ข้ามไปเนื้อหา

อักษรคุรมุขี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรคุรมุขี
ਗੁਰਮੁਖੀ
อักษรคุรมุขีดั้งเดิม
ชนิด
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 16-ปัจจุบัน
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูด
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
ขุทาพาที, โขชกี, มหาชนี, มุลตานี
ISO 15924
ISO 15924Guru (310), ​Gurmukhi
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Gurmukhi
ช่วงยูนิโคด
U+0A00–U+0A7F
[a] ทฤษฎีต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมียังคงเป็นที่โต้แย้ง
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรคุรมุขี หรือ อักษรกูร์มูคี หรือ อักษรเกอร์มุกห์[2] (ปัญจาบ: ਗੁਰਮੁਖੀ, เสียงอ่านภาษาปัญจาบ: [ˈɡʊɾᵊmʊkʰiː], อักษรชาห์มุขี: گُرمُکھی) เป็นอักษรสระประกอบที่พัฒนาจากอักษรศารทา/ลัณฑา ทำให้เป็นมาตรฐานและใช้งานโดยคุรุอังกัตเทพ (ค.ศ. 1504–1552) คุรุคนที่ 2[3][1] โดยทั่วไปถือเป็นอักษรของชาวซิกข์[4][5][6][7][8] มีผู้ใช้งานอักษรคุรมุขีในภาษาปัญจาบเป็นอักษรทางการในรัฐปัญจาบ[7][8] คำว่าคุรมุขีแปลว่า “มาจากปากของคุรุ”

คุรุครันถสาหิพ คัมภีร์หลักของศาสนาซิกข์ เขียนในภาษาและสำเนียงฮินดีหลายแบบตามอักษรคุรมุขี ซึ่งอยู่ภายใต้ชื่อ Sant Bhasha[9] หรือ ภาษานักบุญ

อักษรคุรมุขีในปัจจุบันมีอักษรดั้งเดิม 35 ตัว ทำให้มีชื่อเรียกทั่วไปอีกแบบว่า paintī หรือ "สามสิบห้า"[7] กับพยัญชนะเสริม 6 ตัว,[7][10][11] เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระ 9 ตัว, เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสำหรับเสียงนาสิก 2 ตัว, เครื่องหมายเสริมสัทอักษรที่เป็นคู่ 1 ตัว และอักษรตัวห้อย 3 ตัว

จุดกำเนิด

[แก้]

ต้นกำเนิดของอักษรนี้คืออักษรพราหมี อักษรคุรมุขีรุ่นแรกพัฒนามาเป็นอักษรคุปตะเมื่อราว พ.ศ. 900–1300 ตามด้วยอักษรสรทะ เมื่อราว พ.ศ. 1300 สุดท้ายปรับรูปเป็นอักษรสรทะแบบเทวเสศะเมื่อราว พ.ศ. 1500–1900 อักษรคุรมุขีปัจจุบันประดิษฐ์โดยคุรุองค์ที่ 2 ของศาสนาสิกข์คือ คุรุอังกัตเทพ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าที่จริงแล้วคุรุท่านนี้ได้จัดมาตรฐานของอักษรนี้ใหม่มากกว่า รูปแบบของอักษรคุรมุขีพบในอักษรโบราณตั้งแต่ราว พ.ศ. 1000–1500 แม้แต่คุรุนานักเทพ ก็เคยใช้อักษรแบบอักษรคุรมุขีในงานเขียนของท่าน

คุรุอังกัตเทพปรับปรุงอักษรนี้เพื่อใข้เขียนคัมภีร์ของศาสนาสิกข์ อักษรที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบมาก่อนหน้านี้คืออักษรตกริและอักษรลันทะ อักษรลันทะที่แปลว่า “ไม่มีหาง” เป็นอักษรที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันและการค้า แต่ไม่ใช้ในทางวรรณกรรมเพราะไม่มีรูปสระ จึงเป็นเหตุให้ท่านคุรุไม่นำอักษรนี้ไปใช้เพราะจะเกิดปัญหาในการออกเสียง

การที่อักษรนี้ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนาสิกข์จึงทำให้มีความสำคัญในทางวรรณกรรมสำหรับชาวสิกข์ อักษรนี้เป็นอักษรราชการของปัญจาบตะวันออก ส่วนปัญจาบตะวันตกใช้อักษรอาหรับดัดแปลงแบบอูรดูเรียกว่า ชาร์มูคี อักษรคุรมุขีมี 35 ตัว 3 ตัวแรกเป็นฐานของเสียงสระไม่ใช่พยัญชนะ และมีพยัญชนะอีก 6 ตัวสร้างขึ้นโดยเติมจุดใต้พยัญชนะเดิม พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็นอะ สระลอยคือ อุระ ไอระ และอิริ นอกจากไอระที่ใช้แทนเสียง /อ/ แล้ว ไม่มีรูปพยัญชนะใดที่เขียนโดยไม่มีรูปสระ

ตัวอักษร

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]

การถอดเป็นอักษรไทยตามรูป ใช้กับภาษาที่จัดพยัญชนะวรรคตามแบบภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤตเท่านั้นดูเพิ่มที่พยัญชนะวรรค

อักษรคุรมุขี ถอดเป็นอักษรโรมัน ถอดเป็นอักษรไทยตามรูป ถอดเป็นอักษรไทยตามเสียง
ka /ก/
kha /ค/
ga ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย
gha ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย
nga /ง/
ca /จ/
cha /ช/
ja ไม่มี
jha ไม่มี
nya ไม่มี
tta ไม่มี
ttha ไม่มี
dda ไม่มี
ddha ไม่มี
nna ไม่มี
ta /ต/
tha /ท/
da /ด/
dha ไม่มี
na /น/
pa /ป/
pha /พ/
ba /บ/
bha ไม่มี
ma /ม/
ya /ย/
ra /ร/
la /ล/
ਲ਼ lla - ไม่มี
va /ว/
ਸ਼ sha ไม่มี
sa /ซ/
ha /ฮ/
ਖ਼ khha ไม่มี
ਗ਼ ghha ไม่มี
ਜ਼ za ไม่มี
rra ไม่มี
ਫ਼ fa /ฟ/

สระ

[แก้]

= อะ (a), = อา (aa), = อิ (i), = อี (ii), = อุ (u), = อู (uu), = เอ (e), = ไอ (ai), = โอ (o), = เอา (au)

= ka, ਕਾ = kaa, ਕੀ = ki, ਕਿ= kii, ਕੁ = ku, ਕੂ = kuu, ਕੇ = ke, ਕੈ = kai, ਕੋ = ko, ਕੌ = kau

ตัวเลข

[แก้]

อักษรคุรมุขีมีชุดตัวเลขเป็นของตนเอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนระบบเลขฮินดู–อาหรับ มักพบในข้อความสมัยโบราณเก่า ปัจจุบันมีการใช้ตัวเลขนี้แทนตัวเลขอาหรับตะวันตกมาตรฐานในบางครั้ง

ตัวเลข ੧੦
ตัวเลขฮินดู-อารบิก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ชื่อ ਸੁੰਨ ਇੱਕ ਦੋ ਤਿੰਨ ਚਾਰ ਪੰਜ ਛੇ ਸੱਤ ਅੱਠ ਨੌਂ ਦਸ
ทับศัพท์ sunna ikka do tinna* cāra panja che satta aṭṭha na͠u dasa
สัทอักษรสากล [sʊnːᵊ] [ɪkːᵊ] [d̪oː] [t̪ɪnːᵊ] [t͡ʃaːɾᵊ] [pənd͡ʒᵊ] [t͡ʃʰeː] [sət̪ːᵊ] [əʈːʰᵊ] [nɔ̃:] [d̪əsᵊ]

*ในสำเนียงปัญจาบบางส่วน คำว่าสามออกเสียงเขียนเป็น ਤ੍ਰੈ trai (สัทอักษรสากล: [t̪ɾɛː])[12]

เครื่องหมายพิเศษ

[แก้]

ใช้ในทางศาสนา หมายถึง พระเจ้าองค์เดียว

อักษรคุรมุขีในคอมพิวเตอร์

[แก้]

สำหรับผู้ใช้วินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) สามารถอ่านอักษรคุรมุขีหรือพิมพ์ข้อความสั้น ๆ ด้วยโปรแกรม Character Map ฟอนต์ Raavi

คุรมุขี
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+0A0x            
U+0A1x    
U+0A2x  
U+0A3x             ਿ
U+0A4x                
U+0A5x                    
U+0A6x            
U+0A7x                    


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Bāhrī 1997, p. 181.
  2. Microsoft© Office Word 2003 Thai
  3. Masica 1993, p. 143.
  4. Mandair, Arvind-Pal S.; Shackle, Christopher; Singh, Gurharpal (December 16, 2013). Sikh Religion, Culture and Ethnicity. Routledge. p. 13, Quote: "creation of a pothi in distinct Sikh script (Gurmukhi) seem to relate to the immediate religio–political context ...". ISBN 9781136846342. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2017. สืบค้นเมื่อ 23 November 2016.
  5. Mann, Gurinder Singh; Numrich, Paul; Williams, Raymond (2007). Buddhists, Hindus, and Sikhs in America. New York: Oxford University Press. p. 100, Quote: "He modified the existing writing systems of his time to create Gurmukhi, the script of the Sikhs; then ...". ISBN 9780198044246. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2017. สืบค้นเมื่อ 23 November 2016.
  6. Shani, Giorgio (March 2002). "The Territorialization of Identity: Sikh Nationalism in the Diaspora". Studies in Ethnicity and Nationalism. 2: 11. doi:10.1111/j.1754-9469.2002.tb00014.x. ...the Guru Granth Sahib, written in a script particular to the Sikhs (Gurmukhi)...
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Harjeet Singh Gill (1996). "The Gurmukhi Script". ใน Peter T. Daniels; William Bright (บ.ก.). The World's Writing Systems. Oxford University Press. pp. 395–399. ISBN 978-0-19-507993-7.
  8. 8.0 8.1 Jain & Cardona 2007, p. 53.
  9. Harnik Deol, Religion and Nationalism in India. Routledge, 2000. ISBN 0-415-20108-X, 9780415201087. Page 22. "(...) the compositions in the Sikh holy book, Adi Granth, are a melange of various dialects, often coalesced under the generic title of Sant Bhasha."
    The making of Sikh scripture by Gurinder Singh Mann. Published by Oxford University Press US, 2001. ISBN 0-19-513024-3, ISBN 978-0-19-513024-9 Page 5. "The language of the hymns recorded in the Adi Granth has been called Sant Bhasha, a kind of lingua franca used by the medieval saint-poets of northern India. But the broad range of contributors to the text produced a complex mix of regional dialects."
    Surindar Singh Kohli, History of Punjabi Literature. Page 48. National Book, 1993. ISBN 81-7116-141-3, ISBN 978-81-7116-141-6. "When we go through the hymns and compositions of the Guru written in Sant Bhasha (saint-language), it appears that some Indian saint of 16th century..."
    Nirmal Dass, Songs of the Saints from the Adi Granth. SUNY Press, 2000. ISBN 0-7914-4683-2, ISBN 978-0-7914-4683-6. Page 13. "Any attempt at translating songs from the Adi Granth certainly involves working not with one language, but several, along with dialectical differences. The languages used by the saints range from Sanskrit; regional Prakrits; western, eastern and southern Apabhramsa; and Sahiskriti. More particularly, we find sant bhasha, Marathi, Old Hindi, central and Lehndi Panjabi, Sgettland Persian. There are also many dialects deployed, such as Purbi Marwari, Bangru, Dakhni, Malwai, and Awadhi."
  10. "Let's Learn Punjabi: Research Centre for Punjabi Language Technology, Punjabi University, Patiala". learnpunjabi.org. Punjabi University, Patiala. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2018. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  11. Kumar, Arun; Kaur, Amandeep (2018). A New Approach to Punjabi Text Steganography using Naveen Toli. Department of Computer Science & Technology, Central University of Punjab, Bathinda, India. ISBN 978-8-193-38970-6.
  12. Bhatia, Tej (1993). Punjabi: A cognitive-descriptive grammar. Routledge. p. 367. ISBN 9780415003209. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.

บรรณานุกรม

[แก้]

The following Punjabi-language publications have been written on the origins of the Gurmukhī script:

  • Singh, Gurbaksh (G.B.) (1950). Gurmukhi Lipi da Janam te Vikas (ภาษาปัญจาบ) (5th ed.). Chandigarh, Punjab, India: Punjab University Press, 2010. ISBN 81-85322-44-9. Alternative link เก็บถาวร 2022-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Ishar Singh Tãgh, Dr. Gurmukhi Lipi da Vigyamulak Adhiyan. Patiala: Jodh Singh Karamjit Singh.
  • Kala Singh Bedi, Dr. Lipi da Vikas. Patiala: Punjabi University, 1995.
  • Dakha, Kartar Singh (1948). Gurmukhi te Hindi da Takra (ภาษาปัญจาบ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
  • Padam, Prof. Piara Singh (1953). Gurmukhi Lipi da Itihas (PDF) (ภาษาปัญจาบ). Patiala, Punjab, India: Kalgidhar Kalam Foundation Kalam Mandir. Alternative link
  • Prem Parkash Singh, Dr. "Gurmukhi di Utpati." Khoj Patrika, Patiala: Punjabi University.
  • Pritam Singh, Prof. "Gurmukhi Lipi." Khoj Patrika. p. 110, vol.36, 1992. Patiala: Punjabi University.
  • Sohan Singh Galautra. Punjab dian Lipiã.
  • Tarlochan Singh Bedi, Dr. Gurmukhi Lipi da Janam te Vikas. Patiala: Punjabi University, 1999.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]