974-02-0643-9
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Commons-logo.svg/30px-Commons-logo.svg.png)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2427
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2482
- พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5
- เจ้าฟ้าหญิง
- กรมหลวง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.1
- เสียชีวิตจากโรคไต
- ทหารบกชาวไทย