ข้ามไปเนื้อหา

อักษรลนตารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรลนตารา
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ พ.ศ. 2243–ปัจจุบัน
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาบูกิส
ภาษามากาซาร์
ภาษามันดาร์
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
อักษรบาหลี
อักษรบาตัก
อักษรบายบายิน
อักษรบูฮิด
อักษรฮานูโนโอ
อักษรชวา
อักษรซุนดา
อักษรเรนชอง
อักษรเรชัง
อักษรตักบันวา
ISO 15924
ISO 15924Bugi (367), ​Buginese
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Buginese
ช่วงยูนิโคด
U+1A00–U+1A1F
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรลนตารา หรือ อักษรมากาซาร์ (Lontara or Makasar alphabet) พัฒนามาจากอักษรพราหมี คำว่าลนตาราเป็นภาษามลายูหมายถึงชื่อของใบปาล์มลนตราที่ใช้เขียนหนังสือในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย ตรงกับใบลานในภาษาไทยใช้เขียน ภาษาบูกิส ภาษามากาซาร์ และภาษามันดาร์ ภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในเกาะซูลาเวซี ปัจจุบันใช้เขียนเฉพาะภาษามากาซาร์

ประวัติ

[แก้]

อักษรลนตาราสืบทอดมาจากอักษรกวิ ที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทะเลเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 ไม่แน่นอนว่าอักษรนี้จะสืบทอดโดยตรงจากอักษรกวิหรือพัฒนามาจากลูกหลานของอักษรกวิอีกทีหนึ่ง อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าอักษรนี้เกิดขึ้นทีหลังอักษรเรยัง เพราะมีรูปร่างอักษรคล้ายกัน แต่อักษรลนตาราบางตัวที่ไม่ม้วนงออาจพัฒนาขึ้นมาทีหลัง

คำว่าลนตารามีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของบูกิส และตำนานของซูเรก ฆาลีโฆ อักษรชนิดนี้เคยใช้เขียนเกี่ยวกับกฎหมาย แผนที่ บันทึกการเดินทาง โดยเขียนลงบนใบของพืชวงศ์ปาล์มที่เรียกลนตารา แม้ว่าปัจจุบันอักษรละตินจะเข้ามาแทนที่อักษรลนตารา แต่ยังคงใช้อย่างจำกัดในหมู่ชาวบูกิสและมากาซาร์ ในบูกิสจะใช้ในโอกาสงานเฉลิมฉลอง เช่น งานแต่งงาน ใช้ตีพิมพ์วรรณคดีพื้นเมืองของชาวบูกิส ในมากาซาร์ใช้เขียนเอกสารส่วนตัว เช่นจดหมาย

การใช้งาน

[แก้]

อักษรบูกิสเป็นอักษรในตระกูลเดียวกับอักษรพราหมี มีพยัญชนะ 23 ตัว และแต่ละตัวมีพื้นเสียงเป็นสระ /a/ ซึ่งออกเสียงเป็น “ออ” ในภาษาบูกิส มีรูปสระเพื่อแทนเสียง /i/, /u/, /e/, /ə/, /o/ เสียงนาสิก เสียง อ ที่มีในภาษาบูกิสจะไม่เขียน ทำให้เอกสารค่อนข้างกำกวมสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้เป็นภาษาแม่ ปกติเขียนจากซ้ายไปขวา หรือจะเขียนสลับซ้ายไปขวาแล้วขวาไปซ้ายซึ่งจะพบการเขียนแบบนี้ในเอกสารเก่าๆ

ตัวอักษร

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]
ka ga nga ngka pa ba ma mpa ta da na nra
ca ja nya nca ya ra la wa sa a ha

สระ

[แก้]

เครื่องหมายแสดงสระเรียก ana’ surə’ ใช้เปลี่ยนเสียงสระที่เกาะกับพยัญชนะ มี 5 ตัวโดย /ə/ ไม่ใช้ในภาษามากาซาร์ แบ่งได้สองชุดคือ จุด (tətti’)และเครื่องหมายขีด(kəccə’)[1]

a i u e ə o
- Tətti’ riasə’ Tətti’ riawa kəccə’ riolo kəccə’ riasə’ kəccə’ rimunri


อักษรลนตาราในคอมพิวเตอร์

[แก้]

อักษรลนตาราได้ถูกเพิ่มในยูนิโค้ดตั้งแต่รุ่น 4.1

อักษรลนตารา
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+1A0x
U+1A1x ◌ᨗ ◌ᨘ ◌ᨙ ◌ᨚ ◌ᨛ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Lontara' Ugi « Dunia Kata-Kata Ku". Chimutluchu.wordpress.com. 2010-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.