โรงเรียนตราษตระการคุณ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด | |
---|---|
Trattrakarnkhun School | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ต.ค. / TK |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ |
สถาปนา | 14 มกราคม พ.ศ. 2442 |
ผู้ก่อตั้ง | พระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จนฺทสาโร) พระยาตราษบุรีศรีสมุทร์เขตต์ (ธน ณ สงขลา) |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 17 สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ |
ผู้อำนวยการ | นายรักพงศ์ จุลเจริญ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเขมร ภาษาจีน |
สี | สีเหลือง - สีฟ้า |
คำขวัญ | นตฺถิ ปญฺญฺสมา อานา |
เพลง | มาร์ชตราษตระการคุณ |
เว็บไซต์ | www.tkschool.ac.th |
โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด (อังกฤษ: Trattrakarnkhun School Trat) เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดตราด ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึกษา
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]- ตราประจำโรงเรียน: ประกอบด้วยโล่ มีทะเลอันสงบ ซึ่งเหมือนวิถีชีวิตของชาวตราด พระอาทิตย์ฉายแสงรัศมีเป็นครึ่งวงกลมเหนือภูเขา ขอบล่างโล่มีข้อความ "โรงเรียนตราษตระการคุณ" ขอบบนปรากฏคติพจน์โรงเรียน "นตฺถิ ปญฺา สมาอาภา" ใต้โล่เป็นรูปกิ่งของต้นไผ่และผูกด้วยริบบิ้น อันหมายถึงโรงเรียนนี้เกิดจากสำนักเรียนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม
ประวัติ
[แก้]"จากกุฏิเล็ก ๆ ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในวัดไผ่ล้อมมาสู่พื้นที่ซึ่งรกร้าง แต่หาได้รกร้างซึ่งน้ำใจและความเมตตาของผู้คนไม่ จึงกลายเป็นสถานศึกษาสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดตราดในวันนี้ ควรค่าแก่ความภูมิใจของบุคคลที่ร่วมสรรค์สร้าง"
ช่วงที่ 1 : สำนักเรียนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม สู่ เวฬุสุนทรการ
[แก้]ในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ วัดไผ่ล้อม เมืองตราด ภิกษุเจ้ง อายุประมาณ 30 ปีเศษ เป็นพระสงฆ์ที่บวชมานานจนชาวบ้านเรียกว่า ขรัว ได้ทำหน้าที่ให้การศึกษาแกเยาวชน ความเข้มงวดกวดขันทำให้การสอนได้ผลดี เป็นที่นิยมชมชื่นของชาวบ้าน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ สำนักท่านขรัวเจ้ง วัดไผ่ล้อม
พ.ศ. 2442 สำนักเรียนของท่านขรัวเจ้งที่ตั้งขึ้นมาด้วยใจรัก เริ่มขยายใหญ่ขึ้น มีนักเรียนรวม 40 - 60 คน แต่ท่านก็ยังเป็นครูสอนเองแบบให้เปล่า ในปีการศึกษานี้มีการสอบวัดผลการเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรงในเมืองตราด เจ้าคณะมณฆล ซึ่งในเวลานั้นคือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ครั้งยังเป็น พระสุคุณคณาภรณ์เป็นเจ้าคณะมณฆลเป็นประธานในการสอบไล่นักเรียนได้มาเห็นสำนักของท่านขรัวเจ้งวัดไผ่ล้อมที่จัดการสอนมาก่อนวัดอื่น ๆ ในจังหวัดตราด จึงมีบัญชาให้จัดตั้งเป็น โรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดตราด ชื่อ สำนักสอนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม การตั้งโรงเรียนแผนแบบใหม่อย่างเป็นทางการครั้งแรกในจังหวัดตราดนี้ พระอาจารย์เจ้งรับหน้าที่เป็นครูสอนเองดังเดิมได้รับนิตยภัตร (เงินเดือน) เดือนละ 25 บาท
พ.ศ. 2456 โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น สถานศึกษาบนกุฏิสองหลังจึงคับแคบ ประกอบกับจะได้ขยายเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ด้วยความร่วมมือจากผู้ว่าราชการเมืองตราด พระยาสุนทรทราธรธุรกิจ (หมี ณ ถลาง) จัดการบอกบุญเรี่ยไรเงินสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ให้ชื่อว่า โรงเรียนเวฬุสุนทรการ ซึ่งมัความหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดไผ่ล้อมกับพระยาสุนทรทราธรธุรกิจผู้เป็นกำลังสำคัญในการจัดสร้างอาคารเรียนใหม่ปรากฏชื่อในสมุดโรงเรียนว่า โรงเรียนประจำจังหวัดเวฬุสุนทรการ เป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดตราด
ปี พ.ศ. 2461 พระตราษบุรีศรีสมุทร์เขตต์ (ธน ณ สงขลา) ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดคนใหม่ได้พิจารณาเห็นว่าโรงเรียนเวฬุสุนทรการไม่เหมาะที่จะเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดตราดจึงเรี่ยไรเงินจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ ใกล้กับสโมสรเสือป่า (ปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอเมือตราดหลังเก่า)
พ.ศ. 2463 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีเศษ รวมค่าก่อสร้าง 4,670.50 บาท และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2463 โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) เป็นประธาน และให้นามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนตราษตระการคุณ อันเป็นมงคลนาม และเป็นอนุสรณ์แด่พระตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์ (ธน ณ สงขลา) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างอาคารเรียนหลังนี้ อาคารเรียนที่สร้างขึ้นเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ภายในโล่ง จุนักเรียนได้ 160 คน การเรียนการสอนแบ่งเป็นระดับประถมศึกษา คือ ป.1 - ป.4 กับระดับมัธยมศึกษา คือ ม.1 - ม.3 (เทียบเท่า ป.5 - ป.7 ในสมัยต่อมา)
พ.ศ 2479 มีการจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตราดขึ้น คือ โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ในปัจจุบัน (ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนอนุบาลตราดในปัจจุบัน) โรงเรียนตราษตระการคุณได้ย้ายนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมด กับนักเรียนหญิงไปเรียนที่โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ รวมทั้งครูสตรีก็ย้ายตามนักเรียนไปด้วย โรงเรียนตราษตระการคุณจึงมีแต่นักเรียนชายล้วนและมีการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น โรงเรียนตราษตระการคุณใช้สถานที่นี้เป็นที่เล่าเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 สืบจนถึง พ.ศ. 2484 เป็นเวลานานถึง 22 ปี
พ.ศ. 2483 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ตามแบบ ร.1 โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก พล.ร.ท.สินธุ์ กมลนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น มีพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่นี้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 โดยหลวงนรนิติผดุงการ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 14,475 บาท ส่วนอาคารหลังแรกนั้น ภายหลังได้รื้อถอน เพราะชำรุดทรุดโทรมมาก เครื่องก่อสร้างที่พอจะใช้ได้ ก็นำไปเป็นโรงพลศึกษาขึ้นอีกหลังหนึ่ง
พ.ศ. 2495 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุเคราะห์ให้เงินจรมาสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกหลังหนึ่ง เป็นหลังที่ 2 เป็นเงิน 20,000 บาท
พ.ศ. 2506 กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติเงิน 150,00 บาท มาสร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 เป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน
ช่วงที่ 3 : ตราษตระการคุณในทุ่งกว้าง
[แก้]พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงินงบประมาณ 150,000 บาท และเงินบำรุงการศึกษา 15,000 บาท สร้างหอประชุมและโรงอาหารโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด ได้จัดการเรียนการสอนเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ แต่การที่มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากทุกปี ประกอบกับพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงโรงเรียนไม่สามารถขยายตัวได้อีกเพราะติดสถานที่ราชการอื่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโรงเรียนในภายหน้า นายประจำ ประทีปฉาย ศึกษาธิการจังหวัดตราด และ นายลพ ชูแข อาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด มีความคิดตรงกันว่าต้องหาที่ดินผืนใหม่ให้โรงเรียนตราษตระการคุณ และที่ดินผืนนั้นน่าจะเป็นทุ่งเนินตาแมวอันรกร้างและกว้างใหญ่พอที่จะรองรับลูกหลานชาวตราดให้มีที่เรียนเพียงพอได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งที่ดินผืนนี้ห่างจากสถานที่ตั้งเดิมเพียง 1.5 กิโลเมตร จึงทำการจับจองได้เนื้อที่ 139 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา ด้วยความเห็นชอบและสนับสนุนจากนายสงัด รอดมั่น ที่ดินจังหวัด และนายจรัส เทศวิศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดในสมัยนั้น
พ.ศ. 2513 กรมสามัญศึกษา อนุมัติให้ย้ายโรงเรียน และได้จัดสรรเงินงบประมาณให้สร้างอาคารเรียน แบบ 318 (นับว่าเป็นอาคารโครงสร้างแบบตึกหลังแรกของจังหวัดตราด) จำนวน 1 หลัง บ้านพักครู 2 หลัง ส้วมนักเรียน 1 หลัง ระยะแรกมีปัญหามาก แต่ในที่สุดก็ผ่านพ้นไปด้วยดีแม้จะเสียเวลาไปบ้างสิ้นเงินงบประมาณ 2,250,000 บาท
พ.ศ. 2515 ขนย้ายนักเรียนบางส่วนมาเรียนที่ท้องทุ่งเนินตาแมว
พ.ศ. 2518 ย้ายนักเรียนมาครบทั้งหมดทุกชั้น ทิ้งสถานที่ตั้งแห่งเก่าและอาคาร 3 หลัง ไว้เป็นสมบัติของโรงเรียนอนุบาลตราดสืบไป ซึ่งสมัยนั้นตรงกับนายสุรจิตร ภัทรคามินทร์ ผู้บริหารโรงเรียนคนที่ 14 เมื่อย้ายนักเรียนทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด ได้เข้าโครงการ คมภ. 2 รุ่นที่ 5 ซึ่งโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกและได้รับความช่วยเหลือในด้านผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนาคา เป็นโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนภูมิภาค กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ หอประชุม โรงฝึกงาน พร้อมอุปกรณ์ทางด้านงานอาชีพ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ครบถ้วน
รายนามผู้บริหารโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
[แก้]ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2454 จนถึง ปัจจุบันโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด มีผู้บริหาร จำนวน 25 ท่าน
ลำดับที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | ราชบุรุษ อ่อง ปัจฉิมาภิรมย์ | ครูใหญ่ | 02 มิ.ย. พ.ศ. 2454 | 31 พ.ค. พ.ศ. 2464 |
2 | ขุนมงคลเวชศึกษากร | ครูใหญ่ | 01 มิ.ย. พ.ศ. 2464 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2467 |
3 | ราชบุรุษ จ๋วน สิงห์ขาว | ครูใหญ่ | 01 ต.ค. พ.ศ. 2467 | 18 ม.ค. พ.ศ. 2477 |
4 | นายออม รัตนเพียร | ครูใหญ่ | 19 ม.ค. พ.ศ. 2477 | 31 ก.ค. พ.ศ. 2481 |
5 | นายประจิม กมลศิลป์ | ครูใหญ่ | 01 ส.ค. พ.ศ. 2481 | 03 ก.ค. พ.ศ. 2483 |
6 | นายวิจิตร หิรัญรัต | ครูใหญ่ | 18 พ.ย. พ.ศ. 2483 | 01 พ.ค. พ.ศ. 2486 |
7 | นายชื้น เรืองเวช | ครูใหญ่ | 02 พ.ค. พ.ศ. 2486 | 11 มิ.ย. พ.ศ. 2491 |
8 | นายบัญญัติ ศุภเสน | ครูใหญ่ | 12 มิ.ย. พ.ศ. 2491 | 31 พ.ค. พ.ศ. 2492 |
9 | นายทรง วรสิงห์ | ครูใหญ่ | 01 มิ.ย. พ.ศ. 2492 | 31 พ.ค. พ.ศ. 2499 |
10 | นายลพ ชูแข | อาจารย์ใหญ่ | 01 มิ.ย. พ.ศ. 2499 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2513 |
11 | นายบัญชา ดำรงพันธุ์ | รักษาการอาจารย์ใหญ่ | 01 ต.ค. พ.ศ. 2513 | 31 ส.ค. พ.ศ. 2514 |
12 | นายวิศิษฐ์ ดวงสงค์ | อาจารย์ใหญ่ | 01 ก.ย. พ.ศ. 2514 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2515 |
13 | นายบัญชา ดำรงพันธุ์ | รักษาการอาจารย์ใหญ่ | 01 ต.ค. พ.ศ. 2515 | 17 พ.ค. พ.ศ. 2516 |
14 | นายสุรจิตร ภัทรคามินทร์ | ผู้อำนวยการ | 18 พ.ค. พ.ศ. 2516 | 30 มิ.ย. พ.ศ. 2523 |
15 | นายธำรง ธงวิจิตร | ผู้อำนวยการ | 01 ก.ค. พ.ศ. 2523 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2529 |
16 | นายสุทิพย์ ติงสรัตน์ | ผู้อำนวยการ | 01 ต.ค. พ.ศ. 2529 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2535 |
17 | นายสง่า รอดพิเศษ | ผู้อำนวยการ | 22 ต.ค. พ.ศ. 2535 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2539 |
18 | นายประดิษฐ์ ดวงนภา | ผู้อำนวยการ | 25 ต.ค. พ.ศ. 2539 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2540 |
19 | นายสุวรรณ เจริญสุข | ผู้อำนวยการ ระดับ 9 | 26 พ.ย. พ.ศ. 2540 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2543 |
20 | นายมนตรี คุรุกิจโกศล | ผู้อำนวยการ ระดับ 8 | 30 ต.ค. พ.ศ. 2543 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2548 |
21 | นายวิจิตร หอยสังข์ | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | 01 พ.ย. พ.ศ. 2548 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2551 |
22 | นายสุรศักดิ์ ศิลาอาศน์ | ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | 25 ธ.ค. พ.ศ. 2551 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2557 |
23 | นายพิริยะ เอกปิยะกุล | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | 20 พ.ย. พ.ศ. 2557 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2564 |
24 | นายสำเนา บุญมาก | ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | 05 ต.ค. พ.ศ. 2564 | 30 ก.ย. พ.ศ. 2566 |
25 | นายรักพงศ์ จุลเจริญ | ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | 01 ต.ค. พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
อาคาร-สถานที่ภายในโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
[แก้]- หอพระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จันทสโร)
- อาคาร ๑ พระวิมลเมธาจารย์ - ศูนย์อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์)
- อาคาร ๒ เวฬุสุนทรการ - กลุ่มงานบริหาร ห้องเรียนแนะแนว ธนาคารโรงเรียน และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- อาคาร ๓ พระตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์ - ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการ และ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- อาคาร ๔ พระบุรเขตต์คณาจารย์ - หอสมุดกลางฯ และ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- อาคาร ๕ - อาคารเรียนแบบ 318 ล./38 พิเศษ - ห้องโสตทัศนศึกษา และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- อาคาร SMaRT School BAE SYSTEMS - สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตราด และ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
- อาคารฝึกงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ - 2 หลัง (ห้องเขียนแบบ ห้องช่างยนต์ ห้องช่างไม้ และ ห้องคหกรรม)
- อาคารฝึกงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (เกษตร)
- อาคารฝึกงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี และ นาฏศิลป์) - 2 หลัง
- อาคารตราษฯสามัคคี - โรงอาหารโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
- อาคารเทิดพระเกียรติ (ตึกส้ม) - กลุ่มงานกิจการนักเรียน
- หอสมุดกลางโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด - ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ห้องสมุดนันทนาการ ห้องสมุดวารสาร ห้องสมุดศึกษาค้นคว้า (ปัจจุบันอยู่ที่ชั้น 1 อาคาร ๔)
- หอประชุม ๑ และ โดมอเนกประสงค์ ๑ - สนามกีฬาแบดมินตัน สนากีฬาเซปักตะกร้อ สนามกีฬาเทเบิลเทนนิส และ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- หอประชุม ๒ (พื้นยางสังเคราะห์) - สนามกีฬาวอลเล่ย์บอล สนามกีฬาบาสเก็ตบอล และ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- อาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด (หอประชุม ๓) - แบบ 101 ล. /27 (อาคารเอนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตราด (ชั้นล่าง)
- โดมอเนกประสงค์ ๒ - สนามกีฬาฟุตซอล สนามกีฬาบาสเก็ตบอล สถานที่พักผ่อน และ จุดนัดพบรวมในการทำกิจกรรม
- ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER) โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด และ เรือนพยาบาล
- สนามกีฬาฟุตบอลโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
- สนามกีฬาฟุตบอลหญ้าเทียม คิง พาวเวอร์
- สวนนวราช - สวนหย่อมบริเวณหน้าอาคารเวฬุสุนทรการ
- ห้องน้ำชาย - 4 หลัง
- ห้องน้ำหญิง - 4 หลัง
- บ้านพักครู - 11 หลัง
- บ้านพักนักเรียน - 3 หลัง
- โรงจอดรถ - 3 หลัง
- ศาลาชิดชอบ
- ศาลาชายชล
- ศาลาพอเพียง
- ศาลาริมน้ำ
- ศาลาทรงไทย
- เรือนกันเกรา - ห้องประชุม
- ลานจามจุรี - สถานที่พักผ่อน และ จุดนัดพบรวมในการทำกิจกรรม
- ลานไทร - สถานที่พักผ่อน
- ป้อมยาม
- cover way
จำนวนห้องเรียนของโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
[แก้]- ปีการศึกษา 2562
แผนการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับชั้น | ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (โครงการ สสวท. - Gifted) | ห้องเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษ(EP) | ห้องเรียนทั่วไป | รวม |
---|---|---|---|---|
มัธยมศึกษาปีที่ 1 | 1 | 1 | 7 | 9 |
มัธยมศึกษาปีที่ 2 | 1 | 1 | 7 | 9 |
มัธยมศึกษาปีที่ 3 | 1 | 1 | 7 | 9 |
แผนการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับชั้น | ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (โครงการ สสวท. - Gifted) |
วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ | วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ | ห้องเรียนอังกฤษ-คณิตศาสตร์ | ห้องเรียนอังกฤษ-จีน | รวม |
---|---|---|---|---|---|---|---|
มัธยมศึกษาปีที่ 4 | 1 | 4 | 1 | 1 | 1 | 1 | 9 |
มัธยมศึกษาปีที่ 5 | 1 | 4 | 1 | 1 | 1 | 1 | 9 |
มัธยมศึกษาปีที่ 6 | 1 | 4 | 1 | 1 | 1 | 1 | 9 |
ศิษย์เก่าเกียรติภูมิ โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
[แก้]- ดร.สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา ดารา/นักแสดง
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด เก็บถาวร 2011-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน