กรมการแพทย์
Department of Medical services | |
![]() ตราสัญลักษณ์ | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 88/23 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 |
บุคลากร | 19,461 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 8,117,712,600 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงสาธารณสุข |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
กรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น การพัฒนาการแพทย์ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการแพทย์ เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล และกรมประชาภิบาล กระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็น กรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณาจัดการปรับปรุง เพื่อรวบรวมกิจการแพทย์และสาธารณสุข ยกเว้นการแพทย์ของทหาร ตำรวจและการรถไฟ และมีมติให้ตั้ง กระทรวงสาธารณสุข จึงถือกำเนิดกรมการแพทย์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ. ศ. 2485
หน้าที่และอำนาจ
[แก้]กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ฝ่ายกาย โดยมีการศึกษา วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสม การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานแก่บุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ ให้บริการทางการแพทย์เฉพาะด้านหรือในระดับตติยภูมิที่ยุ่งยากซับซ้อนอย่างได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในเรื่องดังกล่าว
- กำหนดและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และการแพทย์เฉพาะทาง
- ถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางการแพทย์และการแพทย์เฉพาะทางแก่สถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- ประเมินการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ของสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้เหมาะสมและคุ้มค่า
- จัดให้มีบริการเพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิ เฉพาะโรคหรือเฉพาะทาง
- ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแก่แพทย์และบุคลากรทางด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]หน่วยงานภายใต้กำกับอธิบดี
[แก้]- สำนักที่ปรึกษา
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
กองส่วนกลาง
[แก้]- สำนักงานเลขานุการกรม
- สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
- กองบริหารการคลัง
- กองบริหารทรัพยากรบุคคล
- กองยุทธศาสตร์และแผน
- กองวิชาการแพทย์
- สำนักนิเทศระบบการแพทย์
- สำนักดิจิทัลการแพทย์
- กองกฎหมายและกลุ่มคุ้มครองจริยธรรม
- สถาบันเวชศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
กลุ่มโรงพยาบาล
[แก้]- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี คุ้มเกล้า
- สถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
- โรงพยาบาลราชวิถี
- โรงพยาบาลราชวิถี 2 (รังสิต)
- โรงพยาบาลเลิดสิน
- สถาบันออร์โธปิดิกส์
- โรงพยาบาลสงฆ์
กลุ่มสถาบัน
[แก้]- สถาบันทันตกรรม
- สถาบันประสาทวิทยา
- โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่
- สถาบันพยาธิวิทยา
- สถาบันโรคทรวงอก
- สถาบันโรคผิวหนัง
- โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง
- สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
- โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี
- ศูนย์นวัตกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
- โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง
กลุ่มยาเสพติด
[แก้]- สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี
กลุ่มมะเร็ง
[แก้]- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
- โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
- โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
- โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
- โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, รายงานข้อมูลด้านบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำปี 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗