อำเภอเมืองตราด
อำเภอเมืองตราด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Trat |
หาดพลอยแดง | |
คำขวัญ: ศูนย์นัดพบภาคีพัฒนา บูรณาการแหล่งทุนใกล้บ้าน สืบสานเกษตรอินทรีย์ คุณภาพชีวีราษฎรดีทุกตำบล | |
แผนที่จังหวัดตราด เน้นอำเภอเมืองตราด | |
พิกัด: 12°13′54″N 102°30′48″E / 12.23167°N 102.51333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตราด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 938.6 ตร.กม. (362.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 92,569 คน |
• ความหนาแน่น | 98.63 คน/ตร.กม. (255.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 23000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2301 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองตราด เลขที่ 229 หมู่ที่ 5 ถนนบ้านล่าง-ดอนจวน ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เมืองตราด เป็นอำเภอหนึ่งใน 7 อำเภอของจังหวัดตราด เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด และหน่วยงานราชการต่าง ๆ และเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัด
ประวัติ
[แก้]ชื่อเมืองตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง นอกจากเป็นแหล่งสินค้าแล้ว ตราดยังเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเลที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหารน้ำจืด บริเวณอ่าวเมืองตราดจึงเป็นที่ตั้งชุมชน พ่อค้าชาวจีนที่เดินทางมาค้าขาย ครั้งเมื่อสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกเมืองตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนทัพเรือออกจากจันทบุรียกไปขับไล่พม่าเพื่อกอบกู้เอกราชคืนสู่ชาติไทย[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเมืองตราดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ่อไร่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดโพธิสัตว์และจังหวัดเกาะกง (ประเทศกัมพูชา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคลองใหญ่และอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแหลมงอบและอำเภอเขาสมิง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเมืองตราดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[2] |
---|---|---|---|---|
1. | บางพระ | Bang Phra | –
|
5,179
|
2. | หนองเสม็ด | Nong Samet | 7
|
8,576
|
3. | หนองโสน | Nong Sano | 8
|
5,212
|
4. | หนองคันทรง | Nong Khan Song | 5
|
4,671
|
5. | ห้วงน้ำขาว | Huang Nam Khao | 5
|
3,179
|
6. | อ่าวใหญ่ | Ao Yai | 6
|
4,524
|
7. | วังกระแจะ | Wang Krachae | 12
|
25,019
|
8. | ห้วยแร้ง | Huai Raeng | 11
|
7,479
|
9. | เนินทราย | Noen Sai | 9
|
7,344
|
10. | ท่าพริก | Tha Phrik | 6
|
4,294
|
11. | ท่ากุ่ม | Tha Kum | 8
|
5,104
|
12. | ตะกาง | Takang | 6
|
2,629
|
13. | ชำราก | Chamrak | 5
|
2,684
|
14. | แหลมกลัด | Laem Klat | 10
|
6,930
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเมืองตราดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองตราด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพระทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลวังกระแจะ
- เทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพริกทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลเนินทราย
- เทศบาลตำบลตะกาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลชำราก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชำรากทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองเสม็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเสม็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโสนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคันทรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วงน้ำขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วงน้ำขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่าวใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังกระแจะ (นอกเขตเทศบาลเมืองตราด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแร้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเนินทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินทราย (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมกลัดทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
[แก้]ในพื้นที่ตำบลท่าพริกและเนินทรายมีการปลูกมันเทศจำนวนมาก[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1] เก็บถาวร 2019-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติเมืองตราด
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ http://region7.prd.go.th/asp/aspboard_Question.asp?GID=11347[ลิงก์เสีย]