โรงพยาบาลสงขลา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงพยาบาลสงขลา Songkhla Hospital | |
---|---|
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | เลขที่ 666 หมู่ที่ 2 ถนนสงขลา-ระโนด ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90100, ประเทศไทย |
พิกัด | 7°08′32″N 100°33′59″E / 7.142183°N 100.566410°E |
หน่วยงาน | |
ประเภท | ทั่วไป |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 508 เตียง |
ประวัติ | |
ชื่อเดิม | สงขลาพยาบาล โรงพยาบาล (เทศบาล) เมืองสงขลา |
เปิดให้บริการ | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2468 (ที่ตั้งเดิม) 31 ธันวาคม 2538 พ.ศ. (ที่ตั้งใหม่) |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
โรงพยาบาลสงขลา เป็นหนึ่งในสองโรงพยาบาลหลักของจังหวัดสงขลา ประเทศไทย ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข ส่วนอีกแห่งเป็นโรงพยาบาลหาดใหญ่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งโรงพยาบาลสงขลาได้รับการจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งจัดอบรมแพทย์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเป็นโรงพยาบาลในเครือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[1]
ประวัติ
[แก้]ใน พ.ศ. 2464–2467 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ทรงริเริ่มการระดมทุนและการวางแผนโรงพยาบาลในใจกลางเทศบาลนครสงขลา และในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2468 สงขลาพยาบาลได้รับการเปิดโดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครั้นใน พ.ศ. 2478 ได้โอนย้ายสถานพยาบาลเป็นของเทศบาลนครสงขลา จึงเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาล (เทศบาล) เมืองสงขลา ต่อมาใน พ.ศ. 2495 ได้โอนย้ายปฏิบัติการไปยังกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง และโรงพยาบาลได้รับการขยายอย่างครอบคลุม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่ใจกลางเมืองมีจำกัด คณะกรรมการโรงพยาบาลจึงหาที่ตั้งใหม่สำหรับโรงพยาบาล กระทั่งใน พ.ศ. 2528 ภายใต้คณะรัฐมนตรีของเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ได้ทำความตกลงกับกองทัพบกที่ 4 ของกองทัพบกไทย และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อโอนที่ดินทางตอนใต้สุดของสะพานติณสูลานนท์ สำหรับการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ ซึ่งเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน พ.ศ. 2538 และแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน โดยเปิดโรงพยาบาลใหม่เมื่อวันที่ 31 ธันวาคมในชื่อโรงพยาบาลสงขลา ส่วนโรงพยาบาลเก่าใจกลางเมืองได้เปลี่ยนเป็น "ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองสงขลา"[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" (PDF).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ประวัติ - Songkhla Hospital". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-20.