ข้ามไปเนื้อหา

จื๋อโนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จื๋อโนม
ชนิด
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงต้นศตวรรษที่ 20
ทิศทางแนวตั้งขวาไปซ้าย Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาเวียดนาม
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
อักษรจีน
  • จื๋อโนม
ระบบพี่น้อง
คันจิ, ฮันจา, สือดิบผู้จ่อง, คีตัน
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

จื๋อโนม (เวียดนาม: chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วยอักษรจีน ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - Hán tự) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วยจื๋อโกว๊กหงือซึ่งดัดแปลงจากอักษรละติน

ประวัติ

[แก้]

เวียดนามถูกจีนปกครองนานนับพันปีระหว่าง พ.ศ. 432–1481 เป็นผลให้ภาษาเขียนในทางราชการเป็นภาษาจีนโบราณที่รู้จักในชื่อ "จื๋อญอ" (chữ Nho; 字儒) ในภาษาเวียดนาม จื๋อญอยังใช้ต่อมาในเวียดนามร่วมกับจื๋อโนมและจื๋อโกว๊กหงือจนถึง พ.ศ. 2461

ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1500 ชาวเวียดนามปรับปรุงอักษรจีนใช้เขียนภาษาของตน เรียกว่าจื๋อโนมหรืออักษรใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของอักษรนี้คือจารึกโลหะที่เจดีย์บ๋าวอาน (Bảo An) ในจังหวัดหวิญฟุก อายุราว พ.ศ. 1752 ในช่วง พ.ศ. 1800 อักษรชุดนี้ได้เริ่มมีการนำมาใช้ทางวรรณคดี กวีและนักเขียนชาวเวียดนามที่มีชื่อเสียงหลายคนเขียนงานของตนโดยใช้จื๋อโนม เช่น เหงียน เทวียน (Nguyễn Thuyên), เหงียน สี โก๊ (Nguyễn Sĩ Cố; พ.ศ. 1900), เหงียน จ๋าย (Nguyễn Trãi; พ.ศ. 2000), โห่ กวี๊ ลี (Hồ Quý Ly; พ.ศ. 1900) ผู้แปลภาษาจีนเป็นภาษาเวียดนามและเขียนประกาศของทางราชการ

ส่วนหนึ่งจาก Tự Đức Thánh Chế Tự Học Giải Nghĩa Ca ที่เขียนด้วยจื๋อโนม

เมื่อมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาถึงเวียดนามเมื่อประมาณ พ.ศ. 2200 พวกเขาได้คิดค้นการเขียนภาษาเวียดนามด้วยอักษรละติน เรียกว่า "จื๋อโกว๊กหงือ" ใช้ในหนังสือสวดมนต์และหนังสือทางศาสนา ฯลฯ อักษรนี้มีผู้ประดิษฐ์หลายคน แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ อาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด (Alexandre de Rhodes) มิชชันนารีคณะเยสุอิตชาวฝรั่งเศส และต่อมาเริ่มมีการสอนจื๋อโกว๊กหงือในโรงเรียนต่าง ๆ ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2300 เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอีก 200 ปีต่อมา ปัจจุบัน ภาษาเวียดนามเขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงือเพียงอย่างเดียว ส่วนจื๋อโนมใช้ในทางวิชาการเท่านั้น

จื๋อโนมเป็นรูปแบบผสมของอักษรจีนมาตรฐานกับสัญลักษณ์ที่ใช้เฉพาะภาษาเวียดนาม (อักษรจีนหลายตัวที่ถูกดัดแปลงไม่มีความหมายในภาษาจีน) ในการนำอักษรจีนมาใช้ ผู้ประดิษฐ์จื๋อโนมยืมคำจีนมาเป็นจำนวนมากและปรับให้เป็นการออกเสียงของภาษาเวียดนาม ทำให้มี 2 คำสำหรับเรียกสิ่งเดียวกันคือ คำจีน-เวียดนาม กับ คำที่มีต้นกำเนิดในภาษาเวียดนาม สัญลักษณ์ใหม่จะรวมสัญลักษณ์ที่แสดงความหมายและแสดงการออกเสียงในภาษาเวียดนาม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]