อักษรไทเวียด
อักษรไทเวียด | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 16 - ปัจจุบัน[1] |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ไทดำ, ไทแดง, ไทขาว, ไทโซ่ง และไทเติ๊ก |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Tavt (359), Tai Viet |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Tai Viet |
ช่วงยูนิโคด | U+AA80–U+AADF |
อักษรไทเวียด (ไทดำ: ꪎꪳꪼꪕ; เวียดนาม: Chữ Thái Việt) เป็นอักษรพราหมีที่ใช้โดยชาวไทดำและชาวไทอื่น ๆ ในประเทศเวียดนาม[2]
ประวัติ
[แก้]นักเขียนชาวไทยรายงานว่า ระบบการเขียนนี้น่าจะสืบมาจากตัวเขียนภาษาไทยแบบเก่าในอาณาจักรสุโขทัย[3] มีผู้แนะนำว่าอักษรไทยฝักขามเป็นต้นกำเนิดของระบบการเขียนของไทดอน, ไทดำ และไทแดงใน ซึ่งมีผู้พูดในมณฑลยูนนานตะวันออก, ภาคเหนือของลาว และประเทศเวียดนาม[4]
รายละเอียด
[แก้]อักษรนี้มี 31 พยัญชนะและ 14 สระ[3] ซึ่งไม่มีสระลดรูป (inherent vowel) เหมือนอักษรสระประกอบหรืออักษรพราหมีอื่น ๆ และสระทุกตัวต้องมีสัญลักษณ์ระบุสระ โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรของสระจะตั้งอยู่ข้างบน ข้างล่าง หรือด้านซ้ายและ/หรือขวาของพยัญชนะ[1] บางสระมีพยัญชนะสุดท้ายแบบลดรูป เช่น /-aj/, /-am/, /-an/ และ /-əw/[5]
อักษรนี้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนของอักษรละติน และเพิ่มอักษรพิเศษ 5 ตัว ตัวหนึ่งระบุบุคคล ตัวหนึ่งระบุเลข "หนึ่ง" ตัวหนึ่งระบุเป็นตัวบอกซ้ำคำก่อนหน้า ตัวหนึ่งตั้งเป็นจุดเริ่มต้นข้อความ และตัวหนึ่งตั้งอยู่ที่ท้ายข้อความ[5]
ในอดีตจะไม่มีการเว้นช่องระหว่างคำ จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่เริ่มมีการเว้นช่องระหว่างคำ[5]
พยัญชนะ
[แก้]อักษร | ชื่อ | เสียง[6] | |
---|---|---|---|
ต่ำ | สูง | ||
ꪀ | ꪁ | ko | /k/ |
ꪂ | ꪃ | kho | /kʰ/ |
ꪄ | ꪅ | khho | /x/ |
ꪆ | ꪇ | go | /g/ |
ꪈ | ꪉ | ngo | /ŋ/ |
ꪊ | ꪋ | co | /tɕ/ |
ꪌ | ꪍ | cho | /tɕʰ/ |
ꪎ | ꪏ | so | /s/ |
ꪐ | ꪑ | nyo | /ɲ/ |
ꪒ | ꪓ | do | /d/ |
ꪔ | ꪕ | to | /t/ |
ꪖ | ꪗ | tho | /tʰ/ |
อักษร | ชื่อ | เสียง[6] | |
---|---|---|---|
ต่ำ | สูง | ||
ꪘ | ꪙ | no | /n/ |
ꪚ | ꪛ | bo | /b/ |
ꪜ | ꪝ | po | /p/ |
ꪞ | ꪟ | pho | /pʰ/ |
ꪠ | ꪡ | fo | /f/ |
ꪢ | ꪣ | mo | /m/ |
ꪤ | ꪥ | yo | /j/ |
ꪦ | ꪧ | ro | /r/ |
ꪨ | ꪩ | lo | /l/ |
ꪪ | ꪫ | vo | /v/ |
ꪬ | ꪭ | ho | /h/ |
ꪮ | ꪯ | o | /ʔ/ |
สระ
[แก้]ตำแหน่งพยัญชนะระบุด้วยรูปวงกลม: ◌.
สระ | ชื่อ | เสียง[7][6] |
---|---|---|
◌ꪰ | mai kang | /a/ |
◌ꪱ | aa | /aː/ |
◌ꪲ | i | /i/ |
◌ꪳ | ue | /ɨ/ |
◌ꪴ | u | /u/ |
ꪵ◌ | ee | /ɛ/ |
ꪶ◌ | o | /o/ |
◌ꪷ | mai khit | /ɔ/* |
สระ | ชื่อ | เสียง[7][6] |
---|---|---|
◌ꪸ | ia | /iə̯/ |
ꪹ◌ | uea | /ɨə̯/ |
◌ꪺ | ua | /uə̯/ |
ꪻ◌ | aue | /əw/ |
ꪼ◌ | ay | /aj/ |
◌ꪽ | an | /an/ |
◌ꪾ | am | /am/ |
- เมื่อเสียง /ɔ/ เป็นเสียงท้าย จะใช้รูป ◌ꪮ นี้แทน
บางสระเขียนด้วยการผสมรูปสระสองอัน ตารางด้านล่างมีรูปสระผสม 4 แบบ:
สระ | เสียง[7][6] |
---|---|
ꪹ◌ꪸ | /e/ |
ꪹ◌ꪷ | /ə/ |
ꪹ◌ꪱ | /aw/ |
◌ꪚꪾ | /ap/ |
บางเสียงในภาษาไทดำสะกดต่างจากภาษาไทขาว:[8]
อักษร | เทียบกับไทดำ | เสียง[8]: 17–20 |
---|---|---|
◌ꪸ | ꪹ◌ꪸ | /e/ |
◌ꪷ | ꪹ◌ꪷ | /ə/ |
◌ꪺ | ꪶ◌ | /o/ |
◌ꪮ | ◌ꪷ | /ɔ/ (ในพยางค์เปิด) |
ꪶ◌ꪉ | ◌ꪴꪉ | /uŋ/ |
ꪶ◌ꪣ | ◌ꪴꪣ | /um/ |
◌ꪝꪾ | ◌ꪾ | /am/ |
วรรณยุกต์
[แก้]เดิมทีอักษรนี้ไม่มีสัญลักษณ์วรรณยุกต์และจะแสดงเฉพาะพยัญชนะเสียงสูง/ต่ำ ทำให้ผู้อ่านต้องคาดเดาเสียงวรรณยุกต์และความหมายของคำในรายละเอียด ในคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการเพิ่มรูปวรรณยุกต์สองแบบคือ mai nueng และ mai song[1] วรรณยุกต์ 1 เขียนเฉพาะที่พยัญชนะเสียงต่ำ วรรณยุกต์ 4 เขียนเฉพาะที่พยัญชนะเสียงสูง วรรณยุกต์ 2 เขียนด้วยรูปวรรณยุกต์ 1 ตั้งที่พยัญชนะเสียงต่ำ วรรณยุกต์ 5 เขียนด้วยรูปวรรณยุกต์ 1 ตั้งที่พยัญชนะเสียงสูง วรรณยุกต์ 3 เขียนด้วยรูปวรรณยุกต์ 2 ตั้งที่พยัญชนะเสียงต่ำ และวรรณยุกต์ 6 เขียนด้วยวรรณยุกต์ 2 ตั้งที่พยัญชนะเสียงสูง[9][5]
วรรณยุกต์ | ชื่อ | เสียงต่ำ | ระดับเสียงวรรณยุกต์ต่ำ | เสียงสูง | ระดับเสียงวรรณยุกต์สูง |
---|---|---|---|---|---|
◌ | – | 1 | ˨ | 4 | ˥ |
◌꪿ | mai ek | 2 | 5 | ||
◌꫁ | mai tho | 3 | 6 | ˧˩ | |
◌ꫀ | mai nueng | 2 | 5 | ||
◌ꫂ | mai song | 3 | 6 |
ยูนิโคด
[แก้]มีการเสนอเข้ารหัสอักษรไทเวียดในยูนิโคดใน ค.ศ. 2006[10] จากนั้นจึงถูกเพิ่มในยูนิโคดมาตรฐานในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 ในรุ่น 5.2.
บล็อกยูนิโคดของไทเวียดคือ U+AA80–U+AADF:
Tai Viet[1][2] Official Unicode Consortium code chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+AA8x | ꪀ | ꪁ | ꪂ | ꪃ | ꪄ | ꪅ | ꪆ | ꪇ | ꪈ | ꪉ | ꪊ | ꪋ | ꪌ | ꪍ | ꪎ | ꪏ |
U+AA9x | ꪐ | ꪑ | ꪒ | ꪓ | ꪔ | ꪕ | ꪖ | ꪗ | ꪘ | ꪙ | ꪚ | ꪛ | ꪜ | ꪝ | ꪞ | ꪟ |
U+AAAx | ꪠ | ꪡ | ꪢ | ꪣ | ꪤ | ꪥ | ꪦ | ꪧ | ꪨ | ꪩ | ꪪ | ꪫ | ꪬ | ꪭ | ꪮ | ꪯ |
U+AABx | ꪰ | ꪱ | ꪲ | ꪳ | ꪴ | ꪵ | ꪶ | ꪷ | ꪸ | ꪹ | ꪺ | ꪻ | ꪼ | ꪽ | ꪾ | ꪿ |
U+AACx | ꫀ | ꫁ | ꫂ | |||||||||||||
U+AADx | ꫛ | ꫜ | ꫝ | ꫞ | ꫟ | |||||||||||
Notes |
อ่านเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Tai Viet". สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
- ↑ Bảng chữ cái tiếng Thái (Việt Nam), các quy tắc cơ bản เก็บถาวร 2021-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lịch sử văn hóa Thái, 26/06/2018. In vietnamese.
- ↑ 3.0 3.1 Bankston, Carl L. "The Tai Dam: Refugees from Vietnam and Laos". Passage: A Journal of Refugee Education. 3 (Winter 1987): 30–31.
- ↑ Hartmann, John F. (1986). "THE SPREAD OF SOUTH INDIC SCRIPTS IN SOUTHEAST ASIA".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Brase, Jim (2007-02-20). "N3220: Proposal to encode the Tai Viet script in the UCS" (PDF). Working Group Document, ISO/IEC JTC1/SC2/WG2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Brase, Jim (5 May 2008). "Writing Tai Don". สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Brase, Jim (27 January 2006). "Towards a Unicode Proposal for the Unified Tai Script". สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- ↑ 8.0 8.1 Brase, J. (2008). Writing Tai Don: Additional characters needed for the Tai Viet script. https://www.unicode.org/L2/L2008/08217-tai-don.pdf
- ↑ "Tai Dam alphabet". สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
- ↑ Ngô, Việt Trung; Brase, Jim (2006-01-30). "L2/06-041: Unified Tai Script for Unicode" (PDF). Working Group Document, ISO/IEC JTC1/SC2/WG2. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.