คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
Faculty of Informatics, Mahasarakham University | |
![]() | |
ชื่อย่อ | วสท. / วิดยาการ / IT |
---|---|
คติพจน์ | ความรู้ คู่คุณธรรม นำสังคม |
สถาปนา | ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2539 คณะวิทยาการสารสนเทศ • 24 เมษายน พ.ศ. 2546 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณบดี | รศ.ดร.จันทิมา พลพินิจ |
ที่อยู่ | อาคารปฏิบัติการวิทยาการสารสนเทศ เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์/โทรสาร 043-754359 |
วารสาร | วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ |
สี | สีน้ำเงิน |
เว็บไซต์ | www.it.msu.ac.th |
![]() |
คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Informatics, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำการสอนด้านสารสนเทศศาสตร์ การแสดง วิทยาการคอมพิวเตอร์และไอที จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 โดยการรวมภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ และภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2539 คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ต่อมาในปี 2542 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้แยกออกจากคณะวิทยาศาสตร์เพื่อไปจัดตั้งเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในฐานะ“ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์”
จนกระทั่งวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีมติให้จัดตั้ง "โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ" โดยการรวม"ภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์" ซึ่งสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กับ"ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์" สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบันคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์) โดยมีบุคลากรในโครงการเริ่มแรกจำนวน 36 คน
ต่อมาในปี 2546 ได้มีมติจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2546[1] อนุมัติให้จัดตั้งเป็น“คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Faculty of Informatics, Mahasarakham University” คณะวิชาลำดับที่ 11 ของมหาวิทยาลัย มีสถานะเป็นคณะนอกระบบ มีนิสิตเริ่มก่อตั้ง 893 คน จำแนกเป็น 4 หลักสูตร คือ
- หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
- หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาสารสนเทศศาสตร์ (IS)
- หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาการสื่อสารมวลชน (MC) (เป็นหลักสูตรนิเทศศาสตร์(CA) ในภายหลัง)
- หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (LIS)
ในระยะเริ่มดำเนินงาน สำนักงานเลขานุการคณะวิทยาการสารสนเทศตั้งอยู่ ณ อาคารราชนครินทร์ ห้อง RN - 411 ชั้น 4 เป็นสำนักงาน ต่อมาในเดือนธันวาคม 2544 คณะวิทยาการสารสนเทศได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราว ห้อง RN – 411 ไปยังกลุ่มอาคารสำนักวิทยบริการ อาคารบี ชั้น 3 จนถึงเดือนสิงหาคม 2553 และปัจจุบันย้ายมาที่อาคารปฏิบัติการคณะวิทยาการสารสนเทศ (IT)
ปัจจุบัน คณะวิทยาการสารสนเทศ เป็นหน่วยงานนอกระบบราชการในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นสำนักงานเลขานุการคณะวิทยาการสารสนเทศ และภาควิชาต่างๆ จำนวน 6 ภาควิชา สามารถอำนวยการสอนได้ในระดับปริญญาตรี โทและเอกจำนวน 6 หลักสูตร 15 สาขาวิชา และในปี 2563 คณะมีบุคลากรทั้งสิ้น 106 คนและนิสิตจำนวน 2,448 คน[2]
หน่วยงาน
[แก้]ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะวิทยาการสารสนเทศ
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนใน 6 หลักสูตร 15 สาขาวิชา ดังนี้
![]() หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[3] | |||
---|---|---|---|
ภาควิชา | ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
ภาควิชานิเทศศาสตร์ |
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
|
- |
- |
ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ |
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (สท.บ.)
|
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต (สท.ม.)
|
- |
ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาสื่อนฤมิต |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาภูมิสารสนเทศ |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- |
- |
หมายเหตุ
สถานที่ตั้งและพื้นที่
[แก้]
คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ) และสำนักคอมพิวเตอร์ โดยใช้อาคารปฏิบัติการทางวิทยาการสารสนเทศเป็นอาคารเรียนของคณะ
ศูนย์ดิจิทัลคอนเทนต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
[แก้]Informatics Training Center หน่วยบริการวิชาการและฝึกอบรมภายใต้ศูนย์ดิจิทัลคอนเท้นท์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEDCC – Northeastern Digital Content Center) ดำเนินการโดยคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อให้บริการวิชาการและฝึกอบรมทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี แอนิเมชัน เกม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- มัลติมีเดียและเกม (Multimedia and Game)
- การพัฒนาเว็บไซต์ (Web Development)
- ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
- การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programming)
- หลักสูตรทั่วไป (Utility)
กีฬา 5 วิด’สัมพันธ์
[แก้]“กีฬา 5 วิด’สัมพันธ์”[4] เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างวิทยาลัยการเมืองการปกครอง (วิดการเมือง), คณะวิทยาการสารสนเทศ (วิดยาการ), วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (วิดดุ), คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิดวะ) และคณะวิทยาศาสตร์ (วิดยา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) โดยมีจุดประสงค์ให้ทั้ง 5 คณะ เกิดความผูกพัน มิตรภาพไมตรี และเกิดความสามัคคีแน่นแฟ้นต่อกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับความสนุกสนามเพลิดเพลินและผ่อนคลาย
ส่วนในกีฬานั้นจะแบ่งออกเป็น 2ประเภท คือกีฬาสากล กับกีฬาพื้นบ้าน ส่วนในเรื่องของแสตนเชียร์และผู้นำเชียร์ได้มีการตกลงถึงกฎ กติกา มารยาทในการแข่งขันกีฬา เช่น มีชักกะเย่อ ส่งลูกปิงปอง และเพิ่มสีสันด้วยกีฬาผู้นำคือให้ผู้นำแต่ละคณะได้ลงมาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งมีการโชว์สแตนด์เชียร์ จัดกีฬาพื้นบ้านขึ้นมา เพื่อให้น้องที่สแตนด์มีส่วนร่วมด้วยเป็นประจำทุกปี เรียกได้ว่าเป็นประเพณีไปแล้ว สำหรับการเวียนเจ้าภาพ จะเวียนเป็นวงกลมตามภูมิลักษณะของมหาวิทยาลัย เริ่มต้นจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง และคณะวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ
ทำเนียบคณบดี
[แก้]รายนามคณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
![]() ทำเนียบคณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[5] | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ผศ.สุจิน บุตรดีสุวรรณ (รักษาการแทนฯ) | 1 มิ.ย. 2544 - 27 ม.ค. 2548 | |
2. ผศ.สุจิน บุตรดีสุวรรณ[6] | 28 ม.ค. 2548 - 3 ก.พ. 2552 | |
3. รศ.วิรัตน์ พงษ์ศิริ[7] | 4 ก.พ. 2552 - 29 ม.ค. 2556 | |
4. ผศ.สุจิน บุตรดีสุวรรณ (รักษาการแทนฯ)[8] | 30 ม.ค. 2556 - 27 ก.พ. 2556 | |
5. ผศ.สุจิน บุตรดีสุวรรณ[9] | 28 ก.พ. 2556 - 29 มิ.ย. 2557 | |
6. ผศ.สุจิน บุตรดีสุวรรณ (รักษาการแทนฯ)[10] | 30 มิ.ย. 2557 - 30 ก.ย. 2557 | |
7. รศ.เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส (รักษาการแทนฯ)[11] | 1 ต.ค. 2557 - 27 พ.ย. 2557 | |
8. ผศ.สุจิน บุตรดีสุวรรณ[12] | 28 พ.ย. 2557 - 2 ธ.ค. 2561 | |
9. ผศ.ดร.ศศิธร แก้วมั่น[13] | 3 ธ.ค. 2561 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานอธิการบดี, กองแผนงาน : ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะวิทยาการสารสนเทศ พ.ศ. ๒๕๔๖, สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : สถิติจำนวนบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามปีการศึกษา 2563 โดย กองแผนงาน สำนักงานธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ข้อมูลจำนวนหลักสูตรทั้งหมดในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หน้า 8, 24 มิถุนายน 2564.
- ↑ สื่อมวลชล. “กีฬา 5 วิด’สัมพันธ์” สานสัมพันธ์ 5 คณะ มมส. เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ทำเนียบคณบดี คณะวิทยาการสารสนเทศ, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 277/2548, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 443/2552, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 410/2556, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 818/2556, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 2352/2557, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 3697/2557, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 4518/2557, 23 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 4764/2561, 23 มีนาคม 2564.