ข้ามไปเนื้อหา

อักษรมองโกเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mongolian script)
อักษรมองโกเลีย
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ พ.ศ. 1747 (ค.ศ. 1204)–ปัจจุบัน
ทิศทางแนวตั้งซ้ายไปขวา, ซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษามองโกเลีย
ภาษาเอเวนค์
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบลูก
อักษรแมนจู
อักษรโตโด (Clear script)
Vaghintara script
ISO 15924
ISO 15924Mong (145), ​Mongolian
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Mongolian
ช่วงยูนิโคด
U+1800–U+18AF
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรมองโกเลีย (มองโกเลีย: Mongγol bičig, ซีริลลิก: Монгол бичиг, Mongol bichig) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย

เมื่อพ.ศ. 1751 เจงกิสข่านรบชนะไนมันและนำอักษรอุยกูร์ ตาตาร์-ตอนกา ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นอักษรอุยกูร์ มาเขียนภาษามองโกเลีย อักษรอุยกูร์เหล่านี้มาจากอักษรซอกเดีย ที่มาจากอักษรอราเมอิกอีกต่อหนึ่ง

ระหว่างพ.ศ. 1800 – 2000 ภาษามองโกเลียเขียนด้วยอักษรจีน อักษรอาหรับและอักษรพักปา ในช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากสหภาพโซเวียต ภาษามองโกเลียเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2474 และใช้อักษรซีริลลิกเมื่อ พ.ศ. 2480 ใน พ.ศ. 2484 รัฐบาลออกกฎหมายล้มเลิกอักษรมองโกเลีย แต่ได้มีการฟื้นฟูอักษรดังกล่าวอีกเมื่อ พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีการสอนการใช้อักษรนี้ในโรงเรียน ประชาชนราวครึ่งหนึ่งในมองโกเลียรู้อักษรนี้นิดหน่อยหรือไม่รู้เลย ส่วนใหญ่จะอ่านได้เฉพาะอักษรซีริลลิก อักษรมองโกเลียนี้ยังใช้อยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ในประเทศจีน

อักษรนี้แยกสระและพยัญชนะออกจากกัน เขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง บรรทัดจากซ้ายไปขวา ซึ่งต่างจากอักษรที่เขียนในแนวตั้งอื่นๆที่มักจะเขียนจากขวาไปซ้าย อักษรมีรูปร่างต่างกันขึ้นกับตำแหน่งภายในคำ


ยูนิโคด

[แก้]

อักษรมองโกเลียได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดใน ช่วงรหัส U+1800–U+18AF

Mongolian[1][2]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+180x FVS
1
FVS
2
FVS
3
MVS FVS
4
U+181x
U+182x
U+183x
U+184x
U+185x
U+186x
U+187x
U+188x
U+189x
U+18Ax
Notes
1.^ ตั้งแต่ยูนิโคดเวอร์ชัน 14.0
2.^ ส่วนสีเทาคือบริเวณที่ไม่ได้ถูกกำหนดอักษร


อ้างอิง

[แก้]