อักษรกลาโกลิติก
กลาโกลิติก | |
---|---|
ตัวอย่างข้อความจาก "หนังสือสวดมนต์เคียฟ" และ "พระวรสารแร็งส์" | |
ชนิด | |
ผู้ประดิษฐ์ | นักบุญซีริลแห่งเทสซาโลนีกา |
ช่วงยุค | ค.ศ. 862/863 ถึงสมัยกลาง |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | สลาวอนิกคริสตจักรเก่า (แบบกลม), โครเอเชีย (แบบเหลี่ยม) |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Glag (225), Glagolitic |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Glagolitic |
ช่วงยูนิโคด |
|
อักษรกลาโกลิติก (อังกฤษ: Glagolitic script, ⰃⰎⰀⰃⰑⰎⰉⰜⰀ, glagolitsa) เป็นอักษรสลาฟที่เก่าที่สุดเท่าที่รู้จัก ยอมรับกันโดยทั่วไปว่านักบุญซีริล นักบวชชาวบัลแกเรียจากเทสซาโลนีกา ประดิษฐ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยมร ค.ศ. 863 จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 แห่งไบแซนไทน์ส่งตัวเขากับนักบุญเมโธเดียสไปที่เกรตโมเรเวีย เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์แก่ชาวสลาฟตะวันตกในบริเวณนั้น ทั้งสองจึงตัดสินใจแปลหนังสือพิธีกรรมไปเป็นภาษาสลาฟร่วมสมัยที่ประชากรทั่วไปเข้าใจ (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อภาษาสลาวอนิกคริสตจักรเก่า) และซีริลตัดสินใจประดิษฐ์อักษรใหม่ที่มีชื่อว่า กลาโกลิติก ซึ่งอิงจากสำเนียงท้องถิ่นของชนเผ่าสลาฟจากรอบเทสซาโลนีกา หลังจากซีริลและเมโธเดียสเสียชีวิต จึงยกเลิกการใช้งานอักษรกลาโกลิติกในโมเรเวียเพื่อความต้องการทางการเมืองหรือศาสนา
ใน ค.ศ. 886 ลูกศิษย์ของซีริลและเมโธเดียสถูกขับออกจากประเทศ และย้ายไปที่จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 แทน อักษรซีริลลิกที่พัฒนาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 รวมอักษรบางส่วนที่น่าจะมาจากอักษรกลาโกลิติก ทั้งอักษรกลาโกลิติกและซีริลลิกยังคงมีผู้ใช้งานในบัลแกเรียจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13–14
เมื่อประเทศที่พูดภาษากลุ่มสลาฟหันมาใช้อักษรละตินและอักษรซีริลลิกในสมัยใหม่ตอนต้น อักษรกลาโกลิติกยังคงมีผู้ใช้งานจำกัดเพียงในด้านศาสนา และเลิกใช้งานในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่นั้นมา อักษรนี้ก็กลายเป็นหัวข้อที่น่าสนใจทางวิชาการ หลังมีการค้นพบทางโบราณคดีหลายครั้ง
ชื่อและศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า กลาโกลิติก มาจากภาษาละตินใหม่ glagoliticus และภาษาโครเอเชีย glagoljica ซึ่งมาจากภาษาสลาวอนิกคริสตจักรเก่า ⰳⰾⰰⰳⱁⰾⱏ (glagolŭ) ที่หมายถึง "การเปล่งเสียง" หรือ "คำศัพท์"[2]
ชื่อ glagolitsa คาดว่าพัฒนาขึ้นในประเทศโครเอเชียประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 และมีที่มาจากศัพท์ glagoljati ที่แยกเป็น "รูปกริยา (glagol) โดยใช้ (jati)" หมายถึงมิสซาในพิธีสวดของสลาวอนิกคริสตจักรเก่า[3][4]
อักษร
[แก้]ยูนิโคด | แบบกลม | แบบเหลี่ยม | อักษรซีริลลิก | เสียง | ชื่อในOCS | ชื่อในCS | ความหมาย | ต้นตอ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Ⰰ | А | /ɑ/ | Azъ | Az | ฉัน/ผม | อักษรฟินิเชีย aleph 𐤀 หรือเครื่องหมายกางเขน[5] | ||
Ⰱ | Б | /b/ | Buky | Buky | ตัวอักษร | ไม่ทราบ,[5] น่าจะมาจากอักษรฮีบรู bet בּ[6] หรือแอราเมอิก bīt ܒ[7] | ||
Ⰲ | В | /ʋ/ | Vědě | Vedi | (คุณ/เขา/เธอ/มัน) รู้ | น่าจะอักษรละติน V[5] หรือ dobro กลับหัว Ⰴ[8] | ||
Ⰳ | Г, Ґ | /ɡ/ | Glagoli | Glagoli | พูด (อดีตหรือมาลาสั่ง) | น่าจะอักษรกรีก gamma แบบเขียน[5] | ||
Ⰴ | Д | /d/ | Dobro | Dobro | ความเมตตา/ดี | อักษรกรีก delta Δ[5] | ||
Ⰵ | Є, Е, Э, Ё | /ɛ/ | Jestъ | Yest | คือ/มีอยู่ | น่าจะอักษรซามาริทัน īy ࠄ หรือกรีก sampi ϡ[5] | ||
Ⰶ | Ж | /ʒ/ | Živěte | Zhivete | ชีวิต/อาศัย (มาลาสั่งพหุพจน์บุรุษที่ 2) |
ไม่ทราบ[5] น่าจะคอปติก janja ϫ[ต้องการอ้างอิง] หรือสัญลักษณ์โหราศาสตร์ของราศีมีน ♓︎ | ||
Ⰷ | Ѕ | /d͡z/ | Dzělo | Zelo | มาก | ไม่ทราบ[5] น่าจะอักษรอาร์มีเนีย ja Ձ[9] | ||
Ⰸ | З | /z/ | Zemlja | Zeml(j)a | โลก/พื้น/ดิน | น่าจะเป็นอักษรกรีก theta θ อีกรูปแบบ[5] | ||
Ⰹ, Ⰺ | , | Ι, Ї | /i/, /j/ | Iže | Izhe | ซึ่งคือ | น่าจะอักษรกรีก upsilon Y[10] หรืออักษรกรีก iota ที่มีเครื่องหมายเหนือสระตัวที่สอง ϊ[5] | |
Ⰻ | И | /i/, /j/ | I/ižei | I/izhey | และ | น่าจะเลียนแบบรูปปลา[10] | ||
Ⰼ | Ꙉ, Ћ, Ђ | /dʑ/, /tɕ/ | Djervь, ǵervь | Cherv, Djerv | ต้นไม้/ไม้ | ไม่ทราบ[5] | ||
Ⰽ | К | /k/ | Kako | Kako | อย่างไร/เช่น | อักษรฮีบรู qoph ק[5] | ||
Ⰾ | , | Л, Љ | /l/, /ʎ/ | Ljudie | Lyudi | ผู้คน | น่าจะอักษรกรีก lambda λ[5] | |
Ⰿ | М | /m/ | Myslite | Mislete | คิด (พหุพจน์บุรุษที่ 2) | อักษรกรีก mu μ[5] ส่วนในแบบเหลี่ยมถูกแทนที่ด้วยรูปที่คล้ายกับอักษรละติน/ซีริลลิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากความซับซ้อน[11] | ||
Ⱀ | , | Н, Њ | /n/, /ɲ/ | Našь | Nash | ของเรา | [ไม่ทราบ][5] | |
Ⱁ | О | /ɔ/ | Onъ | On | เขา, นั่น | [ไม่ทราบ][5] | ||
Ⱂ | П | /p/ | Pokoj | Pokoy | ความสงบ | น่าจะอักษรกรีกตอนต้น pi อีกรูปแบบ[5] | ||
Ⱃ | Р | /r/ | Rьci | Rtsi | จงพูด!/จงสะกด! | น่าจะอักษรกรีก rho ρ[5] | ||
Ⱄ | С | /s/ | Slovo | Slovo | คำศัพท์/คำพูด | |||
Ⱅ | Т | /t/ | Tvrьdo | Tverdo | แข็ง/ยาก/แน่ใจ | อาจากมาจากแถบของอักษรกรีก tau τ[5] | ||
Ⱆ | У, Ѹ | /u/ | Ukъ | Uk | การสอน | ตัวแฝดของอักษร onъ Ⱁ กับ izhitsa Ⱛ[5] | ||
Ⱇ | Ф | /f/ | Frьtъ | Fert | อักษรกรีก phi φ อีกแบบ[5] | |||
Ⱈ | Х | /x/ | Xěrъ | Kher | [ไม่ทราบ] (คล้ายกับ glagoli Ⰳ และอักษรละติน h)[5] | |||
Ⱉ | Ѡ | /ɔ/ | Otъ | Oht, Omega | จาก | ตัวแฝดของอักษร onъ Ⱁ กับภาพกระจกเงา[5] | ||
Ⱋ | Щ | /tʲ/, /ʃ͡t/ | Šta/Šča | Shta/Shcha | ตัวแฝดของอักษร sha Ⱎ เหนืออักษร tvrьdo Ⱅ[5] | |||
Ⱌ | Ц | /t͡s/ | Ci | Tsi | รูปท้ายของอักษรฮีบรู tsade ץ[5] | |||
Ⱍ | Ч, Џ | /t͡ʃ/ | Črьvъ | Cherv | หนอน | [ไม่ทราบ] (คล้ายกับอักษร shta Ⱋ;[5] อาจเป็นอักษรฮีบรูที่ไม่ใช้รูปท้าย tsade צ) | ||
Ⱎ | Ш | /ʃ/ | Ša | Sha | ความเงียบ/เงียบ | อักษรฮีบรู shin ש[5] | ||
Ⱏ, Ⱜ | , | , | Ъ | /ŭ/, /ʊ/ | Jerъ | Yer, Yor | น่าจะเป็นอักษรดัดแปลงของ onъ Ⱁ.[5] แบบ 'shtapic' อาจมาจากอักขระอะพอสทรอฟี[12] | |
ⰟⰊ | Ы | /ɯ/ | Jery | Yerɨ | ตัวแฝด; ทวิอักษรของอักษร yer (Ⱏ) หรือ yerь (Ⱐ) กับอักษร izhe (Ⰹ, Ⰺ) หรือ i (Ⰻ).[5] | |||
Ⱐ | , | Ь | /ĭ/, /ɪ/ | Jerь | Yer` | น่าจะเป็นอักษรดัดแปลงของ onъ Ⱁ[5] | ||
Ⱑ | Ѣ, Я | /æ/, /jɑ/ | Jatь | Yat, Ya | น่าจะเป็นอักษรกรีก alpha แบบสลัก Α[5] | |||
Ⱖ | Ё | /jo/ | ไม่ทราบ:[5] สันนิษฐานว่าเป็นรูปประสมของ jonsь Ⱙ ข้างใต้; ในเวลานั้นออกเสียง /jo/ ไม่ได้ | |||||
Ⱓ | Ю | /ju/ | Ju | Yu | ไม่ทราบ[5] | |||
Ⱔ | Ѧ | /ɛ̃/ | [Ensь] | [yus เล็ก] | อักษร epsilon ε และยังใช้ระบุเสียงนาสิก[5] | |||
Ⱗ | Ѩ | /jɛ̃/ | [Jensь] | [iotated yus เล็ก] | ตัวแฝดของอักษร jestъ Ⰵ กับ ensь Ⱔ สำหรับเสียงนาสิก[5] | |||
Ⱘ | Ѫ | /ɔ̃/ | [Onsь] | [yus ใหญ่] | ตัวแฝดของอักษร onъ Ⱁ กับ ensь Ⱔ สำหรับเสียงนาสิก[5] | |||
Ⱙ | Ѭ | /jɔ̃/ | [Jonsь] | [iotated yus ใหญ่] | ตัวแฝดของอักษรที่ไม่ทราบกับ ensь Ⱔ สำหรับเสียงนาสิก[5] | |||
Ⱚ | Ѳ | /θ/ | [Thita] | Fita | Theta | อักษรกรีก theta θ[5] | ||
Ⱛ | Ѵ | /ʏ/, /i/ | Ižica | Izhitsa |
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]อักษรกลาโกลิติกเป็นระบบการเขียนที่ใช้ในโลกซีรีส์หนังสือและวิดีโอเกม เดอะวิตเชอร์[13]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Schenker, Alexander M. (1995), The Dawn of Slavic: An Introduction to Slavic Philology, New Haven: Yale University Press, p. 179, ISBN 0-300-05846-2
- ↑ "glagolitic". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ April 21, 2021.
- ↑ Corbett, Greville G.; Comrie, Bernard (2003). The Slavonic Languages. Milton Park, UK: Routledge. p. 29. ISBN 978-1-136-86137-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
- ↑ "Hrvatski jezični portal" [Croatian language portal]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2021. สืบค้นเมื่อ April 22, 2021.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 5.22 5.23 5.24 5.25 5.26 5.27 5.28 5.29 5.30 5.31 5.32 5.33 5.34 5.35 5.36 5.37
Schenker, Alexander M. (1995). "Early writing". The Dawn of Slavic: An introduction to Slavic philology. New Haven, CT/London, UK: Yale University Press. pp. 168–172. ISBN 978-0-300-05846-8. - ↑ Ilievski, Petar H.R. (2002). "Glagolica: An iconic script for visual evangelic preaching". Illinois Classical Studies. 27–28: 153–164. ISSN 0363-1923. JSTOR 23065457. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
- ↑ Jung, Hakyung (January 2013). "On the origin of the Glagolitic alphabet". Scripta (ภาษาอังกฤษ). 5: 105–130. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
- ↑ Uspenskij, Boris (2013). "Glagolitic script as a manifestation of sacred knowledge". Studi Slavistici (ภาษาอังกฤษ) (online ed.). Firenze University Press. 10: 7–27, 358. ISSN 1824-7601. ProQuest 1550519312.
- ↑ "Wiener slawistischer Almanach". periodika.digitale-sammlungen.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
- ↑ 10.0 10.1 Kuznetsov, Anatoly Mikhailovich (2012). ""Бывают странные сближенья…": греческий юпсилон и глаголица". Slavistica Vilnensis (ภาษารัสเซีย). 57: 7–14. ISSN 2351-6895. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
- ↑ Čunčić, Marica (1999). "Duktus tipaua glagoljskoga pisma" [Ductus of the types of Glagolitic script]. Filologija (ภาษาCroatian). Zagreb: Staroslavenski institut. 32: 33. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
{{cite journal}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Žagar, Mateo (2003). "Osnovni procesi konstituiranja ustavne glagoljice". ใน Božilova, Rumjana (บ.ก.). B'lgari i H'rvati prez vekovete. Sofija. pp. 31–42. สืบค้นเมื่อ 3 January 2024.
- ↑ "Wiedźmiński alfabet – o czym informują nas plakaty w grze Wiedźmin 3: Dziki Gon?". www.grynieznane.pl. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Glagolitic text entry application
- Glagolitic manuscripts
- อักษรกลาโกลิติกในโครเอเชีย
- อักษรกลาโกลิติกในโครเอเชีย
- Glagolitic alphabet. Alternative encoding. – Proposals.
- The Glagolitic alphabet at omniglot.com
- The Budapest Glagolitic Fragments – links to a Unicode Glagolitic font, Dilyana
- Glagolitic Fonts
- Ancient Scripts: Glagolitic
- GNU FreeFont
- A simple 7-bit Squared Glagolitic font (.ttf)